Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2541
โครงการรถไฟฟ้า ทางออกหรือทางตันของบีทีเอสซี             
 


   
search resources

ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ, บมจ.




"ผมดีใจนะว่า ในที่สุดเราก็ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ไปได้ระดับหนึ่ง สามารถเอารถไฟฟ้าของจริงเข้ามาได้ หลังจากที่ใครต่อใครคิดว่าเป็นแค่ความฝันของผม" คีรี กาญจนพาสน์ กรรมการบริหาร บริษัทระบบขนส่งมวลชน (บีทีเอสซี) กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" เมื่อวันที่บริษัทบีทีเอสซีจัดให้มีการทดสอบระบบรถอย่างเป็นทางการครั้งที่ 2

คีรีกล่าวย้ำว่าขั้นตอนต่อไปก็คือ ต้องทดสอบระบบรถให้มั่นใจจริงๆ ว่ามีความปลอดภัยจริงๆ ผิดพลาดไม่ได้ ต้องเช็กกันอย่างละเอียดจริงๆ

ท่ามกลางอุปสรรคต่างๆ ในการก่อสร้าง รวมทั้งเสียงคัดค้านเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2541 ที่ผ่านมา ขบวนรถไฟฟ้าขบวนแรกจากประเทศเยอรมนี ก็มาถึงประเทศไทย เพื่อเริ่มทำการทดสอบระบบรถไฟฟ้าอย่างจริงจัง โดยวิ่งทดสอบบนทางวิ่งรถไฟฟ้าในถนนพหลโยธิน ช่วงตั้งแต่หน้าสถานีขนส่งหมอชิตจนถึงสถานีซอยอารีย์ ซึ่งใช้เวลาวิ่งไปกลับประมาณ 5 นาที แต่เป็นเวลาที่ไม่ได้จอดสถานีไหนเลย

ส่วนรถไฟขบวนต่อไปอีก 34 ขบวนจะค่อยทยอยมาถึงเดือนละประมาณ 2-3 ขบวน ใช้เวลาทดสอบรวมทั้งสิ้น 8 เดือน

รถทุกขบวนจะต้องผ่านการทดสอบอย่างขบวนแรกทั้งสิ้น แม้ว่าแต่ละขบวนที่ผลิตออกมาจะผ่านการทดสอบระบบต่างๆ เช่น ระบบเบรก ระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งวิ่งทดสอบที่ศูนย์ทดสอบในประเทศเยอรมนีของบริษัทซีเมนส์แล้วก็ตาม แต่จะต้องนำมาทดสอบในสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศจริงอีกหลายๆ ครั้ง เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

แน่นอน คีรีพลาดไม่ได้แล้ว จากการก้าวมาเป็นยักษ์ใหญ่ทางด้านพัฒนาที่ดิน พร้อมๆ กับอนันต์ กาญจนพาสน์ ผู้เป็นพี่ชายเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ถึงคราวตกต่ำสุดๆ รายได้หลักอย่างเดียวที่จะหล่อเลี้ยงธุรกิจอื่นๆ ของเขาก็คือเรื่องของรถไฟฟ้านี่เอง

"มันก็เร็ว และสะดวกดี ระบบของมันก็นุ่มนั่งสบาย แต่ทีนี้จะให้ผมขับรถจากบ้านมาหาที่จอด แล้วขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงาน ลงสถานีใกล้ที่ทำงานที่สุด โดยต่อรถเมล์อีกช่วงซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ ผมก็คิดหนัก" เป็นความเห็นของแขกคนหนึ่งที่ได้ขึ้นรถไฟฟ้าในวันนั้น

"ก็คงมาใช้ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน หรือจะไปธุระย่านใจกลางเมืองเท่านั้น คงไม่ใช้เป็นทางเลือกหลัก เพราะค่าโดยสารคงแพงเหมือนกัน" เป็นความเห็นของอีกท่านหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม คีรี ก็ยืนยันว่า เขาเชื่อว่าโครงการนี้ใช้เวลาประมาณ 8-10 ปีก็จะคุ้มทุนแน่นอน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนนี้ เป็นโครงการที่รัฐให้สัมปทานแก่เอกชน เพื่อสร้างและประกอบระบบขนส่งมวลชนวิ่งบนทางยกระดับ 2 สายในกรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มบริษัทธนายง ตั้งบริษัทบีทีเอสซีขึ้น เพื่อประมูลงานชิ้นนี้ไปตั้งแต่ วันที่ 9 เมษายน 2535 มีอายุสัมปทาน 30 ปี นับจากวันที่เริ่มเปิดบริการให้กับประชาชน มูลค่าในการก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 54,925 ล้านบาท

รถไฟฟ้า 1 ขบวนนั้นจะประกอบไปด้วยรถไฟฟ้าจำนวน 3 ตู้ พ่วงต่อกัน ตัวรถแต่ละตู้มีความกว้างประมาณ 3.20 เมตร ยาวประมาณ 22 เมตร จุผู้โดยสารได้ประมาณ 320 คน เป็นผู้โดยสารนั่ง 42 คน และยืน 278 คน มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร ด้านละ 4 บาน ตัวถังทำด้วยเหล็กปลอดสนิม ติดตั้งระบบปรับอากาศชนิดกันแสง รถไฟฟ้าทั้งหมดมี 35 ขบวน รวม 105 ตู้

"ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา ประชาชนชาวไทยก็เลยมีความต้องการให้รถไฟฟ้าเปิดวิ่งเป็นวันแรก ถ้าเป็นไปได้จริงก็เท่ากับว่าเลื่อนมาจากกำหนดเดิมคือต้นปี 2543 ประมาณ 1 เดือน แม้เรื่องนี้ยังไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่เชื่อว่าทางใจได้ยอมรับกันหมดแล้ว"

ธวัชชัย สุทธิประภา รองประธานบริหารอาวุโส บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกำหนดเปิดเส้นทางเดินรถไฟฟ้า(บีทีเอส) หรือโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพเต็มเส้นทาง

"รถไฟฟ้าสามารถบรรทุกคนได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่คาดว่าวิ่งจริงๆ ประมาณ 36 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างเช่นจากสถานีที่หมอชิต-พระโขนง ระยะทาง 17 กม. จะใช้เวลาในการเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมง" ธวัชชัยกล่าว

สำหรับแนวทางรถไฟฟ้า สายแรกคือสายสุขุมวิท เริ่มจากสุขุมวิท 81 ผ่านถนนสุขุมวิท-ถนนเพลินจิต-ถนนพระราม 1-ถนนพญาไท-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สนามเป้า-สะพานควาย-จตุจักร ไปสิ้นสุดบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต ระยะทางประมาณ 17.0 กิโลเมตร โดยมีสถานีทั้งสิ้น 17 สถานี รวมสถานีร่วมเพื่อเปลี่ยนสายบนถนนพระราม 1

สายที่ 2 คือสายสีลม เริ่มจากเชิงสะพานสาธรฝั่งกรุงเทพฯ-ถนนสาธร-ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ถนนเลียบคลองช่องนนทรี)-ถนนสีลม-ถนนราชดำริ-ถนนพระราม 1 ไปสิ้นสุดบริเวณหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 60.5 กม. มีสถานีจำนวน 7 สถานีรวมสถานีร่วม

รถไฟฟ้าจะเปิดบริการระหว่าง 06.00 น-24.00 น.ของทุกวัน ในระยะแรกจะมีขบวนรถออกวิ่งบริการทุกๆ 2-5 นาที ทั้งนี้การจัดตารางเวลาให้บริการดังกล่าว จะคำนึงถึงจำนวนและความต้องการของผู้โดยสารเป็นสำคัญ อัตราค่าโดยสารยังไม่ได้กำหนดชัดเจน แต่คีรีกล่าวว่า ราคาจะประมาณ 15 บาทต่อ 3 สถานี และจะมีการปรับตามดัชนีราคาผู้บริโภคและปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้กำหนดในสัมปทาน

สำหรับความคืบหน้าในเรื่องการก่อสร้างรางรถไฟฟ้า ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์นั้น ตามแผนเฉพาะโครงสร้างรับรางรถไฟฟ้า จะเสร็จสมบูรณ์และส่งมอบได้ภายในเดือนเมษายน 2542 ช่วงอนุสาวรีย์ผ่านสีลมถึงสาธร จะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2542 และสายสุขุมวิทจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2542 ตามลำดับ

งานก่อสร้างสถานีทั้งหมด 23 สถานี จะแล้วเสร็จกลางปี 2542 สำนัก งานโรงซ่อม และโรงจอดรถที่หมอชิตคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมนี้

ปลายปีหน้าเราก็จะได้รู้กันว่า โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสจะเป็นทางออกหรือทางตันของคีรี กาญจนพาสน์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us