Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2544
เอ็นเตอร์เทนเมนต์บวกไอที             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
search resources

logon asia
จอห์น รัตนเวโรจน์




เขาจัดได้ว่าเป็นคนในแวดวงบันเทิงไม่กี่คนที่เข้ามาคลุกคลีอยู่กับธุรกิจอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ยุคเริ่มแรก และกำลังได้โอกาสใหม่อีกครั้ง แม้ว่าจะมาอยู่ในยุคตกต่ำของธุรกิจ ดอทคอมแล้วก็ตาม

จอห์น รัตนเวโรจน์ อดีตนักร้องวงนูโว เข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตครั้งแรกเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ด้วยการเป็นตัวแทนให้กับบริษัทเคเอสซี อินเทอร์เน็ตในการทำตลาดให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ลูกค้าในภาคตะวันออก ควบคู่ไปกับการผลิตรายการไออีโชว์ รายการทีวีด้านไอที ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

การกระโดดเข้าสู่ธุรกิจการเป็นผู้ผลิต รายการด้านไอทีวีในยุคนั้น ในแง่ของรายได้ แล้วนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ท้าทาย เนื่องจากรายการด้านไอทียังเป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทยเวลานั้น รายได้ที่เกิดจากยอดโฆษณาจึง น้อยมาก แต่จอห์นพบว่าเมื่อมีวิกฤติย่อมหมายถึงโอกาส

หลังจากเรียนรู้การผ่อนหนักเบา ปรับปรุงรายการให้เป็นรูปแบบของเทคโนบันเทิง ที่มีเนื้อหาของเทคโนโลยีผสานกับความบันเทิง จนกระทั่งชื่อเสียงเริ่มเป็นที่รู้จัก โอกาสของเขาก็เปิดกว้างมากขึ้น เมื่อจอห์นได้รับเลือกจากบริษัทเอดีเวนเจอร์เครือชินคอร์ปอเรชั่น ในการจัดทำเว็บไซต์ไออีโชว์ดอทคอม

แต่ยังไม่ทันที่เว็บไซต์ดังกล่าวผ่านบท ทดสอบในเรื่องความสำเร็จ ก็ต้องยุติลงกลาง คัน เมื่อเอดีเวนเจอร์เบนเข็มเปลี่ยนจากการ ลงทุนในเว็บไซต์ต่างๆ และหันไปทำธุรกิจ อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ (ไอดีซี) แทน

หลังแยกทางกับเอดีเวนเจอร์ จอห์นได้รับการติดต่อจากผู้ลงทุนใหม่ คือ บริษัทโมโน เจนเนอเรชั่น ที่มีพิชญ์ โพธารามิก เจ้า ของบริษัทจัสมินไซเบอร์เวิร์ค และ ดร.โสรัจน์ เสนอเข้ามาเป็นผู้ลงทุน เส้นทางธุรกิจของจอห์นและทีมงานก็เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งภายใต้ชื่อบริษัทล็อกออนเอเซีย

เป้าหมายของพวกเขา คือ การเชื่อมโยงเอาประสบการณ์เดิมในธุรกิจบันเทิงมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่ที่มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวขับเคลื่อน

ธุรกิจในเฟสแรกของเขาคือ การเริ่มจากการได้รับมอบหมายจากสถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 ให้ผลิตรายการ "ล็อกออนกับจอห์น" เป็นรายการทีวีที่นำเสนอความรู้ทางด้านไอที ที่พวกเขาพยายามสร้างความแตกต่างไปจาก รายการไออีโชว์ ทั้งด้านรูปแบบรายการและ ช่วงเวลาของการนำเสนอจะอยู่ในช่วงของ "รายการข่าว" ที่จะแพร่ภาพทางสถานี โทรทัศน์ช่อง 5

แม้ว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การพึ่งพาแต่เพียงธุรกิจอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ยังเป็นไปไม่ได้ จำเป็นต้องมีสื่อเก่า อย่างสื่อทีวีมาเป็นตัวทำรายได้ ที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการสร้างธุรกิจแนวใหม่ ที่เป็นการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ ในแง่ของการเป็น "เครื่องมือ" ที่ไม่ใช่การหารายได้จากโฆษณา บนเว็บไซต์

"เราเป็นบริษัททำเว็บไซต์ ไม่ใช่บริษัท ทีวี" คำยืนยันของจอห์น เป้าหมายของพวกเขาคือการสร้าง Platform เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเปิดรับความคิดเห็นจากผู้ชม ผ่านทางสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ และ โทรศัพท์

การสร้างเว็บไซต์ของล็อกออนเอเซีย จึงเป็นการใช้ความสามารถของเว็บไซต์ให้เป็นเครื่องมือ หรือสื่อกลางในการเปิดรับความคิดเห็นจากผู้ชมรายการที่มีต่อรายการโทรทัศน์ เช่นเดียวกับการเปิดรับความคิดเห็น จากผู้ชมทางโทรศัพท์ หรือแฟกซ์ เพื่อที่ผู้ผลิต รายการโทรทัศน์เหล่านั้นจะสามารถนำข้อมูล ไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ

"ผมเป็นคนริเริ่มอะไรก่อนเสมอ" จอห์นเชื่อว่า วิธีการนี้จะทำให้ผู้ผลิตรายการ โทรทัศน์ โดยเฉพาะผู้ผลิตรายการรายย่อยต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากข้อมูลทางตรง ที่ได้รับผู้ชมรายการเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทางการตลาด หรือแม้แต่การปรับปรุงรายการ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบริษัทจัดเรตติ้งคนดู เพียงอย่างเดียว

รายการ "ล็อกออนกับจอห์น" และรายการ "เลิฟเซ็กส์ออนดรัก" ซึ่งจะออนแอร์ ในเร็วๆ นี้ โดยจะเป็น 2 รายการที่จะทดลอง ใช้ platform ดังกล่าว ก่อนจะเปิดให้บริการแก่ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์อื่นๆ ต่อไป

นอกเหนือจากออนไลน์มาร์เก็ตติ้งในรูปแบบดังกล่าวแล้ว สิ่งที่พวกเขาจะต้องทำคู่ขนานกันไป ก็คือ การทำ offline mar-keting ที่จะครอบคลุมตั้งแต่การจัดโรดโชว์ การจัดฟอรั่ม ตู้คีออส การออกแบบสำรวจข้อมูลให้กับผู้ผลิตรายการนำไปใช้ประโยชน์ ในการกำหนดแนวทางตลาดให้กับผู้ผลิตรายการ

ในแง่มุมของล็อกออนเอเซีย platform ทางการตลาดเหล่านี้ จะเป็นตัวที่ขับเคลื่อนต่อไปในอนาคต เพราะการผลิตรายการโทรทัศน์เป็นธุรกิจที่ไม่แน่นอน อาจมีการเปลี่ยนแปลง หรือไม่ได้รับการต่อสัญญา

จอห์นเชื่อว่า หากโมเดลนี้สำเร็จในไทย จะนำเอา platform ขยายไปยังประเทศ อื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียในรูปแบบธุรกิจเดียวกัน

ตราบใดที่ยังไม่มีสูตรที่ตายตัวสำหรับธุรกิจอินเทอร์เน็ต ก็ไม่จำเป็นที่พวกเขาจะต้องจำกัดขอบเขตธุรกิจของตัวเอง แผนธุรกิจของล็อกออนเอเซีย จึงถูกวางไว้สำหรับพื้นที่ธุรกิจใหม่ๆ เช่น กรณีของโครง การ "เทคโนบัส" เป็นโครงการที่จะเสนอให้กับหน่วยงานของภาครัฐ เพื่ออาศัยงบประมาณของราชการมาใช้ในการทำ รถบัสที่จะบรรจุอุปกรณ์ไอทีที่จะไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เด็กๆ มีโอกาสได้ใช้อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง

ถึงแม้ว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาจะทำให้จอห์นรู้ดีว่า เขามักเป็นคนที่ทำอะไร ก่อนเวลาเสมอ เช่น ไออีไซเบอร์เรดิโอ รายการวิทยุด้านอินเทอร์เน็ต ที่ยังต้องอาศัย เวลาไปอีกพักใหญ่ แต่เป็นหนึ่งในธุรกิจเป้าหมายของพวกเขา

"จิตใต้สำนึกของเราคือ จะทำอะไรก่อน จากนั้นเราจะเริ่มขยาย และ plug in ธุรกิจเข้าไป" จอห์นบอก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us