เฮนรี่ ฟอร์ด ก่อตั้งบริษัทฟอร์ด มอเตอร์เมื่อปี 1903 ที่เดียบอร์น มิชิแกน
หลังจากนั้น ห้าปีก็เปิดตัวรถ Model T ที่ผลิตจากสายการผลิต ที่ปฏิวัติวงการรถยนต์ในยุคนั้น
พอถึงปี 1920 รถยนต์ราว 60% ที่วิ่งอยู่ในสหรัฐฯ ก็เป็นรถยี่ห้อฟอร์ด
ปี 1916 ฟอร์ดยกเลิกการจ่ายเงินปันผลผู้ถือหุ้นตามแบบ ที่เคยปฏิบัติมาทำให้ผู้ถือหุ้นพากันฟ้องร้อง
ฟอร์ดจึงต้องซื้อหุ้น ที่ค้างชำระเงินปันผลคืนทั้งหมดใน อีกสามปีต่อมา และกลายเป็นธุรกิจในครอบครัวเรื่อยมาจนกระทั่งปี
1956
ปี 1922 ฟอร์ดซื้อกิจการ "ลินคอล์น" ไว้แล้ว หยุดผลิตรถ Model T ในปี 1927
โดยนำรถ Model A ออกมาแทนในปี 1932 รถรุ่นนี้เป็นรถยนต์ราคาถูก และ ใช้เครื่องยนต์สี่สูบ
ปีเดียวกันนี้ เฮนรี่ ฟอร์ดมีสุขภาพไม่เอื้ออำนวย เอ็ดเซล บุตรชายจึงรับตำแหน่งกรรมการ
ผู้จัดการใหญ่ หลังจากนั้น ส่วนแบ่งตลาดของฟอร์ด ก็ลดลงจนตามหลังจีเอ็ม และไครสเลอร์
แม้ว่าจะนำรถ "เมอร์คิวรี่" ออกวางตลาดในปี 1938 ก็ตาม
ปี 1943 เอ็ดเซลเสียชีวิตกะทันหัน เฮนรี จูเนียร์ บุตรชายของเขาจึงเข้ามาบริหารกิจการ และจัดการบริหารใหม่โดยเน้นการกระจายอำนาจบริหารตามแบบของจีเอ็ม
จนในปี 1950 ฟอร์ดก็สามารถขยับขึ้นมารั้งตำแหน่งผู้นำตลาดรถอันดับสองของสหรัฐฯ
ได้
เมื่อเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันในช่วงทศวรรษ 1970 ฟอร์ดลดพนักงานลงราว 33% และปิดโรงงาน
15 แห่ง ในช่วงทศวรรษต่อมา นอกจากนั้น ยังแตกแขนงธุรกิจ ไปสู่อุปกรณ์ด้านการเกษตรโดยการเข้าซื้อกิจการ
นิวฮอลแลนด์ (New Holland) ในปี 1986 และ ซื้อเวอร์แซไทล์ (Versatile) ในปี
1987 อีกทั้งยังเปิดตลาดรถสปอร์ตหรู โดยเข้าซื้อหุ้น 75% ของบริษัทแอสตัน
มาร์ติน (Aston Martin) ในปีเดียวกัน และซื้อหุ้น ที่เหลือในปี 1994
ในปี 1988 ฟอร์ดวางตลาดรถทอรัส (Taurus) และเซเบิล (Sable) หนุนให้ฟอร์ดมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในสหรัฐฯ
คือ ราว 21.7% ภายในเวลาสิบปี ต่อมา ฟอร์ดเข้าซื้อกิจการ "แอสโซสิเอตส์" (Associates)
ซึ่งเป็นธุรกิจบริการการเงิน และซื้อกิจการผลิตรถหรู "จากัวร์" ด้วย
ปี 1990 ฟอร์ดขายกิจการ "ฟอร์ด แอโรสเปซ" ให้กับบริษัทโลรัล และผนวกกิจการ
"นิว ฮอลแลนด์" กับบริษัทเฟียต ที่อยู่ในเครือในปี 1991 (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น
ซีเอ็นเอช โกลบอล ในปี 1999) ปี 1992 ฟอร์ดถูกฟ้องเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสุขภาพของพนักงาน
ที่เกษียณอายุเป็นเงินถึง 7,400 ล้านดอลลาร์
ฟอร์ดซื้อกิจการเฮิร์ตซ์ (Hertz) ในปี 1994 และอีกสองปีต่อมาก็ซื้อบริษัทเช่ารถ
"บัดเจท เรนต์ อะ คาร์" ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหรัฐฯ แต่แล้วก็ขายทิ้ง
ในปี 1997 ในปี 1996 เช่นกัน ฟอร์ดขายหุ้น 19% ในธุรกิจการเงิน "แอสโซสิเอทส์
เฟิร์สต์ แคปิตอล" แล้ว เพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นในกิจการมาสด้า (Mazda)
เป็นหนึ่งในสาม
ต่อมาฟอร์ดหันไปเน้นการผลิตรถยนต์ขนาดกลาง และรถบรรทุกเบา จึงขายกิจการรถบรรทุกหนักให้กับเดมเลอร์-เบนซ์เมื่อสามปีก่อน
เป็นเงินราว 200 ล้านดอลลาร์
ฟอร์ดเริ่มสายการผลิตรถมินิบัสในจีนเมื่อปี 1997 แซงหน้าจีเอ็ม ที่ต้องการเข้าไปผลิตรถป้อนตลาดจีน
ปี 1998 ฟอร์ดขายหุ้นส่วน ที่เหลือใน "แอสโซ สิเอทส์ เฟิร์สต์ แคปิตอล" แล้วซื้อแผนกเครื่องยนต์
รถแข่ง "คอสเวิร์ธ" (Cosworth) จากออดี้ หลังจากนั้น ฟอร์ดยังขายหุ้นโดยตรง ที่ถืออยู่ในบริษัทเกีย
มอเตอร์ ออกไป โดยคงไว้เพียงหุ้นทางอ้อมในบริษัทมาสด้า ในปี 1998 อเล็กซ์
ทรอตแมน ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของฟอร์ดเกษียณอายุ
เปิดทางให้วิลเลียม ฟอร์ด จูเนียร์ ซึ่งเป็นเหลนของผู้ก่อตั้งสืบทอดตำแหน่งประธานกรรมการ
โดย จ๊าคส์ แนสเซอร์ ลูกหม้อเก่าของฟอร์ด รับผิดชอบอีกสองตำแหน่ง
ฟอร์ดซื้อกิจการผลิตรถของวอลโว่เมื่อปีที่แล้ว เป็นมูลค่า 6,450 ล้านดอลลาร์
และรวมชื่อรถแอสตัน มาร์ติน, จากัวร์ และลินคอล์น ไว้ใน "พรีเมียร์ ออโต้โมทีฟ
กรุ๊ป" ที่เพิ่งซื้อมา โดยให้โวล์ฟกัง รีตเซิล (Wolfgang Reizle) อดีตประธานกรรมการของบีเอ็มดับบลิวเป็นผู้รับผิดชอบ
ฟอร์ดยังเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจเกี่ยวกับบริการหลังการขายด้วยการ ซื้อกิจการเพิ่มเติม
ไม่ว่าจะเป็น "ควิก-ฟิต โฮลดิ้งส์" (Kwik-Fit Holdings) แห่งสหราชอาณาจักรเป็นมูลค่า
1,600 ล้านดอลลาร์ และ "ออโตโมบาย โพรเท็คชัน คอร์ปอเรชัน" (APCO) อีกทั้งยังเจาะเข้าไปยังธุรกิจใหม่
ในสหรัฐฯ เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์มือสอง รวมทั้งซื้อแผนกสินเชื่อของมาสด้าเป็นเงิน
69 ล้านดอลลาร์
ฟอร์ดยังพยายามสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ให้ลูกค้า ปีที่แล้วบริษัทมีแผนที่จะผลิตรถตามคำสั่งลูกค้าโดยร่วมมือกับไมโครซอฟต์เปิดเว็บไซต์
"CarPoint" และยังเริ่มทำธุรกิจแบบออนไลน์ในหมู่ซัปพลายเออร์ ดีลเลอร์ และฟอร์ด
ในชื่อ "Auto-xchange" ซึ่งร่วมทุนกับออราเคิล (ต่อมาซิสโกเข้ามาถือหุ้นด้วย)
ปลายปีที่แล้วฟอร์ดยังสามารถเปิดตัวรถ "Prodigy" ซึ่งเป็น รถ ที่มีกำลังเกินกว่า
70 ไมล์ต่อแกลลอน
ปีนี้ ฟอร์ดปรับตัวอีกครั้งโดยเข้าร่วมการประมูล สู้กับจีเอ็ม เพื่อซื้อ
"แดวู" ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถอันดับ 2 ของเกาหลี และยังประกาศจะขายหุ้นกิจการ
"วิสเตียน" (Visteon) ด้วย ฟอร์ดยังได้ซื้อแผนกแลนด์โรเวอร์ เอสยูวีของบีเอ็มดับบลิวเป็นมูลค่าราว
2,700 ล้านดอลลาร์ โดยจะนำชื่อแลนด์ โรเวอร์เข้าไปรวมไว้ใน "พรีเมียร์ ออโต้โมทีฟ
กรุ๊ป" ด้วย