Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543
กอล์ฟ ทุนวัฒนธรรม และเศรษฐกิจฟองสบู่ (ตอนที่ 2)             
โดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
 

   
related stories

กอล์ฟ ทุนวัฒนธรรม และ เศรษฐกิจฟองสบู่ (ตอนที่ 1)
กอล์ฟ ทุนวัฒนธรรม และเศรษฐกิจฟองสบู่ (ตอนที่ 3)

   
search resources

Sports




การแข่งขันกอล์ฟมีมานานนับศตวรรษ ในสหราชอาณาจักรมีการ แข่งขันระหว่างสโมสรกอล์ฟชั้นนำรวม 8 สโมสรในปี ค.ศ.1857 ซึ่งจัดโดย Preswick Club ในปีต่อมา แบบแผนการแข่งขันเปลี่ยนจากการแข่งขันเป็น ทีมมาเป็นประเภทบุคคล ปี ค.ศ.1860 ถือเป็นปีแรก ที่มีการแข่งขัน ที่เรียกว่า British Open Championship ผู้เข้าแข่งขันจักต้องได้รับการยอมรับว่าเป็น "มืออาชีพ" ในปีต่อมาเปิดโอกาสให้ทุกคน เข้าร่วมแข่งขันได้ ส่วนการแข่งขันของนักกอล์ฟสมัครเล่นแม้จะมีมาเป็นเวลาช้านาน แต่เพิ่งจะมายอมรับอย่างเป็นทางการในภายหลังว่า การจัดการแข่งขัน โดย Royal Liverpool Club ในปี ค.ศ. 1885 นับเป็นการแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร

ในสหรัฐอเมริกา การแข่งขันกอล์ฟสมัครเล่นครั้งแรกจัดโดย The United States Golf Association (USGA) ในปีค.ศ.1895 และเพิ่งจะมีการ แข่งขันกอล์ฟอาชีพในปี ค.ศ.1916 ซึ่งเป็นปีเดียวกับ ที่มีการจัดตั้ง The Pro-fessional Golfers Association of America (PGA)

พิเคราะห์จากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ กอล์ฟเป็นกีฬาของชนเผ่าแองโกลแซกซัน เติบใหญ่จากการขยายจักรวรรดิอังกฤษเป็นปฐม แม้จนบัดนี้ฐาน ที่มั่นของกีฬากอล์ฟยังคงอยู่ในสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ด้วยเหตุดังนี้ USGA แห่งสหรัฐอเมริกา และ The Royal and Ancient Golf Club แห่งสหราชอาณาจักรจึงเป็นองค์กร ที่ทรงอิทธิพลในการบริหารกีฬากอล์ฟ ในปี ค.ศ.1951 องค์กรทั้งสองได้ ร่วมกันสะสางกติกาการแข่งขันกอล์ฟ และได้ใช้กติกาเดียวกันในปีต่อมา ข้อที่ยังตกลงกันมิได้ก็คือ ขนาดของลูกกอล์ฟ ลูกกอล์ฟ ที่ใช้แข่งขันในสหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่กว่า ที่ใช้ในสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม ในปี 2514 ทั้งสององค์กร บรรลุข้อตกลง ที่ใช้ลูกกอล์ฟขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.66 นิ้ว (42 มิลลิเมตร)

ทุนนิยมวัฒนธรรม (Cultural Capitalism) นับเป็นคลื่นลูก ที่สอง ที่เสริมส่งกระแสสากลานุวัตรของกีฬากอล์ฟ เมื่อกอล์ฟกลายเป็นกีฬาอาชีพในชั้นแรก ความนิยมเล่นกอล์ฟยังไม่ขยายตัวมากนัก ต่อเมื่อสามารถกำหนด เงินรางวัลในระดับสูงความนิยมกีฬากอล์ฟจึงขยายตัวในอัตราเร่ง เงินรางวัล เป็นสิ่งจูงใจ ที่ดูดดึงให้ผู้คนเข้าร่วมแข่งขัน แรงดึงดูดนี้มีมากพอแม้แต่จะทำให้เด็กเก็บลูกกอล์ฟวาดฝัน ที่จะเป็นนักกอล์ฟอาชีพ ข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่า นักกอล์ฟอาชีพจำนวนไม่น้อยไต่เต้าจากเด็กเก็บลูกกอล์ฟนั้น เอง

เงินรางวัลในการแข่งขันกอล์ฟ ในชั้นแรกอยู่ในระดับต่ำ และไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ที่ต้องเสียไปในการเข้าร่วมแข่งขัน ต่อเมื่อกระบวนการแปรกีฬากอล์ฟให้เป็นสินค้ามีแรงเร่ง และการแข่งขันกอล์ฟเข้าสู่วงจรของระบบทุน นิยมวัฒนธรรม เงินรางวัลจึงเขยิบสูงขึ้นเรื่อยๆ กลไกของระบบทุนนิยมวัฒนธรรมเสริมส่งอาชีพนักกอล์ฟให้มีรายได้ระดับสูงยิ่ง

ธุรกิจ ที่เกี่ยวพันกับกีฬากอล์ฟมีตั้งแต่การออกแบบ และการสร้างสนามกอล์ฟ ซึ่งบัดนี้กลายเป็นศาสตร์ ที่ต้องศึกษา ยิ่งกีฬากอล์ฟแพร่หลายมากเพียง ใด ความต้องการสร้างสนามกอล์ฟยิ่งมีมากเพียงนั้น ธุรกิจการออกแบบ และการสร้างสนามกอล์ฟจึงรุ่งเรืองยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความต้องการสร้างสนามกอล์ฟ เพื่อการแข่งขันระดับนานาชาติมีมากขึ้น

การผลิตอุปกรณ์กีฬากอล์ฟนับเป็นธุรกิจสำคัญอีกประเภทหนึ่ง อุปกรณ์กีฬากอล์ฟมีตั้งแต่ไม้ตีกอล์ฟ และลูกกอล์ฟไปจนถึงเครื่องแต่งกาย และรองเท้า ซึ่งสัมพันธ์กับแฟชั่นการแต่งกาย

ธุรกิจสื่อมวลชนนับเป็นธุรกิจสำคัญอีกประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวพันกับกีฬากอล์ฟ การถ่ายทอดการแข่งขันกอล์ฟนับเป็นกลไกสำคัญยิ่งของระบบ ทุนนิยมวัฒนธรรม ในด้านหนึ่ง การถ่ายทอดการแข่งขันกอล์ฟเป็นกลไกในการสร้างความนิยม ที่มีต่อกีฬาประเภทนี้ ยิ่งความนิยมมีมากเพียงใด ก็ยิ่งมีผู้ชมรายการกอล์ฟมากเพียงนั้น เมื่อเทคโน โลยีสารสนเทศรุดหน้าถึงขั้น ที่มีการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ระหว่างประเทศ เจ้าของรายการสามารถเก็บค่าธรรม เนียมการถ่ายทอดรายการเข้าสู่ประเทศต่างๆ ได้มากขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งการถ่ายทอดการแข่งขันกอล์ฟนับเป็นกลไกสำคัญในการหารายได้จากการโฆษณา ยิ่งมีผู้นิยมชมรายการกอล์ฟมากเพียงใด ก็ยิ่งหารายได้จากการโฆษณาได้มากเพียงนั้น นอกจากการโฆษณาโดยตรงแล้ว ยังมีการโฆษณาทางอ้อมด้วย ผู้ชม มีโอกาสเห็นอุปกรณ์กีฬากอล์ฟ ที่นักกอล์ฟผู้ยิ่งใหญ่ใช้ รวมตลอดจนเครื่องแต่งกาย รองเท้า และเครื่องดื่ม กีฬากอล์ฟจึงเกี่ยวพันกับธุรกิจสื่อมวลชน และธุรกิจการโฆษณา

ธุรกิจการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับกีฬากอล์ฟอย่างแน่นแฟ้น นักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยตระเวนชมการแข่งขันกอล์ฟนานาชาติ การแข่งขันกอล์ฟจึงมีผลต่อการท่องเที่ยว สนามกอล์ฟมักเป็นส่วนหนึ่งของสถานตากอากาศ โรงแรมมักจะอยู่ไม่ห่างจากสนาม ที่ใช้แข่งขันกอล์ฟนานาชาติ เมื่อกอล์ฟกลายเป็นกีฬา ที่มีผู้นิยมอย่างแพร่หลาย สถานตากอากาศ ที่สร้างขึ้นใหม่มัก ต้องมีสนามกอล์ฟด้วย ในประเทศ ที่ประชาชนมีเศรษฐกิจดีถึงระดับหนึ่งคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งที่โหยหาความต้อง การท่องเที่ยว และตากอากาศมีมากขึ้น ในประเทศเหล่านี้ ธุรกิจสนามกอล์ฟจะขยายตัว ณ บัดนี้ สถานตาก อากาศระหว่างประเทศล้วน มีสนามกอล์ฟเกือบทั้งสิ้น การขยายตัวของสถานตากอากาศ มีส่วนผลักดันให้สร้างสนามกอล์ฟเพิ่มขึ้น

ด้วยเหตุดังนี้ กีฬากอล์ฟจึงเกี่ยวพันกับธุรกิจหลายประเภท ซึ่งอาจจำแนกเป็นธุรกิจวงในกับธุรกิจวงนอก ธุรกิจวงในประกอบด้วย ธุรกิจสนามกอล์ฟ และธุรกิจการผลิตอุปกรณ์กีฬากอล์ฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ตีกอล์ฟ และลูกกอล์ฟ ธุรกิจวงนอกประกอบ ด้วยธุรกิจสื่อมวลชน ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจ การท่องเที่ยว ธุรกิจเครื่องแต่งกาย และ ธุรกิจเครื่องดื่ม เครือข่ายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของกีฬากอล์ฟจึงกว้างขวางยิ่ง ในบรรดาธุรกิจเหล่านี้ ธุรกิจ ที่เกื้อหนุนกระบวนการสากลานุวัตรของกีฬากอล์ฟกลับเป็นธุรกิจวงนอก ผู้อุปถัมภ์การแข่งขัน ซึ่งทำให้เงินรางวัลเขยิบสูงขึ้น อาจเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องแต่งกายนักกีฬา บริษัทผู้ผลิตรองเท้ากีฬา บริษัทสุรา บริษัทรถยนต์ หรือแม้แต่บริษัทคอมพิวเตอร์

แต่กลไกของระบบทุนนิยมวัฒนธรรม ที่สามารถทำงาน เพื่อเสริมส่งกีฬากอล์ฟได้นั้น เกิดจากการประสานงานของธุรกิจการจัดการแข่งขันกอล์ฟ ธุรกิจประเภทนี้เอง ที่เป็นตัวการในการดึงกลไกต่างๆ ของระบบทุนนิยมวัฒน-ธรรมมาร่วมทำงานธุรกิจการจัดการแข่งขันกอล์ฟ ไม่เพียงแต่จะช่วยเร่งลักษณะความเป็นอาชีพของกีฬากอล์ฟ หากยังช่วยปลูกฝังให้การเล่นกอล์ฟเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตอีกด้วย การเติบโตของพลังเศรษฐกิจทุนนิยมช่วยแปรสภาพกีฬากอล์ฟให้กลายเป็นสินค้า ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสากลานุวัตรของกีฬากอล์ฟ ในขณะที่กระบวนการสากลานุวัตรขับเคลื่อนรุดหน้าไป การเล่นกอล์ฟกลายเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นกลาง และชน ชั้นสูงในประเทศต่างๆ เมื่อการปลูกฝังให้การเล่นกอล์ฟเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประสบความสำเร็จ ระบบทุนนิยม-วัฒนธรรมก็สามารถทำงานได้อย่าง เต็มที่ ทั้งในการก่อให้เกิดส่วนเกินทาง เศรษฐกิจ การสะสมทุน การผลิตซ้ำ และการขยายการผลิต

ในปัจจุบัน การแข่งขันกอล์ฟ ที่สำคัญมีอยู่ 4 รายการ ได้แก่

(1) British Open ซึ่งเริ่มแข่งมาแต่ปี ค.ศ.1860 จัดโดย The Royal and Ancient Golf Club

(2) U.S. Open ซึ่งเริ่มแข่งมาแต่ปี ค.ศ.1895 จัดโดยสมาคมกอล์ฟแห่งสหรัฐอเมริกา (USGA)

(3) USPGA ซึ่งเริ่มแข่งมาแต่ ปี ค.ศ.1916 จัดโดยสมาคมนักกอล์ฟอาชีพแห่งสหรัฐอเมริกา (PGA)

(4) US Masters ซึ่งเริ่มแข่งมาแต่ปี ค.ศ.1934 ณ Augusta National Golf Club เมืองออกัสต้า มลรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา สโมสรกอล์ฟแห่งนี้ และการแข่งขันรายการนี้ริเริ่มขึ้นโดย บ็อบบี้ โจนส์ (Bobby Jones) นักกอล์ฟชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียง

นักกอล์ฟ ที่ชนะการแข่งขันทั้ง 4 รายการนี้ในปีเดียวกันถือเป็นชัยชนะ ที่ยิ่งใหญ่ ที่เรียกกันว่า Grand Slam แต่การแข่งขันกอล์ฟมิได้มีเพียง 4 ราย การนี้เท่านั้น หากยังมีวงจรการแข่งขัน ที่ เรียกกันว่า Circuit หมุนเวียนไปแข่งขัน ในประเทศต่างๆ แม้ในชั้นแรกการจัดการแข่งขันจะกระจุกอยู่ในสหรัฐ อเมริกา และยุโรปตะวันตก แต่ในไม่ช้าก็ขยายสู่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหภาพแอฟริกาใต้ และญี่ปุ่น เมื่อความเป็นสากลของกีฬากอล์ฟเติบใหญ่เต็มที่ วงจรการแข่งขันก็ขยายตัวต่อไป เกิด Carribean Golf Circuit และ Far East Golf Circuit ไม่เพียงแต่วงจรการแข่งขันจะเพิ่มขึ้นเท่านั้น จำนวนประเทศสมาชิกในแต่ละวงจรก็เพิ่มขึ้นด้วย การแข่งขันในแต่ละวงจรมีหลายรายการ หมุนเวียนไปตามประเทศสมาชิก ความสำคัญของการแข่งขันแต่ละรายการไม่เท่าเทียมกัน นักกอล์ฟหน้าใหม่ต้องไต่เต้าจากรายการที่มีความสำคัญน้อย ซึ่งเงินรางวัลต่ำ ต่อเมื่อแสดงฝีมือให้ปรากฏ และมีคะแนนสะสมในระดับน่าพอใจ จึงเขยิบขึ้นไปแข่งขันในรายการที่มีเงินรางวัลสูง นักกอล์ฟฝีมือฉกาจจะเข้าแข่งขันเฉพาะรายการที่สำคัญเท่านั้น โดยที่การแข่งขันมีได้ทั้งปี เนื่องจากมีวงจรการแข่งขันครอบคลุมทั่วโลก และหมุนเวียนแข่งขัน ตามสภาพดินฟ้าอากาศ

กระบวนการสากลานุวัตรผลักดันให้เกิดสนามกอล์ฟในประเทศต่างๆ ณ บัดนี้ จำนวนประเทศ ที่มีสนามกอล์ฟ มีมากกว่าประเทศ ที่ไม่มีสนามกอล์ฟเสียอีก สถานตากอากาศระหว่างประเทศ เกือบทุกแห่งมีสนามกอล์ฟ แม้แต่ในแอฟริกา ประเทศ ที่ล้าหลังดังเช่น อูกันดา มาลาวี ไอวอรี่โคสต์ และเคนยา ก็ยังมีสนามกอล์ฟ ความยากจนของประชาชน ส่วนใหญ่มิได้ขัดขวางการเติบโตของธุรกิจสนามกอล์ฟ ขอเพียงชนชั้นปกครองยอมรับวัฒนธรรมการเล่นกอล์ฟ กลไกของระบบทุนนิยมวัฒนธรรมก็จะทำงานของมันเอง

กล่าวโดยสรุปก็คือ ธุรกิจการจัดการแข่งขันกอล์ฟ เป็นหัวหอกในการสร้างส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากกีฬากอล์ฟ ส่วน เกินทางเศรษฐกิจนี้ขยายใหญ่ ขึ้น เมื่อธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสื่อ มวลชน ธุรกิจการโฆษณา ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจแฟชั่น รวมตลอดจนธุรกิจวัฒนธรรมอื่นๆ ร่วมกันแบกรับภาระรายจ่ายในการ "ล้างสมอง" คนทั้งโลกให้ยอมรับการเล่นกอล์ฟเป็นวิถีชีวิต การ "ล้างสมอง" มักจะเริ่มต้น ที่ชนชั้นปกครอง ในประเทศ ที่มีการปกครองระบอบเผด็จการ กระบวนการ "ล้างสมอง" เริ่มต้น ที่ผู้นำฝ่ายทหาร เมื่อการ "ล้างสมอง" เคลื่อนจากชนชั้นสูงสู่ชนชั้นกลางได้เมื่อใด การเล่นกอล์ฟก็กลายเป็น "วัฒนธรรม" ในประเทศนั้น เมื่อนั้น เรื่องราวต่อจากนี้ไปก็เป็นไปตาม กลไกของระบบทุนนิยมวัฒนธรรม ในประเทศ ที่การเล่นกอล์ฟฝังรากเป็น "วัฒนธรรม" ธุรกิจหรือกลุ่มทุนวัฒนธรรมย่อมสามารถแสวงหาส่วนเกิน ทางเศรษฐกิจได้โดยง่าย มีการแบ่งปันส่วนเกินทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มทุนวัฒนธรรมต่างๆ ส่วนเกินทางเศรษฐกิจบางส่วนเก็บสะสมเป็นทุนไว้ บางส่วนนำกลับไปผลิตซ้ำ และขยายปริมณฑลของระบบทุนนิยมวัฒนธรรมให้กว้างไกลออกไป ในแง่นี้ระบบทุนนิยมวัฒนธรรมของกีฬากอล์ฟมิได้แตกต่างในขั้นพื้นฐานจากกีฬาอื่นๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเทนนิส

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us