Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2541
อีซูซุวิ่งสวนตลาด ยอดขายรวมหดตัว แต่ได้ส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น             
 


   
search resources

ตรีเพชรอีซูซุเซลส์, บจก. - TPIS




เป็นที่ทราบดีว่าประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และประสบปัญหาระบบสถาบันการเงินมาตั้งแต่ปีก่อน (2540) ซึ่งส่งผลกระทบให้ตลาดรถยนต์โดยรวม "หดตัวลงอย่างเฉียบพลัน" นอกจากนั้นการประกาศลอยตัวค่าเงินบาททำให้เงินบาทอ่อนตัวลงจากเมื่อต้นปีก่อน นอกจากนี้ยังมีอัตราภาษีที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์หลายด้านเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคารถยนต์โดยรวมเพิ่มสูงขึ้น แต่ว่าขณะที่ตลาดหดตัวลงอย่างเฉียบพลันนั้น การที่จะขึ้นราคารถยนต์ให้สอดคล้องกับต้นทุนนั้นเป็นเรื่องทำได้ยาก เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือตลาดรถยนต์นอกจากจะไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นแล้ว ยังหดตัวลงอย่างมากด้วย

เมื่อเปรียบเทียบยอดขายรถ 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.41) กับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.-มิ.ย. 40) ตลาดหดตัวลง 71.7% การหดตัวของตลาดรถยนต์โดยรวมนั้นมีรถยนต์ทุกประเภทรวมกัน แต่ในส่วนของตลาดรถเพื่อการพาณิชย์หดตัวลง 71.0% ในนั้นจะมีรถปิกอัพเป็นตลาดใหญ่ ซึ่งตลาดรถปิกอัพหดตัวลง 71.1% แต่ตลาดรถเก๋งหดตัวลงไปมากกว่านั้นคือ 72.8% คือหดตัวลงมากกว่าการหดตัวของตลาดรวม ส่วนตลาดรถอื่นๆ หดตัวลงน้อยกว่าตลาดรวมเล็กน้อย

สำหรับกลุ่มอีซูซุนั้น ในช่วงครึ่งแรกของปีที่ผ่านมามีส่วนแบ่งการตลาดอันดับหนึ่งก็จริง แต่มีเพียง 35.6% และมียอดขายรถปิกอัพจำนวน 46,628 คัน ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีนี้ มียอดขายลดลง 67.5% ซึ่งต่ำกว่าอัตราการลดลงของตลาดรถปิกอัพ แต่สามารถครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งในสัดส่วน 40.2% และนี่เป็นครั้งแรกที่อีซูซุมีส่วนแบ่งตลาดรถปิกอัพอันดับหนึ่งในอัตราส่วน 40% ขึ้นไป

ถือเป็นเจ้าตลาดโดยแท้ในสัดส่วนขนาดนี้!!

มร.ฮิซาชิ คูนิฟูสะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า "เหตุผลในเรื่องนี้มี 2 ประการคือ คุณภาพรถปิกอัพอีซูซุ ได้รับการยอมรับสูงสุดจากผู้ใช้ชาวไทย และเรื่องความแข็งแกร่งของผู้แทนจำหน่ายอีซูซุ ทั้งด้านโชว์รูม อะไหล่ และบริการ"

เรื่องคุณภาพของรถนั้น ในยุคที่เกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้ใช้รถต้องตัดสินใจเลือกรถ "ที่มีความคุ้มค่าเงินมากที่สุด" ซึ่งอีซูซุก็มีคุณสมบัติข้อนี้อย่างเด่นชัด กล่าวคือในเรื่องสมรรถนะของรถ และการประหยัดน้ำมัน ซึ่งอีซูซุมีการประหยัดน้ำมันมากที่สุดในบรรดารถปิกอัพทั้งหมด และเรื่องราคาขายต่อในท้องตลาด อีซูซุมีราคาดีมากที่สุดในตลาดรถมือสอง และค่าบำรุงรักษาก็ถูก

คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ยอดขายอีซูซุมีสูงมากและมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้น ด้วยสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งยอดขายรถที่มีขนาดนี้เปรียบเทียบได้กับยอดขายในช่วง 10 ปีก่อน

ภาระหน้าที่ของ มร.คูนิฟูสะในช่วงนี้คือ ต้องสามารถนำกลุ่มอีซูซุให้ฟันฝ่าวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งนี้ให้สำเร็จให้ได้ โดยต้องรักษาความเป็นหนึ่งในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์เอาไว้ด้วย ดังนั้นเขาจึงมีการวางแผนฝ่าวิกฤติครั้งนี้หรือที่เรียกว่า Crisis Survival Plan ซึ่งจะมีการพิจารณาในทุกเรื่องคือ การผลิต การขาย ทั้งในส่วนของโรงงาน บริษัทตรีเพชรอีซูซุเซลส์ และผู้แทนจำหน่ายอีซูซุทั่วประเทศ

วิกฤติทางด้านการเงินของไทยเกิดมาตั้งแต่เมื่อ ก.ค. 2540 หลังจากที่ไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ตอนนั้นอีซูซุก็ได้ดูผลกระทบที่จะเกิดกับตลาดรถยนต์ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งก็เกิดผลจริงอย่างที่คาดไว้ ดังนั้นอีซูซุจึงได้กำหนด แผนฝ่าวิกฤติขึ้นและเริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2540

แผนนี้มีเนื้อหาหลักคือ ในด้านการผลิต ต้องมีการปรับเป็นอันดับแรกเมื่อตลาดมีการหดตัว โดยระงับการเปิดดำเนินการโรงงานแห่งที่สองที่เกตเวย์ซิตี้ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยเศรษฐกิจรุ่งเรือง ส่วนโรงงานที่มีอยู่ปัจจุบันที่สำโรงนั้น (คือบริษัท อีซูซุ มอเตอร์) เดิมมีการทำงาน 2 กะ ก็ลดกะทำงานลงเหลือเพียงกะเดียว

โรงงานที่สำโรงนี้มีกำลังการผลิตเดือนละ 10,000 คัน ก็ได้ลดกำลังการผลิตลงเหลือเพียงเดือน 2,500-3,000 คันเท่านั้น ด้านพนักงานก็หยุดการจ้างพนักงานชั่วคราว (ลูกจ้างรายวัน) แต่ไม่ได้เลิกจ้างพนักงานประจำ โดยให้คนเหล่านี้ไปทำงานในส่วนของพนักงานชั่วคราวบ้าง และมีการส่งพนักงานบางส่วนไปฝึกงาน/ทำงานในญี่ปุ่น ซึ่งตอนนี้ส่งไปประมาณ 350-400 คนแล้ว

ในส่วนของผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศที่ผลิตชิ้นส่วนป้อนให้โรงงานอีซูซุ ขณะนี้เมื่อปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงกลุ่มผู้ผลิตเหล่านี้ ก็ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจด้วย ตรีเพชร อีซูซุฯ ได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ เหล่านี้ในหลายๆ ด้าน รวมทั้งด้านการเงินด้วย

ด้านการขาย ในส่วนของบริษัทตรีเพชร อีซูซุ เซลส์ ได้ดำเนินการลดขนาดองค์กรหรือ downsizing โดยปรับรูปแบบโครงสร้างองค์กรใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นำระบบการเกษียณงานก่อนอายุ และระบบลาออกด้วยความสมัครใจ (voluntary resignation) มาใช้ ซึ่งบริษัทจ่ายค่าตอบแทนและให้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่แก่พนักงานที่เข้าโครงการ

ส่วนระบบดีลเลอร์หรือผู้แทนจำหน่ายของอีซูซุทั่วประเทศนั้น ดีลเลอร์รายใดที่มีการลงทุนขยายกิจการไปในระหว่างช่วงเศรษฐกิจเติบโต และกลับมาประสบภาวะที่ตลาดหดตัวลงอย่างกะทันหันเช่นนี้ บริษัทตรีเพชรฯในฐานะที่เป็นบริษัทแม่ได้ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้ดีลเลอร์เหล่านั้นสามารถฝ่าวิกฤติไปพร้อมๆ กับบริษัทด้วย รวมทั้งการสนับสนุนด้านการเงิน

ทั้งนี้บริษัทตรีเพชรฯ เป็นผู้ดำเนินธุรกิจค้ารถยนต์ขนาดใหญ่มากรายหนึ่งในไทย บริษัทมีต้นทุนในการดำเนิน งานที่สูงมาก ขณะเดียวกันต้นทุนทางการเงินในประเทศไทยก็เพิ่มสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว เพราะอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก แต่บริษัทฯ ก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น ซึ่งได้แก่ บริษัทมิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และบริษัท อีซูซุ มอเตอร์ ที่ญี่ปุ่น ซึ่งต่างก็ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ตรีเพชรอีซูซุเซลส์อย่างดี

ด้านการส่งออก อีซูซุ มีการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตได้ในประเทศไปขายยังต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 1985 โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี เครื่องยนต์อีซูซุที่ผลิตในประเทศมีปริมาณการส่งออกจำนวนมาก และประเทศไทยก็ได้รับเลือกให้เป็นฐานการผลิตเครื่องยนต์อีซูซุเพื่อการส่งออกด้วย โดยประเทศที่มีการนำเข้าเครื่องยนต์อีซูซุ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ อียิปต์ เป็นต้น

ในปีนี้ อีซูซุเริ่มการส่งออกรถปิกอัพสำเร็จรูปที่ประกอบในประเทศทั้งคัน เพื่อไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยมีการส่งรถต้นแบบไปยังประเทศไซปรัส และประเทศมอลต้า (ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ซึ่งการส่งออกเช่นนี้สามารถสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ ด้วย

การส่งออกรถสำเร็จรูปทั้งคันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะรถแต่ละรุ่นมีสเป็กตามความต้องการของลูกค้าในแต่ละตลาด ซึ่งต้องมีการปรับสเป็กโดยการเตรียมความพร้อมของผู้ผลิตชิ้นส่วนด้วย

นอกจาก 2 ประเทศที่กล่าวถึงข้างต้น ตอนนี้ มร.คูนิฟูสะ กำลังพิจารณาที่จะส่งไปยังประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย ปากีสถาน บังกลาเทศ และศรีลังกา เขาคาดหมายว่าการส่งออกจะช่วยกระตุ้นยอดขายได้บ้างในปีนี้ แต่ทว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ก็ประสบปัญหาวิกฤติการเงินคล้ายคลึงกับไทย ดังนั้นการคาดหวังในด้านนี้จึงอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกในปี 2540 คิดเป็น 5% ของรายได้รวม

กลุ่มอีซูซุมีประวัติการดำเนินธุรกิจในไทยมานานกว่า 40 ปีแล้ว และกลุ่มฯ จำเป็นต้องรักษาความเป็นผู้นำอันดับหนึ่ง ในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ในประเทศไทยเอาไว้ให้ได้อย่างมั่นคง ซึ่งกลุ่มฯ จำเป็นต้องพิจารณานโยบายหลายๆ ด้าน กล่าวคือ

- อีซูซุคงนโยบายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและมีความก้าวหน้ามากกว่ายี่ห้ออื่นๆ และนำออกสู่ตลาดในระยะเวลาที่เหมาะสม นี่เป็นนโยบายที่ต้องทำต่อเนื่อง

- นอกจากนี้ก็จะดำเนินนโยบายหลักในเรื่องการสร้างความพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้าผู้ใช้รถในทุกๆ ด้าน

- จุดแข็งอีกจุดหนึ่งของอีซูซุคือ บริษัทมีเครือข่ายการจำหน่ายและการบริการด้านอะไหล่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บริษัทจะปรับปรุงให้ดีขึ้นและขยายให้มากขึ้นด้วย

- อีซูซุมีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์คือการรักษาราคาจำหน่ายรถยนต์ในท้องตลาด หรือที่เรียกว่านโยบายราคาเดียว (one price policy) นโยบายนี้ทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อบริษัท อีซูซุไม่มีการทำสงครามราคาในตลาด สิ่งที่เกิดขึ้นคือลูกค้ามีความเชื่อถือในยี่ห้ออีซูซุ นโยบายราคาเดียวทำให้ราคารถมือสองในตลาดมีราคาที่ดีตามมาด้วย

- ท้ายที่สุด บริษัทยังดำเนินนโยบายเรื่อง Isuzu Car Gallery ต่อไป เพราะว่าโครงการนี้เป็นโครงการเพื่อศตวรรษ ที่ 21 ของกลุ่ม เป็นโชว์รูมมิติใหม่พร้อมศูนย์บริการที่ทันสมัย ซึ่งกลุ่มอีซูซุทั้งประเทศได้ลงทุนไปมากในโครงการนี้ และจำเป็นต้องทำต่อไปเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดกับกลุ่มอีซูซุ ในประเทศไทย

อีซูซุมีภาพลักษณ์ที่มั่นคงมากในตลาดรถยนต์ไทย โดยเฉพาะความเป็นหนึ่งในตลาดรถปิกอัพ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการคือ ความเป็นหนึ่งในเรื่องคุณภาพผลิตภัณฑ์ การประหยัดน้ำมัน และเรื่องราคาขายต่อ เรื่องนโยบายราคาเดียว

เมื่อคู่แข่งได้แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดและพยายามสร้างความฮือฮาในตลาด มร.คูนิฟูสะ มองว่าเป็นหน้าที่ของผู้ผลิตรถยนต์ที่ต้องทำการประชาสัมพันธ์การขาย แต่เขามั่นใจว่าลูกค้ายังมีความเชื่อมั่นในรถปิกอัพอีซูซุ และเชื่อมั่นว่าอีซูซุสามารถรักษาความเป็นเจ้าตลาดรถปิกอัพ ในไทยไว้ได้ตลอดไป เพราะว่าอีซูซุมีกลยุทธ์ทางการตลาดหลายอย่าง และเป็นกลยุทธ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพที่แท้จริงของตลาดได้ตลอดเวลา

ปีนี้เป็นปีครบรอบ 40 ปีของการดำเนินธุรกิจของอีซูซุ ในตลาดประเทศไทย บริษัทมีการทำแคมเปญเรื่อง "ปีทองแห่งบริการคุณภาพอีซูซุ" ซึ่งได้ทำมา 3 เรื่องแล้วตั้งแต่ต้นปี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าในผลิตภัณฑ์อีซูซุ แต่ไม่มีเรื่องการตัดราคาจำหน่าย

อีซูซุยึดมั่นนโยบายการทำตลาดโดยไม่มีการเปลี่ยน แปลงไปตามคู่แข่ง และหลังจากที่คู่แข่งเปิดตัวรถแบบต่างๆ ออกมา อีซูซุก็ยิ่งมั่นใจว่าตลาดยังคงเป็นของอีซูซุแน่

เหตุผลของความมั่นใจดังกล่าว มร.คูนิฟูสะกล่าวย้ำในตอนท้ายว่า "รถปิกอัพสำหรับเมืองไทยนั้นถือเป็นรถที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และอีซูซุเป็นรถที่มีความคุ้มค่าเงินมากที่สุด (best value for money) ซึ่งนี่คือจุดขายที่แข็งแกร่งของอีซูซุ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us