Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2544
สนธิ ลิ้มทองกุล             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

สนธิ ลิ้มทองกุล




สนธิ ลิ้มทองกุล ที่ผมรู้จักครั้งแรก เป็นคนเชื่อมั่นตัวเอง มีความเป็นตัว ของตัวเอง มีความรู้สูงกว่าคนในอาชีพ หนังสือพิมพ์โดยทั่วไป ผมมีความรู้เกี่ยว กับตัวเขาไม่มากนัก ทั้งๆ ที่เขาเป็นคน เปิดเผย มีเรื่องเล่ามากมายบนโต๊ะอาหาร บ่อยครั้ง ช่วงที่ผมเพิ่งเข้ามาทำงานที่ "ผู้จัดการ" ในฐานะ "ลูกจ้าง" แต่ก็ไม่ สามารถปะติดปะต่ออย่างเห็นภาพ

สิ่งที่ทำให้ผมรู้จักเขามากขึ้น ก็คือจากการติดตามพัฒนาการนิตยสาร ผู้จัดการ ซึ่งเป็นหน่อสำคัญในการก่อ เกิดกลุ่มผู้จัดการ หรือแมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป ที่ดูยิ่งใหญ่ หลังจากนั้นเพียง 13 ปี

นิตยสารเล่มนี้ในช่วงปีแรกได้ สะท้อนบุคลิก ความคิด ประสบการณ์ ของเขาอย่างชัดเจนที่สุด

นิตยสารผู้จัดการฉบับแรกวาง ตลาด เมื่อเดือนสิงหาคม 2526

ในช่วงนั้นสนธิ ลิ้มทองกุล ทำงานอย่างหนัก แทบจะเรียกได้ว่า ทำงานคนเดียวทั้งหมด ทั้งเป็นนักข่าว หาโฆษณา วางแผนจัดจำหน่าย ช่วงที่ ผมเข้าไปร่วมงาน ถือว่าโชคดีมาก เป็น ช่วงก่อนขยายตัวครั้งสำคัญครั้งแรกของ "อาณาจักรผู้จัดการ" ของเขา ซึ่งเริ่ม รับทีมงานมีจำนวนมากขึ้นในขณะนั้น กว่า 20 ชีวิต จากนั้นก็คือการเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว ประสบการณ์ที่เขาถ่ายทอด และการทำงานร่วมกับเขาอย่างเข้มข้น ถือเป็นช่วงที่มีค่าที่สุดช่วงหนึ่งของอาชีพ เลยทีเดียว

การสร้างนิตยสารผู้จัดการ ซึ่งที่แท้ ก็คือ การนำประสบการณ์ในช่วงสำคัญของ สนธิ ลิ้มทองกุล มาบุกเบิกธุรกิจอย่างมีพลัง ในสองมิติ

มิติแรก เขาเป็นนักหนังสือพิมพ์อาชีพ และนักบริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์กว้าง ขวางและต่อเนื่องมากที่สุดคนหนึ่ง ตั้งแต่เป็น บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัยใน สหรัฐอเมริกา เมื่อกลับเมืองไทย เขามีโอกาส เข้าทำงานบริหารหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย หนังสือพิมพ์รายวันคุณภาพฉบับแรกๆ ของ เมืองไทย และดูแลกิจการสำนักพิมพ์ในกลุ่ม พีเอสเอ ประสบการณ์การจัดการครั้งนั้นของ เขามีความสำคัญทำให้เขาสามารถบุกเบิก กิจการของตนเองอย่างดีในประสบการณ์อัน โชกโชนนี้ ผมมีความเชื่ออยู่ว่า สนธิ ลิ้มทอง กุล มีโมเดลของพร สิทธิอำนวย ฝังอยู่ใน ความคิดอย่างแน่นแฟ้น ครั้นเวลาผ่านมา เมื่อเขามีโอกาสสร้างอาณาจักรธุรกิจ ประสบการณ์จากความทรงจำและศรัทธา พร บางส่วนก็ปรากฏขึ้นเป็นแรงขับดัน ของเขา

ในนิตยสารผู้จัดการฉบับแรก สิงหาคม 2526 เขาได้เริ่มเกริ่นจะเขียน ประสบการณ์แห่งความล้มเหลวของเขา ในช่วง 10 ปี หลังจากกลับมาเมืองไทย ถือเป็นความกล้าหาญมาก จากข้อเขียน เพียง 8 ตอนของเขา ทำให้เข้าใจความเป็น มาของสนธิ ลิ้มทองกุล มากขึ้น

"ต้องแพ้เสียก่อน จึงจะชนะได้" เป็นเรื่องราวที่กลั่นจากประสบการณ์ของ เขา ถูกกล่าวขวัญอย่างมาก

บันทึกนี้ทำให้เห็นภาพชัดเจน ว่า เนื้อหานิตยสารผู้จัดการ ซึ่งเจาะลึก เข้มข้น ด้วยมุมมองใหม่ๆ อย่างไม่เคย ปรากฏมาก่อน เพราะว่าคนเขียนมีประสบ การณ์โดยตรงในธุรกิจที่กำลังมีปัญหาเป็น แกนของปัญหาสังคมธุรกิจในเวลาก่อน หน้าและต่อเนื่องมา

สนธิ ลิ้มทองกุล เป็นนักหนังสือ พิมพ์คนเดียวในวงการก็ว่าได้ที่มีประสบ การณ์อยู่ในกลุ่มใหม่ที่พยายามต่อสู้กับ กลุ่มธุรกิจดั้งเดิม ในการสร้างอาณาจักร ธุรกิจ เป็นตำนานเล่าขาน ซึ่งก็คือ พีเอสเอ ดังนั้นนิตยสารผู้จัดการซึ่งเกิดขึ้นในสิ่ง แวดล้อมธุรกิจที่คลี่คลายและก่อวิกฤติ การณ์มากมาย ตั้งแต่ปี 2522-2528 จึง ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

นอกจาก สนธิจะนำเสนอเรื่องราว วงในลึกซึ้งอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน แล้ว เขายังมีมุมมองใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างไม่ขาดสาย

นิตยสารผู้จัดการในช่วง 2 ปีแรก ซึ่งมีแกนอยู่ที่เรื่องของกลุ่มใหม่ที่พยายาม ดิ้นรนต่อสู้เพื่อสร้างอาณาจักรธุรกิจ ไม่ว่า จะเป็น PSA ซึ่งมีความพร้อมแต่ล้มเหลว สุพจน์ เดชสกุลธร นักสู้จากไม่มีอะไรก็ จบลงด้วยไม่มีอะไรกลับไป หรือ สุระจันทร์ ศรีชวาลา ผู้มีภารตยุทธ์ที่คงกระพันที่สุด ฯลฯ

จากการอ่านหนังสือที่เขาเขียน ผ่านหน้ากระดาษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราว กรณีศึกษาในเมืองไทย ตามกระแสข่าว ซึ่งเผอิญสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วง นั้นตามประสานักรบที่เพิ่งพ้นจากสมรภูมิ เล่าเรื่องในสนามรบอย่างมีรสชาติ

เรื่องราวที่เขาเขียน ได้สร้างมาตร-ฐานใหม่ของการรายงานข่าวเศรษฐกิจเชิง วิเคราะห์ที่มีข้อมูลลึกที่ไม่มีใครล่วงรู้มา ก่อนและลึกซึ้งอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในวงการหนังสือพิมพ์

สนธิ ลิ้มทองกุล เป็นคนที่มีความ รักในอาชีพหนังสือพิมพ์อย่างสูง มีความ ฝันจะสร้างสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นในวงการ ขณะเดียวกันเขาก็ทำงานหนักเป็นตัวอย่าง แก่นักข่าวรุ่นหลังมากทีเดียว

นี่คือฐานของความคิด ประสบ การณ์ และแรงขับดันอย่างสำคัญของสนธิ ลิ้มทองกุล ในการสร้าง "สิ่งมหัศจรรย์" ขึ้นในแวดวงธุรกิจไทย และวงการสื่อสาร มวลชนในช่วงจากนั้นเพียงทศวรรษเดียว เท่านั้น

มิติแรก ประสบการณ์การบริหาร ธุรกิจยุคใหม่ จาก PSA ในการเข้าถึงสาระ ของการจัดการยุคใหม่สิ่งที่เขามักจะพูด เสมอว่า ก่อนเข้าร่วมงานเขาไม่มีประสบ การณ์ในการบริหารธุรกิจอย่างจริงจังมาก่อน แต่เขาสามารถเรียนรู้ได้อย่างดีเสียด้วย เนื่อง จากเป็นคนใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเริ่มต้น ความคิดใหม่ โครงการใหม่ๆ สนธิ ลิ้มทอง กุล จะเริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ เขาจะลงทุนใน การเข้าฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นในต่าง ประเทศ นับครั้งไม่ถ้วน ที่ว่าด้วยความรู้ใหม่ ของโลก แม้แต่เมื่อมีภารกิจรัดตััวเพียงใด เขาก็ยังหาโอกาสเป็น "นักศึกษา" ได้เสมอ

ที่สำคัญประการหนึ่งที่ต่อเนื่องจาก PSA ก็คือ เขาเข้าใจถึงการสร้างเครือข่าย "แหล่งเงินทุน" ต้องยอมรับว่าพร สิทธิอำนวย มีโอกาสครั้งใหญ่มาจากการเติบโตขึ้นครั้ง แรกๆ ของตลาดหุ้นไทย ขณะที่สนธิ ลิ้มทอง กุล เติบโตอย่างยิ่งใหญ่อย่างรวดเร็วจาก โอกาสการพัฒนาอีกก้าวใหญ่ของตลาดทุน ซึ่งเขาจำเป็นต้องรอมากว่าทศวรรษทีเดียว สิ่งที่พัฒนาต่อจากนั้นคือ เขาสามารถเชื่อม โยงแหล่งทุนจากตลาดทุนไทย เชื่อมต่อระดับ โลกได้

อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ด้านกลับ จาก PSA ก็ทำให้เขาไม่ทำบางเรื่องอย่างเคร่ง ครัด นั่นคือการเข้าสู่ธุรกิจการเงิน ซึ่งถือเป็น "จุดเปราะบาง" ที่สุดของพร สิทธิิอำนวย ที่ ปิดโอกาสในการลุกขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

มิติที่สอง การเรียนรู้และเข้าใจ "สาระ" ของธุรกิจหลัก อันเป็นที่มาของการ เข้าใจเรื่อง "ข้อมูลข่าวสาร" อย่างลึกซึ้งที่สุด ในบรรดาผู้ประกอบการในลักษณะเดียว กันในประเทศไทย

เป็นความเข้าใจหลายระดับที เดียว

เบื้องต้นเขาเข้าใจและสร้างอิทธิพลของข่าวสารจากระดับประเทศ เฉกเช่นนักธุรกิจสื่อสารมวลชนไทยทั่วไป เข้าใจไปสู่การสร้าง "อิทธิพลระดับท้อง ถิ่น" ไม่ว่าจะเป็นความคิดในการสร้าง เครือข่ายข่าวสารระดับโลก นิตยสารของ เอเชีย หรือแม้กระทั่งหนังสือพิมพ์รายวัน ของภูมิภาคเอเชีย

อีกระดับหนึ่ง ในสาระของข้อมูล ข่าวสารเองก็มี "คุณค่า" และ "มูลค่า" มหาศาลในความคิดของสนธิ ลิ้มทองกุล การสร้างระบบข้อมูลข่าวสารสมัยใหม่ กระบวนทัศน์ และความคิดริเริ่มในการ เชื่อมโยง "สาระ" ของข้อมูลข่าวสารจาก สื่อสิ่งพิมพ์ไปสู่สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็น ความคิดสำคัญอย่างยิ่งของนักธุรกิจ สื่อสารมวลชนไทย รวมไปถึงระดับเอเชีย ด้วย

ความคิดและการทำงานของเขา ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีอิทธิพลระดับ โลกมากทีเดียว สนธิ ลิ้มทองกุล เป็น คนไทยคนหนึ่งที่สื่อตะวันตก กล่าวถึง มากที่สุด

นี่คือ เรื่องราวของคนคนหนึ่งที่มี แรงบันดาลใจยิ่งใหญ่ ถือเป็นบทเรียนและ พลังความคิดของสังคมไทยที่ต้องก้าวไป ข้างหน้า แม้ว่าจะมีอุปสรรคขวากหนาม มากเพียงใดก็ตาม

(ตัดตอนจากบทนำหนังสือ "สนธิ ลิ้มทองกุล ต้องแพ้เสียก่อน จึงจะชนะได้" ซึ่งวางจำหน่ายในเดือนนี้เป็นต้นไป)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us