Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2544
Creative Destruction             
 





บริษัทที่กล้าพอจะทำลายคือบริษัทที่จะมีอายุยืนยาวอย่างแท้จริง

เป็นเรื่องแปลกแต่จริง ที่บริษัทที่ตั้งใจสร้างขึ้นมา เพื่อให้มีอายุยืนยาวนั้นกลับมีอายุสั้นกันแทบทุกบริษัทไป สาเหตุ ก็เพราะความตั้งใจที่จะรักษาความต่อเนื่องในระบบหรือวิธีการทำงานของบริษัทนั่นเอง ซึ่งทำให้บริษัทยังคงใช้วิธีหรือระบบเดิมๆ ในการทำงานต่อไปแบบ "ปกติอย่างที่เคยเป็นตลอดมา" (business as usual) ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมกับสภาพการณ์และสถานการณ์ เดิมๆ แต่สภาพการณ์ต่างๆ ที่แวดล้อมธุรกิจอยู่นั้นหาได้อยู่คงที่ตายตัวแต่อย่างใดไม่ ด้วยเหตุนี้ บริษัทที่ถูกสร้างขึ้นมาแบบพร้อมเผชิญความไม่ต่อเนื่องต่างหาก จึงจะเป็นบริษัทที่สามารถมีอายุยืนยาวได้อย่างแท้จริง นี่คือสาระสำคัญที่ริชาร์ด ฟอสเตอร์ (Richard Foster) และซาราห์ แคพแลน (Sarah Kaplan) 2 ผู้เขียนหนังสือ Creative Destruction ต้องการจะบอกกับผู้อ่าน และตัวอย่างคลาสสิกของบริษัทที่สะดุดกับความไม่ต่อเนื่องเข้าอย่างจังที่ผู้เขียนทั้งสองได้ยกขึ้นมาก็คือ บริษัท IBM และความไม่ต่อเนื่องนั้นก็คือ การหมดยุคของเครื่องเมนเฟรมนั่นเอง

ฟอสเตอร์และแคพแพลนไม่ได้แค่ต้องการจะบอกให้คุณเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง แต่พวกเขาต้องการจะ บอกถึงขั้นว่า บริษัทจะต้องถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เผชิญกับความ ไม่ต่อเนื่องทั้งในกระบวนการทำงานและกลยุทธ์ธุรกิจทั้งสองชี้ว่า คุณจะต้องเลียนแบบการบริหารตลาดหุ้น ซึ่งกระตุ้นการสร้างบริษัทใหม่ๆ และไม่ลังเลเลยที่จะทำลายบริษัทที่ล้มเหลวอย่าง ไร้ความปรานีใดๆ Joseph Schumpeter นักเศรษฐศาสตร์ ชาวออสเตรียเรียกกระบวนการของการสร้างสรรค์และทำลายนี้ว่า "พายุของการทำลายอย่างสร้างสรรค์" ซึ่งก็คือที่มาของชื่อหนังสือเล่มนี้ นักเขียนทั้งสองยืนยันว่า บริษัทที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือบริษัทที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์และทำลาย เท่าๆ กัน หรือมีความสามารถในการ "ทำลายอย่างสร้างสรรค์" ตามแต่สถานการณ์ในขณะนั้นจะเรียกร้อง

"การทำลายอย่างสร้างสรรค์" ของลอรีอัล

ในปี 1986 ลอรีอัลได้วางตลาดครีมไลโปโซมลดเลือน ริ้วรอย ภายใต้แบรนด์ลังโคม ซึ่งเป็นแบรนด์เครื่องสำอางตลาดบนของลอรีอัล ครีมต่อต้านริ้วรอยนี้มีราคากระปุกละ 50 ดอลลาร์ การพัฒนาครีมชนิดใหม่นี้ก็คือส่วนที่สร้างสรรค์ของ "การทำลายอย่างสร้างสรรค์" ของลอรีอัล

ต่อมาในปี 1989 เมื่อคู่แข่งสามารถพัฒนาครีมลดเลือน ริ้วรอยขึ้นมาขายแข่งได้สำเร็จ ลอรีอัลตัดสินใจเพิ่มครีมไลโปโซมนี้เข้าไปในไลน์สินค้าภายใต้แบรนด์เพลนนิจูด ซึ่งเป็นแบรนด์เครื่องสำอางราคาต่ำกว่า ส่งผลให้ครีมนวัตกรรมใหม่ที่เคยขายในราคาแพงกลับสามารถหาซื้อได้ในราคาเพียงกระปุกละ 8 ดอลลาร์เท่านั้น

นักการตลาดหัวเก่าคงจะบอกคุณว่า ลอรีอัลกำลังฆ่า ตัวตายชัดๆ แต่ในสายตาของฟอสเตอร์และแคพแพลนแล้ว การลดระดับครีมไลโปโซมลงไปในไลน์ของเพลนนิจูดแสดงถึง ความช่ำชองของลอรีอัลในการใช้ทักษะการทำลายอย่างสร้างสรรค์ ทั้งสองอรรถาธิบายต่อไปว่า "การสร้างแบรนด์ขึ้นมาหลายแบรนด์ เพื่อสนองตอบตลาดที่แตกต่างกันไป ทำให้ลอรีอัลสามารถวางตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตสำหรับลูกค้าในตลาดบนก่อน และเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ก็สามารถย้ายสินค้านี้ลงสู่ตลาดที่ต่ำลงมาได้"

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ธุรกิจนี้จะใช้ได้ผล ก็ต่อเมื่อลอรีอัล จะต้องคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สำเร็จอยู่ในมือแล้ว ซึ่งพร้อมจะ วางตลาดภายใต้แบรนด์ลังโคมก่อนที่จะส่งผลิตภัณฑ์ตัวเก่งตัวเก่าลงมายังตลาดล่าง ดังนั้นจะเห็นว่ากุญแจสำคัญของกลยุทธ์ "การทำลายอย่างสร้างสรรค์" ก็คือ นวัตกรรม ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้งนั่นเอง

ถูกขังอยู่กับความเคยชิน
ฟอสเตอร์และแคพแพลนชี้ว่าบริษัทส่วนใหญ่ไม่เหมือน ลอรีอัล บริษัทเหล่านี้มักจะกลัวการทำลายผลิตภัณฑ์ของตน กลัวการเข้าสู่ธุรกิจที่อาจขัดแย้งกับลูกค้าของตน และกลัวการลงทุนซื้อกิจการซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทในระยะสั้น ความกลัวทั้ง 3 ประการนี้คือ สิ่งที่ผู้เขียนทั้งสองเรียกว่า "การถูกขังอยู่กับความเคยชิน" อธิบายง่ายๆ ก็คือ บริษัทเหล่านี้ถูกความกลัวเข้าครอบงำจนไม่กล้าที่จะขยับเขยื้อนทำอะไรใหม่ๆ ผลก็คือ บริษัทเหล่านี้จะไม่สามารถรับมือการโจมตีจากคู่แข่ง หรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดได้

กุญแจที่จะไขให้หลุดจากที่คุมขังของความเคยชินนี้ได้ และเริ่มใช้กลยุทธ์การทำลายอย่างสร้างสรรค์ก็คือ คุณจะต้องรักษาสมดุลระหว่างการมีระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไว้ให้ได้

ระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพกับการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ บริษัทส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นบริษัทที่สามารถรักษาประสิทธิภาพในการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง แต่แล้ววันหนึ่งบริษัทก็กลับพบว่าในความต่อเนื่องที่บริษัทพยายามรักษาไว้ให้ได้นั้น กลับกลายเป็นการทำสิ่งที่ผิดให้เป็นสิ่งที่ถูกอยู่ทุกวัน     เมื่อบริษัทต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งใหม ่ซึ่งมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีนวัตกรรมที่ดีกว่าและมีกระบวนการผลิตที่ดีกว่า

ตัวอย่างในเรื่องนี้ก็คือเรื่องของบริษัท Storage Technology Corporation ซึ่งก่อตั้งโดยอดีตผู้บริหาร IBM บริษัทนี้พัฒนาเทปไดรฟ์และดิสก์ไดรฟ์ที่ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม ในตอนแรก บริษัทดังกล่าวมีพร้อมทั้งความเป็นเลิศในด้านนวัตกรรม และระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพอย่างสูงบริษัท จึงประสบความสำเร็จในการผลิตและขายไดรฟ์ที่มีคุณภาพดีกว่า ที่ไอบีเอ็มผลิตเสียอีกและในเวลาเพียงไม่นานก็เติบโต จนอาจหาญที่จะต่อกรกับยักษ์ใหญ่อย่างไอบีเอ็มได้ เมื่อเตรียมก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตเครื่องเมนเฟรมที่ไอบีเอ็มเป็นเจ้าตลาดอยู่ เป้าหมายของบริษัทคือการก้าวขึ้นเป็น "มินิไอบีเอ็ม" ให้ได้

แต่แล้วในช่วงที่บริษัทเริ่มจะขยายเข้าสู่การผลิตเครื่องเมนเฟรมนี่เอง บริษัทก็สูญเสียสมดุลระหว่างประสิทธิภาพที่ดี ในการผลิตกับความเป็นเลิศในด้านนวัตกรรมไป ทั้งนี้เพราะการที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเครื่องเมนเฟรมไปพร้อมๆ กับการพัฒนา optical storage drive ซึ่งบริษัทเชื่อมั่นว่าจะเป็นนวัตกรรมที่จะเข้ามาแทน ที่ magnetic drive แบบเดิมนั้น เป็นการทุ่มทรัพยากรส่วนใหญ่ลงไปในด้านของนวัตกรรมนี่เอง ทำให้เสียสมดุลในด้านประสิทธิภาพการผลิต กล่าวคือ เพื่อผลิตให้ทันกับความต้องการของลูกค้า บริษัทได้ซื้อชิ้นส่วนที่ต่ำกว่าสเปกมาใช้ในการผลิตผลก็คือ สินค้าที่บริษัทผลิตได้เริ่มไม่เป็นที่พอใจของลูกค้า เมื่อบริษัทรู้ตัวและรีบหันกลับมาแก้ไข แต่ในช่วงเวลาที่กำลังพยายามฟื้นฟูประสิทธิภาพในการผลิตให้กลับคืนมานี้เอง ไอบีเอ็มก็สามารถแซงหน้า Storage Technology ในด้านของนวัตกรรมไปได้ และแล้วในที่สุด ไอบีเอ็มก็ชนะทั้ง 2 ด้านคือ นวัตกรรมและประสิทธิภาพการผลิต

หนังสือ Creative Destruction นี้ได้แสดงวิธีส่งเสริมด้านนวัตกรรมในบริษัทของคุณ และวิธีที่จะจัดสมดุลระหว่างความเป็นเลิศในด้านนวัตกรรมกับความเป็นเลิศในด้านประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทของคุณเป็นเหมือนกับหลายๆ บริษัทที่มัวแต่ตั้งใจรักษาปัจจุบันไว้ให้ดีที่สุด เสียจนลืมนึกถึงการรับมือกับอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us