Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2541
"มหากิจรับเบอร์"รุ่นที่สอง             
 

   
related stories

ส่งออกไทยเปลี่ยน GENERATION ใหม่ เปลี่ยนนิยามใหม่

   
search resources

มหากิจรับเบอร์




เมื่อ 25 ปีที่แล้ว สุเทพ ชัยเศวตกานนท์ เด็กหนุ่มเชื้อสายจีน พร้อมกับพี่น้องของเขาได้ช่วยบิดาทำธุรกิจยางรัดของ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "หนังสติ๊ก" หรือ "ยางวง" โดยเริ่มจากโรงงานเล็กๆ ผลิตได้วันละ 4-5 กิโลกรัม ในช่วง 3 ปีแรกของการทำธุรกิจ พวกเขาแทบจะสิ้นหวัง เนื่องจากขายของไม่ได้เลย แต่แล้วพวกเขามาช่วยกันคิดว่าเมื่อขายในประเทศไม่ได้ ออกไปขายนอกประเทศน่าจะดีกว่า นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจส่งออกยางรัดของพวกเขา

ในสมัยนั้น ประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าตลาดยางรัดของรายใหญ่ที่สุด ขณะที่มหากิจรับเบอร์ค่อยๆ แทรกตัวเข้าไปในตลาดยุโรป ผ่านนายหน้าผู้นำเข้าที่ประเทศสิงคโปร์ จนกระทั่งปัจจุบัน มหากิจรับเบอร์กลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางรัดรายใหญ่ ภายใต้การนำของ สุเทพ ที่เข้ามานั่งบริหารในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการอย่างเต็มตัว

มหากิจรับเบอร์มีโรงงานอยู่ที่จังหวัดระยอง มีกำลังการผลิตประมาณ 1,200 ตันต่อเดือน เป็นระดับ 1 ใน 5 ของประเทศไทย จากผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกยางรัดที่มีอยู่ประมาณ 30 บริษัทในประเทศไทย และได้เบียดผู้นำตลาดอย่างมาเลเซีย จนทำให้ประเทศไทยกลายมาเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางรัดรายใหญ่ที่สุดของโลกในปัจจุบัน

กระนั้น สุเทพ กล่าวว่า ประเทศไทยจะประมาท ไม่ได้ เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันสูงมาก แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิตยางพารา ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตยางรัดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของโลก แต่ปัจจุบันรัฐบาลได้เข้ามาประกันราคายางไม่ให้ตกต่ำ แทนที่จะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด จึงทำให้ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่งของไทย ต่างก็ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้ค่าเงินอ่อนลง ทำให้สินค้ามีราคาถูกลงไปด้วย ประเทศเหล่านั้นจะมีความได้เปรียบได้เรื่องของราคาและการส่งออกมากกว่าไทย ยิ่งไปกว่านั้น ยางส่วนใหญ่ที่รัฐบาลซื้อ เก็บไว้จะเป็นยางรมควัน ซึ่งนำไปใช้ในการผลิตยางรถยนต์ ซึ่งคุณสมบัติไม่เหมาะที่จะผลิตเป็นยางรัดของ ยางรัดของต้องผลิตจากยางดิบที่ไม่ได้รมควันที่มีสีออกเหลืองนวล ซึ่งหากเป็นเช่นนี้นานๆ อาจส่งผลกระทบให้ตัวเลขการส่งออกยางรัดลดลงได้

"ตามปกติที่รัฐบาลเข้ามาประกันราคา เราก็ทนไป เพราะส่วนใหญ่จะไม่นาน ช่วงที่มีการประกันราคาเราก็ต้องซื้อของแพง แต่ครั้งนี้นานมาก ปัญหาอาจจะเกิดขึ้นได้หากดูยอดการส่งออกยางรัด 3 ปีย้อนหลัง จะเห็นว่าตัวเลขเราค่อยๆ ลดลงในปี 38 ลดลงประมาณ 5% ปี 39 ลดลง 3% ทั้งๆ ที่ช่วงนั้นยังไม่มีปัญหาเรื่องราคาวัตถุดิบ แต่มีปัญหาเรื่องค่าแรง ซึ่งหากมีปัญหาเรื่องต้นทุนบวกเข้าไปอีก ผู้ประกอบการส่งออกยางรัดไทย อาจจะแข่งขันไม่ได้ในตลาดโลก"

อย่างไรก็ดีในส่วนของมหากิจรับเบอร์ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากปัญหานี้เท่าไรนัก เนื่องจากทางบริษัทผู้ผลิตยางพาราเองด้วย โดยรับซื้อยางโดยตรงจากชาวสวน ซึ่งยางพาราที่ผลิตได้ 30% จะป้อนให้แก่โรงงานผลิตยางรัดของบริษัทเอง ส่วนอีก 70% ขายให้แก่โรงงานผลิตยางรถยนต์ ซึ่งหากโรงงานผลิตยางรัดได้วัตถุดิบในส่วน ที่รัฐบาลเก็บไว้มาเพิ่มในราคาตามตลาดโลก สุเทพเชื่อว่า กำลังการผลิตและยอดส่งออกยางรัดจะเพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องที่จะแก้กันได้ง่ายๆ เขาจึงต้องช่วยเหลือ ตัวเองก่อน ด้วยการพยายามมองหาตลาดใหม่ๆ นอกเหนือจากตลาดหลักที่มีอยู่

ปัจจุบันตลาดหลักของมหากิจรับเบอร์คือ ยุโรป ประมาณ 70% อเมริกา 20 % ที่เหลือเป็นตลาดอื่น เช่น ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และตอนนี้ สุเทพ กำลังเข้าเจาะตลาดในอเมริกาใต้เพิ่มขึ้นอีก

"เป้าหมายของเราในปีนี้ เราพยายามประคับประคองไม่ให้ตัวเลขของเราตกลง เนื่องจากเรามีปัญหาเรื่องต้นทุนสูงกว่าตลาดโลก และมาร์เก็ตแชร์ในประเทศ เราก็ลดลง จากเดิมที่เคยอยู่ที่ประมาณ 30% แต่ตอนนี้เหลือประมาณ 25% เนื่องจากมีบริษัทเล็กๆ รายใหม่เกิดขึ้นมาก เราจึงเสียแชร์บางส่วนไปประมาณปีละ 1,000 กว่าตัน ซึ่งเราจะประมาทไม่ได้"

อย่างไรก็ดี การที่มหากิจรับเบอร์ เป็นผู้ส่งออกยางรัดรายใหญ่ของประเทศไทยที่มีการส่งออกเกือบ 100% รวมทั้งวัตถุดิบที่ใช้ก็เป็นยางพาราในประเทศ ซึ่งยางรัดของถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ยางพาราสูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจากยางรถยนต์ และพื้นรองเท้ากีฬา จึงทำให้เขาได้รับการพิจารณาให้เป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัล PM AWARD ประเภทผู้ส่งออกดีเด่น ประจำปี 41 นี้

"เราไม่เคยคิดว่าเราจะได้รับรางวัลที่มีเกียรติถึงระดับชาติ เพราะเรามองตัวเราเองว่า ไม่ใช่บริษัทใหญ่โตอะไร เราไม่เคยหวัง เพราะส่วนใหญ่บริษัทใหญ่ๆ มักจะได้ พอเราได้ เราก็ภูมิใจ สิ่งที่เราจะทำเป็นอันดับแรกคือ จะนำสัญลักษณ์รางวัลที่ได้นี้ไปพิมพ์ใส่หัวกระดาษจดหมาย ให้ลูกค้าทั่วโลกได้รู้ว่าบริษัทเราได้รับรางวัลระดับชาติ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้ายิ่งขึ้น"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us