Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2541
สหการประมูลพลาดงานประมูลบ้านของปรส.อย่างไม่ทันรู้ตัว             
 


   
search resources

สหการประมูล




ผมกำลังรองานของปรส.ที่จะ เอาอสังหาริมทรัพย์ของ 56 ไฟแนนซ์ออกมาประมูล โดยจะเข้าเป็นผู้ดำเนินการประมูล ซึ่งผมคาดว่าจะได้รับเลือก เพราะเราเป็นบริษัท มืออาชีพที่มีการดำเนินงานเรื่องประมูลบ้าน ประมูลรถ มาอย่างต่อเนื่อง"

เทพทัย ศิลา กรรมการผู้จัดการบริษัทสหการประมูลกล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" อย่างมั่นใจ แน่นอนเทพทัยหวังไว้ว่าหากคว้างานนี้มาได้จะทำให้บริษัทของเขาเป็นที่ยอมรับ และมีชื่อเสียงในวงการเพิ่มขึ้น และเขาคาดว่าจะรู้ว่าใครเป็นผู้ดำเนินการประมูลแน่นอนในเดือนตุลาคมนี้

แต่ถัดจากวันให้สัมภาษณ์

"ผู้จัดการรายเดือน" เพียงวันเดียว ทางปรส. ก็ได้มีงานแถลงข่าวเรื่อง "ปรส.จะนำอสังหาริมทรัพย์ของ 56 ไฟแนนซ์ออกมาประมูลในวันที่ 8 พ.ย. 2541" และประกาศรายชื่อบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ดำเนินการประมูลคือ เอ็น.ซี.ซี. แมเนจเม้นท์ แอนด์ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท ที่มีทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมีงานหลักคือการบริหารศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในปัจจุบัน

เอ็น.ซี.ซี.ฯ ไม่เคยสร้างผลงานเรื่องการประมูลบ้านหรือที่อยู่อาศัยอื่นๆ เคยแต่เพียงทำหน้าที่เป็นผู้จัดการประมูลรูปภาพของปรส.มาก่อนเท่านั้น จึงเกิดข้อสงสัยเล็กๆ ขึ้นว่าทำไมจึงได้รับการคัดเลือกในครั้งนี้?

"ที่เราได้รับงานนี้เป็นเพราะเราไม่ได้คิดค่าคอมมิชชั่น เป็นเปอร์เซ็นต์เหมือนบริษัทอื่นๆ เราขอเพียงกำไรนิดหน่อย ให้พนักงานมีงานทำก็พอแล้ว และที่สำคัญการที่มีศูนย์ประชุมสิริกิติ์ซึ่งจะใช้เป็นที่ประมูลนั้นก็เป็นของบริษัทเราเอง บอกได้เลยผมได้ค่าบริหารในเรื่องการประมูลนี้ไม่ถึง 10 ล้านบาท" ประพันธ์ อัศวารี กรรมการบริษัทเอ็นซี.ซี. ชี้แจง เฉลยข้อสงสัยที่ว่าทำไมบริษัทที่มีประสบการณ์น้อยนิดอย่างบริษัทของเขาจึงได้รับเลือก

แม้จะพลาดงานนี้ไปอย่างไม่ทันตั้งตัว แต่ทางสหการประมูล ก็ยังมีงานประมูลบ้านของลูกค้าทั่วไปในทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน ส่วนงานประมูลรถจะมีทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ขณะเดียวกันก็เตรียมทีมงานไว้พร้อมเพื่อรับงานประมูลสินค้าทั่วๆ ไปด้วย

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2534 เทพทัยตั้งบริษัทสหการประมูลด้วยความไม่มั่นใจเลยว่าจะได้รับการยอมรับหรือไม่ โดยมีทีมงานเพียง 10 คน เช่าพื้นที่สำหรับตั้งบริษัทและลานประมูลในเนื้อที่เพียง 2 ไร่ ในบริเวณซอยลาดพร้าว 87 เริ่มงานด้วยการประมูลรถที่สถาบันการเงินยึดจากลูกค้ามาทำการประมูล

"ผมไปเห็นแนวทางประมูลในประเทศญี่ปุ่น และอเมริกา ทำให้เราสนใจที่จะตั้งบริษัทมาตั้งแต่ปี 2530-2531 แต่พอเช็กตลาดบ้านเราก็พบว่าตลาดไม่ยอมรับ เพราะว่าในสมัยนั้นตลาดเป็นของผู้ขาย มีอะไรก็ขายได้ ขายใบจองกันวุ่น รถมือ 2 เองก็ปรับราคา กันทุกเดือนพลอยขายดีไปด้วยเพราะรถใหม่ขาดตลาด เศรษฐกิจมันบูมมาก" เทพทัยอธิบาย

การประมูลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นก็จะเป็นเรื่องที่เจ้าของทรัพย์สิน เจ้าของไฟแนนซ์ทำกันเอง เปิดประมูลตรงไหนคนก็ไปประมูล ไม่ต้องอาศัยคนกลางไม่ ต้องทำการตลาด ไม่ต้องทำการประชาสัมพันธ์ จะมีคนไปซื้อกันเยอะ ขายหมด เพราะตลาดรถต้องการรถมาก

แต่ในที่สุดหลังจากที่สหการ ประมูลได้ทำงานอย่างมีระบบ มีการประชาสัมพันธ์ ทำการตลาด ดึงคนให้เข้ามาร่วมการประมูลมากขึ้น ได้ราคาที่เป็นที่พอใจกันทั้ง 2 ฝ่ายก็ทำให้มีลูกค้ามากขึ้น ปี 2535 เทพทัยก็ได้มาเปิดที่ทำการแห่งใหม่ บนถนนประชาอุทิศ ในพื้นที่ถึง 30 ไร่ คราวนี้เขาพกความมั่นใจในการตั้งบริษัทเต็มเปี่ยม พร้อมกับขยายสาขาไปยังฝั่งธนบุรี และสาขาเซียร์รังสิต เพื่อสร้างความสะดวกให้ลูกค้าแต่ละย่านๆ ไป

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาส่วนใหญ่ สหการประมูลจะทำการประมูลเฉพาะรถยนต์เท่านั้น และได้รับความไว้วางใจจากสถาบันการเงินหลายๆ แห่งในการให้เป็นผู้ประมูล รถที่ถูกยึดมา พอร์ตใหญ่ๆ ก็เช่นรถจากซิตี้แบงก์ รวมทั้งการรับงานจาก ปรส. คืองานประมูลรถยนต์ที่ยึดมาจาก 56 สถาบันการเงิน เป็นรถประจำตำแหน่งของผู้บริหารที่ไฟแนนซ์ ต่างๆ ยึดมาแต่ยังไม่ได้ขายทอดตลาดก็ถูกสั่งปิดเสียก่อน ประมาณ 4 พันคัน สหการประมูลรับมาจัดการเรื่องประมูล 2,500 คัน ขายได้ราคาไปประมาณ 600 ล้านบาท จากที่เคย ทำยอดขายต่อวันประมาณ 30 ล้านบาท แต่ในงานนี้ทำยอดเงินได้สูงถึง 180 ล้านบาทต่อวัน

จากต้นปี ถึงเดือนกันยายน 2541 นี้ บริษัททำการประมูลรถไปได้แล้วประมาณ 11,000 คันมูลค่า 2,600 ล้านบาท เป็นของปรส. 600 ล้านบาท ที่เหลือเป็นของสถาบันการเงินต่างๆ

"ราคารถปรับตัวลงไปประมาณ 10% จากปีที่แล้วกำลัง ซื้อน้อยลงแต่ผู้ประกอบการสนใจงานประมูลมากขึ้น ยอดขายต่อสัปดาห์ประมาณ 200 คัน เป็นเงินประมาณ 40-50 ล้าน ถ้าเทียบกับเมื่อก่อนจะขายได้เพียง 100 กว่าคันเท่านั้น"

จากงานประมูลรถ สหการประมูลเริ่มเข้าสู่การประมูลบ้าน ซึ่งจะเป็นบ้านทั่วไป รวมทั้งบ้านที่สถาบันการเงินยึดมา โดยเริ่มเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2541 เป็นครั้งแรก ซึ่งประสบความสำเร็จพอสมควร และได้วางแผนไว้ว่าปีนี้จะจัดประมูลบ้านเพียงเดือนละครั้งเท่านั้น โดยในการประมูลต่อครั้งจะรับบ้านไม่เกิน 70 หลัง

จากสถิติที่ผ่านมา เทพทัยเปิดเผยว่า "ถ้าจะให้ฟันธงลงไปว่าราคาบ้านลดลงเท่าไหร่ ก็มองง่ายๆ ว่าปีที่แล้วราคาเท่าไหร่ก็แล้วแต่ปีนี้จะลดลง 50% แต่ถ้าเป็นรถยนต์จะลดลง10-20%"

แม้จะพลาดงานของ ปรส. แต่ตราบใดที่สถาบันการเงินต่างๆ กำลังเอาสินค้าของตัวเองมาเลหลังขายก่อนเป็นหนี้เสีย รวมทั้งการยอมรับของประชาชนที่จะซื้อสินค้าโดยผ่านระบบการประมูลมากขึ้น อนาคตของธุรกิจนี้ เทพทัยจึงมั่นใจว่าจะมีช่องทางอีกมากทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us