Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2541
บ้าน ทาวน์เฮาส์ เริ่มฟื้นตัวปี 2543 แต่คอนโดคงอีกนาน             
 


   
search resources

Real Estate




ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้ว่าจ้าง บริษัทเอเยนซี่ ฟอร์เรียล เอสเตท แอฟแฟร์ จำกัด ของโสภณ พรโชคชัย สำรวจสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย และอาคารไร้ที่อยู่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปี 2533-เมษายน 2541 ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลคือ สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี รวมทั้งจังหวัดสมุทรสาคร และนครปฐมบางส่วนด้วย

สำหรับประเภทของที่อยู่อาศัยที่ทำการสำรวจนั้น เป็นโครงการจัดสรรภาคเอกชน เฉพาะบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ และคอนโดมิเนียม ไม่รวม ที่ดินจัดสรรและที่อยู่อาศัยที่เจ้าของสร้างเอง อพาร์ตเมนต์ให้เช่า และโครงการของการเคหะแห่งชาติ

การสำรวจครั้งนี้พบตัวเลขที่น่าสนใจคือ ได้พบจำนวนอุปทานที่อยู่อาศัยที่ยังไม่ได้ขายอยู่ในมือผู้ประกอบการรวม 264,084 หน่วย และอาคารไร้ผู้อยู่อาศัยจำนวน 267,063 หน่วย มีข้อที่น่าสังเกตคือ

1. ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จแต่ยังไม่ได้ขาย ซึ่งเป็นอุปทานที่พร้อมขายและโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อมีจำนวนเพียง 54,953 หน่วย เป็นอาคารชุด 44,128 หน่วย ทาวน์เฮาส์ 6,404 หน่วย ในขณะที่บ้านเดี่ยวมีเพียง 1,138 หน่วยเท่านั้น

ซึ่งตัวเลขในส่วนนี้วงการที่อยู่อาศัยเชื่อกันว่าภายในปี 2541 นั้นตลาดก็จะสามารถดูดซึมไปได้หมด อาจจะเหลืออยู่บ้างก็คือในส่วนอาคารชุด

2. ที่อยู่อาศัยที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างและยังไม่ได้ขายมีมากถึง 171,338 หน่วย เป็นอาคารชุด 63,036 หน่วย ทาวน์เฮาส์ 59,480 หน่วย ส่วนบ้านเดี่ยวมี 34,275 หน่วย และแยกออกเป็นในส่วนที่ก่อสร้างแล้วน้อยกว่า 80% สูงถึง 156,223 หน่วย

ไชยยันต์ ชาครกุล นายกสมาคมบ้านจัดสรรให้ความเห็นว่าในส่วนที่สร้างต่ำกว่า 80% นี้น่าจะมีผู้ประกอบ การสร้างต่อเพียง 20-30% เท่านั้น ส่วนที่เหลือคงต้องปล่อยให้เป็นแลนด์แบงก์ต่อไป เพราะถ้าหากลงทุนต่อ และขายในราคาเดิมไม่คุ้มทุนแน่ แต่ถ้าขายราคาใหม่ก็คงต้องยากเหมือนกัน

3. ที่อยู่อาศัยที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง และยังไม่มีผู้ซื้อแต่เจ้าของโครงการบอกขายไปแล้ว มีจำนวน 37,793 หน่วย

4. มูลค่าขายของที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่กล่าวมา ยังขายไม่ได้ประมาณ 412,027 ล้านบาท เป็นที่อยู่อาศัยระดับ 3 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 35,000 หน่วยมูลค่าการขายกว่า 160,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่า ที่สูง และคงต้องใช้ระยะเวลาขายมากกว่ากลุ่มอื่น เพราะปกติแล้วที่อยู่อาศัยในกลุ่มนี้มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 5-10% เท่านั้น

5. อาคารไร้ผู้อยู่อาศัยสร้างเสร็จมานานกว่า 1 ปี มีจำนวน ทั้งสิ้น 267,063 หน่วย 86% มีผู้ซื้อไปแล้ว และจะเป็นห้องชุดประมาณ 94,551 หน่วย เป็นทาวน์เฮาส์ 79,333 หน่วย เป็นอาคารพาณิชย์ 29,077 หน่วย ส่วนบ้านเดี่ยวมีประมาณ 22,503 หน่วย

6. การสำรวจครั้งนี้ไม่ได้สำรวจถึงภาวะการโอนกรรมสิทธิ์ของที่อยู่อาศัยที่มีการซื้อแล้ว แต่อย่างไรก็ตามในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำนี้ ทำให้ผู้ที่ซื้อไปทั้งหมดอาจจะทิ้งเงินดาวน์ไม่ยอมมาโอนกรรมสิทธิ์เมื่อสร้างเสร็จ หรืออาจจะมีการทิ้งเงินดาวน์ไปแล้ว ซึ่งบ้านประเภทนี้จะเป็นบ้านใหม่ในตลาดอีกครั้งหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากมีการโฆษณาขายบ้านหลุดดาวน์เป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา

7. มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า อุปทานที่อยู่อาศัยที่แท้จริงในตลาด มิใช่มีเพียงบ้านใหม่มือหนึ่งเท่านั้น หากยังมีตลาดมือสองอีกด้วย ซึ่งยังไม่ทราบชัดเจน แต่ส่วนใหญ่จะมาจากอาคารไร้ผู้อยู่อาศัย

8. ตั้งแต่เดือนเมษายน 2541 เป็นต้นมาการซื้อที่อยู่อาศัยชะงักงัน สืบเนื่องมาจากไม่มีการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย และอัตราดอกเบี้ยก็เพิ่มสูงขึ้นมาก ในขณะที่รายได้ประชาชน ลดลง ส่งผลให้โครงการใหม่ในปี 2541 แทบจะไม่มีเลย ดังนั้นถ้าอุปทานเก่าดูดซับไปมากขึ้น จะช่วยให้ตลาดมีการปรับตัวสู่ภาวะสมดุลเร็วขึ้น

9. สำหรับความต้องการซื้อหาที่อยู่อาศัยของประชาชนนั้น จะขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจเป็นสำคัญ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซึ่งคาดว่าจะปรับตัวลดลงในไตรมาส สุดท้ายของปี 2541

10. ภายหลังการประมูลอสังหาริมทรัพย์ ในวันที่ 2 ธันวาคม 2541 นั้น คาดว่าจะมีผลกระทบทำให้ภาวะการซื้อขายในปี 2542 นั้นชะงักงันในช่วงสั้นๆ เนื่องจากผู้ซื้อรอดูการปรับราคาขาย

ได้มีการคาดกันว่าตลาดจะค่อยๆ ปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลในที่สุด ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 2-5 ปี แล้วแต่ประเภทของที่อยู่อาศัย เริ่มจากบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ก่อนที่จะเป็นอาคารชุด หลังจากนั้นตลาดที่อยู่อาศัยจะฟื้นตัว และราคาที่อยู่อาศัยจะปรับสูงเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากอุปทานเก่าซึ่งอิงราคาวัสดุก่อสร้างเดิมได้หดหายไปจนหมดแล้ว เมื่อถึงเวลานั้นราคาที่อยู่อาศัยจะมีราคาสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่งเป็นวัฏจักรธุรกิจ

โสภณ พรโชคชัย กรรมการผู้จัดการบริษัทเอเจนซี่ ฟอร์เรียลเอสเตท ยืนยันกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่าข้อมูลในครั้งนี้ทำกันด้วยความรอบคอบที่สุด และยังมีคณะกรรมการที่ตรวจสอบความเชื่อถือของงานวิจัยชิ้นนี้ โดยคณะกรรมการดังกล่าวประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ของธนาคาร อาคารสงเคราะห์ การเคหะแห่งชาติ และผู้แทนจากผู้ประกอบการจัดสรรทั้ง 3 สมาคม ดังนั้นน่าจะเป็นผลงานวิจัยที่สามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้กับนักลงทุนได้ระดับหนึ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us