Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2541
เจเอสแอล งานนี้มีแต่กล่อง-เงินไม่เกี่ยว             
 

   
related stories

เอเชี่ยนเกมส์-บางกอก เปิดศักราชใหม่กีฬาพาณิชย์
พิชัย รัตตกุล Saviour ของ BAGOC
จบเกมกีฬาสู่เกมธุรกิจ จะบริหารศูนย์กีฬามูลค่า 12,000 ล้านบาทต่ออย่างไร?
ถนนทุกสายสู่…เอเชี่ยนเกมส์
ธุรกิจกับเอเชี่ยนเกมส์ : เส้นทางของผลประโยชน์
ลิขสิทธิ์เอเชี่ยนเกมส์ กระจายรายได้เพื่อชาติ - เพื่อชื่อ
รัตนสินได้เผยโฉมงานเอเชี่ยนเกมส์
ทำความรู้จัก ISL-เจ้าตลาดการเป็นสปอนเซอร์

   
search resources

เจ เอส แอล, บจก.
Sports




ในการแข่งขันฟุตบอลโลก หรือ เกมกีฬาระดับโลกอื่นๆ พิธีเปิดและปิดงานเป็นแค่เครื่องประดับที่เรียกน้ำย่อย แต่สำหรับระดับภูมิภาคเอเชียอย่างเอเชี่ยนเกมส์แล้ว พิธีการนี้จัดเป็นไฮไลต์ ที่ไม่แพ้เกมกีฬายอดฮิต พิธีเปิด-ปิดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่เจเอสแอลได้เป็นผู้จัดทำนั้น มีเบื้องหน้าเบื้องหลังที่อดทนทรหดมากมายกับการได้เป็นผู้จัดทำโดยไม่คาดฝัน กับตัวเลขงบประมาณที่ถูกหั่นลงจนบริษัทต้องขาดทุนครั้งแรกในรอบ 20 ปี และกับการซ้อมมากมายหลายสิบครั้ง เพื่อให้ได้ความยิ่งใหญ่ และเผยแพร่ภาพพจน์ของชาติ งานนี้จำนรรค์ + ลาวัลย์ สู้ตายค่ะ!!

พิธีเปิด-ปิดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาตินั้น นอกจากเป็นภาพ สะท้อนความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของคน ต่างชาติต่างภาษาผ่านเกมกีฬาต่างๆ แล้วก็ยังได้อรรถรสของความบันเทิงใน อีกแง่มุมหนึ่งที่จะขาดไม่ได้

รายได้ส่วนหนึ่งของงานเอเชี่ยน เกมส์ก็มาจากการขายบัตรเข้าชมพิธี เปิด-ปิดงาน และยังรวมไปถึงการซ้อมใหญ่ด้วย ซึ่งราคาอาจจะถูกหน่อยสำหรับคนที่มีใจรักแต่มีเงินไม่มาก

งานประมูลพิธีเปิด-ปิดงานเอเชี่ยนเกมส์ จึงเป็นที่หมายตาของบรรดาบริษัทเอ็นเตอร์เทนเมนต์ทั้งหลายที่มีความพร้อมในเรื่องทีมงาน เพราะนั่นหมายถึงชื่อเสียงที่จะเป็นใบเบิกทางสำหรับงานหน้า และเงินกำไรจากการจัดงาน ซึ่งหากทำดีๆ ก็เรียกว่าได้ทั้งเงินและกล่อง

การแข่งขันเพื่อช่วงชิงงานก็ ดุเดือดไม่แพ้กัน คู่แข่งขันที่สูสีมีด้วยกัน 2 รายคือแกรมมี่ และเจเอสแอล ซึ่งเป็นบริษัทเอ็นเตอร์เทนเมนต์ด้วยกันทั้งคู่

แต่เจเอสแอลช่วงชิงงานนี้มาได้ ในช่วงโค้งสุดท้าย แซงหน้าคู่แข่งไปหวุดหวิด เพราะหากดูในแง่ของคอน เนกชั่นแล้ว เต็งจ๋าหนีไม่พ้นกลุ่มแกรมมี่ งานนี้นอกจากตัวแกรมมี่จะเข้าประมูลเองแล้ว ยังส่งคุรุสภาที่มาพร้อมกับศุภวัฒน์ จงศิริ หรือ ศุภักษร ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการจัดงานพิธีเปิดปิดมาแล้วโชกโชน และเป็นที่รู้กันดีว่าทั้ง 2 บริษัทนี้คือ พันธมิตรของกลุ่มแกรมมี่ ที่สำคัญแกรมมี่ก็มีสัมพันธ์อันดีเยี่ยมกับ สุขวิช รังสิตพล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้เซ็นอนุมัติงานประมูลครั้งนี้

เหนือฟ้าก็ยังมีฟ้า บังเอิญว่าช่วงเวลาตัดสินคัดเลือกเป็นเวลาเดียวกับที่แกรมมี่และสุขวิชถูกตีกระหน่ำอย่างหนัก ในโครงการประมูลขายคอมพิวเตอร์ ถึงขั้นถูกนำไปอภิปรายในรัฐสภา แกรมมี่จึงหลุดโผออกไป เมื่อคะแนนของกรรมการพร้อมเทมาให้เจเอสแอล

สำหรับเจเอสแอลแล้วการคว้างาน "เอเชี่ยนเกมส์" ในช่วงนั้นคือบันไดชั้นยอดที่จะก้าวไปถึงงานใหญ่ในวันข้างหน้าและธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เพราะนอกจากความมั่นใจในเรื่อง คอนเซ็ปต์ของการแสดงแล้ว ในแง่มุมของธุรกิจเจเอสแอลก็เชื่อว่า ยอดเงินที่เสนอไป 188 ล้านบาท เมื่อหักกลบค่าใช้จ่ายแล้วงานนี้จะต้องมีกำไรติดปลายนวมไปบ้างไม่มากก็น้อย

นอกจากนี้ผู้บริหารของเจเอส แอลยังมองเห็นลู่ทางทำเงินที่จะได้จากงานนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท ที่คาดว่าจะได้จากการขายโฆษณาบนสูจิบัตรที่จะใช้สำหรับพิธีเปิด-ปิด ซึ่งในส่วนนี้เจเอสแอลสามารถทำได้เองไม่ผิดเงื่อนไข โดยเจเอสแอลจะขายโฆษณาบนสูจิบัตรให้กับเหล่าสปอนเซอร์รายใหญ่ของเอเชี่ยนเกมส์ ซึ่งล้วนก็เป็นบริษัทใหญ่อย่าง โตโยต้า คาร์ลสเบิร์กส์ ซัมซุง

แม้สัญญาที่เคยถูกแช่เย็นมานานในสมัยสุขวิช แต่ดูเหมือนโชคจะไม่เข้าข้างเจเอสแอล เมื่อต้องมาเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจรัฐบาล ชวน หลีกภัย มีนโยบายรัดเข็มขัดหั่นงบประมาณ เจเอสแอลก็เจอเข้าไปเต็มๆ เมื่อรัฐบาล ขอลดวงเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้กับเจเอสแอลลงจากที่ตกลงกันไว้ตอนประมูลได้ 188 ล้านบาท ตัดลงเหลือ 80 ล้านบาท และเมื่อหักภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เหลือที่เป็นเม็ดเงินรายได้แค่ 70 กว่าล้านบาท

โจทย์ใหม่ที่เจเอสแอลได้รับคือ จะต้องผลิตงานให้มีคุณภาพเท่ากับ 188 ล้านบาทตามเงื่อนไขที่ทำไว้ในสัญญากับรัฐบาล แต่มีงบให้ใช้เพียงแค่ 70 ล้านบาท

เป็นโจทย์ที่เจเอสแอลต้องตีให้แตก !

"ถ้าพูดถึงในแง่ของธุรกิจแล้วไม่คุ้ม เราขาดทุน แต่ก็คุ้มค่าในเรื่องของผลงานและจิตใจ โดยเฉพาะในเรื่องของความร่วมมือ เพราะเป็นการรวมตัวกันแบบไม่มีค่าย ไม่มีบริษัทไม่มีสถาบัน ทุกคนมาร่วมมือกัน" จำนรรค์ ศิริตัน กรรมการผู้จัดการ บริษัทเจเอสแอล จำกัด กล่าว

จำนรรค์ บอกว่าเจเอสแอลใช้เงินทุนเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ไปแล้วประ-มาณ 150 ล้านบาท แต่มีงบเพียงแค่ 70 ล้านบาท

นั่นก็เท่ากับว่า เจเอสแอลขาดทุนไปแล้วทันที 80 ล้านบาท

คอนเซ็ปต์ของงานที่เจเอสแอลวางไว้ ก็คือ การสะท้อนถึงประเพณีและวัฒนธรรมของชาวเอเชียทั้งหมด โดยนำเอาศิลปะการแสดงในแบบไทยๆ ผสมผสานกับประเทศในเอเชีย คละ เคล้าด้วยเสียงเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมา ใหม่ ที่มีนักประพันธ์เพลงอย่าง จิรพรรณ อังศวานนท์, บรูซ แกสตัน, สินนภา สารสาส มาร่วมประพันธ์ จุดที่เป็นไฮไลต์ ที่ทีมงานของเจเอสแอลมุ่งเน้น ซึ่งได้แนวคิดมาจาก ยุทธนา มุกดาสนิท คือ ถ่ายทอดงานแสดงออกในลักษณะของ "องก์" หรือละคร ที่แบ่งออกเป็นชุดๆ เหมือน กับการดูละครที่ต้องดูกันตั้งแต่ต้นจนจบ มีผู้กำกับการแสดงที่รับผิดชอบกันไปคนละชุด

แน่นอนว่า การแสดงที่ต้องเน้นความอลังการเช่นนี้ต้องใช้คนแสดง ทั้งหมด 10,184 คน

แม้ว่า เจเอสแอลจะตัดชุดการแสดงที่เตรียมไว้ตั้งแต่แรก 16-18 ชุด ลดลงเหลือ 12 ชุด ซึ่งทำให้สามารถลดงบประมาณในส่วนนี้ไปเกือบ 30 ล้านบาทแล้วก็ตาม แต่ค่าใช้จ่ายในส่วน อื่นๆ ไม่สามารถลดได้

แม้ว่าเจเอสแอลจะไม่ต้องควักเงินจ้างบุคลากรเหล่านี้ เพราะใช้วิธีขอ ความร่วมมือไปยังสถาบันการศึกษาต่างๆ จำนวน 19 แห่ง ให้ส่งนักเรียน และนักศึกษามาร่วมแสดงในชุดการแสดงเหล่านี้ แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายในส่วน อื่นๆ ที่เลี่ยงไม่ได้

5 เดือนที่ผ่านมาของการเตรียม งานเจเอสแอลต้องใช้คน 375 คน มาผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในงานแสดง ส่วนเสื้อผ้าต้องใช้ช่างออกแบบ 30 คน ช่างตัดเย็บ 200 คน สำหรับชุดที่จะใส่แสดง 10,184 ชุด สำหรับ 12 ชุดการแสดง จำนรรค์บอกว่า ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้คิด เป็นเงินประมาณ 30 ล้านบาท

นอกจากนี้จะต้องจ้างสต๊าฟทีมงานทั้งหมดจำนวน 2,000 คน ในจำนวนนี้เป็นในส่วนของการกำกับเวที 200 คน คิดเป็นเงินในส่วนนี้ 23 ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายที่หนักที่สุดในอีกส่วน หนึ่ง คือ เทคนิคที่ใช้ในการประกอบการแสดง เช่น อุปกรณ์ไฟ เครื่องเสียงต่างๆ แม้ว่าในส่วนนี้จะได้รับการ สนับสนุนจากบริษัทอีเอ็มทีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เจเอสแอลต้องออกค่าใช้จ่าย เช่น การปรับปรุงสนามที่จะใช้สำหรับพิธีเปิด-ปิด สุวิทย์ สาสนพิจิตร์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทเจเอสแอล เล่าว่า ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้คิดเป็นเงินประมาณ 40-45 ล้าน บาท

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือจากการคาดการณ์เอาไว้ที่โผล่มาอีกมาก อันเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนรอบของการซ้อมนักแสดง เป็น 40 รอบ ทำให้ค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วน ของกองอำนวยการเพิ่มขึ้น เช่น ค่าอาหารที่ต้องใช้ทั้งหมดประมาณ 8-9 ล้านบาท ค่ารถเมล์ที่เช่าไว้สำหรับขนส่งนักแสดงตามโรงเรียนต่างๆ

"ค่าใช้จ่ายที่เราไม่คาดคิดมาก่อน มีเยอะมาก ส่วนใหญ่จะเป็นในส่วนของฝ่ายสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ค่ารถ ค่าเดินทาง ค่าอาหาร การตกแต่งสนามที่จะใช้จัดแสดง" วัชระ แวววุฒินันท์ ผู้อำนวยการกล่าว

หากเป็นในยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู ปัญหาเหล่านี้คงแก้ได้ไม่ยาก แต่ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ การช่วยเหลือในรูปของเงินค่าสปอนเซอร์แทบจะลืมไปได้เลย

ก่อนหน้านี้ผู้บริหารของเจ เอสแอล แก้ปัญหาด้วยการยื่นขอเพิ่มงบไปยังคณะกรรมการเอเชี่ยนเกมส์ประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อมาแก้ไขปัญหาการขาดทุน ที่เจเอสแอลต้องควักเนื้อไป

แต่รัฐบาลก็ให้ความช่วยเหลือได้แค่ประสานงานไปยังหน่วยงานราชการ เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องของอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้กับเจเอสแอลอีกที เช่น กรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้ความช่วยเหลือในเรื่องของพลุที่จะใช้แสดง รวมทั้งรถสุขาเคลื่อนที่ การบินไทยสนับสนุนในเรื่อง ตั๋วเครื่องบิน 2 แสนบาท การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสนับสนุนในเรื่องของอุปกรณ์ที่จะใช้ในการแสดงบางส่วน

ผู้บริหารของเจเอสแอลต้องหาทางออกในรูปแบบอื่นๆ แทนตัวเงินด้วยการทำบราเตอร์กับผู้ผลิตสินค้า ด้วยการเอาเวลาโฆษณาในรายการทีวีที่เจเอสแอลผลิตอยู่ ไปแลกกับสินค้าทั้งอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับในการจัดแสดง เช่น ในส่วนของอาหาร ทำบราเตอร์กับดังกิ้น โดนัท และสหพัฒนพิบูลขอเป็นบะหมี่ มาม่ามาให้กับนักแสดงในช่วงซ้อม น้ำมันรถจากการปิโตรเลียม รองเท้านักแสดง จำนรรค์ บอกว่า การช่วยเหลือในส่วนนี้ช่วยประหยัดงบไปได้ประมาณ 10 ล้านบาท

แม้งบก้อนแรก 30 ล้านบาทที่ ยื่นขอไปหมดหวังไปแล้ว แต่เจเอส แอลรอคอยความหวังจากงบก้อนใหม่ 10 ล้านบาทที่ยื่นเสนอไปอีกครั้ง ซึ่งหากได้งบก้อนนี้จะช่วยทำให้ยอดขาดทุนลดลง

จำนรรค์ย้ำเสมอว่า งานนี้ทำงาน ให้กับประเทศชาติ และสิ่งที่เธอภาคภูมิใจที่สุดคือ การได้รับความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ ทั้งเอกชนด้วยกัน หน่วยงานราชการ คณะกรรมการเอเชี่ยนเกมส์

แต่เธอก็ยอมรับว่า ตัวเลขขาดทุนหลายสิบล้านบาทจากการเป็นผู้ชนะประมูลพิธีเปิดปิดเอเชี่ยนเกมส์ในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการ ของเจเอสแอลที่ต้องประสบปัญหาขาด ทุนเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี

ยิ่งในภาวะเช่นนี้ด้วยแล้ว แม้จะมีรอยยิ้มแต่ก็แฝงไปด้วยความเหน็ด เหนื่อยไม่น้อยกับผลขาดทุนจากงานครั้งนี้ เมื่อบวกกับภาพรวมของธุรกิจผลิตรายการทีวี ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของเจเอสแอลที่ก็มีสถานการณ์ไม่ดีนัก

"ครั้งนี้ก็เหมือนกับการที่เราต้อง ไปเริ่มต้นธุรกิจกันใหม่อีกครั้ง ต้องหาธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาช่วยในเรื่องของรายได้ เพราะในแง่ของภาพรวมธุรกิจทีวีเองก็ลดลงไป"

อย่างไรก็ดี เจเอสแอลก็ยังได้รับผลพวงทางธุรกิจจากเอเชี่ยนเกมส์ เพราะเป็นไปได้อย่างมากว่า เจเอสแอล จะได้รับงานตกแต่งเมืองให้กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรุงเทพ มหานคร ซึ่งมีโครงการจะทำโครงการตกแต่งบริเวณถนนราชดำเนินในปีหน้า (2542) ซึ่งจะเป็นปีเฉลิมฉลองครบรอบ พระชนมายุ 72 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะใช้งบประมาณในส่วนนี้ 13 ล้านบาท

นอกจากนี้ในปีหน้าเจเอสแอลจะเปิดบริษัทใหม่เพื่อทำธุรกิจเป็นตัว แทนจำหน่ายป้ายโฆษณาแอลอีดีบอร์ด อันเป็นผลพวงมาจากงานเอเชียนเกมส์โดยตรง เนื่องจากชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านสเปเชียลเอฟเฟกต์ ด้านเทคนิคของงานเป็นผู้ชักชวนให้เจเอสแอลมาทำธุรกิจนี้ในไทย

จำนรรค์ เชื่อว่า ธุรกิจเหล่านี้จะมาช่วยเสริมรายได้ และช่วยในเรื่องของตัวเลขขาดทุนได้ไม่มากก็น้อย

นี่คือส่วนหนึ่งของเบื้องหลังงาน พิธีเปิด-ปิดเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่ กำลังจะเริ่มขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

และก่อนที่คนไทยจะได้ลุ้นเหรียญทองในเกมกีฬาต่างๆ พิธีเปิดเอเชี่ยนเกมส์ จะเป็นด่านแรกที่จะสะท้อนถึงความพร้อมของคนไทย ว่าจะทำได้อลังการสวนกระแสเศรษฐกิจได้เพียงใด

ต้องรอดู !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us