Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2544
กลุ่มศิลปินอีสาน-ลาว พากันฮ่วมแฮง ปั้นแต้ม             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

สมเกียรติ เจริญสุข
Art




ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน ในความหมายได้บอกอะไรหลายอย่างชัดเจน หากเปรียบเทียบกับการเดินทางของ กลุ่มศิลปินอีสานและศิลปินลาว

ยุคสมัยแห่งการหลอมรวมอารยธรรม จากฝั่งโขงสู่อีกฝั่งโขงเป็นหนึ่งเดียวความกลม กลืนผ่านวันเวลาอันยาวนานสั่งสมประสบ การณ์ด้วยจิตวิญญาณมุ่งมั่นและศรัทธาอันแรงกล้า โน้มนำวิถีชีวิตของพวกเขาผู้ใฝ่ฝันสร้างสรรค์ศิลปะ ผ่านความงามสื่อสะท้อนความนึกคิดสู่สามัญชนร่วมสมัย

ด้วยความคล้ายคลึงกันของผู้คนแถบ ลุ่มแม่น้ำโขงที่มีพรมแดนติดต่อกัน มีวิถีการ ดำเนินชีวิตร่วมกันมาช้านาน ทำให้กลุ่มศิลปินอีสานและศิลปินลาวมีแนวคิดที่จะร่วม มือกันในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน พวกเขาจึงได้ร่วมใจกันสร้างสรรค์ผลงานออกมา

"ศิลปะเป็นเรื่องสากลจึงไม่แปลกที่พวกเรานำมาเป็นสะพานเชื่อมความแน่น แฟ้นที่ดีต่อกัน ในวงการศิลปะเข้าใจและพูด กันง่ายทำให้เกิดมิติที่ดีขึ้น" อาจารย์สมเกียรติ เจริญสุข แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศิลปินกลุ่มศิลปินอีสานคนหนึ่งบอก

"ฮ่วมแฮง ปั้นแต้ม" คือชื่อนิทรรศการ ล่าสุดของกลุ่มศิลปินอีสานและศิลปินจากประเทศลาว ได้ร่วมกันนำผลงานมาแสดงให้ได้ประจักษ์ในพลังความคิด ณ สีลมแกลเลอเรีย

พวกเขาถ่ายทอดผลงานทางชั้นเชิงทางจิตรกรรมและประติมากรรม มีทั้งความงามแบบเรียบๆ แต่ไม่ไร้ชีวิต รุนแรง และขัดแย้ง ซึ่งช่วยให้ผลงานมีชีวิตชีวาดูสนุกและน่าสนใจ

"งานของพวกเรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยมีความเป็นพื้นบ้านและวัฒนธรรมแฝงอยู่ในงาน" อาจารย์สมเกียรติเล่า

ทั้งผลงานจิตรกรรมและประติมากรรมแสดงให้เห็นพลัง ในการสร้างสรรค์ของกลุ่มศิลปินทั้งสองฝั่งโขง แม้ว่าอาจจะตื่นเต้นเล็กน้อยกับนิทรรศการครั้งนี้ที่มีงานกว่า 300 ชิ้น แต่ ไม่ได้กระทบโดยตรงต่อความรู้สึกในทันทีทันใด เหมือนกับว่ากำลังยืนเผชิญหน้าอยู่กับสีสันร้อนแรงที่ปราศจากพลังดึงดูด ยิ่งเพ่งพินิจจากมุมกว้างยิ่งให้เกิดช่องว่างมากขึ้นกว่าที่จะรั้งตัวเองเข้าหาตัวของผลงาน

ผลงานแต่ละชิ้นของแต่ละศิลปินมีความน่าสนใจ ทำให้เกิดอารมณ์สนุกสนาน เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวติดตามไปกับการปะติดปะต่อ ไหวเอนไปอย่างไม่หยุดนิ่งกับท่วงที ลีลาสละสลวยเหมือนบทเพลงแผ่วเบา ร้อนแรงเหมือนพายุพัดโหมกระหน่ำ และงดงามด้วย ทำนองอันเป็นเอกเทศ

การผสมผสานอย่างลงตัวเกิดจากอิทธิพลของสื่อต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ที่ศิลปิน แต่ละคนเคยประสบมาโดยตรงแล้วนำมาสร้างงาน ซึ่งไม่ได้มาจากเรื่องราวที่ฝังใจในอดีต แต่มาจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

"พวกเราแต่ละคนไม่ได้สร้างผลงานแบบตายตัว ปีนี้อาจจะสร้างงานแนวนี้แต่ปีหน้า อาจจะเขียนไปอีกแนว หรือปีนี้เขียนรูป ปีหน้าหันมาเล่นงานปั้น ดังนั้นอิทธิพลที่มีต่อตัวศิลปินมาจากสื่อแล้วผนวกเข้ากับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเอง" อาจารย์สมเกียรติชี้

นี่คือศิลปะสมัยใหม่ตามแนวคิดของกลุ่มศิลปินอีสานที่ไม่ได้ยึดติดอยู่ที่รูปแบบของงาน แต่ขึ้นอยู่กับเทคนิค "คนส่วนใหญ่ตีความศิลปะสมัยใหม่ว่าเป็นงานแบบ abstract, modern art, realistic ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่"

หัวใจของศิลปะสมัยใหม่ ก็คือ สร้างสไตล์ใหม่ให้แตกต่างจากศิลปะในอดีต วิธีการ พูดสั้นๆ คือ ทำให้ รูปร่าง สัดส่วน สี หรือลักษณะอื่นๆ บิดเบี้ยว ต่างไปจากเดิม

ความหวัง ความใฝ่ฝันได้ปลุกให้กลุ่มศิลปินอีสานและศิลปินลาวลุกขึ้นหวนหาความรู้สึกอันหอมหวาน ที่ตกตะกอนอยู่ภายในส่วนจิตสำนึก ผลงานของพวกเขาจึงเปรียบเสมือนทางเดิน ความฝันครั้งเก่า รอยยิ้ม น้ำตา และความพยายาม

ดังนั้นจึงมิใช่เพียงแต่การสร้างสรรค์ผลงานเท่านั้น หากเป็นชีวิตของพวกเขาด้วย "ด้วยระยะเวลา สังคม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นตัวบีบทำให้งานเปลี่ยนไปด้วย" สมเกียรติบอก "ศิลปินหลายคนในกลุ่มถามตัวเองว่าทำไมเราไม่ทำงานเพื่อขายบ้าง สีไม่มีติด หลอดแล้วนะ เงินเดือนครูไม่พอยาไส้ ลูกเมียจะอยู่กันอย่างไร"

เมื่อเป็นเช่นนี้ผลงานแต่ละชิ้นจึงไม่ใช่แค่วัตถุที่ถ่ายทอดจินตนาการของพวกเขา มันเป็นเสียงแห่งความสำเร็จไปในกาลเวลา มันคือทรวดทรง รูปร่างของกระแสแห่งลมหายใจที่ดำรงอยู่ ในฐานะที่เป็นคนทำงานศิลปะของกลุ่มศิลปินอีสานและศิลปินลาว

ฮ่วมแฮง ปั้นแต้ม จึงบอกแห่งเป็นไปของชีวิตคนกลุ่มหนึ่ง ปรารถนาสร้างงานขึ้นมาเพื่อพิสูจน์ความหมายของตัวตนที่ได้ปรากฏการอยู่ในบนโลกศิลปะ

นี่คือความพยายามของกลุ่มศิลปินของสองฝั่งโขงได้หลอมหัวใจของพวกเขาเข้ากับ หัวใจของชีวิตอื่นๆ ให้ประจักษ์ถึงการยืนยันที่จะยืนหยัดแห่งความเชื่อมั่นศรัทธาแห่งตน ในการดำรงอยู่ด้วยศิลปกรรม

ความจริงการแสดงนิทรรศการครั้งนี้ หมายถึงเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต คือข้อพิสูจน์ของคนทำงานศิลปะ คือระยะทาง การเดินทาง ผ่านเหตุการณ์ทั้งยากลำบาก ตื่นเต้นด้วยจิตมุ่งมั่นและศรัทธาต่อสิ่งที่ตัวเองใฝ่ฝัน คือพลังอันวิเศษสุดหล่อเลี้ยงจิตใจ พวกเขาจึงเลือกที่จะมีอยู่จริงด้วยการผูกพันกับงานศิลปะ การมีชีวิต ของพวกเขาก็คือการสร้างสรรค์

ผลงานโดยภาพรวมจากนิทรรศการ "ฮ่วมแฮง ปั้นแต้ม" ได้ขยายขอบเขตความคิดไปในเรื่องการแสวงหาความลึกของมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม

ศิลปะอาจไม่ได้สูงส่งทรงคุณค่าไม่รู้วันเสื่อมคลาย แต่ชีวิตของกลุ่มศิลปินอีสาน และศิลปินลาวได้เสนอออกมาให้เห็นถึงความใฝ่ฝัน ความดี และความงาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us