การแข่งขันในตลาดคอนซูมเมอร์โปรดักส์
ในห้วงเวลานับจากนี้ กำลังเปี่ยมด้วยสีสัน และ กลยุทธ์ทางธุรกิจ ที่หลากหลาย
โดยมี พีแอนด์จี และยูนิลีเวอร์ สองบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่กำลังใช้ประเทศไทย
เป็นฐานในการช่วงชิงการนำในระดับภูมิภาค
คงเป็นปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นให้เห็นไม่บ่อยนัก เมื่อสองยักษ์ใหญ่ในธุรกิจคอนซูมเมอร์โปรดักส์
จัดการแถลงข่าว ในห้วงเวลาไล่เรียงกัน พร้อมกับนำ เสนอทัศนะเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และความเคลื่อนไหวล่าสุดในทิศทาง ที่ใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง
ในขณะที่ พรอคเตอร์แอนด์แกมเบิล หรือพีแอนด์จี ประเทศไทย โดย ระวิ ชาตูเวอดี
กรรมการผู้จัดการที่ กำลังจะพ้นวาระ พยายามนำเสนอวิสัยทัศน์ ว่าด้วย "นวัตกรรมใหม่ที่ดีที่สุด"
และ "หน้าที่ในการสนองความต้องการของลูกค้า" ในฐานะ ที่เป็นพื้นฐานสู่ความ
สำเร็จของ พีแอนด์จี ในการครอบครอง ส่วนแบ่งการตลาดให้ได้มากขึ้นนั้น
สิ่งที่ เธโอ คุนเดอร์ส ประธานบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด กำหนดไว้เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจนับจากนี้ก็อยู่ ที่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์
และบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ภายใต้คอนเซ็ปต์ "Every one-Everyday"
ขึ้นเป็นธงนำสำหรับการสัประยุทธ์ เพื่อฐานะการนำในธุรกิจ ที่มีแนวโน้มจะเต็มไปด้วยการแข่งขันอย่างหนักหน่วง
การเผยให้เห็นทัศนะของสองยักษ์ใหญ่คอนซูมเมอร์ในครั้งนี้ แม้จะเกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระแต่ก็อยู่ภายใต้ห้วงเวลา ที่แตกต่างกันเพียงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น
นอกเหนือจากวิสัยทัศน์ ที่ใกล้เคียงกันอย่างมากแล้ว ความเคลื่อนไหวของทั้งสองบริษัท
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วน ที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุน เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการผลิต
ก็เป็นไปในลักษณะ ที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอม ที่จะสูญเสียความได้เปรียบ และฐานะการนำต่อกันเลย
ซึ่งต่างให้ความสำคัญต่อสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมมากเป็นพิเศษใกล้เคียงกันอีกด้วย
โดย พีแอนด์จี ได้ลงทุนสร้างโรงงานแห่งใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม และถนอมผิวเป็นจำนวนเงินมากกว่า
5,000 ล้านบาท และเตรียม ที่จะเปิดเฟสแรกของโรงงานแห่งนี้ในเดือนตุลาคม 2543
ซึ่งนอกจากจะเป็นไป เพื่อการผลิตสำหรับตลาดภายในประเทศแล้ว โรงงานแห่งนี้จะทำหน้าที่เป็นฐานการผลิต
สำหรับการส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้อย่างครอบคลุมด้วย
ขณะที่ ยูนิลีเวอร์ ซึ่งนอกจากจะใช้จ่ายเงินจำนวนไม่น้อยสำหรับการย้ายสำนักงานไปสู่ ที่ตั้งใหม่ในอาคาร
SCB Park ภายใต้แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหาร และบรรยากาศการทำงานแนวใหม่แล้ว
ยูนิลีเวอร์ ยังเตรียม ที่จะจัดสร้างคลังสินค้า (warehouse) แห่งใหม่ บนเนื้อ ที่ประมาณ
60-70 ไร่ ซึ่งจะมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บสินค้าได้มากกว่า 70,000 แพลเลท เพื่อจัดระบบการจัดจำหน่าย และระบายสินค้าให้มีประสิทธิ
ภาพมากขึ้นกว่า ที่เป็นอยู่ โดยการลงทุนในส่วนนี้ ยูนิลีเวอร์ จะใช้เงินลงทุนกว่า
1,000 ล้านบาท
ความเคลื่อนไหวของทั้งสองบริษัท ที่คล้ายคลึงอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งอยู่ ที่การจัดตั้งศูนย์วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ที่มีมูลค่าการตลาดรวมประมาณ
8,000 ล้านบาท แยก เป็นสินค้าประเภทแชมพูประมาณ 6,000 ล้านบาท และครีมนวดอีกประมาณ
2,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสมรภูมิ ที่มีความหมายมากกับทั้งสองบริษัทยักษ์ใหญ่นี้
พีแอนด์จี ได้ตัดสินใจย้ายศูนย์วิศวกรรมผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม แห่งเอเชียจากเมืองโกเบ
ประเทศญี่ปุ่น มายัง ประเทศไทย ในฐานะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของแผน ที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นฐานการผลิตสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม
ที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท โดยศูนย์ดังกล่าวนี้จะทำหน้าที่เป็นแกนนำในการพัฒนากระบวนการผลิต
และแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดโลก โดยศูนย์แห่งนี้จะเริ่มดำเนินงานพร้อมกับการเปิดเฟสแรกของโรงงานแห่งใหม่ในเดือนตุลาคม
2543
ขณะเดียวกัน ยูนิลีเวอร์ ก็วางน้ำหนักแนวทางการพัฒนาธุรกิจไว้ ที่ การเป็น
Centre for Excellence for Total Personal Care Development สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยส่วนหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายนี้อยู่ ที่การย้ายศูนย์นวัตกรรม (Innova-tion
Center) สำหรับผลิตภัณฑ์ดูแล และรักษาเส้นผม จากเมืองจาการ์ตา อินโดนีเซีย
มายังประเทศไทย เพื่อรองรับกับการแข่งขันนี้
แม้ว่า การเปิดเผยให้เห็นถึงแผน ทางธุรกิจของ ยูนิลีเวอร์ จะเกิดขึ้นหลังจาก ที่
พีแอนด์จี ได้แสดงเจตจำนงในการรุกคืบหน้าไปก่อนหน้า อีกทั้งยังเป็น การแถลงข่าวภายใต้หัวข้อหลัก ที่วางน้ำหนักไว้ ที่การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ
Aviance Privileged Club แต่กรณีดังกล่าวนี้ก็เป็นข้อต่อทางธุรกิจ ที่น่าสนใจอย่างยิ่งอีกประการหนึ่ง
เพราะในขณะที่ พีแอนด์จี ประเทศไทย กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการจากระวิ
ชาตู เวอดี มาเป็น เจฟฟ์ ฮันส์เบอรี่ ซึ่งเคยมี บทบาทในการนำระบบ ECR (Efficient
Consumer Response) มาใช้ในการทำตลาดผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ในสหรัฐ อเมริกา และเป็นผู้รับผิดชอบสำคัญในการสร้างสรรค์แผนดำเนินธุรกิจครบวงจรสำหรับลูกค้า
ในฐานะ Customer Marketing Manager ในประเทศไทย
การเปิดตัว Aviance Privileged Club ของ ยูนิลีเวอร์ ภายใต้แนวความคิดใหม่ว่าด้วย
Advanced Consumer Sales : ACS ซึ่งเป็นการนำจุดแข็งของการตลาดแบบเครือข่าย
มาผสมผสานกับจุดแข็งของระบบการขายสินค้าในร้านค้าปลีก สำหรับสินค้าพรีเมียม
และการบริการสมาชิกในรูปแบบของคลับ ที่นอกจากจะมีเป้าหมายเน้นกลุ่มผู้บริโภคแล้ว
ยังขยายไปสู่กลุ่มผู้ทำธุรกิจ ด้วย จึงถือเป็นการรุกชิงความได้เปรียบ ก่อน
ที่ พีแอนด์จี จะนำเสนอกิจกรรมใหม่ๆ ต่อสังคมไปในคราวเดียวกัน
หากพิจารณาในมิติเช่นว่านี้แล้ว ดูเหมือนว่าการแข่งขันระหว่าง พีแอนด์จี
และ ยูนิลีเวอร์ ในสินค้าอุปโภคบริโภค มีแนวโน้ม ที่จะรุนแรงยิ่งขึ้น โดยจุดเน้นของธุรกิจมิได้ผูกพันเฉพาะ ที่กลุ่มผู้บริโภคแต่เพียงลำพัง
หากแต่กำลังก้าวล่วงเข้าสู่การสร้างเครือข่ายของร้านค้า เพื่อขยายฐานทางธุรกิจ และชิงความได้เปรียบระหว่างกัน
ซึ่งคงต้องรอคอยให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ต่อไปว่าฝ่ายใดจะดำเนินการได้สัมฤทธิผลมากกว่ากัน