Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2544
ไมเคิล บลูมเบิร์ก นายกฯนิวยอร์กคนใหม่             
โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ
 


   
search resources

ไมเคิล บลูมเบิร์ก




เศรษฐีมาเป็นนักการเมืองอีกคนหนึ่งแล้ว

ดิฉันหมายถึงนายกเทศมนตรีนคร นิวยอร์กคนใหม่ ไมเคิล อาร์. บลูมเบิร์ก (Michael R. Bloomberg) หรือที่คนอเมริกันโดยทั่วไปนิยมเรียกชื่อแรกของเขาสั้นๆ ว่า "ไมก์"

การใช้คำว่า "เศรษฐี" กับบลูม เบิร์ก อาจจะผิดไปเสียด้วยซ้ำ ที่ถูกต้องควรจะเรียกเขาว่า "อภิมหาเศรษฐี" เนื่อง เพราะเขามีทรัพย์สินเงินทองมูลค่า ไม่ ต่ำกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 1 แสน 7 หมื่นล้านบาท

และชัยชนะที่เขาได้มาครั้งนี้ นัก วิเคราะห์ทุกสำนักระบุตรงกันว่า เงินคือตัวชี้ขาดที่สำคัญที่สุด

รายงานข่าวระบุว่าบลูมเบิร์กใช้งบประมาณในการรณรงค์หาเสียงครั้งนี้สูงถึง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 2,220 ล้านบาท

เงินจำนวนเท่านี้ไม่ทำให้ขนหน้าแข้งของบลูมเบิร์กร่วง!

นอกเหนือจากทุนอันล่ำซำของบลูมเบิร์กแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้บลูมเบิร์กได้รับชัยชนะก็คือ การได้รับเสียงสนับสนุนจากรูดอล์ฟ จูลีอานี (Rudolph Giuliani) นายกเทศมนตรี นครนิวยอร์กซึ่งกำลังจะหมดวาระ เพราะ เป็นที่ทราบกันดีว่าเวลานี้ จูลีอานีเป็น "ขวัญใจ" ของชาวนิวยอร์ก (อ่านเรื่องของ รูดอล์ฟ จูลีอานี ได้ใน "ผู้จัดการรายเดือน" ฉบับเดือนตุลาคม 2544)

ย้อนอดีตของบลูมเบิร์ก...

ไมเคิล บลูมเบิร์ก เกิดในวันวาเลนไทน์ ของปี 2485 ในครอบครัวชนชั้นกลาง โดยบลูมเบิร์กผู้พ่อเป็นพนักงานบัญชีของร้านขายนมและผลิตภัณฑ์นม

บลูมเบิร์กซึ่งโตมาในย่านนอกเมืองบอสตัน สนใจเรื่องราวของข่าวสารและเทค โนโลยีมาตั้งแต่ยังเยาว์ เขาจบปริญญาตรีจาก Johns Hopkins University โดยระหว่างนั้น นอกจากจะต้องกู้เงินเรียนแล้ว เขายังทำงาน รับจ้างจอดรถอีกด้วย หลังจากนั้น เขาก็ไปเรียนต่อด้าน MBA ที่ Harvard University

ปี 2509 เขาเข้าเป็นพนักงานของ Salomon Brothers

ในเวลาเพียง 6 ปี บลูมเบิร์กก็ได้เป็นหุ้นส่วนของ Salomon Brothers โดยดูเรื่องการค้าขายหุ้นและระบบข้อมูล แต่แล้ว เขาก็ถูกให้ออก หลังจากที่ Pilbro Corpo-ration ได้เข้าซื้อกิจการของ Salomon Bro-thers ในปี 2524

บลูมเบิร์กไม่ได้ออกจาก Salomon Brothers แบบตัวเปล่า เขาได้เงินติดตัวมาด้วย 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 444 ล้านบาท ซึ่งเงินก้อนนี้เองที่บลูมเบิร์ก ได้นำไปก่อตั้ง Bloomberg L.P. พร้อมกับนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล จากวันนั้นถึง วันนี้ Bloomberg L.P. มีสมาชิกทั่วโลก 160,000 ราย

สร้างอาณาจักรสื่อบลูมเบิร์ก...

ปี 2533 บลูมเบิร์กได้ก่อตั้ง Bloom- berg News ขึ้น เพื่อให้บริการข่าวสารด้าน การเงินเป็นด้านหลัก Bloomberg News เติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีนักข่าวและบรรณาธิการข่าว 1,200 คน ประจำอยู่ตาม สำนักงาน 82 แห่งทั่วโลก

ต่อมา Bloomberg Radio ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี 2536

ถัดจากนั้นอีก 1 ปี Bloomberg Television ก็เปิดตัว และขยายตัวไปทั่วโลก ในเวลาอันรวดเร็ว ปัจจุบัน Bloomberg Television มีทั้งหมด 10 เครือข่าย และออกอากาศ 7 ภาษา

จากวิทยุ โทรทัศน์ ก็ถึงคราวของ Bloomberg.com ในปี 2538

นอกจากนั้น Bloomberg L.P. ยังพิมพ์หนังสือชุดอีก 2 ชุด และเป็นเจ้าของ นิตยสารอีก 5 เล่ม ซึ่งเน้นกลุ่มเป้าหมาย ไปที่นักลงทุน
ความสำเร็จของ Bloomberg L.P. ได้มาจากการทำงานหนักของบลูมเบิร์ก บ่อยครั้งที่ในช่วงบุกเบิกเขาทำงานถึง วันละ 14 ถึง 16 ชั่วโมง

อภิมหาเศรษฐีใจบุญผู้โลดโผนและหรูเลิศ...

ภาพของบลูมเบิร์กที่ปรากฏออกมาสู่สาธารณชน คือภาพของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจนร่ำรวยเข้าขั้นอภิ-มหาเศรษฐีของโลก

เป็นเรื่องปกติที่มีข่าวว่าบลูมเบิร์ก ใช้เงินไปถึง 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 90 ล้านบาท สำหรับจัดงานปาร์ตี้ของบริษัทที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และปกติอีกเช่นกัน กับข่าวที่ว่าบลูมเบิร์ก ซึ่งเป็นแฟนกีฬาม้าแข่งตัวยง ได้ขนเพื่อน สนิทมิตรสหายจำนวนมากขึ้นเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวไปร่วมงาน Royal Ascot อันทรงเกียรติของอังกฤษ

เป็นเรื่องปกติสำหรับอภิมหาเศรษฐีอย่างบลูมเบิร์ก ที่จะมีบ้านพักมากมายหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นที่แมนฮัตตัน ลอนดอน โคโลราโด หรือเบอร์มิวดา โดยเขา จะเดินทางไปมาด้วยเครื่องบินและเฮลิคอป เตอร์ ซึ่งบ่อยครั้งบลูมเบิร์กจะขับเครื่องบินเอง

แม้จะขึ้นชื่อว่าใช้เงินเป็นเบี้ยเพื่อความสำราญอย่างหรูเลิศอลังการ แต่บลูม เบิร์กก็ใช้เงินไม่น้อยไปกับการบริจาคเพื่อการกุศลในหลายรูปแบบด้วยกัน โดยเฉพาะบริจาคให้กับสถาบันการศึกษาที่เขาเคยร่ำเรียนมา ทั้งที่ Johns Hopkins University และ Harvard University

ปี 2540 บลูมเบิร์กได้มอบเงินรายได้จากการขาย "Bloomberg by Bloomberg" หนังสืออัตชีวประวัติของเขาให้กับ Commit-tee to Protect Journalists

ใครอยากรู้จักบลูมเบิร์กจากด้านของ เขา ควรอ่านหนังสือเล่มนี้

ระยะหลังเมื่อภาพความหรูหราฟุ้งเฟ้อ ของบลูมเบิร์กปรากฏต่อสาธารณชนบ่อยขึ้น ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยมองว่าชีวิตทั้งหมด ของเขาเป็นเช่นนั้น แต่ผู้ที่ใกล้ชิดกับบลูมเบิร์ก กลับมองต่างออกไป พวกเขาย้ำว่าบลูมเบิร์ก ยังคงเห็นงานสำคัญกว่าเรื่องเล่นหรูหราทั้งหลาย และที่สำคัญเขาไม่เคยลืมชีวิตในอดีต ที่ครอบครัวของเขาต้องใช้เงินแบบเดือนชนเดือน...

สำหรับคนใกล้ชิดแล้ว บลูมเบิร์กเป็น คนซีเรียส!

ส่วนเรื่องที่เขาลงสู่สนามการเมืองนั้น ในสายตาของคนทั่วไปแล้วอาจมองว่า ไม่เป็นเรื่องแปลก ที่บลูมเบิร์กซึ่งประสบความสำเร็จทางธุรกิจ จะหันไปข้องแวะกับงานสังคม งานการกุศล และตามด้วยงานการเมือง

แต่ก็มีคนส่วนหนึ่งกลับไม่ชอบใจที่บลูมเบิร์กลงเล่นการเมือง...

โดยเฉพาะไม่ชอบใจแนวความคิดของบลูมเบิร์ก ที่ใช้เงินรณรงค์หาเสียงทาง การเมืองในรูปแบบเดียวกันกับการบริจาค เงินเพื่อการกุศล!

กลุ่มคนที่ไม่ชอบบลูมเบิร์กนี้กลัวว่า การที่บลูมเบิร์กลงทุนเปลี่ยนพรรคจาก เดโมแครตมาเป็นรีพับลิกัน ในการลงสมัครชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อทำให้โลกดีขึ้น แต่เพื่อทำให้ตัวของเขาเองได้อยู่ในที่ที่ดีขึ้นต่างหาก!

เรื่องนี้คงต้องรอให้เวลาเป็นเครื่อง พิสูจน์

พ่อม่ายเนื้อหอมบลูมเบิร์ก...

ไมเคิล บลูมเบิร์ก ครองตัวเป็นหนุ่มโสดเนื้อหอมมาโดยตลอดหลังการหย่าร้าง เขามีลูกสาว 2 คน คนหนึ่งอายุ 22 ปี และอีกคนหนึ่งอายุ 18 ปี แม้บลูมเบิร์กจะชื่อเสียในเรื่องทัศนะเกี่ยวกับ ผู้หญิง แต่ชีวิตของเขาก็มีผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ขาดสาย ผู้หญิงคนล่าสุดที่คบ กับบลูมเบิร์กอยู่เวลานี้คือ ไดอานา เทย์ เลอร์ (Diana Taylor) ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของ Long Island Power Authority

ชัยชนะของบลูมเบิร์กเป็นนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กครั้งนี้ เป็นธรรมดา ที่กลุ่มซึ่งสนับสนุนเขายินดีปรีดา ขณะที่ กลุ่มซึ่งไม่เห็นดีเห็นงามกับการลงสนามการเมืองของบลูมเบิร์กกลับมองว่า ชัย ชนะของเขาอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือ ผู้ที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจย่อมประสบ ความสำเร็จทางการเมือง และประการที่สองคือ คนที่มีเงินมากย่อมดีกว่าคนที่ไม่มี

เขียนมาถึงตรงนี้ ดิฉันรู้สึกว่านิวยอร์กกับกรุงเทพฯมีบางสิ่งบางอย่างเหมือนกัน หรือถ้าไม่ใช่ก็ใกล้เคียง...

รู้สึกเหมือนดิฉันกันไหมคะ!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us