Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2541
ถ่ายทอดสดเอเชี่ยนเกมส์มีแต่เท่าทุนกับขาดทุน             
 


   
search resources

ทีวีพูล




คงจะจำภาพที่ บัญญัติ บรรทัดฐาน ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ขึ้นไปรับธงต่อจากประเทศญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 12 เมื่อเดือนตุลาคม 2537 ได้ดี ภาพในวันนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนไทยมั่นใจว่า การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 จะจัดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยแน่นอน แม้แนวความคิดการจัดการแข่งขันจะมีมาประมาณ 8 ปีที่แล้ว แต่เป็น 8 ปีแห่งความวุ่นวาย เพราะเปลี่ยนรัฐบาลมา 9 ชุด และถึงแม้ว่าไทยวางแผนจะเป็นเจ้าภาพมานาน แต่ความจริงแล้วรัฐบาลเพิ่งตื่นขึ้นมาทำงานแบบจริงๆ จังๆ เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมานี้เอง ส่งผลให้ปัญหาการเตรียมการจัดการแข่งขันในทุกๆ ด้าน ได้ถาโถมเข้ามาให้แก้ไขทุกวัน

อย่างไรก็ตาม ภาพของนักกีฬาที่เข้ามาแข่งขันเพื่อแย่งชิงความเป็นเจ้าเอเชี่ยนเกมส์ จะต้องปรากฏออกมาสู่สายตาคนเอเชียและผู้ที่สนใจ และใครที่ไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับเกมส์อันแสนเร้าใจในสนาม ก็ต้องจับจองหน้าจอตู้ผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทีวีพูล) ได้แก่ ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และ ไอทีวี ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดการแข่งขันให้เป็น host broadcaster

"เราได้เป็นเจ้าภาพดำเนินการในเรื่องผลิตสัญญาณการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ แล้วส่งต่อให้กับผู้ซื้อลิขสิทธิ์ทั้งในและต่างประเทศ" พล.ต.อดิศักดิ์ แก่นแก้ว ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ กองทัพบกช่อง 5 ในฐานะหัวหน้าศูนย์ประสานงานถ่ายทอดโทรทัศน์กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13

ภารกิจของทีวีพูลจะอยู่ตรงดำเนินการถ่ายทอดการแข่งขันจากสนามการแข่งขัน 39 สนามเข้ามาสู่ศูนย์ถ่ายทอดโทรทัศน์นานาชาติ (International Broadcasting Center : IBC) ตั้งอยู่ที่ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต จากนั้นถึงจะส่งสัญญาณไปให้ผู้ซื้อลิขสิทธิ์

"เราได้รับว่าจ้างการดำเนินการในวงเงินทั้งหมด 287 ล้านบาท โดยจำนวน 237 ล้านบาท เป็นค่า production และค่าออกอากาศ (air time) ภายในประเทศวันละ 6-8 ชั่วโมง จำนวน 2 ช่องหมุนเวียนกันไป เป็นเงิน 50 ล้านบาท" พล.ต.อดิศักดิ์ กล่าว

เขายังเล่าต่อไปว่าหน้าที่ของทีวีพูลในครั้งนี้เป็นเพียงผู้ผลิตสัญญาณอย่างเดียว ที่เหลือคณะกรรมการสาขาธุรกิจสิทธิประโยชน์ ซึ่งมีสันติภาพ เตชะวณิช เป็นประธานในการดำเนินการทั้งหมด

นั่นหมายความว่าการขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดโทรทัศน์ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นหัวใจหลักด้านรายได้ของทีวีพูลสำหรับการถ่ายทอดเป็นหน้าที่ของสันติภาพ และถือว่าเป็นครั้งแรกที่ทีวีพูลไม่สามารถเข้าไปทำหน้าที่ดังกล่าว

"การขายโฆษณาเป็นของฝ่ายธุรกิจสิทธิประโยชน์ จากนั้นเขาจะส่งรายการโฆษณามาให้ทีวีพูลเอง รวมทั้งการขายลิขสิทธิ์ให้สถานีโทรทัศน์ต่างๆ ด้วย ขณะนี้ขายให้ไปแล้ว 15 ประเทศ ส่วนในไทยขายให้กับ UBC"

ถึงแม้ว่าภารกิจของทีวีพูลจะมีเพียงน้อยนิด แต่ปัญหาไม่ได้จบเพียงแค่นั้น มันกลับสร้างปัญหาชนิดไม่รู้จบ เริ่มตั้งแต่งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน จาก 287 ล้านบาท หักภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 13 ล้านบาท เหลือเพียง 274 ล้านบาท เรื่องนี้ พล.ต.อดิศักดิ์ กล่าวว่าขณะนี้ทีวีพูลต้องการเงินเพิ่มอีกประมาณ 50 ล้านบาท เนื่องจากมีความจำเป็นต้องซื้อและเช่าอุปกรณ์จากต่างประเทศเข้ามาอีกจำนวนมาก

"ช่วงลงนามสัญญาณถ่ายทอดสดเราเสนองบไปนั้น เราคำนวณที่ 26 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แต่ตอนนี้ค่าเงินเปลี่ยน เราจึงจำเป็นต้องใช้เงินเพิ่ม เราได้ขอไปอีก 35 ล้านบาท ซึ่งยังอยู่ในช่วงพิจารณา"

อุปกรณ์ที่ว่าส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูงและหาในประเทศไม่ค่อยได้ เช่น supper slow motion, กล้องที่ต้องใช้วิ่งตามรางถ่ายทอด, กล้องถ่ายใต้น้ำ กระทั่งรถ OB Van ที่ต้องใช้ถึง 25 คันในช่วงการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ คาดว่าจะต้องใช้เงินในการเช่าทั้งหมดประมาณ 60 ล้านบาท ส่วนที่ต้องซื้อเพิ่มส่วนใหญ่จะเป็นสายเคเบิ้ล, ทีวีมอนิเตอร์, เทปบันทึกเสียง

"เราเจรจาขอเช่าต่อจากการแข่งขันกีฬาคอมมอน เวลท์ เกมส์ ที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพที่ยังไม่ส่งกลับอังกฤษ แต่ยังไม่นำเข้ามาติดตั้ง หรือทดลองเพราะค่าเช่าสูงมาก เช่น รถ OB Van เขาคิด 2 แสนบาทต่อวัน หรือเทปบันทึกเสียงต้นทุนประมาณ 8,000 บาทต่อวัน และใช้ 50 เครื่องต่อวัน ตอนนี้เราพยายามควบคุมต้นทุนให้ดีที่สุด"

เมื่อเป็นเช่นทีวีพูลไม่ต้องคิดเลยว่าจะสามารถทำกำไรได้ "เอาแค่ว่าทำอย่างไรจึงจะประคองตัวให้อยู่ได้ ซึ่งอาจจะต้องแชร์ขาดทุนกันไป คาดว่างานนี้ขาดทุน 50 ล้านบาทแน่ถ้าไม่ได้เงินเพิ่ม ส่งผลให้สามารถถ่ายทอดกีฬาได้เพียง 23 ชนิดจากทั้งหมด 36 ชนิด" พล.ต.อดิศักดิ์ กล่าว

นอกจากจะปวดหัวกับงบประมาณที่จำกัดจำเขี่ยแล้ว ยังต้องเผชิญกับตารางการแข่งขันเปลี่ยนแปลงตลอด นักกีฬาถอนทีมบ้าง เพิ่มทีมบ้าง จนต้องเลื่อนการรับสมัครออกไปอีก ทำให้ไม่สามารถกำหนดตารางการแข่งขันได้ ทำให้มีผลกระทบต่อการถ่ายทอดโทรทัศน์ของทีวีพูล

"จะไปกระทบแผนที่เรียกว่า transmission plan คือ แผนการส่งโทรทัศน์จากสนามแข่งขันเข้ามาสู่ IBC แล้วส่งต่อไปประเทศที่ซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอด เพราะจะไปกระทบต่อการจองดาวเทียมของเขา เช่น ตารางการแข่งขัน กำหนดแข่งเวลา 16.00 น. ซึ่งเขาก็ได้จองดาวเทียมไว้เวลานี้ แต่พอถึงวันแข่งกลับเลื่อนเป็น 14.00 น. ตอนนี้เขาโวยวายมาโดยตลอด เพราะเราเป็นตัวกลางระหว่างคณะกรรมการจัดการแข่งขันกับผู้ซื้อลิขสิทธิ์" พล.ต.อดิศักดิ์ กล่าว

ถ้าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ และไม่สามารถเคลียร์กันได้ สิ่งที่ผู้ซื้อลิขสิทธิ์จะปฏิบัติก็คือ ปฏิเสธการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอด ซึ่งแทนที่จะได้เงินกลับไม่ได้ ซึ่งมีผลต่อชื่อเสียงของประเทศอีกด้วย อีกทั้งการเลือกประเภทกีฬาถ่ายทอด ผู้ซื้อลิขสิทธิ์มีสิทธิ์ที่จะให้ทีวีพูลถ่ายทอดกีฬาประเภทที่ต้องการ ถ้าไม่ทำตามมีสิทธิ์ที่จะยกเลิกการซื้อสัญญาณได้

ปัญหาที่สำคัญที่ทีวีพูลมีความกังวลอีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความพร้อมของสนามแข่งขัน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างของการถ่ายทอดโทรทัศน์ต้องพุ่งไปสู่สนามแข่งขัน เมื่อสนามไม่เรียบร้อยอย่างอื่นต้องหยุดชะงักลง รวมทั้งการถ่ายทอดโทรทัศน์

"เรื่องแสงสว่างของสนาม บางแห่งเขาสร้างสนามตามความต้องการของสมาคมกีฬาว่าแสงสว่างเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว แต่เขาลืมไปว่าจะต้องมีการถ่ายทอดโทรทัศน์ ทำให้ความเข้มของแสงสว่างบนพื้นไม่เพียงพอ บางแห่งไม่สามารถวางเครื่องมือการถ่ายทอดได้ เช่น กล้องโทรทัศน์ ผู้บรรยายไม่รู้จะอยู่ตรงไหน โดยเฉพาะสนามกีฬาตามต่างจังหวัดที่จะจัดแข่งรอบแรก บางแห่งไม่มีแม้กระทั่งไฟฟ้าติด ซึ่งแก้ไขด้วยการเลื่อนโปรแกรมการแข่งขันขึ้นมา เพื่อใช้แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ซึ่งจะไปกระทบกับเวลาผู้ชมทางบ้าน โดยเฉพาะผู้ซื้อลิขสิทธิ์เขาอาจจะยกเลิกเอาง่ายๆ" พล.ต.อดิศักดิ์ กล่าว

ดูเหมือนว่าการดำเนินการการถ่ายทอดโทรทัศน์ของทีวีพูลในครั้งจะมีแต่อุปสรรค แม้ว่าแต่ละฝ่ายพยายามเร่งแก้ไขแล้ว แต่หนทางออกนั้น "มืดมน" และ "ยาก" อย่างไร ก็ตาม ด้วยความเป็นคนไทยและมืออาชีพ พล.ต.อดิศักดิ์ บอกสั้นๆ ว่า "ครั้งนี้เราทำงานเพื่อชาติ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us