Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2544
Optimal Constitution             
โดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
 





Optimal Constitution แปลว่า รัฐธรรมนูญในอุตมภาวะ หมายถึง รัฐธรรมนูญที่ดีเลิศ

รัฐธรรมนูญในอุตมภาวะมีหน้าตาอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่ กับดุลพินิจของแต่ละบุคคล การออกแบบรัฐธรรมนูญในอุตมภาวะย่อมขึ้นอยู่กับภาพตลาดการเมืองที่พึงปรารถนา อยากเห็นตลาดการเมืองเป็นอย่างไร ก็ต้องร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตลาดการเมืองเป็นอย่างนั้น

วิวาทะว่าด้วยรัฐธรรมนูญในอุตมภาวะ มีมากว่าสองศตวรรษแล้ว เริ่มต้นด้วยเดวิด ฮิวม์ (David Hume) นักปราชญ์ชาวอังกฤษเสนอความเห็นในงานเขียนเรื่อง Of the Interdependency of Parliament : Essays, Moral, Political and Literary ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ.1741 ว่า ในแวดวง การเมือง มนุษย์ทุกคนต้องถือว่าเป็นผู้ไร้เกียรติ (Knave) เพราะ สัญชาตญาณมนุษย์มีความเห็นแก่ตัวและต้องการผลประโยชน์ ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) สาน ต่อความคิดของเดวิด ฮิวม์ ในประเด็นนี้ ในงานเขียนเรื่อง Considerations on Representative Government ซึ่งตี พิมพ์ใน ค.ศ.1861 มิลล์เสนอความเห็นว่า นักการเมืองในฐานะตัวแทนมีประพฤติกรรมในการใช้อำนาจเพื่อแสวงหาผล ประโยชน์ส่วนบุคคล มิลล์ยอมรับว่า ใช่ว่านักการเมืองทุกคนจะมีประพฤติกรรมเช่นนี้เหมือนกันหมด หากแต่แนวโน้มส่วน ใหญ่จะเป็นเช่นนี้ ในประวัติความคิดเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ เยฟฟรีย์ เบร็นแนน (Geoffrey Brennan) และเจมส์ บูคาแนน (James M. Buchanan) เป็นผู้สานแต่งความคิดของเดวิด ฮิวม์ และจอห์น สจ๊วต มิลล์

ด้วยเหตุที่มองว่า นักการเมืองเป็นสัตว์เศรษฐกิจ (homo economicus) รัฐธรรมนูญในอุตมภาวะจักต้องกำหนดข้อจำกัด เพื่อมิให้นักการเมืองใช้อำนาจในทางฉ้อฉล และดูดซับทรัพยากรของแผ่นดินโดยมิชอบ และต้องกำกับตรวจสอบประพฤติกรรมของนักการเมือง รวมทั้งการกำกับควบคุม และ ตรวจสอบตลาดนักการเมืองโดยส่วนรวม รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้น บนพื้นฐานของแนวความคิดดังกล่าวนี้ เรียกว่า Interventionist Constitution หรือ Regulatory Constitution

บรูโน เฟรย์ (Bruno Frey) นักเศรษฐศาสตร์ชาวสวิสเป็นผู้จุดพลุวิพากษ์แนวทางของรัฐธรรมนูญแบบ Interventionist Constitution หรือ Regulatory Constitution โดยนำเสนอแนว ความคิดว่าด้วย Crowding-out Effect กับ Crowding-in Effect

บรูโน เฟรย์ ชี้ให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญที่เน้นการกำกับควบคุม และตรวจสอบตลาดการเมือง สะท้อนให้เห็นความไม่ ศรัทธา (Distrust) ที่มีต่อประชาชน นักการเมือง พรรคการเมือง รัฐสภา และรัฐบาล ความไม่ศรัทธาและความไม่เชื่อถือดังกล่าว นี้มีผลในการทำลาย คุณธรรมของพลเมือง (Civic Virtue) เพราะมีข้อสมมติแฝงเร้นว่า สังคมไม่มีคุณธรรม สมาชิกในสังคมมิควรมีความศรัทธาและความเชื่อถือต่อผู้อื่น ประชาชน จะขาดความศรัทธาและความเชื่อถือที่มีต่อนักการเมือง พรรค การเมือง รัฐสภา และรัฐบาล ความร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหาของชาติบ้านเมืองจะมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะต่าง ไม่เชื่อถือซึ่งกันและกัน การกำกับ ตรวจสอบ และควบคุมตลาดการเมืองมากเกินไป อาจมีผลขับดันพลเมืองดีออกจากตลาดการเมือง ซึ่งบรูโน เฟรย์ เรียกว่า Crowding-out Effect

รัฐธรรมนูญที่พึงปรารถนาตามทัศนะของบรูโน เฟรย์ ควรจะมีผลในการดูดดึงพลเมืองดีเข้าสู่ตลาดการเมือง หรือที่เฟรย์เรียกว่า Crowding-in Effect ในการนี้ การออกแบบ รัฐธรรมนูญจะต้องยึดศรัทธาและความเชื่อถือ (Trust) ที่มีต่อประชาชน ทั้งในฐานะราษฎรทั้งที่มีและไม่มีสิทธิเลือกตั้ง และในฐานะนักการเมือง ถึงมนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่เห็นแก่ได้ แต่มนุษย์มิได้เป็นอัปปรียชนเสียทุกคน คำถามพื้นฐาน มิได้มีอยู่ว่า เหตุใดมนุษย์บางภาคส่วนจึงเป็นอัปปรียชน หาก แต่อยู่ที่ว่า เหตุใดมนุษย์ส่วนใหญ่จึงยังเป็นพลเมืองดี คุณธรรม ของพลเมืองดีจะได้รับการเสริมส่ง หากรัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติขึ้นบนพื้นฐานของความศรัทธาและความเชื่อถือที่มีต่อประชาชน สังคมที่ประชาชนมีความศรัทธาและความเชื่อถือซึ่งกันและกันสามารถผนึกตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยที่สมานฉันท์เกิดขึ้นได้โดยง่าย

แนวความคิดว่าด้วยรัฐธรรมนูญในอุตมภาวะมีอยู่ 2 ขั้ว ขั้วหนึ่งนำโดยเดวิด ฮิวม์ และจอห์น สจ๊วต มิลล์ เน้น การกำกับ ควบคุมและตรวจสอบตลาดการเมือง รวมทั้งการ คุมประพฤตินักการเมือง อีกขั้วหนึ่งนำโดยบรูโน เฟรย์ ซึ่งเอียงไปข้างการออกแบบรัฐธรรมนูญตามแนวทางเสรีนิยม (Liberal Constitution) บนพื้นฐานของความศรัทธาและความ เชื่อถือที่มีต่อประชาชน

รัฐธรรมนูญที่เน้นการกำกับ ควบคุม และตรวจสอบตลาดการเมืองอาจช่วยจำกัดการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนบุคคลของนักการเมืองได้ แต่อาจก่อผลเสียในการทำลายความศรัทธาและความเชื่อถือซึ่งกันและกันในสังคม และขับดันพลเมืองดีออกไปจากตลาดการเมือง นอกจากนี้ การกำกับตลาดการเมืองหามีมากเกินไป ทำให้สังคมต้องรับภาระต้นทุนทุนการกำกับโดยไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้

รัฐธรรมนูญที่ร่างบนพื้นฐานของปรัชญาเสรีนิยม แม้จะมีข้อดีในการสร้างสมศรัทธาและความเชื่อถือจนกลายเป็น ทุนทางสังคม (Social Capital) และดูดดึงพลเมืองดีเข้าสู่ตลาดการเมืองได้ แต่หากไม่มีการกำกับควบคุม และตรวจสอบตลาดการเมืองเลย ก็อาจทำให้การแข่งขันในตลาดการ เมืองขาดความเป็นธรรม และเปิดช่องให้นักการเมืองฉ้อฉลอำนาจและแสวงหาผลประโยชน์ส่วนบุคคลได้

รัฐธรรมนูญในอุตมภาวะน่าจะอยู่ระหว่างขั้วทั้งสอง ใน ด้านหนึ่งต้องร่างขึ้นบนพื้นฐานปรัชญาเสรีนิยม และศรัทธาและความเชื่อถือที่มีต่อประชาชน ในอีกด้านหนึ่งต้องกำกับ ควบคุม และตรวจสอบตลาดการเมืองในระดับที่เหมาะสม (Optimal Regulation) ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป

หมายเหตุ

1. งานของเยฟฟรีย์ เบร็นแนน และเจมส์ บูคาแนน ดู Geoffrey Brennan and james M. Buchanan, "Predictive Power and the Choice Among Regimes", The Economic Journal, Vol.93 No.359 (March 1983), pp. 89-105

2. งานของบรูโน เฟรย์ ดู Bruno S.Frey, "A Consti-tution for Knaves Crowds Out Civic Virtues", The Economic Journal, Vol. 107, No.443 (July 1997), pp.1043-1053.

3. บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญในอุตมภาวะ ดู Joao Ricard Faria, "Is There an Optimal Constitution?, Constitutional Political Economy, Vol.10, No.2 (1999), pp.177-184

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us