Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2541
การ์ตูน เน็ตเวิร์ก สำรวจเด็กเอเชียพบเด็กไทยเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด             
 


   
search resources

การ์ตูน เน็ตเวิร์ก - ทีบีเอส




"ทีเอ็นที การ์ตูน เน็ตเวิร์ก" ช่องการ์ตูนของบริษัท เทอร์เนอร์ บรอดคาส ติ้ง อิงค์ (ทีบีเอส) ได้จัดทำการวิจัยภาคสนามครั้งใหญ่ และครั้งแรกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายใต้ชื่อโครงการว่า "นิว'98 เจน เนอเรเชี่ยนส์ เพื่อเป็นการสำรวจความคิดเห็น ความชอบ-ไม่ชอบ ของเยาวชนอายุระหว่าง 7-18 ปี จำนวน 5,733 คน จากเมืองใหญ่ 18 แห่ง ใน 12 ประเทศของภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย โดยมีเอซี นีลเส็น (ดีม่าร์เดิม) เป็นผู้ดำเนินการสำรวจวิจัยให้ ใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลรวมทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือน มี.ค.-พ.ค.ที่ผ่านมาโดยได้รับการสนับสนุนจาก 2 สปอนเซอร์หลักคือ เอ็นบีเอ เอเชีย และสำนักงานสื่อโอเอ็มดี (ออพติมั่ม มีเดีย ไดเร็คชั่น)

สำหรับหัวข้อการสำรวจมีความหลากหลายและครอบคลุมพฤติกรรมของเยาวชน นับตั้งแต่เรื่องของกิจกรรมที่ทำในโรงเรียน แรงบันดาลใจในชีวิต การใช้จ่ายเงิน อาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า แฟชั่น ความบันเทิง เกม ของเล่นที่ชอบ และอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าของพ่อแม่ เป็นต้น ซึ่งคำตอบที่ได้มีทั้งความแตกต่างและคล้ายคลึงของเด็กแยก ตามเพศ อายุ เมือง และประเทศที่อยู่ โดยแบ่งเป็นเด็กใน กรุงเทพฯ 417 คน เด็กในซิดนีย์และเมลเบิร์นของออสเตรเลีย 411 คน เด็กในปักกิ่ง เซียงไฮ้ และกวางเจาของจีน 822 คน เด็กฮ่องกง 430 คน เด็กในเมืองเดลี มุมไบ เชนไน และบังกาลอร์ของอินเดีย 825 คน เด็กในจาการ์ตาของอินโดนีเซีย 415 คน เด็กในโตเกียว ญี่ปุ่น 406 คน เด็กในกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย 404 คน เด็กในมะนิลา ฟิลิปปินส์ 400 คน เด็กในสิงคโปร์ 401 คน เด็กในกรุงโซล เกาหลีใต้ 400 คน และเด็กเมืองไทเป ไต้หวัน 402 คน

"ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ คนที่จะอยู่รอดได้คือ คนที่เข้าใจตลาดได้ดีที่สุด ซึ่งการที่จะเข้าใจตลาดได้ดีก็ต้องมีการสำรวจวิจัย ดังนั้นการทำวิจัยนิว'98 เจนเนเรเชี่ยนส์ ของ การ์ตูนเน็ตเวิร์ก จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพฤติกรรมในด้านต่างๆ ของผู้บริโภครุ่นเยาว์ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก อันจะมีประโยชน์มหาศาลในการอ้างอิง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักการตลาดและนักโฆษณาทั่วไปได้" แอนโธนี่ ด็อบสัน ผู้อำนวยการด้านการวิจัยของทีเอ็นที การ์ตูน เน็ตเวิร์ก ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กล่าวในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการนิว'98 เจนเนเรเชี่ยนส์ อันเป็น การศึกษาวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภครุ่นเยาว์ในเอเชีย แปซิฟิก ครั้งใหญ่และครั้งแรกในภูมิภาคนี้

และผลสรุปการวิจัยนิว'98 เจนเนเรเชี่ยนส์ พบว่า เด็กๆ ในภูมิภาคนี้มีความคล้ายคลึงกันหลายอย่างเช่น เด็กๆ ส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ต่างก็ชื่นชอบ ไมเคิล จอร์แดน นักบาสเกตบอลชื่อดังของอเมริกา และอาหารยอดฮิตของเด็กในภูมิภาคนี้ก็คือ ไก่ทอด แต่ความแตกต่างที่น่าสนใจที่การวิจัยครั้งนี้ค้นพบก็คือ ในคำถามที่ว่า หากเลือกได้อยากไปที่ไหนมากที่สุดในโลก เด็กไทย 27% ตอบว่า อยากเที่ยวในประเทศไทย ขณะที่เด็กส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้อยากไปอเมริกา ส่วนคำถามเกี่ยวกับเครื่องดื่มที่ชอบมากที่สุด ปรากฏว่า เป๊ปชี่เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของเด็กไทย ในขณะที่เด็กอื่นในภูมิภาคนี้ชอบโคคา โคล่า และฟาสต์ฟู้ดที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กไทยคือ เค เอฟซี ในขณะที่แม็คโดนัลด์ อยู่ในความนิยมของเด็กอื่นในภูมิภาคนี้ ส่วนรสนิยมในการแต่งกาย เด็กไทยยกนิ้วให้ เวอร์ซาเช่ ส่วนทั่วภูมิภาค ไนกี้มาเป็นอันดับ 1 และอาดิแดสมาเป็นอัน ดับ 2

จากข้อมูลการวิจัยที่ยกมาข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า เด็กไทยในกรุงเทพฯ มีพฤติกรรมการบริโภคที่ค่อนข้างเป็นตัวของตัวเองมากเมื่อเทียบกับเด็กในภูมิภาคนี้ ยิ่งไปกว่านั้น เด็กไทยยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของพ่อแม่เหนือกว่าเด็กๆ ประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ด้วย อิทธิพลดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่การซื้ออุปกรณ์เครื่องเขียนแบบเรียน เสื้อผ้า ยาสีฟัน ไปจนถึงบะหมี่สำเร็จ รูป โดยเด็กไทยมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเฉลี่ยสูงถึง 58% ขณะที่ประเทศอื่นมีรวมกัน 47% นอกจากนั้น ผลการสำรวจนี้ยังสะท้อนความสนใจในการรับรู้ข่าวสารข้อมูลของเด็กไทยด้วย โดยเด็กไทยจำนวน 65% อ่านหนังสือพิมพ์รายวันเป็นประจำ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาครองจากมาเลเซีย และเด็กไทยส่วนใหญ่ทราบว่า ปัจจุบันประเทศไทยตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุด นับตั้งแต่เดือน มี.ค.เป็นต้นมา ในขณะที่เด็กสิงคโปร์ตอบว่า เรื่องวิกฤติการณ์ทางการเงินเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมากที่สุด และการสำรวจครั้งนี้พบว่ามีเยาวชนไทยเพียง 1% เท่านั้นที่ยังไม่แน่ใจว่าอยากเป็นอะไรในอนาคต

"จากข้อมูลที่ได้ เด็กไทยค่อนข้างมีความชอบและรสนิยมเป็นเฉพาะของตัวเอง แตกต่างจากเด็กในภูมิภาคนี้ที่จะมีความชอบคล้ายๆ กัน อาจสืบเนื่องมาจากการเป็นประเทศที่เป็นเอกราชไม่ขึ้นกับใคร ไม่ได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตกมาตั้งแต่ต้น อย่างไรก็ตาม เด็กไทยยังมีความชื่นชอบในตัวการ์ตูนเช่นเดียวกับเด็กในชาติอื่น และทางการ์ตูนเน็ตเวิร์กจะนำผลการวิจัยที่ได้มานี้ไปพัฒนาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น รวมทั้งในระยะยาวจะช่วยในการสร้างตัวการ์ตูนใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความใฝ่ฝันและความต้องการของเด็กๆ มากขึ้น ยิ่งเราเข้าใจเด็กได้ดีมากเท่าไร เราก็จะสามารถเข้าถึงพวกเขาได้มากเท่านั้น" ด๊อบสันกล่าว และเขารู้สึกพอใจมากจากผลการวิจัยในครั้งนี้และมีแผนที่จะทำเช่นนี้ต่อไปในอนาคต เพื่อที่จะสำรวจว่าเด็กมีความคิดและจินตนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง รวมทั้งเป็นไปได้ว่าในช่วงอีก 3 เดือนข้างหน้า การ์ตูนเน็ตเวิร์กจะทำการสำรวจทางโทรศัพท์ เพื่อเช็กความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กอย่างต่อเนื่อง

งานวิจัย "นิว'98 เจนเนเรเชี่ยนส์นี้ จะไม่เป็นประโยชน์ต่อการ์ตูนเน็ตเวิร์กแห่งเดียวเท่านั้น เนื่องจากด๊อบสันเปิด เผยว่า ทางทีเอ็นที การ์ตูน เน็ตเวิร์ก เอเชีย-แปซิฟิก จะทำการเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยชิ้นนี้ไปยังสถาบันการศึกษาที่สนใจโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และในส่วนของนักการตลาด นักโฆษณา และคอร์ปอเรตทั่วไป สามารถติดต่อซื้อข้อมูลได้ที่บริษัทฯ ในราคา 2,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นราคาเฉพาะคนไทยเท่านั้น โดยข้อมูลฉบับเต็มจะมีผลการสำรวจของเยาวชนในแต่ละประเทศทั้ง 12 ประเทศแยกอย่างชัดเจน

ปัจจุบัน "การ์ตูน เน็ตเวิร์ก" สามารถรับชมได้ใน 85 ประเทศ รวมผู้ชมกว่า 100 ล้านครัวเรือน โดยถือกำเนิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในปี'35 โดยออกอากาศเป็นช่องการ์ตูน 24 ชั่วโมงช่องแรกของโลก และขยายการออกอากาศมายังประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อ 6 ต.ค. 37 ซึ่งจะครบรอบ 4 ปีในเดือนนี้แล้ว โดยมีผู้ชมในภูมิภาคนี้กว่า 10 ล้านครัวเรือน รวมทั้งประเทศไทยด้วย และล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว การ์ตูน เน็ตเวิร์กได้ออกอากาศในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท เทอร์เนอร์ เอ็นเตอร์เทน เมนท์ เน็ตเวิร์กส เจแปน กับบริษัท อิโตชู คอร์เปอเรชั่น และไทม์ วอร์เนอร์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เจแปน

สำหรับเรื่องราวต่างๆ ที่นำมาฉายทางการ์ตูน เน็ตเวิร์ก นั้นมาจากห้องสมุดการ์ตูน ของวอร์เนอร์ บราเธอร์ ซึ่งมีอยู่กว่า 10,000 เรื่อง ที่ผลิตภายใต้แบรนด์เนม เอ็มจีเอ็ม, วอร์เนอร์ บราเธอร์ และฮันนา-บาร์เบรา อาทิ บักส์ บันนี่ เดอะ ฟลินต์สโตน และทอมกับเจอร์จี่

นอกจากนั้น การ์ตูน เน็ตเวิร์ก ยังเป็นผู้นำในการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องใหม่ๆ เช่น ห้องทดลองของเด็กซ เตอร์ ง้องแง้งกับเงอะงะ ขณะเดียวกันก็มีการซื้อการ์ตูนเรื่องใหม่ๆ จากผู้ผลิตการ์ตูนชั้นนำมาออกอากาศอย่างต่อเนื่อง เช่น หมีน้อยแพ็ทดิงค์ตั้น ค็อคคาดู รวมไปถึงภาพยนตร์ชุดชองญี่ปุ่นเรื่อง ชาช่าแม่มดน้อย เป็นต้น โดยการ์ตูน เน็ตเวิร์ก ออกอากาศเป็นภาษาอังกฤษ จีนแมนดารินและไทย เพื่อเข้าถึงทุกครัวเรือนในทุกภูมิภาคอีกด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us