Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2544
The Great Capitalist             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 





ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชิน โสภณพนิช คนสร้างธนาคารกรุงเทพขึ้นมาจนใหญ่โต เป็นเรื่องที่พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานายกฯ ขณะนี้ได้เขียนงาน "การต่อสู้ของชิน โสภณพนิช กับธนาคารอาณานิคม" ขนาดยาวกว่า 300 หน้าเป็นภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปี 2528 ส่วนฉบับคัดย่อฉบับภาษาไทย ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร ผู้จัดการ ฉบับที่ 46 กรกฎาคม 2530

แนววิเคราะห์อันลุ่มลึกที่มีมุมมองแบบมาร์กซิสต์ ทำให้งานเขียนชิ้นนี้ให้ความรู้ที่แตกต่างไป

"แน่นอน การศึกษาธนาคารเพียงแห่งเดียว และนายธนาคารกลุ่มเล็กๆ กลุ่มเดียว ย่อม ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการวิเคราะห์ชนชั้นได้ ในเมื่อชนชั้นต้องประกอบขึ้นจากปัจเจกชนหลายๆ คน แต่ชนชั้นไม่สามารถย่อยลงมาเป็นปัจเจกชนได้ กระนั้นก็ตาม ธนาคารกรุงเทพและผู้ก่อตั้งคือ ตระกูลโสภณพนิช ก็เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นถึงอำนาจอันยิ่งใหญ่ในชนชั้นนายทุนร่วมสมัยของไทยได้เป็นอย่างดี" นี่คือ เกริ่นนำของเรื่อง

พันศักดิ์ได้ปูพื้นฐานความเข้าใจที่มาของระบบการบริหารการเงินแบบตะวันตก ที่มาพร้อม กับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอังกฤษกับไทย ในรูปสนธิสัญญาเบาริ่ง ปี 2389 เป็นจุดเริ่มนำลัทธิระบบทุนนิยมโลกมาสู่ไทย ธนาคารต่างชาติผูกขาดธุรกรรมการเงินการค้าระหว่างประเทศทุกอย่าง และปฏิบัติต่อนักธุรกิจไทยแย่มาก พฤติกรรมของธนาคารอาณานิคมในไทย ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่อลัทธิอาณานิคมของยุโรปตะวันตกก่อนมาถึงลัทธิ จักรวรรดินิยมของอเมริกาในยุคสงครามเย็น

แม้ปี 2449 แบงก์สยามกัมมาจล ก่อตั้งเป็นธนาคารไทยแห่งแรก แต่พระราชวงศ์ไทย ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นก็ยังต้องพึ่งพาทักษะและความรู้ของผู้ถือหุ้นต่างชาติ เช่น จีน เดนมาร์ก และเยอรมนี ซึ่งขัดขวางไม่ให้คนไทยได้มีโอกาสเรียนรู้ระบบและเข้าเป็นสมาชิกตลาดเงินระดับโลกได้

จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้น กองทัพญี่ปุ่นยึดครองไทยและเพื่อนบ้าน ล้มล้างลัทธิล่าอาณานิคม ธนาคารต่างชาติถูกปิด ทำให้โอกาสใหม่เปิดสู่พ่อค้าและนายเงินชาวจีนโพ้นทะเล ก่อนสงครามจะสงบ 1 ปี เกิดธนาคารใหม่เพิ่ม 4 แห่ง ที่เห็นหนทางสร้างความมั่งคั่งจากสงคราม

ธนาคารกรุงเทพก่อตั้งช่วงนั้น ด้วยความตั้งใจให้บริการตลาดพ่อค้าในประเทศ ที่ต้องการแหล่งเงินทุนและโนว์ฮาว ซึ่งชินเล็งเห็นว่าธนาคารจะหากำไรค่าธรรมเนียมได้จาก ช่องว่างที่ธนาคารอาณานิคมทิ้งไว้ แต่ช่วงแรก ที่ล้มลุกคลุกคลาน ธุรกิจธนาคารต้องเผชิญปัญหางบดุลไม่ลงตัวในปี 2495 เพราะบางคน ในคณะบริหารเอาเงินทุนส่วนใหญ่จมกับธุรกิจ ที่ดินหมด

ชิน โสภณพนิช ได้เข้ากู้สถานการณ์ล้มละลายของธนาคารกรุงเทพขณะนั้น และได้วางรากฐานสำคัญคือ ระบบตรวจสอบและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจ้างนักบัญชีมืออาชีพอย่าง บุญชู โรจนเสถียรและทีมงานบริหารจัดการที่เคยผ่านงานแบงก์ชาติหรือกระทรวงการคลังมาทำงานให้

แต่ที่สำคัญชินสามารถหาทางรอดจาก วิกฤติ โดยใช้สายสัมพันธ์และคนใกล้ชิดล็อบบี้ รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามให้กระทรวง เศรษฐการถือหุ้น 60% ในปี 2496 และสามารถ ดึงธุรกรรมเอกสารทางการเงินมหาศาลเพื่อการค้าส่งออกข้าวของรัฐและพ่อค้าจีนผ่านธนาคารกรุงเทพทั้งหมด ทำให้ธนาคารกรุงเทพ สามารถแย่งลูกค้าจากธนาคารคู่แข่งต่างชาติได้ ด้วยสาขาต่างประเทศ ซึ่งสร้างรายได้ให้กับสำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงเทพยุคชินถึง 20-30% ของทั้งหมด

ชินเป็นจีนแต้จิ๋วเกิดในครอบครัวยาก จน จบประถมไทยไปเรียนต่อจีน เคยเป็นกุ๊ก กุลีท่าเรือ อยู่กับร้านวัสดุก่อสร้าง แต่สร้างตัวจนเป็นเถ้าแก่ร้าน เคยเป็นนายหน้าให้รัฐบาลขายสินค้าคอนซูเมอร์ นอกเหนือจากธุรกิจโพย ก๊วน ว่ากันว่าเขาคำนวณได้ราวฟ้าแลบ เคยค้าทองและโพยก๊วน ช่วงสงครามทำให้ฐานะ ชินร่ำรวยขึ้น เขาทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลาง ค้าเงินตราต่างประเทศในตลาดมืด และค้าทองจากพม่า ลาว เขมร และเวียดนาม ในช่วง ปลายทศวรรษ 2480-2490

พันศักดิ์ได้เขียนถึงบิดาของเขา ประยูร วิญญรัตน์ ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการผลักดันระบบธนาคารสาขาเป็นแห่งแรก ท่าม กลางข้อโต้แย้งที่ว่าเสี่ยงต่อการขาดทุนเพราะการคดโกงของผู้จัดการสาขา แต่ในที่สุดธนาคารกรุงเทพได้เติบโตและได้ประโยชน์ที่คุ้มกับการเสี่ยงนี้

ชิน เป็นนายธนาคารที่มีชื่อเสียงโดดเด่นที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่ทุกวันนี้ฐานะและความสัมพันธ์เก่า แก่ของลูกค้ากับธนาคารกรุงเทพ แบบที่ชินใช้ "บุญคุณน้ำมิตร" สูญหายท่ามกลางวิกฤติ ปี 2540 ความจงรักภักดีของลูกค้าถูกทำลายภาย ใต้หายนะของระบบการเงินและนโยบายเอาตัวรอดของธนาคาร ซึ่งไม่เหลือทางเลือกเผื่อไว้สำหรับสร้างความมั่งคั่งได้เฉกเช่นอดีต ที่ชินเคยสู้และชนะมาแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us