Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2541
ไพโอเนียร์จัดทัพใหม่สร้างความแข็งแกร่ง             
 


   
search resources

ไพโอเนียร์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย), บจก.




ถ้าเอ่ยชื่อบริษัท ฟูกูอิน โชไก เดนกิ เซซากุโช จำกัด คงจะไม่คุ้นหูเท่าไหร่ แต่ถ้าถามว่ารู้จัก บริษัทไพโอเนียร์ อีเล็คโทรนิคส์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด คน ทั่วโลกน่าจะคุ้นหูมากกว่าชื่อแรกแน่นอน ชื่อแรกคือบริษัทเริ่มแรกของไพโอเนียร์ ก่อตั้งโดย โนโซมุ มัตซูโมโตะ เริ่มต้นผลิตลำโพงไฮไฟออกจำหน่าย มาบัดนี้ 60 ปีแล้วที่ไพโอเนียร์ได้นำผลิตภัณฑ์ออกสู่สายตาคนทั่วโลก จนเป็นที่ยอมรับไม่ว่าจะเป็นเครื่องเสียง ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ คาราโอเกะและอุตสาหกรรมมัลติมีเดีย ปัจจุบันไพโอเนียร์มีสาขาอยู่กว่า 77 แห่ง ในญี่ปุ่นและอีกกว่า 82 แห่งทั่วโลก

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไพโอเนียร์เจออุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะการทำตลาดที่เผชิญกับคู่แข่งจากค่ายเกาหลีใต้ ยุโรปและอเมริกา ซึ่งกำลังมาแรงเหลือเกิน นอกจากนี้ยังต้องแข่งขันในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่รุดหน้าอย่างรวดเร็วในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอล ระบบเครือข่าย และระบบปฏิบัติงานโดยมนุษย์

จากสาเหตุดังกล่าวทำให้ไพโอเนียร์ได้ปรับโครงสร้างองค์กรภายในใหม่ โดยบริษัทแม่ในญี่ปุ่นได้แบ่งส่วนธุรกิจออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เพื่อความบันเทิงภายในบ้าน ผลิตภัณฑ์เพื่อความบันเทิงภายในรถยนต์ การวางระบบในองค์กรธุรกิจและผลิตภัณฑ์ Display

"บริษัทแม่ได้ปฏิบัติการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน โดยเริ่มปฏิรูปเมื่อกลางปีที่ผ่านมาเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในด้านการทำงาน ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าไม่แยกความอืดอาดอาจจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากพนักงานไพโอเนียร์มีประมาณ 20,000 คนทั่วโลก" คาวามูระ มาซาฮิโร กรรมการผู้จัดการบริษัท ไพโอเนียร์ อีเล็คโทรนิคส์ ประเทศไทย จำกัด กล่าว ซึ่งภาพลักษณ์ใหม่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดและวิสัยทัศน์ ที่จะผลักดันให้ไพโอเนียร์ท้าทายเป้าหมายยอดขายปี 2548 ที่ตั้งไว้สูงถึง 1.2 ล้านล้านเยนทั่วโลก ด้วยผลตอบแทนโดยรวมจะเพิ่มขึ้น 10% ขณะ ที่ปัจจุบันทำยอดขายได้แล้วครึ่งหนึ่งของเป้าปี 2548

ในช่วงแรกไพโอเนียร์จะเน้นเทคโนโลยี Digital Optical เป็นแกนหลักของธุรกิจและความสำเร็จในเทคโนโลยีบันเทิง DVD ณ จุดนี้ทำให้บริษัทคิดตั้งเป้าหมายใหม่ให้สูงขึ้น เพราะขณะนี้ไพโอเนียร์เป็นเจ้าตลาดเครื่องเล่น DVD ทั้งในญี่ปุ่น เอเชีย-แปซิฟิก และอเมริกา

"เทคโนโลยี DVD ของเราคาดว่าจะเติบโตอย่างมาก ในอนาคตนับจากนี้ได้วางแผนนำระบบมัลติมีเดีย DVD ติด ตั้งในรถยนต์ ระบบนำร่อง AV เทคโนโลยีสื่อสาร เป็นตัว รุกเข้าสู่การพัฒนาระบบเดินทางอัจฉริยะในอนาคต" คาวามูระ กล่าว

อีกทั้งยังนำผลิตภัณฑ์ Next-Generation Displays ปัจจุบันพัฒนาจอโทรทัศน์แบบพลาสมา พร้อมกับพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งพยายามลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย

"อีกไม่ช้าการเปลี่ยนรูปแบบจากระบบปิดแบบเดิมมาเป็นระบบเปิดแบบเครือข่าย จะผลักดันให้เราเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมนี้อย่างแท้จริง"

นอกจากนี้ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ Laser Disc และ DVD ที่สามารถแสดงผลข้อมูลและภาพวิดีโอได้ในคอมพิวเตอร์ และเป้าหมายสุดท้าย คือ ได้เตรียมการพัฒนาระบบจัดการแบบ OEM เพื่อการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีของไพโอเนียร์

สำหรับ บริษัท ไพโอเนียร์ อีเล็คโทรนิคส์ ประเทศไทย จำกัด ที่นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายประมาณ 20 ปีแล้ว ก่อนที่จะก่อตั้งบริษัทนี้ขึ้นมาไพโอเนียร์ได้ให้บริษัท เซ็นทรัล เทรดดิ้ง จำกัด เป็นผู้นำสินค้าเข้ามาจำหน่าย แต่มาถึงปี 2534 เซ็นทรัล เทรดดิ้ง ถูกกดดันจากบริษัทแม่ของไพโอเนียร์ ที่ต้องการให้แยกสินค้า ไพโอเนียร์ออกเป็นแผนกเครื่องเสียงโดยไม่รวมกับยี่ห้ออื่นๆ อย่างไรก็ตามแม้ว่า เซ็นทรัล เทรดดิ้ง จะทำตามที่ไพโอเนียร์ต้อง การก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจจนทำให้ไพโอเนียร์ คอร์ปอเรชั่น เข้ามาร่วมทุนกับเซ็นทรัล เทรดดิ้ง ร่วมกันเปิดบริษัทไพโอเนียร์ในไทยจนถึงปัจจุบัน

จากวันนั้นถึงวันนี้ไพโอเนียร์ในไทยสร้างรายได้ให้บริษัทแม่เป็นกอบเป็นกำ และจากการปรับองค์กรทั่วโลกครั้งใหม่นี้ดูเหมือนว่าจะตื่นตัวกับการปรับกลยุทธ์พอสมควร ถ้าไม่รีบอาจจะอยู่ลำบากเนื่องจากตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอ่อนไหวต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบต่อความสามารถในการจับจ่ายของผู้บริโภค (Ability to pay) ซึ่งปัจจุบันตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมหดตัวลงไปประมาณ 40-50% แล้ว

"เราเริ่มปรับตัวโดยแต่ก่อนจะเน้น สินค้า Laser Disc กับสินค้าแยกชิ้น โดยเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน แต่ตอนนี้เราเริ่มมุ่งเข้ากลุ่มวัยรุ่นมากขึ้นหรือ ขยายตลาดลงมาระดับล่างและกลางมากขึ้น เช่น เครื่องเสียงรถยนต์ โดยจำหน่ายสินค้า CD มากขึ้น" คาวามูระ กล่าว

ด้าน รุ่งโรจน์ เลิศอำนาจกิจเสรี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กล่าวเสริมว่าในด้านการบริหารต้นทุนบริษัทพยายามลดต้นทุนให้มากที่สุด วิธีที่สามารถทำได้ในช่วงนี้ คือ จำหน่ายสินค้าที่ผลิตในโรงงานภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น

"ในอดีตเรามีสัดส่วนนำเข้าสินค้ามาขายประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ปีหน้าเป็นต้นไปสินค้านำเข้าจะเหลือเพียง 30% โดยจะเพิ่มสินค้าที่เราผลิตเองออกมาขาย 70% เพื่อความสะดวกในการดำเนินการ ถ้ามีสินค้านำเข้ามามากๆ ความยืดหยุ่นมันไม่มี เช่น ถ้าตลาดเปลี่ยนแปลงไปก็ไม่สามารถควบคุมอะไรได้ตามที่ต้องการ"

จากแผนการเพิ่มสินค้าที่ผลิตในไทยจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตและผลิตสินค้าชนิดใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัมมีโรงงาน 2 แห่ง แห่งแรกจะผลิตมินิ คอมโพแนนซ์ และ CD Car โดยจะผลิตให้ไพโอเนียร์ทั่วโลก อีกแห่งผลิตลำโพง ซึ่งจะทั้งผลิต จำหน่าย และส่งออกภายใต้ ยี่ห้อไพโอเนียร์รวมทั้งรับจ้างผลิตให้ยี่ห้ออื่นด้วย

ส่วนช่องทางการจัดจำหน่าย บริษัทได้พยายามอุดรูรั่ว ด้วยการเพิ่มช่องทางให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากที่สุด ล่าสุดนำสินค้าประเภทมินิคอมโพแนนซ์ จำหน่ายในบิ๊กซี, โลตัส, คาร์ฟูร์ และโอชอง

"ช่องทางนี้เราไม่ได้ทำเพื่อเป็นช่องทางหลักแต่มองว่าเป็นช่องทางเสริม โดยเป้าหมายยอดขายส่วนนี้เพียง 10% ของยอดขายรวม เพราะสินค้าที่นำไปจำหน่ายเป็นเฉพาะรุ่น ต่างจากสินค้าที่จำหน่ายตามร้านค้าทั่วๆ ไป" รุ่งโรจน์ กล่าว

ช่องทางหลักของไพโอเนียร์ในไทยยังอยู่ที่ตัวแทนจำหน่าย ปัจจุบันมีตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศประมาณ 700 แห่ง แยกเป็นร้านขายเครื่องเสียงภายในบ้านและออดิโอ และร้านครื่องเสียงติดรถยนต์ในสัดส่วนเท่ากัน และปีนี้คาดว่าจะเพิ่มตัวแทนจำหน่ายอีกประมาณ 10-20%

โครงสร้างรายได้ของไพโอเนียร์ในไทย ปรากฏว่ากลุ่ม Audio ทำได้ 40%, Car Audio ทำได้ 40% และ Visual ทำได้ 20% ซึ่งตัวเลขรายได้งวดบัญชีปี 2541 (สิ้นสุด 31 มีนาคม 2542) คาดว่าจะทำได้ 1,000 ล้านบาท

"ถ้าเทียบกับไพโอเนียร์ที่เข้ามาทำธุรกิจในเอเชียด้วยกันแล้วในไทย ทำรายได้ให้บริษัทแม่เป็นอันดับ 3 รองจากไต้หวันและสิงคโปร์ ส่วนรายได้ปี 2542 ตั้งเป้าไว้ที่ 1,200 ล้านบาท ขณะที่เป้าหมายรายได้ปี 2548 คาดว่าไพโอเนียร์ในไทยจะทำได้สูงถึง 2,000 ล้านบาท" รุ่งโรจน์ กล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us