Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2544
ตลาดรถยนต์ปี'44 ร้อนแรง แข่งดุ             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

Vehicle




อุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย กลายเป็นสังเวียนประลองกำลังของค่ายผู้ผลิตรถยนต์นานาชาติ ที่ทุ่มโหมลงทุนและทำตลาด ท่ามกลางสัญญาณฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่มีผู้ใดอยากพลาดโอกาส

ต้องยอมรับว่าในบรรดาธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความตื่นตัวตลอดช่วงปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์นับเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีกิจกรรมทางการตลาด และการลงทุนต่อเนื่องมากที่สุดธุรกิจหนึ่ง

การรุกเข้ามาลงทุนของบริษัทแม่จากต่างประเทศ ซึ่งมีผลสู่การปรับเปลี่ยนระบบบริษัทผู้แทนจำหน่ายภายในประเทศ ส่งผลให้ การแข่งขันด้านการตลาดเป็นไปอย่างเข้มข้นพร้อมๆ กับการเติบโต ของกลุ่มผู้นำเข้าอิสระที่ดำเนินไปในระดับที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

ค่ายรถยนต์จากญี่ปุ่นเป็นกลุ่มที่มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์มากที่สุดกลุ่มหนึ่ง จากเดิมที่เน้นรถยนต์นั่งขนาดเล็กและกลางอย่างเป็นด้านหลักมาโดยตลอด ได้เริ่มที่จะเน้นความสนใจมาสู่รถยนต์ขนาดกลางและใหญ่ ในขนาด 1800 ซีซี ถึง 2300 ซีซี มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าย Toyota ที่มี Altis และ Camry เป็นธงนำของกลุ่ม หรือในกรณีของ Honda ซึ่งได้ปรับโฉม Civic และ Accord ใหม่ให้ทันสมัยมากขึ้น และกลายเป็นคู่ชนกับค่าย Toyota อย่างเร้าใจ

ขณะที่ค่าย Nissan ก็ไม่ยอมน้อย หน้า เพราะหลังจากที่ Cefiro และ Sunny Neo ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมแล้ว การนำ Sunny Neo มาปรับโฉมและใส่เครื่องยนต์ใหม่ขนาด 1800 ซีซี ในชื่อ Almera ก็ดำเนินไปเพื่อเติมเต็มช่องว่างและเบียดชิงส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ 1800 ซีซี ที่ยังไม่มีผู้ใดครองตลาดไว้ได้อย่างเด่นชัด

สำหรับค่ายรถยนต์ยุโรปดูเหมือน ว่าการเข้ามาของบริษัทแม่ได้ก่อให้เกิด
ปัญหาทั้งในด้านของการบริหารจัดการ และการทำตลาดพอสมควร กิจกรรม ของค่ายรถยนต์จากยุโรป ในรอบปีที่ผ่านมา จึงยังคงวนเวียนอยู่กับการกำหนดนโยบายด้านการตลาดและบริการเสริมทางการเงินเพื่อดึงดูด ลูกค้าเป้าหมาย มากกว่าที่จะเป็นการออกตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดอย่างจริงจัง

การจัดตั้งบริษัท ลิสซิ่ง ของค่ายรถยนต์ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความแข็งแกร่ง ทางการเงินของค่ายรถยนต์จากยุโรป มิได้จำกัดบทบาทไว้เพียงการเช่าซื้อรถยนต์เท่านั้น หากยังมีแผนที่จะขยายธุรกรรมไปสู่การบริการทางเงินครบวงจรในระยะยาว โดยอาศัยฐาน ของลูกค้าเช่าซื้อเหล่านี้เป็นตัวตั้ง ไม่ว่าจะเป็นในกรณีของเดบิส เมอร์ซิเดส-เบนซ์ ของเดมเลอร์ไครสเลอร์, Volkswagen Leasing รวมถึง Ford Motors ที่ได้เปิดบริษัท ไพรมัส ลิสซิ่ง ด้วย

จุดเปลี่ยนและแนวโน้มที่น่าสนใจอย่างยิ่งประการหนึ่งในแวดวงยานยนต์ไทย ในห้วงเวลาที่ผ่านมา น่าจะอยู่ที่การเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดรถยนต์ MPV (multi purpose vehicle) หรือรถยนต์อเนกประสงค์ ซึ่งได้รับการปลุกกระแสให้ตื่นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จากผลของการเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ของ General Motors : GM ยักษ์ใหญ่ในวงการรถยนต์จากสหรัฐอเมริกา

แม้ว่ารถยนต์ Chevrolet Safira จากโรงงานของ GM ที่จังหวัด ระยอง ส่วนใหญ่กว่า 80% จะเป็นไปเพื่อการส่งออก ภายใต้ชื่อเรียก ขานแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของ brand ในแต่ละประเทศ อาทิ Opel, Holden หรือแม้กระทั่ง Subaru แต่สำหรับตลาดรถยนต์ เมืองไทย ชื่อชั้นของ Chevrolet ได้ขับเน้นให้ Safira มีความโดดเด่นและปลุกกระแสความนิยมในรถยนต์ MPV ให้เกิดมีมากขึ้นและเต็มไปด้วยสีสัน

ขณะที่ Honda CRV ซึ่งดำรงความโดดเด่นในฐานะรถยนต์ในกลุ่ม SUV (Sport Utility Vehicle) มาเนิ่นนาน ก็ได้รับผลในทางบวกสอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คนในเขตเมืองมากขึ้นด้วย

นอกเหนือจากรถยนต์ MPV และ SUV ที่ได้รับความนิยมเพิ่ม มากขึ้นเป็นลำดับแล้ว ดูเหมือนว่ารถยนต์สปอร์ตหรูหราราคาแพง กลับกลายเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มผู้คนในสังคมชั้นสูงไทยเป็นอย่างดี และส่งผลให้กิจกรรมของกลุ่มผู้นำเข้ารถยนต์อิสระมีชีวิตชีวา และดำเนินไปด้วยความคึกคัก ขณะที่ค่ายรถยนต์ต่างๆ ก็พยายามขยายตลาด รถยนต์ในกลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน

การเปิดตัว AUDI TT Roadster ติดตามมาด้วย BMW Z3 ได้จุดประกายให้ตลาดรถยนต์สปอร์ต Roadster ซึ่งแม้จะเป็นรถเปิดประทุนที่ไม่น่าจะเหมาะกับ สภาพอากาศของประเทศไทยเท่าใดนัก มีฐานะเป็นของเล่นราคาแพงที่มีไว้สำหรับประดับบารมีและหนุนเสริมรสนิยมแห่งความมั่งคั่ง เพราะด้วยสนน ราคาที่ตั้งต้นในระดับกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไปแล้ว ยากนักที่ผู้คนปกติจะครอบครองได้

ช่วงห่างของราคารถยนต์สปอร์ตจากยุโรปและอเมริกา เมื่อ เปรียบเทียบกับรถยนต์สปอร์ตจากญี่ปุ่น ประกอบกับนโยบายของค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่ที่ยังไม่เปิด ตลาดรถยนต์ในกลุ่มนี้อย่างชัดเจน ได้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญสำหรับผู้นำเข้าอิสระหลายราย และเป็นส่วนแต่งแต้มให้ท้องถนนเมืองไทยเต็มไปด้วยสีสันและความ ร้อนแรง

สำหรับกลุ่มรถกระบะ ซึ่งผ่านพ้นช่วงเวลาของการแข่งขันและเปิดตัวรถรุ่นใหม่ในแบบ 4 ประตู มาในช่วงก่อนหน้านี้ จุดเน้น ของค่ายรถยนต์ในช่วงปีที่ผ่านมาได้หันมาให้ความสำคัญกับเทคโน โลยีด้านเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นขนาดซีซี และแรงม้าที่เพิ่มมากขึ้น หรือระบบการจ่ายน้ำมันที่มีจุดเน้นในเรื่องของ Direct Injection ขณะที่บางค่ายได้พัฒนาต่อเนื่องไปสู่การเป็นกระบะดีเซล Twin Cam 16 วาล์ว ซึ่งกลายเป็นจุดขายใหม่ด้วย

แม้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะไม่มีฐานะเป็นดัชนีหรือมาตรวัด กระบวนการทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ หากแต่ภายใต้สถานการณ์ที่ค่ายรถยนต์แต่ละแห่งต่างพยายามช่วงชิงตลาด และกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวย่อมมิใช่สิ่งที่สามารถมองข้ามโดยไม่ใส่ใจได้

แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วงปีถัดจากนี้จึงอยู่ที่ว่า เศรษฐกิจ ไทยโดยองค์รวมจะเติบโตขึ้นจนสามารถแบ่งเฉลี่ยผลพวงในทางบวก ให้แก่บริษัทรถยนต์แต่ละแห่งได้มากน้อยเพียงใด หรือว่าค่ายรถยนต์ ต่างๆ จะต้องดิ้นรนแข่งขันท่ามกลางความฝืดเคืองทางเศรษฐกิจของไทยต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us