Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543
โฟล์ค นิวบีทเทิ่ล เมื่อผู้ค้าประกาศสงครามกับผู้นำเข้า             
 


   
search resources

ยนตรกิจ กรุ๊ป
ซัน ออโต้ อิมพอร์ต
ไทยยานยนต์




สมรภูมิการแข่งขันด้านการทำตลาดรถยนต์ของไทย เริ่มเข้มข้นขึ้น เพราะนอกจากในระหว่างค่ายรถจะเปิดแนวรบด้วยกันเองแล้ว แนวรบระหว่างค่ายรถ กับผู้นำเข้าอิสระก็มีความร้อนแรงไม่แพ้กัน

กรณีของรถโฟล์คสวาเกน รุ่นนิว บีทเทิ่ล นับเป็นการตอกย้ำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนถึงแนวรบดังกล่าว

นิวบีทเทิ่ลถูกสร้างขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่ยังมีความนิยมในความคลาสสิกของ "โฟล์คเต่า" ซึ่งมีความโค้งมนของตัวบอดี้เป็นเสน่ห์ดึงดูด

แต่ในประเทศไทยรถรุ่นนี้เปิดตัวค่อนข้างช้า เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ เพราะโฟล์คสวาเกน เอจี ได้เปิดตัวรถนิวบีทเทิ่ลในยุโรป และอเมริกา มาตั้งแต่เมื่อต้นปี 2542

บริษัทไทยยานยนต์ ในเครือยนตรกิจ ซึ่งได้ประกาศโครงการร่วมทุนกับโฟล์คสวาเกน เอจี เพื่อทำตลาดรถโฟล์คในประเทศไทย เพิ่งนำรถนิว บีทเทิ่ล มาเปิดตัวในประเทศไทยครั้งแรกในงานมอเตอร์โชว์ เมื่อต้นเดือนเมษายน

และหลังจากนั้น ก็ไม่มีข่าวคราวเกี่ยวกับรถรุ่นนี้ออกมาอีกเลย

ความเงียบของค่ายยนตรกิจ ต่อรถโฟล์ครุ่นนี้ ทำให้บริษัทซัน ออโต้ อิมพอร์ต ซึ่งเป็นบริษัทผู้นำเข้าอิสระ มองเห็นช่องทางการตลาด จึงได้ประกาศ นำเข้านิวบีทเทิ่ลเข้ามาจำหน่ายในไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยตั้งเป้ายอดขายคือ จะจำหน่ายให้ได้เดือนละ 30 คัน ในราคาคันละ 2.59 ล้านบาท

จินต มงคลยศ กรรมการผู้จัดการ ซัน ออโต้ อิมพอร์ต กล่าวในงาน เปิดตัวนิวบีทเทิ่ล ที่จะนำเข้ามาจำหน่ายว่า ยังมีรถยนต์รุ่นพิเศษหลายรุ่นที่ลูกค้าในประเทศไทยให้ความสนใจ "แต่บริษัทแม่โดยตรงไม่สนใจ ที่จะนำเข้ามาทำตลาด ยุทธศาสตร์ของซัน ออโต้ อิมพอร์ต จึงอยู่ ที่การรุก เพื่อนำรถยนต์รุ่นพิเศษเหล่านี้เข้ามาจำหน่าย เพื่อสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า"

การชิงจังหวะเปิดตัวนำเข้ารถ นิวบีทเทิ่ลมาจำหน่ายก่อนเป็นรายแรก ของผู้นำเข้าอิสระอย่างซัน ออโต้ อิมพอร์ต นับว่ามีผลกระทบต่อแผนการทำตลาดรถรุ่นนี้ของค่ายยนตรกิจพอสมควร เพราะแม้จะเปิดตัวรถได้ก่อนเป็นรายแรก แต่กลับปล่อยให้ผู้นำเข้าอิสระสามารถนำรถเข้ามาจำหน่ายได้ก่อน

แผนการแก้เกม เพื่อชิงความได้เปรียบทางการตลาดกลับคืนมา จึงถูกคิดค้นขึ้น และตอบโต้กลับ

วันที่ 22 มิถุนายน หลังจากซัน ออโต้ อิมพอร์ต ประกาศนำรถนิวบีทเทิ่ล เข้ามาจำหน่ายได้เพียงเดือนเดียว ไทยยานยนต์ ในเครือยนตรกิจ ก็ได้จัด งาน เปิดตัวรถโฟล์ค รุ่นนิวบีทเทิ่ลขึ้นอย่างเป็นทางการ ด้วยการให้ผู้ที่สนใจซื้อ รถรุ่นนี้ ประมูลราคาเข้ามาผ่านทางอิน เทอร์เน็ต โดยมีรถ ที่จะนำออกมาประมูล ครั้งนี้ เพียง 100 คัน ระยะเวลาประมูลตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน จนถึงวันที่ 22 กรกฎาคม

ด้วยราคาตั้งต้นสำหรับการประมูลที่ไทยยานยนต์กำหนดไว้เพียงคันละ 1.5 ล้านบาท

ต่ำกว่าราคารถนิวบีทเทิ่ล ที่ซัน ออโต้ อิมพอร์ตนำเข้ามาขายให้กับลูกค้า ถึงคันละ 1 ล้านบาท

นับเป็นการนำกลยุทธ์ในเรื่องการได้เปรียบของราคา ที่แตกต่างเข้ามาใช้สร้างความฮือฮา และเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีสีสัน

และ เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการประมูลราคา ไทยยานยนต์ กำหนดให้เงิน ที่มีการประมูลเข้ามาในส่วน ที่สูงกว่า 1.5 ล้านบาท จะให้กับการกุศลโดยบริจาคเข้าโครงการมูลนิธิ เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมทั้งหมด

พร้อมทั้งเกทับต่อไปอีกว่าไทยยานยนต์จะหักรายได้ ที่ได้รับจากการขายรถนิวบีทเทิ่ล ที่นำออกมาประมูลครั้งนี้ อีกคันละ 1 แสนบาท เพื่อบริจาค สมทบเข้าไปในโครงการเดียวกันอีกด้วย

รวมเบ็ดเสร็จ ไทยยานยนต์จะมีรายได้จากการประมูลขายรถรอบนี้เพียง คันละ 1.4 แสนบาท

"เราแทบจะไม่ได้กำไรจากการนำรถนิวบีทเทิ่ลมาประมูลขายในรอบนี้เลย" ฐิติกร ลีนุตพงษ์ กรรมการบริหาร ไทยยานยนต์กล่าวในการเปิดตัว และให้เหตุผลว่า ที่ไทยยานยนต์ต้องใช้แผนการตลาดในรูปแบบนี้ เพื่อสร้างช่อง ทางการจำหน่าย ที่ไม่ซ้ำแบบใคร และเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่เข้าร่วมประมูลทุกคนได้มีส่วนสมทบทุนเข้าร่วมกับโครงการมูลนิธิ เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาสในต่างจังหวัดด้วย

"ยิ่งมูลค่าการประมูลมากเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นผลดีกับโครงการนี้"

แม้ว่าการเปิดตัวรถโฟล์ค นิว บีทเทิ่ลของไทยยานยนต์ด้วยรูปแบบใหม่นี้ ถ้ามองในแง่ของเม็ดเงินแล้ว ค่าย ยนตรกิจ อาจได้รับไปไม่มากนัก แต่มอง ในแง่การตลาด ถือเป็นการตอบโต้แผนการนำเข้ารถรุ่นเดียวกันมาจำหน่ายของผู้นำเข้ารถอิสระอย่างซัน ออโต้ อิมพอร์ต ที่รุนแรงพอควร อีกทั้งยังได้ภาพลักษณ์ ในฐานะบริษัท ที่นอกเหนือจากค้าขายแล้ว ยังคืนกำไรให้กับสังคม

นับเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกถึง 2 ตัว

ซึ่งซัน ออโต้ อิมพอร์ต อาจจะถึงเวลา ที่จะต้องทบทวนบทบาท และทิศทาง ของบริษัทอีกครั้งว่าจะยังคงกระโจนเข้ามาแข่งขันต่อในตลาดรถรุ่นนี้ หรือหลีกเลี่ยงการปะทะ โดยเปลี่ยนไปนำเข้ารถรุ่นอื่นมาจำหน่ายแทน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us