Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2541
ไม่มีอีกแล้ว…สินค้าตกรุ่นที่ U-FO             
 


   
search resources

พีน่า เฮาส์, บมจ.




"U-FO" ร้านเสื้อผ้าตกรุ่นในเครือพีน่า เฮาส์ กรุ๊ป ปรับตัวครั้งมโหฬาร ลบภาพความเป็น FACTORY OUTLET ที่มุ่งเน้นขายสินค้าตกรุ่นราคาถูก แบรนด์ดังในเครือพีน่าฯ อาทิ PENA HOUSE, BNN, GALLOP...เปลี่ยนรูปโฉมใหม่ สร้างความเป็นตัวของตัวเองด้วยการผลิตสินค้าชูแบรนด์ของตัวเอง พร้อมเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ร้านเป็น U-FO CLOTHING COMPANY เพื่อ หลีกปัญหาขาดแคลนสินค้า เนื่อง จากปัจจุบันสินค้าแต่ละแบรนด์ในเครือของพีน่าฯ ได้มีการปรับการผลิต ให้สอคคล้องกับความต้องการของตลาดและภาวะเศรษฐกิจอย่างแท้จริง เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้คุ้มค่าที่สุด ดังนั้นจึงไม่เหลือสินค้าในสต็อกมากดังเช่นในอดีตอีกต่อไป

"จากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา แบรนด์แม่ของเราทุกแบรนด์เริ่มควบคุมค่าใช้จ่าย การทำงานรัดกุมมากขึ้น จึงไม่มีสินค้าตกรุ่นเหลือตกทอดมาที่ U-FO ในรูปแบบเก่า เมื่อเป็นเช่นนี้ U-FO จึงต้องเดินด้วยตัวเอง" นี่คือเหตุผลหลักที่สุพจน์ ตันติจิรสกุล ประธานบริษัท พีน่า เฮาส์ กรุ๊ป จำกัด ออกโรงมาแถลงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ หลังจากเก็บเนื้อเก็บตัวมานานแรมปี

สำหรับคอนเซ็ปต์และภาพลักษณ์ของ U-FO ใหม่นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ตัวสินค้า การตกแต่งและจัดวางสินค้าภายในร้าน โดยสินค้าของ U-FO ภายใต้คอนเซ็ปต์ U-FO CLOTHING COMPANY จะเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นใหม่ทั้งหมด ภายใต้ต้นทุนและราคาที่ต่ำ โดยมีสินค้าทั้งหมด 6 แบรนด์ ได้แก่ เสื้อผ้าวัยรุ่น SPIRIT OF CLOTHES, ESY, KNG และเสื้อผ้าเด็ก SKY ZONE รวมทั้งเสื้อผ้ากีฬา DO-SPORT ที่เคยโด่งดังเมื่อ 10 กว่าปีก่อน สุพจน์ก็นำมาปัดฝุ่นใหม่ เพื่อจับตลาดเสื้อผ้าให้ครบวงจรมากขึ้น

ส่วนรูปแบบการจัดร้านจะเน้นบรรยากาศที่ให้ความรู้สึกของความเป็น FACTORY OUTLET ที่ทันสมัยและมีลูกเล่นมากขึ้น ด้วยการใส่หุ่นยนต์เข้าไป และจัดไฟให้ดูเป็นร้านที่สว่างไสวน่าเข้า พร้อมกับมีการโชว์ราคาสินค้าที่หน้าร้าน เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ากล้าเดินเข้ามาในร้าน และมั่นใจว่าสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาไม่แพง

สาขาแรกของ U-FO ที่มีการเปลี่ยนแปลงเต็มรูปแบบคือ สาขาบริเวณพลาซ่าของเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า ในขณะที่ U-FO มีสาขาในกรุงเทพฯทั้งสิ้น 20 สาขา และสาขาในต่างจังหวัดอีก 14 สาขา

"เราทยอยปรับเปลี่ยนสาขาของเรา ให้เป็นไปในรูปแบบและมาตรฐานเดียวกันให้ครบทุกสาขา และล่าสุดเราได้เปิดสาขาใหม่ที่เมเจอร์ รัชโยธิน และช็อปใหญ่ที่อำเภอเมืองภูเก็ตอีกด้วย และจากนี้ไป U-FO จะเป็นแหล่งรวมสินค้าที่เรียบง่าย ทันสมัย แต่ไม่แฟชั่นจ๋าชนิดที่มีอายุสั้นๆ ราคาย่อมเยา และแต่ละแบรนด์จะมีคอนเซ็ปต์และคาแร็กเตอร์ของตัวเอง เพื่อให้ลูกค้าไปเลือกได้ตรงใจที่สุด" สุพจน์ กล่าวถึง U-FO โฉมใหม่

นอกจากการปรับเปลี่ยนชอป U-FO เป็นรูปโฉมใหม่ในแต่ละสาขาแล้ว ประธานพีน่าฯ ยังเผยแผนการตลาดว่า เป้าหมายต่อไปของ U-FO คือ การบุกพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า ด้วยการเปิดเป็นชอป U-FO เต็มรูปแบบบนเนื้อที่ประมาณ 200-300 ตร.ม. เพื่อทดแทนพื้นที่เดิมที่เคยเป็นส่วนของสินค้านำเข้าที่พร้อมใจกันหลบฉากไป หลังจากพิษค่าเงินบาท ทำให้สุพจน์ มองเห็นโอกาสที่จะเข้าไปทำตลาดในห้างสรรพสินค้า จากอดีตที่เคยอยู่แต่ในบริเวณของพลาซ่าเท่านั้น

"การใช้คอนเซ็ปต์นี้ในพื้นที่ประมาณ 200-300 ตร.ม.ภายในห้าง สรรพสินค้า ยังไม่เคยมีซัปพลายเออร์ในเมืองไทยทำมาก่อนเลย เราถือว่าเป็นรายแรกที่กล้าทำ และห้างสรรพสินค้าหลายแห่งก็ยินดีร่วมมือกับเรา เนื่องจากวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดในบ้านเราในช่วง 15 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ซัปพลายเออร์ในตลาดเมืองไทยอ่อนแอลงไปมาก ยอดขายสินค้าในห้างก็ตกต่ำลงไปด้วย แต่สินค้าของ U-FO จะช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้ส่วนหนึ่ง จากสินค้าราคาต่ำ คุณภาพสูงที่จะกระตุ้นการจับจ่ายของลูกค้า อันจะทำให้ยอดขายของให้ห้างดีขึ้นด้วย" สุพจน์ผู้พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส เพื่อความอยู่รอดของพีน่าฯ ซึ่งหลังจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เขาเชื่อว่ายอดขายของพีน่าฯจะเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

"เราไม่ใช่ต้นแบบของใคร แต่เราทำเพื่อความอยู่รอด แม้ว่าเราจะเป็น CLOTHING COMPANY แต่เราก็ไม่ได้เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เรายังพยายามรักษาสิ่งที่ลูกค้าคุ้นเคยอยู่แล้ว เรามีการพัฒนาเมอแชนไดส์และซอฟต์ แวร์ภายในของเราให้ดีขึ้นเท่านั้นเอง และถ้าโชคดีเราสามารถหลุดจากวิกฤติได้ก่อนคนอื่น เราก็หวังว่าชีวิตและความเป็นอยู่ของทุกคนจะเริ่มดีขึ้น ไม่ต้องหวาดผวากับการไม่มีงานทำอีกต่อไป" สุพจน์กล่าว

นอกจากนั้น เขาได้เล่าถึงสาเหตุหลักอีกประการที่ทำให้พีน่าฯ มีกิจกรรมที่สร้างความตื่นตัวในวงการอุตสาหกรรม เสื้อผ้าของเมืองไทยขึ้นมาในช่วงปลายปีก็คือ ผลพวงจากสถานการณ์ที่ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โดยในปีที่แล้ว เขาได้ตั้งเป้าหมายการดำเนินธุรกิจของเครือพีน่าไว้ว่า จะมุ่งเน้นตลาดส่งออกให้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 10% เป็น 20% ในปีนี้ เพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศที่หดตัวลงมาก แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปตามคาด การทำตลาดต่างประเทศไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากสินค้าของพีน่าเป็นสินค้าที่ขายแบรนด์ของตัวเอง มิใช่รับจ้างผลิต จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่เขาจะสร้างแบรนด์พีน่าให้เป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ ด้วยเวลาเพียงครึ่งปี เขาจึงต้องรีบหักหัวเรือกลับมากินปลาในอ่าวไทยต่อไป ด้วยการกลับมามุ่งเน้นตลาดในประเทศ และหวังใช้ U-FO เป็นฐานรายได้ที่สำคัญในปีนี้ และปีหน้า

บทเรียนครั้งนี้ เป็นการเตือนให้สุพจน์รู้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาควรให้ความสำคัญกับตลาดต่างประเทศเท่าๆ กับตลาดในประเทศ เขามีจุดแข็งในแง่ของแบรนด์ที่ค่อนข้างแข็งแกร่งในประเทศแล้ว เพียงแต่เขาต้องหาทางออกไปสร้างแบรนด์ของตัวเองยังต่างประเทศ เพื่ออนาคตที่รุ่งเรืองของชาวพีน่า เฮาส์...เพียงแต่...เขามองเห็นหรือยัง??

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us