Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2544
หลากรูปแบบกับงานศิลป์             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
www resources

โฮมเพจ หอศิลปะแห่งรัชกาล ที่ 9

   
search resources

อะเบาท์คาเฟ่
Art




การเสพศิลป์เป็นไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ในสังคมไทย ที่ส่วนหนึ่งอาจจะกำลังถูกภาวะเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนด แต่ศิลปินก็ยังมีพลังผลักดันงานศิลปะออกมาอย่างต่อเนื่องในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น

งานศิลปะกำลังเดินทางเข้าไปหาผู้คนตลอดเวลา ทุกวันนี้ แกลเลอรี่ หอศิลป์ เกิดขึ้น แทบทุกหัวถนน แม้แต่ตามร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายหนังสือ แม้แกลเลอรี่หลายแห่งปิด ตัวไปแต่ยังมีแกลเลอรี่ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ พร้อมๆ กับผลงานที่ไม่ได้ลดน้อยลงเลย และ ยังมีกิจกรรมต่างๆ หลากหลายมากขึ้น อย่างเช่น ที่หอศิลป์ตาดู ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้อำนวยการหอศิลป์ตาดู เคยเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า

"เท่าที่ตัวเองมีประสบการณ์ต้องยอมรับว่าที่หอศิลป์ตาดูนั้นมีคนมาดูงานศิลปะเพิ่มขึ้น สิ่งหนึ่งอาจจะเป็นเพราะหอศิลป์เองก็ไม่ได้แต่เพียงจัดงานนิทรรศการอย่างเดียว แต่มีการนำ เสนอกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น มีฉายหนัง มีละครเวที หรือออกไปจัดงานตาม ที่สาธารณะต่างๆ รวมทั้งพยายามหากลวิธีต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์งานให้กว้างขวางขึ้น"

วิสูตร สุทธิกุลเวทย์ ผู้จัดการหอศิลป์สเปส ก็ได้จัดโครงการศิลปะสู่สาธารณชนครั้งที่ 1 ในนิทรรศการ ศิลปะ "ตัวปลอม" ขึ้น งานนี้ศิลปินตัวจริงหมดสิทธิ์ เพราะเปิดโอกาสให้บุคคลอาชีพต่างๆ เช่น นักเขียน นักแสดง คนขับรถรับจ้าง สื่อมวลชน มาร่วมกันแสดงผลงาน ซึ่งวิสูตรมั่นใจว่า การร่วมกิจกรรมกับบุคคลทั่วไป จะมีส่วน ให้บุคคลเหล่านั้นมีความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะมากยิ่งขึ้น และยังทำให้คนรอบข้างของผู้ร่วมแสดงผลงานได้เข้ามา สัมผัสกับศิลปะ เพื่อกระจายความรู้ด้านศิลปะกว้างขวางออกไปอีก

อะเบาท์คาเฟ่" "อะเบาท์สตูดิโอ" เป็นอีกสถานที่หนึ่งซึ่งเมื่อหลายคนเห็นแล้วต้องหยุดมอง ตั้งคำถาม แล้วพยายามค้นหาคำตอบกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น

เกล้ามาศ ยิบอินซอย ได้เคยอธิบายถึงความคิดของตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า พยายามหากระบวนการต่างๆ มาสนับสนุนและส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยให้เกิดขึ้น โดยกิจกรรมนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อนๆ ทั้งรูปแบบและความหมาย

การส่งเสริมในเรื่องนี้จะมีขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อศิลปะเป็นที่ยอมรับ คนมีความ เข้าใจ และเป็นที่ชื่นชมในหมู่คนจำนวนมาก

5 ปีที่ผ่านไป กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสถานที่แห่งนี้ จึงเป็นศิลปะร่วมสมัย ที่เปลี่ยนไปตามสังคมที่เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้มีการแบ่งบทบาทที่ตายตัว มัน ผสมผสานปนเปไปยังเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการใช้ชีวิตของผู้คน ดังนั้น หลาก หลายกิจกรรมจึงได้เกิดขึ้นที่นี่ เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี และแฟชั่นโชว์

ดังนั้นหลังจากปิดตัวเองไปหลายเดือน รูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นที่นี่ก็คือ การทำ หน้าที่เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบ โดยชั้นล่างที่เคยเป็นร้านอาหารจะเปลี่ยนเป็นห้องสมุด มีหนังสือเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ต่างๆ หนังสือเกี่ยวกับงานศิลปะและ วัฒนธรรมสมัยใหม่ ไว้ให้ผู้สนใจได้เข้ามาค้นคว้าศึกษา

แต่ห้องสมุดแห่งนี้จะไม่ใช่มีเพียงหนังสือที่ทิ้งไว้ให้คนเข้ามาอ่าน แล้วเชื่อ เรื่องทั้งหมดที่เป็นตัวหนังสือเท่านั้น แต่มีการสร้างรูปแบบของกิจกรรมต่างๆ ที่ จะกระตุ้นให้เอาข้อมูลไปใช้มากขึ้น โดยมีวิธีการหลายอย่างมาเกี่ยวข้อง

เกล้ามาศได้เลือกเอาโครงการ HIP HOP AT ABOUT STUDIO ABOUT CAFE เป็นการเปิดตัวครั้งใหม่ โดยมีการจัดงานที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน

Hip Hop เป็นวัฒนธรรมดนตรีที่เริ่มจากแถบแอฟริกา ข้ามฝั่งอเมริกาโดย กลุ่มคนผิวสี ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอเมริกา จังหวะดนตรีที่เคยใช้ร้อง เพื่อปลดปล่อยแรงกดดันของชนชั้นล่างซึ่งกลายมาเป็นการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่

ผู้สนใจจะได้พบกับเสน่ห์และความสดของจังหวะ Hip Hop แล้วยังมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับศิลปิน และศิลปินผู้เกี่ยวข้องชมภาพยนตร์ แนว Hip Hop ได้ร่วม Rap ไปกับคืน Open Reading Poetry อย่างสนุกสนาน

นอกจากนั้นในห้องสมุดของอะเบาท์ ยังมีโอกาสได้สนทนากับดร.สายัณห์ แดงกลม ในเรื่องของ Graffiti+art+Hip Hop Culture มีการเสนอข้อมูลวิจัยจากกลุ่มนักศึกษาในเรื่องนี้ ร่วมสนทนาเรื่องภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับ Hip Hop

ดังนั้นแม้ว่าอะเบาท์คาเฟ่ อะเบาท์สตูดิโอจะเปลี่ยนแปลงไป แต่แก่นของ ความคิดยังเป็นเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

วัยรุ่นและเด็กเป็นอีกกลุ่มเป้าหมายหนึ่ง ที่บรรดาศิลปินพยายามจะเข้าให้ถึง แกลเลอรี่หลายแห่งจึงได้มีบทบาทกับคนกลุ่มนี้ โดยจัดกิจกรรมเพื่อเด็กๆ มากขึ้น ในขณะเดียวกันสถาบันการสอนศิลปะของเด็กก็ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มากมายในช่วงปีถึง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้ปกครองคนรุ่นใหม่จะเข้าใจดีว่างานศิลปะเป็นการช่วยในการสร้างสมาธิ และจินตนาการที่กว้างไกลของเด็กๆ

ศิลปะเด็กจะกลายเป็นเรื่องแฟชั่นของ พ่อแม่รุ่นใหม่หรือไม่ก็ตาม แต่มันก็เป็นการปลูกฝังเด็กในเรื่องงานศิลปะไปแล้ว คนกลุ่ม นี้หากได้รับการส่งเสริมที่ถูกต้อง ต่อไปเขาก็อาจจะเดินเข้าหอศิลป์ เดินเข้าแกลเลอรี่มากขึ้นเช่นกัน

เป็นที่น่าติดตามว่าในปีหน้าเราจะเห็น กิจกรรมอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาอีก "ผู้จัดการ" แนะนำให้เปิดดูข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธิศิลป ร.9 ซึ่งนอกจากจะมีรายชื่อของแกลเลอรี่ทั้งหมดแล้ว ยังสามารถเช็กปฏิทินงานศิลป์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาได้ด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us