"การลงทุนของทีเอ นับจากนี้จะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ โดยเฉพาะโทรศัพท์พื้นฐาน
เพราะเป็นช่วงของการ transfor-mation ของธุรกิจ ที่จะไม่ได้พูดถึงแค่โทรศัพท์พื้นฐานอีกต่อไป"
ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเทเลคอม เอเซีย คอร์ปอเรชั่น
จำกัด กล่าวในงานแถลง ครบรอบ 10 ปีของทีเอ
ครบรอบ 10 ปีของเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น หรือ ทีเอ ไม่ได้เป็นเพียงแค่การ
จัดโปรโมชั่นแจกเครื่อง "พีซีที" ให้กับผู้ใช้เลขหมายโทรศัพท์ของทีเอไปใช้ฟรี
ที่ถือเป็น การตอบแทนลูกค้าที่มีความหมายในเชิงกลยุทธ์การตลาดของพีซีทีเท่านั้น
แต่จะเป็นช่วงเวลา 10 ปี ที่มีความหมายสำหรับก้าวต่อไปของทีเอ ที่จำเป็นต้อง
เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากโครงข่ายโทรศัพท์ พื้นฐาน ในการพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ๆ
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง
"ตัวที่จะมากำหนดความต้องการของ ลูกค้า ไม่ใช่เทคโนโลยีอีกต่อไป"
ศุภชัยบอก
ตามความหมายของเขา ก็คือ การสร้างโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานที่ต้องเพิ่มขีดความสามารถของบริการ
บริการบรอดแบนด์ บริการพีซีที บริการคลิกทีเอ บริการสื่อสัญญาณความเร็วสูง
ในรูปแบบของเคเบิลโมเด็ม หรือบริการ ADSL รวมทั้งการมีโทรศัพท์มือถือเท่านั้น
เป็นเพียงแค่การวางรากฐานของธุรกิจในช่วงแรกเท่านั้น
สิ่งที่ทีเอต้องทำมากกว่านั้นก็คือ การ ทำให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากโครงข่าย
เหล่านี้ได้จริง ใช้เงินลงทุนไปนับหมื่นล้านบาทจะไม่เกิดมูลค่าทางธุรกิจ
หากผู้ใช้บริการ ไม่สามารถรับรู้ได้ว่า พวกเขาจะใช้ประโยชน์ ที่จะนำมาใช้กับชีวิตประจำวัน
หรือการ ทำงานได้มากกว่าการเป็นแค่โทรศัพท์ที่ไว้โทรเข้าออก
"ผู้ใช้บริการจะไม่เห็นถึงคุณประโยชน์จากประสิทธิภาพของเครือข่ายเหล่านี้ได้เลย
หากเขาไม่สามารถได้สัมผัสกับสิ่งที่เขาจะใช้ประโยชน์ได้จริง" ศุภชัยบอก
เป้าหมายของทีเอนับจากนี้ จึงอยู่ที่ การสร้างเนื้อหา (content) รวมทั้งแอพพลิเคชั่นในรูปแบบต่างๆ
เพื่อให้เกิดมูลค่าที่แท้จริงของการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเหล่านี้ ศุภชัยเรียกการลงทุนในช่วงหลังจากนี้ว่าเป็น
the next value chain
การเป็นแกนนำในการจัดตั้งบริษัทพันธวณิช เพื่อสร้างระบบ e-procurement
การตลาดการค้าอิเล็กทริกส์ หรือการทำโครงการ Multi Access portal หรือ MAP
ที่เป็นการสร้างมาตรฐานในการเข้าถึงข้อมูลใน อินเทอร์เน็ตจากอุปกรณ์เครื่องลูกข่ายที่มีความแตกต่างในเรื่องของการเข้าถึงข้อมูล
ก็คือ ส่วนหนึ่งของการสร้าง the next value chain
ทีเอ ก็เหมือนกับธุรกิจโทรคมนาคมรายอื่นๆ ที่ต้องปรับตัวให้ทันกับสภาพแวด
ล้อมของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป พัฒนาการ เทคโนโลยี การผสมผสานระหว่างไอที
โทร คมนาคม บรอดคาสติ้ง อินเทอร์เน็ต จำเป็น ที่ผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องเปิดพรมแดนธุรกิจไปสู่พื้นที่ใหม่
ที่ไม่ได้หมายถึงการเป็น ผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์มือถือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
แต่จำเป็นต้องประยุกต์ขีดความสามารถของเครือข่ายเหล่า นี้ให้เกิดขึ้นได้จริง
แน่นอนว่า การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จำเป็นต้องเริ่มจากภายในองค์กรของทีเอก่อน
เป็นลำดับแรก เพราะการดำเนินงานของทีเอ ต่อจากนี้จะไม่ใช่แค่การบริหารชุมสายโทรศัพท์ให้ลูกค้าสามารถโทรศัพท์เข้าออกได้
โดยไม่มีปัญหาเท่านั้น แต่จำเป็นต้อง เรียนรู้กับการที่จะนำแอพพลิเคชั่นต่างๆ
มา ประยุกต์กับการทำงาน
แผนก customer service human resource แผนกสั่งซื้อจำเป็นต้องเรียนรู้การทำงานของระบบ
supply chain manage- ment รวมทั้งการเอาซอฟต์แวร์ชั้นนำมาช่วย ในการบริหารจัดการ
เพราะนี่คือการสร้างพื้นฐานของการ นำเอา content หรือแอพพลิเคชั่นมาประยุกต์
ใช้และก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการในลักษณะ Application service provider
ภายใต้ความนิยมของการเป็น the next value chain ที่ต้องดำเนินไปอย่างเข้มข้นนับจากนี้