Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2544
เหยื่อ             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





จนถึงวันที่ต้นฉบับนี้ตีพิมพ์ ข่าว ตามหน้าหนังสือพิมพ์ยังคงเล่นข่าวลูก เฉลิมและบริวารมาโดยตลอดและข่าวที่ ออกมาแต่ละครั้งล้วนแสดงให้เห็นถึงความไม่ตรงไปตรงมาและการพยายามใช้อิทธิพลของฝ่ายจำเลย นี่ยังไม่พูดถึงเนื้อข่าวที่บ่งถึงลักษณะของการยิ้มระรื่น หรือซ่อนตัวในที่ของผู้มีอิทธิพล ซึ่งล้วนแต่ บ่งชี้ไปในทางว่า ครอบครัวนี้ไม่ได้สำนึก ผิดหรือเกรงกลัวกระบวนการยุติธรรมในบ้านเมือง

ทุกคนในบ้านเราต้องยอมรับว่าข่าวนี้เป็นข่าวที่ดังจริงๆ และไม่ใช่ดังอย่าง เดียว แต่ยังมีลักษณะของการเร้าอารมณ์ ความเห็นอกเห็นใจของเหยื่อที่ถูกสังหาร ความโกรธและเกลียดฝ่ายที่กระทำผิด และทำตนเสมือนอยู่เหนือกฎหมาย

ข่าวนี้ดังเหนือข่าวอื่นๆ รวมทั้งข่าวสงครามในอัฟกานิสถาน ที่คนไทย ส่วนใหญ่อาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว ใน ขณะที่รัฐบาลยอมรับให้เป็นเรื่องใกล้ตัว ทั้งในความหมายเรื่องจุดยืนของไทยที่จะต้องเข้าข้างมหาอำนาจที่ถูกย่ำยีโดยผู้ก่อการร้ายที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร แต่อเมริกาเชื่อว่าเป็นกลุ่มของบิน ลาดิน ที่อาศัย แผ่นดินอัฟกันเป็นฐาน และเรื่องนี้ยังใกล้ตัวในฐานะที่รัฐบาลหรือซีอีโอของประเทศ มองว่าการที่เศรษฐกิจของประเทศจะฟื้นตัวช้าก็เพราะสงครามนี้

ข้อที่น่าสังเกต คือ ข่าวนี้สำหรับอเมริกาเองถึงกับขอความร่วมมือสำนักข่าวต่างๆ ในประเทศของตนให้เซ็นเซอร์ข่าว โดยอ้างว่า บิน ลาดินอาจส่งสารสั่งการก่อ การร้ายไปถึงสมัครพรรคพวกของตนผ่านการ รายงานข่าวที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศรายงาน

แต่ในอีกแง่หนึ่งเราจะมองได้ไหมว่า นี่คือระบบการเซ็นเซอร์ไม่ให้ข่าวที่รัฐบาล อเมริกันไม่ต้องการให้ประชาชนของตนทราบ รวมทั้งประชาคมโลกที่เสพข่าวที่มาจาก สำนักข่าวของตะวันตก

เราทราบข่าวการทิ้งระเบิดฝ่ายตอลิ บาน (ขอย้ำว่าเฉพาะฝ่ายตอลิบาน) นั่นเป็น สิ่งที่อเมริกันบอกกับทุกคน ส่วนเป้าหมาย อื่นที่ระเบิดลง สหรัฐฯ แถลงว่าเป็นความ ผิดพลาด ไม่เจตนา (จริงหรือไม่ เราคงไม่มี โอกาสทราบได้)

เราทราบข่าวว่าขณะทิ้งระเบิดสหรัฐฯ ก็ทิ้งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมลงไปให้ คนอัฟกันที่ยังคงมีชีวิตรอดทั้งจากการรบ ระหว่างตอลิบานกับพันธมิตรฝ่ายเหนือและ คนที่รอดจากการทิ้งระเบิดของเครื่องบิน สหรัฐฯ

เราทราบข่าวการประท้วงสงคราม ครั้งนี้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่ก็เป็นข่าวของประ ชาชนมุสลิมที่ประท้วงสงครามนี้ แต่เราได้เห็นข่าวน้อยมากของคนตะวันตกหรืออเมริกันเองที่ประท้วงการก่อสงครามของ รัฐบาลอเมริกัน เป็นเพราะคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการโจมตีหรือสำนักข่าวไม่ให้ ความสำคัญกับข่าวพวกนี้ จึงไม่รายงานให้เราทราบเป็นเพราะเหตุใด ใครจะรู้ได้

หลังเหตุการณ์เครื่องบินตกใน อเมริกาใหม่ๆ มีการแพร่ภาพชาวปาเลส ไตน์กำลังโห่ร้องแสดงความยินดี โดย สำนักข่าวตะวันตกรายงานว่า พวกเขา เฉลิมฉลองโศกนาฏกรรมในอเมริกา

แต่เพื่อนชาวมุสลิมคนหนึ่งของ ผมบอกว่า ภาพข่าววิดีโอนั้นเป็นภาพเก่า ที่ชาวคูเวตแสดงความยินดีเฉลิมฉลองการ ปลดปล่อยคูเวตจากการครอบครองของอิรัก สำนักข่าวต่างประเทศเอาภาพข่าวเหตุ การณ์หนึ่งมาผสมกับข่าวของอีกเหตุการณ์ หนึ่ง อะไรถูกต้อง ผมคงตอบไม่ได้ แต่หากถามว่าสิ่งเหล่านี้ สื่อเคยทำไหม คำตอบคือ เคย หลายครั้งที่สื่อเอาภาพข่าว ของเหตุการณ์หนึ่งไปผสมกับอีกเหตุการณ์ หนึ่ง อาจมีคำถามว่าแล้วเสียหายตรงไหน ในเมื่อรายงานข่าวนั้น เนื้อข่าวเป็นเช่นนั้นจริงๆ

สำหรับผมเองมองว่า หากเขาทำ เช่นนั้นได้ในการเอาเหตุการณ์สองเรื่องมา ตัดต่อให้เป็นเรื่องเดียวได้ อย่างอื่นเขาก็ ทำได้เช่นกัน ความผิดเพี้ยนอาจจะเกิดขึ้น โดยไม่เจตนา แต่มีใครกล้ารับรองว่าผลเสีย ไม่เกิดขึ้น ผมเองเคยได้ฟังบรรณาธิการใหญ่ ท่านหนึ่งบอกกับลูกน้องของตนที่ทำงานทีวีว่า เวลาในทีวีไปเร็วมากหากผิด แล้วแก้ไขไม่ทัน แต่คนก็จำได้ไม่นาน นั่น คือแนวคิดที่เขาพยายามบอกกับนักข่าวหรือผู้ประกาศของเขาว่า อย่าผิดพลาด แต่หากผิดก็ไม่ต้องตกใจ เพราะข้อมูลข่าวสารมันมากเหลือเกินผู้ชมไม่มีทางจำได้หมด

หากนักข่าวและผู้ประกาศเอง ความที่ผิดบ่อย ผิดไปเรื่อยก็เลยเชื่อไป อย่างนั้น รายงานไปตามที่ตนทราบ แต่ ไม่ ได้ตรวจสอบ และเมื่อผิดก็ไม่แก้ไขเพราะ คิดว่าคนคงลืมไปหมดแล้วทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ และหากผู้ชมหรือผู้เสพไม่ลืมและ หากเขาเชื่อตามที่ข่าวทุกวันบอกกับเขา อะไรจะเกิดขึ้น

เราคงอยู่ในโลกที่ทุกอย่างแยกเป็น ส่วนๆ การรับรู้สังคมกลายเป็นการรับรู้ แบบกระจัดกระจาย ข่าวกลายเป็นข้อเท็จ จริงทางสังคม ความคิดความเห็นทางสังคม กลายเป็นการถูกชี้นำโดยผู้ชี้นำเอง ก็อาจจะไม่ตระหนักถึงอิทธิพลที่ตนมีต่อผู้รับหรือเขาอาจจะตระหนักแต่ไม่ยอมรับ กับสาธารณชน

ถ้าหากนายดาบยิ้มเป็นเหยื่อของ ความโหดเหี้ยมที่กระทำโดยเปิดเผยโดย ดวงเฉลิม โดยลุแก่โทสะและความเหิม เกริมเหนือกฎหมายอย่างที่สื่อทุกฉบับร้อง บอกคนในสังคมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนลืมนึกไป ว่า เราทุกคนที่อ่านข่าวนี้และสนใจอย่างกระตือรือร้นที่จะเห็นเงื้อมมือของกฎหมาย จับกุมดวงเฉลิม อัยการตัดสินส่งฟ้อง และ ศาลตัดสินลงโทษ ไม่ได้สำเหนียกว่ากระแสทั้งหมดนี้มีเรื่องของผลประโยชน์ทางธุรกิจและความขัดแย้งรวมอยู่ด้วย เราท่านทั้งหลาย ก็น่าจะเป็นเหยื่อของความรุนแรง, การมุ่งผลกำไรจากยอดขายในการเขียนข่าว รวมทั้งดำรงกระแสความสนใจของสาธารณชนในข่าวประเภทสะเทือนใจ และการแสดง ออกของความโกรธเกรี้ยวส่วนตัวที่สื่อมีต่อบุคคลสาธารณอย่างคุณเฉลิม แน่นอนว่าคุณ เฉลิมและลูกมีโจทก์มีคดีหลายเรื่อง แน่นอนว่าพวกเขาอาจมีเงินและอำนาจ แต่นั่นไม่พอ เพียงที่สื่อทั้งหลายจะอ้างความชอบธรรมในการเสนอข่าวเฉลิมและลูกชายรายวันโดยข้อ อ้างว่าเพื่อผดุงกระบวนการยุติธรรม

แน่นอนว่าสื่อมวลชนทำหน้าที่ในการ เสนอเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม สื่อทำหน้าที่ในการปกป้องพิทักษ์ผล ประโยชน์ของคนในสังคม แต่สื่อก็ทำหน้าที่สร้างกระแส และอารมณ์ของคนในสังคมต่อ เรื่องราวหนึ่งๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นคงไม่แปลก ใจว่า นอกจากผู้มีอิทธิพลหรือนักการเมืองจะไม่ชอบสื่อ พวกเขาก็มีทางเลือกเช่นกันในการผูกมิตร หรือไม่พยายามขัดแย้งกับสื่อ ถ้าหากสื่อจะปฏิเสธว่าตนไม่สามารถชี้นำสังคมหรือสร้างกระแสได้ หากเรื่องนั้นๆ ไม่มี ข้อเท็จจริงอยู่ สิ่งที่ผมอยากโต้แย้งจากรูปธรรมง่ายๆ คือ หากสื่อไม่มีอิทธิพลจริง ทำไมธุรกิจต่างๆ จึงต้องซื้อโฆษณาจากสื่อ

หากการโฆษณาในสื่อไม่มีผลชี้นำจริง ทำไมสื่อมักจะอ้างยอดการจัดจำหน่าย หรือ จำนวนสมาชิกเพื่อบอกกับเอเยนซีโฆษณาว่า สิ่งหรือสินค้าที่เขาต้องการโฆษณานั้นจะไปถึงกลุ่มคนจำนวนมากกว่าการไปซื้อโฆษณาจากสื่อฉบับอื่น

หากโฆษณาไม่มีผล ทำไมทั้ง ปตท. และไอเน็ตยอมเสียเงินหลายร้อยล้านบาทในการทำโฆษณาขายหุ้นจอง และสามารถขายหมดอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากเปิดให้จองซื้อได้

โฆษณาต้องมีผลแน่ ไม่เช่นนั้น หนังสือพิมพ์น้องใหม่ในเครือเนชั่น คงจะ ไม่มาโฆษณาหนังสือพิมพ์ตนเองในสื่อโทรทัศน์ของตนเอง โดยอาศัยผู้ประกาศ ข่าวของตน และลูกชายของบรรณาธิการ ในการโฆษณา

และหากสิ่งที่สื่อเขียนในลักษณะ ของการโฆษณาโดยที่ตนเองรู้ และผู้อ่าน หรือผู้เสพเองก็รู้ยังมีผล มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ขนาดนี้ เราจะ ไม่เกิดข้อสงสัยเลยหรือว่าข่าวจะมีอิทธิพล ต่อความคิด ความรู้สึก และทัศนคติของ เรามากเพียงใด เพราะสิ่งที่เราเรียกว่า "ข่าว" (ซึ่งเรามักจะเข้าใจว่าเป็นข้อเท็จจริง) ที่ถูกนำเสนออย่างต่อเนื่องอย่างเร้า อารมณ์ และชี้ให้เห็นพระเอกที่มีพฤติกรรมที่น่าชื่นชม น่าเห็นใจ หรือผู้ร้ายใน ข่าวที่มีพฤติกรรมน่าหมั่นไส้ ถืออำนาจ บาตรใหญ่ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย มักจะถูกทำให้ยอมรับว่ามันเป็นความจริงในช่วงขณะนั้น และวันนั้น

เหยื่ออาจจะไม่ใช่เพียงนายดาบยิ้ม ครอบครัวคุณเฉลิมและพรรคพวก แต่เหยื่ออาจจะรวมเอาพวกเราทั้งหลายที่เสพสื่อกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และผู้ร้ายที่แท้จริงอาจจะเป็นสื่อที่ไม่เคยตรวจสอบ ตนเองและพวกพ้อง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us