Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2544
ธรรมศักดิ์ จิตติมาพร จากลำสาลีสู่สาทร             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.
ธรรมศักดิ์ จิตติมาพร




ไม่แปลกอะไรที่นักการตลาดชั้นนำคนหนึ่งที่อยู่ดีๆ เดินออกจากองค์กรเดิมที่กำลังเติบใหญ่สู่ความท้าทายกับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ในสภาวะเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยการแข่งขันอย่างถึงพริกถึงขิงเช่นปัจจุบัน นัก การตลาดไม่ควรที่จะตั้งเป้าหมายในชีวิตของ ตนให้ต่ำจนเกินไป แต่ต้องมีไฟปรารถนาอัน แรงกล้าที่จะพัฒนาตนเองให้เหนือผู้อื่นอยู่เสมอ

ข้อความดังกล่าวใช้ได้ดีกับนักการตลาดฝีมือดีวัย 40 ธรรมศักดิ์ จิตติมาพร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ธนาคารเอเชีย ที่เข้ามาดูแลงานด้าน Retail Banking และ Consumer Service

อะไรเป็นแรงผลักดันให้นักการตลาด มืออาชีพผู้ที่ซึ่งมีความเจริญเติบใหญ่กับองค์กรเดิมตัดสินใจเข้ามารับผิดชอบงานอัน หนักหน่วงในธนาคารเอเชีย และทำไมเขาถึงเป็นผู้ที่คณะกรรมการธนาคารไว้วางใจให้ เข้ามารับบทบาทสำคัญ ซึ่งตอนที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือก เขาต้องคิดมาก่อนว่าสามารถ ทำงานเข้ากับองค์กรภายในตึกหุ่นยนต์ได้

"คิดนานพอสมควรเพราะขณะที่ทำงานอยู่ที่ที่หนึ่งมีความก้าวหน้าดีมากและ สิ่งที่สร้างขึ้นมารวมถึงเพื่อนร่วมงานไม่มีกระทบทางลบอะไรเลย" ธรรมศักดิ์เล่าถึงขณะที่อยู่ในระหว่างการตัดสินใจ" แต่หน่วย งานที่รับผิดชอบก็แข็งแกร่งและเดินไปได้โดย ที่ไม่มีเรา ดังนั้นถ้าไปแล้วจะมีคนเก่งเกิดขึ้น อีกหลายคน"

นี่เป็นความคิดช่วงแรกที่มีผลต่อการตัดสินใจสำคัญครั้งหนึ่งในชีวิตการทำงานของธรรมศักดิ์ แต่เขาต้องคิดต่อไปว่าหากมา อยู่ที่ธนาคารเอเชียจะทำงานได้หรือไม่

"แรกๆ เข้าไปทดลองใช้บริการสาขา ธนาคาร พูดคุยกับพนักงานเพื่อดูถึงวิธีการแก้ปัญหาและยังสอบถามลูกค้าคนอื่นอีกด้วย"

อีกทั้งยังไปใช้บริการสาขาของธนาคารอื่นๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกันดูว่าธนาคารที่เข้าไปทำงานด้วยเป็นองค์กรที่จะอยู่ได้หรือไม่ "ถึงตรงนี้มั่นใจว่าเราทำงานได้ และมีบางอย่างที่น่าจะช่วยเหลือด้านการทำงานและมีหลายอย่างที่พยายามค้นหา"

จากกระบวนการเหล่านี้ ธรรมศักดิ์ต้องตัดสินใจขั้นสุดท้ายด้วยการปรึกษาภรรยาและลูกชาย ซึ่งทั้งหมดสนับสนุนให้ผู้นำครอบครัวไปหาความท้าทายและสิ่งที่เขา บอกว่ากำลังค้นหา

"ไม่ห่วงเรื่องการทำงานอยู่ที่การปรับ ตัวเข้ากับองค์กรใหม่ได้รวดเร็วขนาดไหน"

ธรรมศักดิ์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการบัญชีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาวิชาการเงินที่ The University of Akon, Ohio สหรัฐอเมริกา

กลับมาเมืองไทยเข้าร่วมงานกับ บงล. สหธนกิจไทยในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ ในปี 2528 และในปี 2531 ย้ายมาทำงานให้กับลีเวอร์บราเธอร์ ประเทศไทย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นยูนิลีเวอร์) ในตำแหน่งนักบริหารบัญชี

อีก 4 ปีถัดมาถูกโปรโมตให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย จนกระทั่งในปี 2538 ลาออกเพื่อไปรับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป บริษัท กรีนสปอต ประเทศไทย

มีคำถามตามมาว่าในฐานะนักการตลาดที่มีประสบการณ์ในธุรกิจภาคเอกชนจะสามารถดูแลงานในภาคธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้หรือไม่ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของธนาคารไม่มีตัวตน ซึ่งต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมองเห็นวิวัฒนาการทางการตลาดและมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับโอกาสที่จะพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง

"ถ้าใครรู้จักวัฒนธรรมการขายสินค้า อยู่องค์กรไหนก็เหมือนกัน เพียงแต่ว่าระดับการเข้าถึงลูกค้ามีมากแค่ไหน กับเรื่องทางเทคนิคที่เป็นเนื้อหาสาระของสินค้ามีความแตกต่างกันออกไป" ธรรมศักดิ์บอก

ขณะเดียวกันหากพิจารณาในเชิงศักยภาพของการบริหารไม่มีความแตกต่างกันมากนัก อีกทั้งเขาเข้ามาในฐานะผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ส่วนใหญ่จะดูแลงาน การบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายกับการบริหารงานบุคคล แล้วนำเอาความเชี่ยวชาญ การบริหารมาใส่กับทีมขายให้มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น

จึงดูเหมือนมีความคล้ายคลึงกันโดยเฉพาะธนาคารเอเชียให้ความสำคัญทางด้าน ช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้น ซึ่งในอดีตงานที่ธรรมศักดิ์ปฏิบัติอยู่นั้นส่วนใหญ่ให้เวลา กับการตลาดตัว P ตัวที่ 3 นั่นคือ Place

สมัยอยู่กับยูนิลีเวอร์เป็นผู้หนึ่งที่เข้า ไปปฏิวัติระบบการขายด้วยการสร้างระบบใหม่ที่เรียกว่า concessionair และได้ปรับวิธีการแบบ inactive ให้เป็น active distributor

"เป็นการพัฒนาระบบโครงสร้างการจัดจำหน่ายของยูนิลีเวอร์จากหน้ามือเป็นหลังมือ คิดว่านี่เป็นการปฏิวัติการจัดจำหน่าย ระบบ consumer product ในปัจจุบัน"

ที่กรีนสปอตเข้าไปเพื่อทำให้ระบบการจัดจำหน่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่อง จากที่นี่มีลูกค้ามากมายและยังแบ่งออกเป็น การขายแบบ modern trade และ traditional trade โดยรูปแบบแรกบริษัทให้ดีทแฮล์มเป็น ผู้จัดจำหน่าย ต่อมาพยายามสร้างทีมขายขึ้น มาเองส่วนรูปแบบหลังพัฒนาระบบเอเย่นต์ให้มีความทันสมัยขึ้นโดยมีทีมงานเข้าไปดูแลด้วยตนเอง

"เข้าไปจัดระบบให้กรีนสปอตและสร้างความเชี่ยวชาญทีมขายให้ทำงานในหลายรูปแบบได้"

แม้ว่าในอดีตธรรมศักดิ์จะประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่เขายังต้องพิสูจน์ฝีมือในธนาคารเอเชียอยู่ดีหากมองถึงช่องทางการจัดจำหน่าย เนื่องจากธนาคารมีสาขา 118 ทั่วประเทศ มีช่องทางการตลาดในรูปแบบ tele banking, direct sale, cyber banking, mobile banking หรือ direct mail

"ด้วยความสามารถตนเองน่าจะนำมาใช้ในการพัฒนาตรงนี้ได้และเรามีแนวคิด การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายให้กว้างขึ้น" เขาบอก "วัฒนธรรมที่นี่พยายามมองปัญหาในอีกด้านหนึ่งไม่ได้มองปัญหาที่เป็นรูปแบบเดิมๆ และเทคโนโลยีมีความสำคัญและเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการทำธุรกิจนี้"

อย่างไรก็ดีเขายังไม่ลืมความสำคัญของสาขาที่ต้องใช้บุคลากร โดยโจทย์หลัก คือ ทำอย่างไรให้พวกเขามองหรือคิดไปในทางเดียวกัน "เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ความ คิดไม่หลุดออกนอกกรอบ ผลที่ตามทำให้ลูกค้าเห็นว่ามีความปลอดภัยและรวดเร็ว โดยมีพนักงานเป็นตัวขับเคลื่อน"

อีกทั้งเขายังเข้ามาอุดช่องโหว่ช่องทางการจัดจำหน่ายของธนาคารซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับการแข่งขันยุคปัจจุบัน วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดหากใช้ทางการตลาดเข้ามา คือ ต้องทำให้สินค้าเกิดความแข็งแกร่งและเป็นที่เข้าใจของผู้บริโภค

"จุดเด่นของธนาคารเอเชีย คือ เป็นธนาคารขนาดกลางซึ่งเข้าใจธุรกิจขนาดกลาง ได้ดีกว่าธนาคารขนาดใหญ่ ต้องทำให้ลูกค้า รายย่อยเข้ามาใช้บริการกับเราได้มากขึ้นและใช้จนกระทั่งติดเหมือนเราเป็นสินค้ายี่ห้อหนึ่งไปตลอดและต่อเนื่อง"

จากบุคลิกส่วนตัวของธรรมศักดิ์ที่มีความกระตือรือร้นส่งผลให้เกิดความมั่นใจอาชีพเก่าในองค์กรใหม่ ถึงแม้โจทย์ค่อนข้าง ยากเพราะกำลังสร้างช่องทางการตลาดที่ลูกค้าความรู้สึกและอารมณ์เป็นตัวตัดสิน ดังนั้นเขาต้องนำความรู้เชิงจิตวิทยาเข้ามาเสริมด้วย

วันที่เดินเข้าสู่องค์กรใหม่ธรรมศักดิ์ถูกตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับการตัดสินใจครั้งนี้เมื่อเขาได้ฟังเกิดความรู้สึกว่าเป็นคำถามของคนวงการธนาคาร

ถึงเวลาแล้วที่ธรรมศักดิ์ต้องหา คำตอบแม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่ต้องการก็ตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us