Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543
กิตติรัตน์ ณ ระนอง ถือหุ้น Univentures 66%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ยูนิเวนเจอร์, บมจ.




กิตติรัตน์ และ เพื่อนพ้อง ที่ร่วมธุรกิจอยู่ใน และนอกบริษัท คาเธ่ย์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ นั่นเอง เข้าไปซื้อหุ้น เพิ่มทุน ของยูนิเวนเจอร์ (UV) จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ประกาศคาเธ่ย์ฯพร้อมหลีกทาง หาก UV สนใจทำธุรกิจที่ปรึกษาเอง...

ข่าวการเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท คาเธ่ย์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ ในบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) (UV) มีมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2542 มาถึงวันนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ ที่เข้าไปประกอบด้วย กลุ่มเมอริลลินช์ (ฮ่องกง) 9 ล้านหุ้น และมร.ร็อบ คอลลินซ์ 4 ล้านหุ้น คิดเป็น 43.33%, กิตติรัตน์ ณ ระนอง 2,092,250 ล้านหุ้น คิดเป็น 6.97%, บริษัท คาเธ่ย์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด 1.7 ล้านหุ้น คิดเป็น 5.67% และ เพื่อนฝูง ที่กิตติรัตน์ชักชวนมาอีกจำนวน 7 คน รวม 3,066,250 หุ้น คิดเป็น 10.22% รวมแล้วกลุ่มของกิตติรัตน์ถือหุ้นใน UV รวมทั้งสิ้น 66.19% ทำให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมีสิทธิในการบริหารงานบริษัททันที และคิดเป็นเม็ดเงินเพิ่มทุนใหม่ทั้งสิ้นจำนวน 200 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบัน UV มีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 300 ล้านบาท อย่างไรก็ดี กิตติรัตน์ชี้แจงว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นเก่าคือ ตระกูล "ล่ำซำ" ยังคงมีบทบาทในการบริหารงานด้วยเช่นกัน

"เราต้องให้เกียรติกรรมการเก่าเต็มที่ และปัจจุบันกรรมการเก่าก็ยังคงมีมากกว่ากรรมการใหม่ เราไม่มีความตั้งใจ ที่จะไปเปลี่ยนแปลงอะไร เราอยู่ร่วมกันได้ทั้งผู้ถือหุ้นเก่า และผู้ถือหุ้นใหม่" กิตติรัตน์กล่าวในนามของผู้ถือหุ้นใหม่ ที่เข้าไปนั่งในตำแหน่งกรรมการบริหารคนใหม่ของ UV โดยมีวสันต์ จาติกวณิช เป็นประธานกรรมการ

สำหรับแนวทางการทำธุรกิจของ UV ยังคงเน้น ที่การผลิตสังกะสีออกไซด์ วัตถุดิบ ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก ขณะเดียวกันกิตติรัตน์ได้แบ่งเงินเพิ่มทุนใหม่จำนวน 50 ล้านบาท หรือประมาณ 8% ของเงินเพิ่มทุนใหม่ไปลงทุนร่วมกับกลุ่มสตาร์วู๊ด แคปปิตอล ในการประมูลซื้อ หนี้จากปรส. ซึ่งถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการทำธุรกิจของ UV คือ การเข้าไปลงทุนในธุรกิจหรืออุตสาหกรรม ที่มีศักยภาพในการเติบโต

"ความจริงแล้ว UV เป็นบริษัท ที่ค่อนข้างแข็งแรง มีหนี้น้อย แต่สถานการณ์ตอนนี้ หากต้องการหาเงินมาปรับปรุงระบบงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คงไม่มีธนาคารใดให้กู้ยืมได้ง่ายๆ เพราะแต่ละธนาคารยังวุ่นวายอยู่กับการแก้ปัญหาของตัวเองอยู่ ผมจึงรวบรวมพรรคพวกช่วยกันเพิ่มทุนเข้าไป และเงิน ที่เพิ่มเข้าไปนี้จะนำไปใช้มากกว่าเพียงแค่การพัฒนากระบวนการผลิตซิงค์ออกไซด์ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของ UV แต่ส่วน ที่มากกว่านั้น คือ การให้ UV มีโอกาสในการเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งตรงกับนโยบาย ที่ผู้บริหารเดิมวางไว้ คือ พยายาม ที่จะให้ส่วนหนึ่งของ UV ประกอบธุรกิจ ที่เน้นเรื่องของการลงทุน" กิตติรัตน์ชี้แจงในฐานะกรรมการคนใหม่ของบริษัทฯ

ทั้งนี้วัตถุประสงค์ ที่เขากล่าวมานั้น ชี้ให้เห็นการค่อยๆ เปลี่ยน UV ให้เป็นโฮลดิ้ง คอมพานี ต่อไปในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ซิงค์ออกไซด์ในประเทศอันเป็นธุรกิจหลักอยู่ ซึ่งหากความต้องการซิงค์ออกไซด์มีสูง การลงทุนก็จะมุ่งเน้นไป ที่การผลิตซิงค์ออกไซด์ แต่ ณ ปัจจุบัน ความต้องการยังมีเพียงพอกับกำลังการผลิต จึงยังไม่จำเป็นต้องขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น เพียงแต่มีเงินสำรองไว้สำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งเปิดโอกาสให้ UV มีเงินสำหรับลงทุนได้มากขึ้นในธุรกิจ ที่มีศักยภาพเติบโตได้ แต่ยังขาดเงินทุนหมุนเวียน

สำหรับกรณี ที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ดีลนี้จะเป็นการทำ Back Door Listing หรือไม่ กิตติรัตน์ชี้แจงว่า ไม่ใช่เป็นการทำ Back Door Listing เนื่องจาก UV ไม่ได้ถือหุ้นในคาเธ่ย์ฯ และคาเธ่ย์ฯ เป็นเพียงบริษัทจดทะเบียนธรรมดาไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่การเข้ามาของคาเธ่ย์ฯ คือ การเอาเม็ดเงินพร้อมกับสมองเข้ามาลงทุน

"ผู้ถือหุ้นของ ที่คาเธ่ย์ฯ เป็นแกนนำ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นบุคคลธรรมดา ที่เอาเงินออมส่วนตัวมาลงขันกัน ซึ่งถ้าหาก UV จะไปลงทุนอะไร ที่มีขนาดใหญ่มากๆ โดยกติกาต้องเป็นไปตามระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในเรื่องของการผ่านการอนุมัติไม่ว่าจะเป็นจากผู้ถือหุ้นก็ดีหรือตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ดี เราก็คงดำเนินการให้เป็นไปตามนั้น เพราะเรามีกฎอยู่ว่า ถ้าเล็กนักก็ไม่เป็นไร ถ้าใหญ่ไปก็ต้องขออนุมัติ ต้องเปิดเผยข้อมูลต้องอะไรต่างๆ เราก็คงทำไปตาม ที่เป็นระเบียบปฏิบัติ ที่เขาอนุญาตให้ทำได้ ส่วนถ้าทางตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือสำนักงาน ก.ล.ต.เองเขามีข้อกำหนดอะไรไม่ให้ทำ เช่น ไปซื้อ หุ้นบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะทำธุรกิจ ที่ไม่สอดคล้อง เราคงไม่ทำ" กิตติรัตน์ชี้แจงพร้อมยืนยันถึงกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ UV จะไม่เข้าไปลงทุนเป็นอันขาดคือ อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์

"ผมอยากเห็นยูนิเวนเจอร์ เป็น Expanding Garden with the Growing Trees ซึ่งหมายความว่า สวนควรจะขยายออกไปพร้อมๆ กับต้นไม้ ที่สามารถเติบโตได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการที่จะเป็นอย่างนั้น ได้ เราต้องเป็นผู้เลือกหาต้นไม้มาปลูกในสวน ส่วนเราจะเน้น ที่ต้นไม้แบบไหนนั้น เป็นเรื่องของโอกาส ที่จะผ่านเข้ามา และวันนี้เรารู้แล้วว่าเราจะไม่ปลูกต้นไม้แบบไหน" ผู้บริหารหนุ่มกล่าวถึงคอนเซ็ปต์ในการบริหาร ธุรกิจของ UV ซึ่งประมาณกลางปีนี้คงจะมีทิศทาง ที่ชัดเจนมากขึ้นกว่าปัจจุบัน

"เราต้องทำการบ้านอย่างหนัก บริษัทไหน ที่หยุดนิ่งกับการที่ตัวเองทำอยู่แล้ว โดยไม่พยายามมองต่อว่าโลกกำลังหมุนเปลี่ยนไปทุกวัน ก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงของภาวะชะงักงัน จริงอยู่ ที่มีทฤษฎีอยู่หลายทฤษฎี ที่บอกว่า ให้ทำในสิ่งที่ตัวเองถนัดที่สุด แต่ขณะเดียวกันเราปฏิเสธได้หรือเปล่าว่า ยังมีบริษัท ที่เติบโตมาจากการ "Diversification" ซึ่งคำคำนี้ไม่ได้หมายความว่า จากหนึ่งแล้วกระจายเป็น สิบอย่างเดียว แต่จากหนึ่ง ขยับเป็นสอง เป็นสาม เป็นสี่ แล้วละทิ้งหนึ่งเหลือ สอง สาม สี่ แล้วขยับไปเป็น ห้า หก แล้วละทิ้งสอง สาม ให้เหลือเพียงสี่ ห้า หก ก็เป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับกาลเวลาเหมือนกัน และถ้าหากเรามองดูบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ๆ ของโลกย้อนไปสัก 20 ปี ผมว่าหลายบริษัท เกิน 3 ใน 4 ที่เขาเปลี่ยนจากเดิมไปมากมาย ตามความถนัด และสภาพธุรกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้น เราคงไม่ทิ้งในสิ่งที่เราถนัด คือ อะไรที่ดีอยู่แล้วเราต้องทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ตอนนี้สวนของเรายังเป็นสวน ที่เล็กอยู่ ผมคิดว่ายังไม่ต้องรีบร้อน ในอดีต ที่ผ่านมาเห็นกันแล้วว่า ภาพถ่าย ที่เกินจริงนั้น เสียหายมากมายอย่างไร เราอาจจะต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี ซึ่งการต่อสู้ ที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จบางทีไม่จำเป็นต้องรวดเร็ว แต่หากมีพื้นฐานความพร้อม ที่มั่นคง เมื่อโอกาสมาถึง อาจจะไปได้เร็วก็ได้" เป็นมุมมองของชายหนุ่มผู้นี้ต่อการทำธุรกิจในยุคของความเปลี่ยนแปลง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us