Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2541
โมโตโรล่า ปลดล็อกจากยูคอมงานนี้เอ็มลิงค์รับไปเต็มๆ             
 


   
search resources

Motorola Inc.




ในที่สุดสายสัมพันธ์อันแนบแน่น ระหว่างบริษัทโมโตโรล่า อิงค์ สหรัฐอเมริกา และบริษัทยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรีส์ จำกัด (ยูคอม) ที่มีมายาวนานกว่า 30 ปีต้องปิดฉากลง

อันเนื่องมาจากการที่โมโตโรล่า อิงค์ ได้ตัดสินใจขายหุ้นจำนวน 12.6% ที่ถืออยู่ในบริษัทเวิลด์เทเล-คอมโฮลดิ้ง ซึ่งถือหุ้นอยู่ในบริษัทยูคอมไปให้กับบริษัท SOMERS UK ประเทศอังกฤษ

การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ หากจะมองในแง่ความสัมพันธ์ของทั้งสองแล้วก็ต้องบอกว่าไม่ธรรมดา เพราะยูคอมนั้นสร้างเนื้อสร้างตัวมากับผลิตภัณฑ์ของโมโตโรล่ามาเป็นเวลามากกว่า 30 ปี ในฐานะของตัวแทนจำหน่ายในไทย ความสัมพันธ์ระหว่างยูคอม กับโมโตโรล่าจึงไม่ต่างไปจากนิสสันที่มีต่อสยามกลการ เป๊ปซี่กับบริษัทเสริมสุข หรือโค้กที่คู่กับไทยน้ำทิพย์

หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจเกือบทุกแห่งที่ยูคอม เข้าไปเสนอขายระบบสื่อสารจะต้องมีอุปกรณ์ของโมโตโรล่าเป็นสินค้าหลัก ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแห่งประเทศไทย กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานราชการหลายแห่ง

ในช่วงที่ยูคอมเข้าตลาดหลักทรัพย์ คือประมาณ 4-5 ปีมาแล้วได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ให้ดูเป็นสากลมากขึ้น ในช่วงนั้นเองโมโตโรล่าก็เข้ามาถือหุ้น จากคู่ค้าจึงกลายมาเป็นผู้ถือหุ้นทำให้ภาพของยูคอมยิ่งดีขึ้นไปอีก จากการที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโมโตโรล่ามาถือหุ้น นั่นเท่ากับเป็นการรับประกันว่าจะได้รับการสนับสนุนจากโมโตโรล่า มากไปกว่าเดิม

ในด้านของโมโตโรล่าเองก็มองว่าในช่วงนั้นตลาดสื่อสารของไทยก็กำลังเติบโตอย่างสุดขีด การลงทุนกับกลุ่ม ยูคอมน่าจะได้รับผลดีในหลายๆ ด้าน

แต่ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง

หลายโครงการสื่อสารที่ยูคอมประมูลมาได้ รวมทั้งการขยายเครือข่ายของแทคไปสู่ระบบดิจิตอล กลับไม่มีอุปกรณ์ของโมโตโรล่าไปมีส่วนร่วม ซึ่งโครงการเหล่านี้มีมูลค่ามหาศาล

เช่น กรณีของการขยายจากระบบอนาล็อกแอมป์ 800 ไปสู่ระบบดิจิตอลพีซีเอ็น 1800 ของแทคก็เลือกใช้อุปกรณ์ของโนเกียเพียงรายเดียว รวมทั้งในการประมูลขายและติดตั้งอุปกรณ์ระบบซีดีเอ็มเอของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ในครั้งนั้นยูคอมก็เสนออุปกรณ์ของบริษัทลูเซนท์ สหรัฐอเมริกา

จะว่าไปแล้วปัญหานี้ส่วนหนึ่งก็มาจากโมโตโรล่าเองที่ไม่มีความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ เป็นเพราะนโยบายของโมโตโรล่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบดิจิตอลมาตั้งแต่แรก โมโตโรล่าไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้พัฒนาระบบจีเอสเอ็มเหมือนกับซัปพลายเออร์ค่ายยุโรปอื่นๆ ที่ต่างก็มุ่งไปที่ระบบ ดิจิตอลจีเอสเอ็ม เนื่องจากตลาดใหญ่ของโมโตโรล่า คือสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีตลาดของแอมป์ 800 ที่โมโตโรล่าพัฒนาขึ้นครองตลาดส่วนใหญ่อยู่ และโทรศัพท์มือถือในโลกอนาคตของโมโตโรล่า คือ ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม ที่จะครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้ทั่วโลกไม่ว่าจะอยู่จุดไหน และนี่เองจึงเป็นที่มาของโครงการอีรีเดียม

แต่ในโลกของเทคโนโลยีแล้วใครมาก่อนย่อมมีสิทธิก่อน เมื่อระบบจีเอสเอ็มถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในหลายๆ ประเทศ เป้าหมายของระบบจีเอสเอ็มมุ่งเน้นมาตลอดก็คือการโรมมิ่งให้ใช้ร่วมกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ประเทศไหนทำให้พื้นที่บริการของจีเอสเอ็มจึงกว้างมาก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโมโตโรล่าจะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับระบบดิจิตอล ทั้งจีเอสเอ็มและซีดีเอ็มเอและหันมาผลิตอุปกรณ์เครือข่ายป้อนให้กับตลาดแล้วก็ตาม แต่โมโตโรล่าก็ผลิตเฉพาะอุปกรณ์ในส่วนที่เป็นทรานสมิทชั่น (อุปกรณ์สื่อสัญญาณ) เท่านั้น ส่วนอุปกรณ์สวิทชิ่งหรือชุมสาย นั้นกลับไม่มีเทคโนโลยีของตัวเอง ต้องไปขอซื้อจากซีเมนส์แห่งเยอรมันแต่ก็ดูเหมือนจะไม่ทันการแล้ว เพราะซัปพลาย เออร์จากค่ายยุโรปต่างก็ผลิตอุปกรณ์แบบครบวงจร ทำให้โมโตโรล่าต้องตกเป็นรองอย่างช่วยไม่ได้

ในด้านของตลาดลูกข่ายโทรศัพท์มือถือก็เช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมาโมโตโรล่าต้องสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับคู่แข่งทั้งสองรายมาตลอด ทั้งๆ ที่ก่อน หน้านี้โมโตโรล่าเคยเป็นโทรศัพท์มือถือยี่ห้อแรกๆ ที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี เฉพาะแค่ระบบเอ็นเอ็มที 900 โมโตโรล่ามียอดลูกข่ายที่ยังอยู่ในตลาด 1 แสนกว่าเครื่อง ยังไม่รวมระบบแอมป์ 800 ที่โมโตโรล่าครองอันดับ 1 มาตลอด

แต่เมื่อพ้นจากยุคระบบอนาล็อกมาสู่ยุคของดิจิตอลแล้ว กลับไม่ใช่ยุคของโมโตโรล่าอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบจีเอสเอ็มนั้นโมโตโรล่าไม่สามารถทำยอดขายติดอันดับต้นๆ ได้เลย

นอกเหนือจากความผิดพลาด ในเรื่องของนโยบาย ทำให้โมโตโรล่า วางตลาดโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ล่าช้าไปกว่าคู่แข่งแล้ว สายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างโมโตโรล่าและยูคอม ก็ได้กลายเป็นจุดอ่อน ที่ทำให้โมโตโรล่าไม่สามารถ ขยายตลาดโทรศัพท์มือถือระบบอื่นๆ ได้เต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบ จีเอสเอ็ม และเอ็นเอ็มที 900 ของค่ายชินวัตร ซึ่งเป็นคู่แข่ง สำคัญของค่ายยูคอม

ความสำเร็จของโนเกีย และอีริคสันเป็นสิ่งที่โมโตโรล่าไม่อาจมองข้าม โนเกียนั้นดำรงตนเป็นซัปพลายเออร์อย่างแท้จริง ไม่ผูกติดกับโอเปอเรเตอร์รายใดรายหนึ่ง ป้อนสินค้าให้กับทุกระบบทุกค่าย โนเกียยังผลิตเครื่องรุ่นใหม่ๆ ออกวางตลาดอยู่ตลอดเวลา และย่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น จนเรียกได้ว่า โนเกียมีเครื่องรุ่นใหม่ออกวางจำหน่ายมากที่สุดในเวลานี้ ภายใต้นโยบายที่เข้าถึงผู้บริโภค (CUSTOMER OREINTED) ในช่วง 3-4 ปีมานี้โนเกียจึงมาแรงแซงโค้งไปอยู่อันดับ 1 ในตลาดมือถือเกือบทุกระบบ

นี่คือ จุดอ่อนที่โมโตโรล่าตระหนักดี และพยายามหาทางออกมาตลอด แต่ก็ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ ซึ่งครั้งหนึ่งโมโตโรล่าเคยเปิดเจรจากับค่ายเอไอเอสเพื่อให้เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่แล้วก็ต้องล้มเลิกไปในที่สุด หลังจากที่บุญชัย เบญจรงคกุล บินไปบริษัทแม่โมโตโรล่า ที่สหรัฐอเมริกา พร้อมกับการลาออกของผู้บริหารโมโตโรล่า ประเทศไทยที่เป็นผู้เจรจากับเอไอเอส

เมื่อน้ำขึ้นย่อมมีลง เมื่อภาวะเศรษฐกิจมาถึงจุดตกต่ำอย่างหนัก ยูคอมเจอพิษค่าเงินบาทเข้าอย่างจัง ต้องหันมาปรับองค์กรเพื่อรับมือกับภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอำนาจ ต่อรองที่เคยมีย่อมลดลงไปตามธุรกิจ โมโตโรล่าก็ได้โอกาสปลดล็อกตัวเองลง หลังตัดสินใจขายหุ้นในบริษัท ยูคอม โมโตโรล่าแต่งตั้งบริษัทเอ็ม-ลิงค์ เอเซีย คอร์ปอเรชั่น เป็นตัว แทนจำหน่ายโทรศัพท์มือถือรายที่ 2 ในไทย เพื่อทำตลาดเครื่องลูกข่าย ในระบบ GSM ทันที ส่วนยูคอม นั้นก็ยังเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับโมโตโรล่าเหมือนเดิม

บริษัทเอ็ม-ลิงค์ เอเซียนั้นไม่ใช่อื่นไกล แต่เป็นของเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และมณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล น้องสาวทั้งสองของดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งต่างก็ทำธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์โทรคมนาคมมานานหลายสิบปี ตอนหลังมาตั้งบริษัทร่วมกันเป็นตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์มือถือหลายยี่ห้อในระบบจีเอสเอ็ม และเซลลูลาร์ 900 ในอดีตนั้นเคยเป็นผู้จำหน่ายอุปกรณ์ของโมโตโรล่าในยุคแรกๆ

ผู้บริหารของโมโตโรล่าให้เหตุผลว่า การแต่งตั้งเอ็มลิงค์เป็นตัวแทนจำหน่ายแทนที่จะผ่านระบบการจำหน่ายของเอไอเอส ที่รู้จักกันดี ในนามของ "โมบายฟอร์มชินวัตร" เหมือนกับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือค่ายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโนเกีย อีริคสัน ซีเมนส์ อัลคาเทล ก็เพราะเอ็มลิงค์นั้นมีความชำนาญในตลาดมานาน และสามารถมุ่งเน้นทำตลาดให้โมโตโรล่าได้มากกว่า ซึ่งทำตลาดเครื่องลูกข่ายหลายยี่ห้ออยู่แล้ว

แน่นอนว่า เป้าหมายของโมโตโรล่าก็คือ การช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดของจีเอสเอ็ม ที่สูญเสียให้กับคู่แข่งมานานปีโมโตโรล่าประเดิมด้วยการวางจำหน่ายเครื่องลูกข่ายในระบบ จีเอสเอ็มพร้อมกันทีเดียว 5 รุ่น สตาร์แทค C, สตาร์ แทค X, สตาร์แทค 80, รุ่น D160 และ D560 เรียกว่ามากที่สุดในระบบจีเอสเอ็มเวลานี้

นี่คือ ความเคลื่อนไหวระลอกแรกของโมโตโรล่า ที่ยังต้องรอดูว่าจะมีทีเด็ดอื่นๆ ตามมาหรือไม่ เพราะงานนี้โมโตโรล่าคงต้องเจอกับคู่แข่งที่เตรียมรับมือกันอย่างเต็มที่

การทวงแชมป์ของโมโตโรล่าในครั้งนี้จะช้าไปหรือไม่จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us