Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2541
CCM อีกรูปแบบหนึ่งของ "ที่ปรึกษา"             
 


   
search resources

CCM




การแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในสวีเดนในทศวรรษ 1980 เป็นเรื่องที่กล่าวขานกันระยะหนึ่งในช่วงกลางปีที่ผ่านมาในประเทศไทย มีนักวิชาการหลายท่านเกริ่นว่า นี่อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการพิจารณาแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจไทยในตอนนี้ เพราะมีลักษณะร่วมหลายอย่าง เช่น มีการลดค่าเงิน และในที่สุดก็ปล่อยให้ค่าเงินโครน (SEK) ลอยตัว เกิดวิกฤติสถาบันการเงิน และความตกต่ำของราคาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าไทยจะใช้แนวทางในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบสวีเดนหรือไม่ แต่ในตอนนี้สวีเดนได้ส่งออกแนวทางแก้ปัญหาวิสาหกิจแบบหนึ่ง เข้ามาทำตลาดในไทยแล้ว นั่นคือการเปิดตัว Center for Change Management หรือ CCM ในไทย เมื่อเดือนก่อน

CCM เป็นผลผลิตจากการวิจัยร่วมของภาคธุรกิจและรัฐที่เมืองโกเธนเบิร์ก สวีเดน โดยมีหน่วยงานสำคัญที่เข้าร่วมด้วยคือ IMIT (Institute for Management of Innovation and Technology) และ CORE (Center for Research on Organisational Renewal) รวมทั้งบุคคลสำคัญอย่าง ศ.แอนเดอร์ส เอ็ดสตรอม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเจ้าทฤษฎี Leadership for Renewal และ มร.เฟลมมิง นอรเกรน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก ซึ่งตอนนี้เป็นผู้นำโครงการวิจัยที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับการเป็นผู้นำในสวีเดน เป็นโครงการวิจัยที่บริษัทข้ามชาติสวีเดนหลายแห่งร่วมกันอุดหนุนเงินทุนมูลค่า 130 ล้านโครน

Change Management เป็นการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานขององค์กร/วิสาหกิจต่างๆ ซึ่งมีรูปแบบทั้งของสวีเดน ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ

มร.ปีเตอร์ บียอร์ค กรรมการผู้จัดการ CCM กล่าวว่า "มีโอกาสมากมายสำหรับ CCM ในไทย ผมเห็นว่ามันคล้ายคลึงกันมากระหว่างปัญหาที่เกิดขึ้นที่สวีเดน และทางออกสำหรับปัญหานั้นๆ ซึ่งไทยกำลังเผชิญหน้าอยู่ในตอนนี้ มันเหมือนกับที่สวีเดนซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนต่างได้รับผลกระทบทั้งสิ้น ซึ่งผมเห็นว่าควรมีการเพิ่มพูนความรู้ในไทยเกี่ยวกับความจำเป็นในการปรับปรุงองค์กร เพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีได้"

มร.บียอร์คเชื่อว่าการเข้ามาปรากฏตัวในไทยในเวลานี้ แม้จะมีที่ปรึกษารายใหญ่เล็กทั้งไทยและเทศอยู่มากมาย แต่บริการของเขานั้นมีความต่างออกไปจากที่ปรึกษาอื่นๆ และภายหลังจาก 6 ปีของการดำเนินการ CCM ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงการจัดโครงสร้างให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเกือบ 40 องค์กร อาทิ อิริคสัน เทเลคอม, อิริคสัน เรดิโอ, เลียร์ คอร์ปอเรชั่น, ออโตลิฟ, คอคคูม (Kockums) เป็นต้น ส่วนโครงการของรัฐบาล ได้แก่ โครงการผลิตกระแสไฟฟ้า และกิจการไปรษณีย์แห่งชาติ เป็นต้น

วิธีการทำงานของ CCM จะเข้าไปใกล้ชิดกับลูกค้ามาก เพราะสิ่งที่หน่วยงานนี้ทำคือ แนะนำการเปลี่ยนแปลงการบริหารการจัดการใหม่ ซึ่ง CCM ต้องคุยทำความเข้าใจกับลูกค้าเป็นเบื้องต้นก่อน โดยการเปลี่ยนแปลงที่แนะนำนั้นมี 2 วิธีคือ Programmatic Change Approach และ Learning Change Approach ซึ่งลูกค้าต้องการแบบใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน เพราะโดยทั่วไปนั้นหน่วยงาน/องค์กรจะทำการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองนั้นเป็นเรื่องยาก สุดวิสัยที่จะทำได้ จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาช่วยเหลือแนะนำ

ระยะเวลาในการดำเนินงานนั้นมีทั้งแบบสั้น เช่น 6 เดือน หรือจะยาวนานกว่านั้นก็เป็นได้

นอกจากนี้ CCM ก็มีโปรแกรมเกี่ยวกับการพัฒนาความเป็นผู้นำ (Leadership Development Program) ที่เรียกว่า FARAX ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีการทดลองค้นคว้าและใช้ได้ผลมานานแล้วในสวีเดน เป็นโปรแกรมที่ใช้พัฒนาความเป็นผู้นำของระดับบริหารในหน่วยงานต่างๆ ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด หรือเป็นผู้นำที่ดีมีความสามารถหรือไม่

CCM มีโปรแกรมต่างๆ มากมายไว้ใช้งานตามวัตถุประสงค์ความต้องการเปลี่ยนแปลงของลูกค้า อาทิ การร่างข้อเสนอและการประเมินผลทางธุรกิจ, การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง, การฝึกอบรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงาน, การพัฒนาและฝึกอบรมการเป็นผู้นำ, การทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด, การประเมินผลการปฏิบัติงาน, การสร้างทีมดำเนินงาน, การสร้างแผนงานเพื่อแก้ปัญหาในหน่วยงาน

แนวทางการดำเนินงานของ CCM นั้น เข้าได้ทั้งบริษัทขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก เพราะมีโปรแกรมใช้งานหลาย ขนาด มร.บียอร์คได้เล่าถึง ตัวอย่างลูกค้าวิสาหกิจแห่งหนึ่งที่เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (ซัปพลายเออร์) เป็นธุรกิจครอบครัวขนาดเล็กในสวีเดน ผลิตสินค้าป้อนให้วอลโว่ บริษัทมีคนงานประมาณ 70 คนในปี 1994 สามารถทำยอดขายปีละประมาณ 320 ล้านบาท

เมื่อ CCM เข้าไปช่วยเปลี่ยนวิธีบริหารจัดการนั้น บริษัทมีปัญหาในเรื่องตลาดมีการแข่งขันสูงมาก และมีอุปสงค์ ในเรื่องชิ้นส่วนยานยนต์สูงมากเช่นกัน บริษัทวอลโว่ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าจากบริษัทรายใหญ่บอกว่า บริษัทต้องลดราคาสินค้าลงปีละประมาณ 3%-5% ทุกปี บริษัทต้องพึ่งพิงวอลโว่สูงมาก ขณะที่มีประสิทธิภาพในการผลิตต่ำมาก และยังจัดส่งสินค้าได้ไม่ดีพอด้วย

CCM ได้เข้าไปคุยและวิเคราะห์ปัญหากับคนงาน ทั้งแบบรายตัวและเป็นกลุ่มย่อย แล้วมีการจัดทำรายงานเสนอผู้จัดการ ซึ่งเธอเป็นคนที่เด็ดขาดมาก และก็ยอมให้ดำเนินโครงการตามที่เสนอได้ ดังนั้นจึงมีการตั้งวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อดำเนินโครงการ

วัตถุประสงค์นั้นได้แก่ สร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง, สร้างระบบเพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง, เพื่อการมอบหมายอำนาจและความรับผิดชอบ, เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการคือปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้า, และเริ่มโครงการนี้ด้วยการตั้งทีมทำงานขึ้นมาหลายๆ หน่วยในลักษณะ task-oriented work-groups

มร.บียอร์คกล่าวว่าโครงการนี้ไปได้ดีมาก ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 6 เดือน และผลที่ได้ออกมาน่าสนใจมาก ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น มีการหยุดการผลิต 2 วันเพื่อทำความสะอาดโรงงาน เครื่องจักร เปลี่ยนแปลงบรรยากาศในการทำงาน ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีขึ้นในหมู่คนงาน นอกจากนี้ก็มีการจัดพาคนงานไปดูโรงงานซัปพลายเออร์อื่นๆ ที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกันด้วย รวมทั้งมีการพูดคุยกับผู้บริหารของวอลโว่ ซึ่งช่วยสร้างแรงกระตุ้นแก่คนงานในการที่จะเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการขึ้นมาให้ได้ เพื่อที่จะรักษางานของตนไว้ เป็นต้น

ในที่สุดผลงานที่ได้ออกมาเป็นที่น่าประทับใจมาก ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 30% สามารถลดราคาสินค้าลงได้ 3%-4% สร้างผลกำไรแก่บริษัท สามารถไปลงทุนและจ้างงานเพิ่มขึ้นได้ เพิ่มคำสั่งผลิตได้ ประสิทธิภาพการจัดส่งสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 60%

นอกจากนี้คนงานยังมีความตื่นตัวเรื่องการปรับปรุงการทำงานอยู่ตลอด มีการกระจายอำนาจเกี่ยวกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง เพิ่มความร่วมมือในการทำงาน ตั้งทีมประสานงาน และมีการประชุมร่วมกันมากขึ้น

หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น บริษัทนี้ไม่อาจแข่งขันในตลาดอยู่ได้ ซึ่งจุดที่สำคัญคือ ผู้จัดการ/เจ้าของได้มองเห็นความจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง

อย่างไรก็ดี นั่นเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในสวีเดน ส่วนในไทยนั้น CCM จะสร้างฐานลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสื่อสารกับลูกค้าและความเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรแบบไทยๆ ด้วย ซึ่งคนสวีเดนที่ทำงานในประเทศไทยจำนวนมากดูจะมีจุดเด่นในเรื่องนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us