Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2541
พงศ์พันธ์ พงษ์ศิริบัญญัติ หวังใช้เวทีโลกแก้ปัญหา VAT ทองคำ             
 


   
search resources

พงศ์พันธ์ พงษ์ศิริบัญญัติ




พงศ์พันธ์ พงษ์ศิริบัญญัติ : "สายตาของต่างชาติที่มองประเทศไทย เขายังมีความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยยังมีอนาคตอยู่ เพียงแต่รอให้เศรษฐกิจดีขึ้นก่อน หน้าที่ของผมก็คือ พยายามหาหนทางให้ร้านทองต่างๆ อยู่รอดได้"

หลังจากพยายามผลักดันให้รัฐบาลผ่อนปรนลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ของการซื้อขายทองคำมาเป็นเวลานาน  โดยไม่มีทีท่าว่าจะสำเร็จได้ง่าย  ล่าสุดพงศ์พันธ์ พงษ์ศิริบัญญัติ ผู้จัดการประจำประเทศไทยแห่งสมาพันธ์ผู้ผลิตทองคำโลก ได้ร่วมกับประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จัดตั้งคณะกรรมาธิการธนาคารผู้ผลิตทองคำแห่งอาเซียน (ASIAN CENTRAL BANK ADVISORY BOARD) ซึ่งเป็นทีมงานที่จัดตั้งขึ้นมา เพื่อเป็นเวทีสำหรับการถกปัญหาและหาแนวทางแก้ไขของประเทศสมาชิก  โดยสมาพันธ์ทองคำประเทศไทยจะนำปัญหาการจัดเก็บ VAT ทองคำที่ยังคาราคาซังอยู่ เข้าไปถกในเวทีนี้ด้วย ในการประชุมนัดแรกที่จะมีขึ้นประมาณกลางเดือนตุลาคมนี้ที่สิงคโปร์  และงานนี้พงศ์พันธ์ได้ทาบทาม ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร จาก TDRI ให้เข้านั่งเป็นตัวแทนของประเทศไทยในบอร์ดชุดนี้ด้วย

"เราจะผลักดันปัญหา VAT เข้าไปในบอร์ดนี้ด้วย เพื่อเป็นอีกวิธีหนึ่ง หลังจากที่เราทำมาหลายวิธีแล้ว   วิธีนี้อาจจะทำให้อำนาจการต่อรองของเรากับรัฐบาลดีขึ้น  สำหรับ ภาษี VAT ถ้าไม่เก็บเลยจะดีมาก หรือหากต้องเก็บควรเก็บจากค่ากำเหน็จ มิใช่เก็บจากมูลค่าทองคำทั้งหมดอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นอัตราที่มากเกินไป นอกจากนั้นบอร์ด นี้ยังมีการพูดคุยกันในเรื่องภาพรวมของเศรษฐกิจของแต่ละประเทศด้วย อาทิ การนำทองคำที่เป็นทุนสำรองของแต่ละประเทศมาออกพันธบัตร เป็นต้น" พงศ์พันธ์ชี้แจง นับเป็นความโชคดีของผู้ประกอบการและผู้บริโภคทองคำ ที่มีองค์กรเข้ามาช่วยผลักดันในเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่ม ในขณะที่สินค้าอื่นที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นยังไม่มีใครเข้ามาดูแลในเรื่องนี้อย่างจริงจัง และนี่เป็นเพียงหนึ่งในหลายกิจกรรมของสมาพันธ์ผู้ผลิตทองคำแห่งประเทศไทยทำในปีนี้ และปี'41 นี้สมาพันธ์ฯ มีอายุย่างเข้าปีที่ 8 แล้ว โดยในแต่ละปีทางสมาพันธ์ฯ จะเน้นกิจกรรมที่แตกต่างกันไปภายใต้นโยบายหลักขององค์กร ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นการบริโภคทองคำภายในประเทศไทย ผ่านกิจกรรมต่อไปนี้

กิจกรรมการโฆษณาประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการล็อบบี้เรื่องกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทองคำในประเทศ รวมทั้งจัดทำงานวิจัยตลาดผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระจายข้อมูลที่ได้มาไปสู่ผู้ประกอบการที่มีอยู่มากกว่า 7,000 รายทั่วประเทศ ให้รับรู้ถึงความต้องการของผู้บริโภค และจัดกิจกรรมแนะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมนี้ด้วย

"ในปีแรกของการก่อตั้งสมาพันธ์ฯ ได้เน้นการประชาสัมพันธ์เป็นหลัก ประจวบกับเป็นช่วงที่โกลด์มาสเตอร์เข้ามาในตลาดพอดี เราก็ช่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์ จากนั้นก็ตามมาด้วยพรีม่าโกลด์ ฮั่วเซ่งเฮง เป็นต้น นั่นคือยุคแรกที่ตลาดทองเริ่มมีการตื่นตัวในเรื่องของการโฆษณา" พงศ์พันธ์เล่า จากนั้นในปีถัดๆ มากิจกรรมจะเน้นทางด้านการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาผลิต เพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาหลังจากเหตุการณ์ลดค่าเงินบาทแล้ว ปริมาณการซื้อขายทองคำในประเทศ ไทยลดลงมากกว่า 80% และเพื่อเป็นการกระตุ้นผู้ผลิตทองคำรูปพรรณของไทยเร่งพัฒนาฝีมือในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ทางสมาพันธ์ฯ จึงได้จัดสัมมนาเทคโนโลยีการผลิตทองคำในหัวข้อ "แนวทางการพัฒนารูปแบบทองรูปพรรณในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ" เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ มาบรรยายในหัวข้อต่างๆ รวมทั้งให้คำแนะนำเทคนิคใหม่ๆ ในการผลิตทองน้ำหนักเบาที่มีคุณภาพสูง อาทิ วิธีการปั๊มขึ้นรูป (STAMPING) วิธีทำเครื่องทองกะรัตชนิดกลวง (HOLLOW JEWELLERY) และเทคนิคการขึ้นรูปผิวด้วยไฟฟ้า (ELECTROFORMING) เป็นต้น

"ตั้งแต่หลังลดค่าเงินบาท ตลาดทองได้รับผลกระทบหนัก ยอดขายหายไปประมาณ 80-90% ร้านทองมีแต่การรับซื้อคืน แทบจะไม่มีการขายออก ฉะนั้นเราต้องช่วยหาทางออกให้เขา อาทิ ให้ข้อมูลตลาดส่งออก ขณะเดียวกันเราก็ไม่ทิ้งตลาดในประเทศ การจัดสัมมนาครั้งนี้เรา จึงได้นำเอาบทเรียนของบริษัทหลายบริษัทในประเทศอิตาลีที่ครั้งหนึ่งเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เคยประสบกับวิกฤตเช่นนี้มาก่อนและเขาก็สามารถผ่านเหตุการณ์นั้น จนกลายเป็นผู้นำตลาดทองคำโลกได้ และทางออกที่เราสรุปเสนอให้แก่ผู้ผลิตทองคำในไทยก็คือ การผลิตสินค้าที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมแต่น้ำหนักเบาลงและราคาถูกลง เพื่อจูงใจให้เกิดแรงซื้อมากขึ้น" พงศ์พันธ์กล่าว

นอกจากนั้น ในปีนี้สมาพันธ์ฯ ของไทยได้ส่งตัวแทนผู้ประกอบการทองคำ 3 รายคือ บริษัท พรีม่าโกลด์ จำกัด, บริษัท บ้านช่างทอง จำกัด และบริษัท แฮง ออน จำกัด เข้าประกวดในงานสุดยอดแผนการตลาดสำหรับผู้ค้าทองคำในเอเชีย "WGC AWARD FOR ASIA GOLD MARKETING EXCELLENCE 1998" ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีแรกที่นครเซียงไฮ้ และมีรางวัลให้ส่งเข้าประกวดสูงถึง 10 ประเภท

โดยคณะกรรมการจะพิจารณารางวัล จากรายงานแผนงานการตลาดของแต่ละบริษัทในภูมิภาคเอเชีย ที่เริ่มดำเนินการในระหว่างเดือน มิ.ย.39 - ส.ค. 41 และรายงานสรุป แผนการตลาด 1 ฉบับสามารถส่งเข้าประกวดเพื่อชิงรางวัลได้สูงสุด 3 ประเภท ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาในแง่ของความสมเหตุสมผลในการวางกลยุทธ์ ความคิดสร้างสรรค์ และผลการดำเนินงานตามแผนนั้นๆ ประกอบกับผู้เข้าประกวดสามารถส่งสื่อนำเสนอผลงาน เช่น วิดีโอ ภาพข่าว ผลการวิจัยตลาด เข้าร่วมการพิจารณาได้ด้วย

"สายตาของต่างชาติที่มองประเทศไทย เขายังมีความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยยังมีอนาคตอยู่ เพียงแต่รอให้เศรษฐกิจดีขึ้นก่อน หน้าที่ของผมก็คือ พยายามหาหนทางให้ร้านทองต่างๆ อยู่รอดได้" พงศ์พันธ์กล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us