Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2541
สาริน ซิตี้ เดินเครื่องต่อไม่ยอมรอเจ้าหนี้รายใหม่             
 


   
search resources

สาริน ซิตี้




หลังจากวันที่ 2 ธันวาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ ปรส. ประมูลขายสินเชื่อธุรกิจล็อตสุดท้ายนั้น ลูกค้าในโครงการสารินซิตี้โครงการใหญ่ยักษ์บนถนนธนบุรีปากท่อกิโลเมตรที่ 17 ก็คงได้รับรู้กันไปแล้วว่าเจ้าของ โครงการรายใหม่เป็นใคร

ในขณะที่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่และ เจ้าของโครงการคนเก่า เช่น วิศรุต ชัยปาณี เมธี เอื้ออภิญญากุล แห่งกลุ่มเหมืองบ้านปู และชนินทร์ ว่อง กุศลกิจ แห่งค่ายน้ำตาลมิตรผล ผู้ซึ่งพลอยเจ็บปวดกับโครงการนี้เช่นเดียวกับลูกค้าทุกราย ได้พยายามแสดงความรับผิดชอบอย่างถึงที่สุด หากช่วงเวลาที่ผ่านมาเมื่อโครงการไปติดอยู่กับปรส. การดำเนินการใดๆ ก็เลยทำได้ยาก

แต่ด้วยศักดิ์ศรีรวมทั้งการมองการณ์ไกลที่ว่า หากยังจะต้องการเดินอยู่บนถนนสายเรียลเอสเตทต่อไป ควรจะรีบหาทางช่วยเหลือลูกค้าให้ได้มากที่สุด ผู้บริหารกลุ่มนี้จึงได้ตัดสินใจไม่รอขั้นตอนการประมูลของ ปรส. โดยติดต่อไปยังบริษัทซีคอนบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างโครงการหมู่บ้านเศรณี ซึ่งเป็นโครงการที่ติดอยู่กับ ปรส.เช่นกัน ให้เข้าไปรับสร้างบ้านให้กับลูกค้าจำนวนอีกหลายรายที่ได้ผ่อนบ้านส่วนหนึ่งมาแล้ว

หลังจากบริษัทซีคอนเข้าไปตรวจสอบโครงการ ก็พบถึงความตั้งใจจริงของกลุ่มผู้บริหารที่จะช่วยเหลือลูกบ้าน รวมทั้งเห็นความคืบหน้าของระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดที่ทำไว้อย่างได้มาตรฐาน ทางซีคอนก็เลยยอมเซ็นสัญญาที่จะให้ความร่วมมือไปแล้วเมื่อประมาณเดือนกันยายน 2541 ที่ผ่านมา

หลังจากนั้นทางผู้บริหารสารินซิตี้ก็ได้สำรวจความต้องการบ้านของลูกค้าที่ซื้อไปแล้ว ว่าถ้าซีคอนมาสร้างบ้านต่อให้ โดยต้องทำตามเงื่อนไขที่ว่าต้องจ่ายดาวน์เพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 30% จะยอมหรือไม่ และคราวนี้เพื่อเป็นการประกันความเสี่ยงว่าไม่มีการนำเงินไปใช้ผิดประเภทอีก ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินผ่านบัญชีกลางที่ทางซีคอน และบริษัทสารินเป็นผู้เบิกเงินร่วมกัน และเบิกได้เพื่อใช้ในงานก่อสร้างเท่านั้น

ภายหลังจากการสำรวจ ก็พบว่ามีลูกค้าในบ้านกลุ่มแรกที่ขายไปแล้ว ซึ่งเป็นบ้านเดี่ยวราคาประมาณ 1.5-3 ล้าน บาท ยินยอมมาเป็นจำนวนมาก ส่วนจะแบ่งงวดผ่อนชำระเงินดาวน์ที่เหลืออย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการตกลงกัน ถ้าลูกค้าอยากได้บ้านเร็ว ก็ต้องผ่อนเงินดาวน์ประมาณ 8 งวด เพราะทางซีคอนสามารถสร้างบ้านได้ภายในเวลา 7-8 เดือน แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องจำนวนเงินต่องวดที่อาจจะสูงไปก็ขยายเวลาออกไปก็ได้

ทางกลุ่มผู้บริหารของสาริน ซิตี้ และซีคอน คาดหวังว่าเมื่อลูกค้ามองเห็นความตั้งใจจริงของบริษัทก็อาจจะเข้ามาผ่อนบ้านต่อเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อทราบว่าผู้ประมูลโครงการนี้จากปรส.เป็นใครแล้ว ผู้บริหารจะต้องไปเจรจากับเจ้าหนี้รายใหม่ และ ปรส.เอง ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะอย่างน้อยเจ้าหนี้รายใหม่ก็คงเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปเหมือนกัน ถึงแม้จะทำให้ยอดมูลหนี้ลดลงก็ตาม

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณปี 2539 ซึ่งเป็นปีที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสุดๆ ในยามนั้นบริษัทมืออาชีพยักษ์ใหญ่ทางด้านบ้านจัดสรรรายอื่นๆ แทบจะหยุดการก่อสร้างโครงการใหม่ๆ หรือเฟสใหม่ๆ กันถ้วนหน้า แต่บริษัทสารินพร็อพเพอร์ตี้บริษัทที่เพิ่งเปิดมาเพียง 7 ปี มีโครงการพัฒนาที่ดินเพียง 4 โครงการ กลับสวนกระแสคือกล้าก้าวกระโดด เปิดโครงการใหญ่ในพื้นที่ 6,000 ไร่ด้วยมูลค่ากว่า 40,000 ล้านบาท โดยมีบริษัทเคทีจีวาย อินเตอร์แอสโซซิเอทส์ เป็นผู้รับผิดชอบในการวางผังเมือง พร้อมๆ มีการโหมโฆษณาในสื่อต่างๆ รวมทั้งการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ใช้งบไปไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท

เราขายเมือง ไม่ได้ขายบ้าน คือจุดยืนของบริษัทในตอนนั้น โดยวางแผนไว้ว่าจะใช้เวลาในการพัฒนาและสร้างเมืองนี้ประมาณ 10 ปี แบ่งการพัฒนาออกเป็น 4 โซน ประกอบด้วย 1. สารินพาร์คแกลลอรี่ เป็นบ้านเดี่ยวที่ดินเปล่าและอาคารพาณิชย์จำนวน 1,061 ยูนิต พื้นที่ 500 ไร่ มูลค่า 1,500 ล้านบาท 2. สาริน ซิลเวอร์เลค เป็นบ้านเดี่ยว ริมน้ำและที่ดินเปล่าจำนวน 702 ยูนิต 3. เป็นชุมชนพักอาศัย4. เป็นส่วนพาณิชยกรรมและบริการสาธารณะ

สาริน ซิตี้ เป็นเรื่องราวในวงการอสังหาริมทรัพย์ที่พูดถึงกันอยู่นานในครั้งนั้น

แล้วในที่สุดโครงการนี้ก็ไปไม่ถึงดวงดาวจริงๆ เมื่อสถาบันการเงินหลักที่ปล่อยกู้ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วยนั้นถูกรัฐบาลสั่งปิด

กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของโครงการสารินซิตี้ นอกจากวิศรุต เมธี และชนินทร์ แล้วก็ยังมีบงล.เอกธนา บงล.ไอทีเอฟ บง.เอกธนกิจ และบง.ยูไนเต็ด เม็ดเงินที่ได้มาจากสถาบันการเงินนี้ว่ากันว่าไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาทในขณะเดียวกันยังมีการกู้เงินจากสถาบันการเงินที่ยังไม่ปิด และกลุ่มผู้ถือหุ้นเองที่จำต้องควักกระเป๋าเอาเงินมาหล่อเลี้ยงโครงการไปเรื่อยๆ

เม็ดเงินส่วนใหญ่ถูกหว่านลงไปอย่างหนักในเรื่องของระบบสาธาร-ณูปโภค ในขณะที่บ้านเดี่ยวที่ขายได้ในเฟสแรกๆ นั้นเริ่มงานก่อสร้างไปเพียง 10 กว่าหลังเท่านั้น

การร่วมมือกับทางซีคอน เพื่อแสดงให้เห็นว่ายังไม่ยอมทิ้งลูกบ้าน แทบจะกล่าวได้ว่าเป็นทางเลือก ทางเดียวที่ยังเหลืออยู่จริงๆ สำหรับ ก้าวย่างต่อไปบนถนนสายเรียลเอสเตทนี้ของกลุ่มนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us