Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2544
sms เรื่องเล่นๆ ที่เป็นเงิน             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
www resources

โฮมเพจ สยามทูยู

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
SMS




ใครจะคาดคิดว่าบริการส่งข้อความสั้นๆ ทางโทรศัพท์มือถือ จะกลายมาเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้กับผู้ให้บริการมากกว่า 1,700 ล้านบาทต่อปี และยังเปิดโอกาสให้กับผู้ต้องการหารายได้จากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ

เมื่อตอนที่สุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายบริการเสริม บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และทีมงาน ไปดูงานในต่างประเทศที่จัดเกี่ยวกับ content ที่ใช้กับบริการโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบ wap แต่เขากลับพบว่า content ที่อยู่บน sms (stort message system) กลับมีมากมาย "ผมรู้ทันที ว่า sms กำลังบูม" สุวิทย์บอก

หลังบินกลับมาเมืองไทย พวกเขา เริ่มต้นศึกษาบริการ sms อย่างจริงจัง โดยเริ่มกิจกรรมแรกด้วยการจัดโปรโมชั่นให้มีการส่งข้อความ sms "บอกความรู้สึก" ในราคาข้อความละ 2 บาท

ผลจากโปรโมชั่นที่มีต่อเนื่องบวกกับ การออกแบบให้มีการใช้งานง่ายขึ้น อีกทั้งกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น คนทำงานใหม่ ใช้ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น ส่งผลให้การส่งข้อความ ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเมืองไทยเริ่มเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

บริการส่งข้อความทางโทรศัพท์ หรือ sms เป็นมาตรฐานของบริการที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับระบบจีเอสเอ็ม เริ่มเป็นที่นิยมจากผู้ใช้ทั่วโลกในช่วง 2-3 ปีมานี้ โมโตโรล่า ระบุว่า ในปี 2542 มีการรับส่ง sms ทั่วโลก 5,400 ล้านข้อความต่อเดือน

ฟิลิปปินส์ ประเทศเดียวมียอด ใช้บริการมากกว่า 800 ล้าน message ต่อวันหรือทำรายได้ 2.4 พันล้านบาท คาดกันว่า ในปี 2547 จะมีจำนวนข้อความ sms ทั่วโลก 82,000 ข้อความ

สำหรับในไทยแผ่ขยายเข้ามาเป็นที่นิยมแก่ผู้บริโภคตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ยอด ผู้ใช้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในเดือนกันยายนปีนี้ เอไอเอสมียอดผู้ใช้บริการ sms 8-9 แสนคน และมีข้อความที่ถูกส่ง 12 ล้านข้อความต่อเดือน

"บริการ sms มีเสน่ห์ในตัวเอง" สุวิทย์ เชื่อว่า การที่ผู้ใช้จะสามารถ "เก็บข้อความ" บางอย่างที่สามารถสะท้อนความรู้สึกของพวก เขาไปยังผู้รับสาย แทนที่จะสื่อทาง "เสียง" ซึ่งไม่สามารถเก็บข้อความบางอย่างเอาไว้ได้

กลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงอายุ 18-29 ปี กลุ่มคนเหล่านี้จะมีความรู้ภาษาอังกฤษ และพวกเขามีวิธีการส่งข้อความเป็น ของตัวเอง

วิวัฒนาการของบริการ sms ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงแค่การส่งข้อความเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถส่งรูป ภาพการ์ตูนสวยๆ หรือ โลโกที่แปลกตา ไปให้คู่สนทนา ที่ช่วยเพิ่มสีสันให้กับหน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่การดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์ที่กลายเป็นทำนอง เพลงที่หลากหลาย ตามรสนิยมของผู้ใช้แต่ ละราย แทนที่จะเป็นเสียงเรียกเข้าแบบธรรมดาๆ

ลูกเล่นของบริการที่เกิดขึ้นจากขีดความสามารถของบริการ sms ที่เพิ่มขึ้น เหล่านี้เอง ได้กลายเป็นโอกาสให้กับธุรกิจของ บรรดาเจ้าของเนื้อหา content ต่างๆ ที่เริ่มมองเห็นโอกาสจากการแสวงหารายได้จากธุรกิจโทรศัพท์มือถือ จากการเป็นผู้พัฒนา เกม หมอดู โลโก

ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงผู้ให้บริการ หรือโอเปอเรเตอร์เท่านั้น แต่จะเปิดกว้างสำหรับผู้ให้บริการด้าน เนื้อหาต่างๆ ที่เข้ามาเป็นส่วนร่วม

ก่อนหน้านี้ บรรดาเจ้าของเนื้อหา (content) จะเริ่มมองเห็นความสำคัญของการเติบโตของโทรศัพท์มือถือ และวิวัฒนา การของเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยหันมาพัฒนาเนื้อหาให้รองรับกับการมาของเทคโนโลยี wap มาพักใหญ่แล้วก็ตาม

แต่จำนวนผู้ใช้บริการ wap ที่จำกัดอยู่เพียงแค่ 20,000 ราย ทำให้ wap ไม่เป็นที่ สนใจ โอกาสทำรายได้จากผู้ใช้บริการมีอยู่น้อยนิดจนแทบไม่มี ก็ยิ่งทำให้บริการ wap ขาดเนื้อหาที่จะมาดึงดูดผู้บริโภค เพราะพวก เขายังมองเห็นข้อจำกัดเช่นในเรื่องของความ เร็วในการส่งข้อความ ความซับซ้อนในการใช้บริการ

แตกต่างไปจากกรณีของบริการ sms ถึงแม้ว่า sms จะเป็นเทคโนโลยีเก่าที่ล้าหลัง ระบบ wap เพราะเกิดขึ้นมาพร้อมกับระบบ GSM แต่ในทางกลับกัน เวลาที่ทอดนานออก ไป ทำให้ sms กลายเป็นระบบมาตรฐานที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือทุกรุ่น ที่จะหยิบขึ้นมาใช้งานได้ทันที และหลายรายได้ให้ความสำคัญหันมาพัฒนาให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น

กรณีของบริษัทแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทน เม้นท์ ค่ายเพลงที่หันมาร่วมมือกับผู้ให้บริการ โทรศัพท์มือถือ ทั้งดีแทค และเอไอเอส เพื่อเปิดให้บริการดาวน์โหลดเพลง ring tone อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งเป็นการให้บริการผ่านระบบ sms คิดค่าบริการเพลงละ 10 บาท เป็น สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการเป็น content provider ที่สามารถเกิดขึ้นได้จริง

"การกระโดดเข้าสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยที่ตลาดยังไม่พร้อม เครื่องลูกข่ายยังมีไม่มาก ก็ไม่ใช่คำตอบเสมอไป" ธนา เธียรอัจฉริยะ ผู้อำนวยการพัฒนาธุรกิจ Conver-gence Group บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอม มูนิเคชั่น หรือแทค ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ

ในขณะที่บริการโมบายอินเทอร์เน็ต ที่ใช้เทคโนโลยี wap ยังมียอดผู้ใช้บริการอยู่เพียงแค่ 30,000 ราย แต่อัตราการเติบโตของ บริการ sms ของดีแทค เพิ่มขึ้นจากวันละ 50,000-60,000 ข้อความ เพิ่มเป็น 3 แสนข้อความต่อวัน ทำให้เขามีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทต่อเดือน

และนี่ก็คือ เหตุผลที่ทำให้ดีแทคไม่รีบร้อนเปิดตัวบริการ GPRS แม้ว่าคู่แข่งอย่างเอไอเอสจะเปิดตัวไปแล้ว แต่พวกเขากลับเลือกที่จะเปิดตัวบริการดาวน์โหลด ring tone บนระบบ sms ซึ่งเป็นการร่วมมือกับแกรมมี่

ในแง่มุมของผู้ให้บริการเอง ก็จำเป็น ที่จะต้องพึ่งพาบรรดาเจ้าของ content หรือ service provider เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผู้ใช้บริการ เป็นสิ่งที่พวกเขาไม่อาจปฏิเสธได้

"ผมอยากให้เอไอเอสเป็นพลาซ่า เป็นที่สำหรับทุกคนจะมาเปิดร้านในนี้ ใครมี content ก็เข้ามาขายได้" คำกล่าวของสุวิทย์ ที่บอกถึงเจตนารมณ์ในการร่วมมือกับบรรดา content provider และ service provider ที่สนใจจะเข้ามาเป็นพันธมิตรในการพัฒนาเนื้อหา

แน่นอนแรงผลักดันของผู้ให้บริการ อยู่ที่ความต้องการให้มีเนื้อหาที่หลากหลาย และโดนใจผู้บริโภคมากที่สุดที่จะมาใช้บริการ เสริมบนเครือข่าย สิ่งที่ผู้ให้บริการจะได้รับก็คือ รายได้จากบริการเสริม หรืออย่างน้อยก็เป็นการวางรากฐานการเรียนรู้ของการสื่อสาร "ข้อมูล" ให้กับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ

"อย่างเล่นเกมบนมือถือ ถ้าเขาใช้ sms ไม่เป็น ต่อไปถ้าเราเล่นเกมก็ได้ อีกหน่อยแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ"

สิ่งที่พวกเขาต้องทำคือ ต้องการสร้าง แรงจูงใจให้กับผู้พัฒนาเนื้อหาให้มากที่สุด และยอมตัดทิ้งเงื่อนไขหรือข้อกำหนดที่เป็นอุปสรรคของผู้พัฒนาเนื้อหา

เป้าหมายของเอไอเอส จึงอยู่ที่การทำตัวเป็นผู้ป้อน network ให้กับบรรดาเจ้า ของ content ที่จะเข้ามาใช้เครือข่ายเหล่านี้ในการนำเนื้อหา หรือบริการไปถึงมือผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ

"เครือข่ายที่ให้บริการเราก็มี ระบบบิลลิ่งเราก็มีพร้อม ทุกเดือนเราก็มีบิลไปเก็บ ค่าบริการให้ จากนั้นเราก็มาแบ่งรายได้กัน"

สุวิทย์เชื่อว่านี่คือโอกาสที่ดีของ content provider เพราะพวกเขาไม่จำเป็นต้องใช้เม็ดเงินมากมาย การสร้างบริการสลับ ซับซ้อนมีเพียงแค่เครื่อง server บวกกับความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ก็สามารถทำรายได้จากเครือข่ายธุรกิจเหล่านี้

ปัจจุบัน เอไอเอสพันธมิตรที่มาช่วยพัฒนาเนื้อหา ทั้งในส่วนที่เรียกว่า content provider และ service provider ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการจากฝั่งไทย และต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบริการ sms2you ของบริษัทสยามทูยู การเปิดบริการ sms ของเอ็มเว็บ หรือค่ายชินนี่ ยังรวมไปถึงบริการ ring tone ของค่ายเพลงอย่างวอร์เนอร์มิวสิค กระบือ แอนด์ โค รวมทั้ง บีอีซีเทโร

นั่นหมายความว่า สิ่งที่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือจะได้สัมผัสกับบริการในรูปแบบต่างๆ ดาวน์โหลดตัวการ์ตูนชินจัง ซาริโอ เฮลโลคิทตี้ ทำนายดวงชะตา เกม แม้กระทั่งภาพเคลื่อนไหวต่างๆ จะเริ่มทยอยออกสู่ตลาด

ปรากฏการณ์เช่นนี้หลายคนเชื่อว่า โทรศัพท์มือถือของเมืองไทยกำลังพัฒนาไปใกล้กับบริการโทรศัพท์ imode ของญี่ปุ่น ที่ประสบผลสำเร็จจากการเปิดให้มี content provider มากมาย เข้ามาเป็นผู้ป้อนเนื้อหา

content provider ในความหมายของ เอไอเอส จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้ที่มี content ในมือเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับ "ไอเดีย" หรือความคิดสร้างสรรค์

เขายกตัวอย่างกรณีของเว็บไซต์ idirex.com ที่ซื้อเหมาลูกค้าที่บริการ sms เพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้าประเภทองค์กรธุรกิจที่ต้องการเผยแพร่ หรือประชาสัมพันธ์ สินค้า หรือบริการในช่วงโปรโมชั่นให้กับลูกค้า ที่สนใจจะซื้อสินค้า และต้องการให้ idirex เผย แพร่ข้อมูลสินค้าและบริการเหล่านี้ให้

"กรณีเช่นนี้เว็บไซต์ idirex เขาก็จะการันตีกับเราว่าเขาจะส่งเดือนละไม่ต่ำกว่า 10,000 เลขหมาย ทางเอไอเอสจะคิดข้อความ ละ 1 บาทต่อลูกค้า 1 ราย"

หรืออย่างกรณีของต่างประเทศที่ให้บริการซื้อเหมา sms ของผู้ใช้บริการโทรศัพท์ มือถือ เพื่อไปให้บริการแก่สายการบินในการ ยืนยันการบิน หรือยกเลิกโปรแกรมการบินให้กับลูกค้า

"จะมี business model ใหม่ๆ เกิดขึ้น มากมายในธุรกิจนี้" สุวิทย์บอก "ขึ้นอยู่กับว่า เขาจะมีวิธีคิด หรือการทำธุรกิจอย่างไรเท่า นั้น" สุวิทย์บอก

ตัวเลขรายได้ของบริการเสริม ในส่วน ที่เป็น non voice sevice ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวด เร็วจากรายได้ที่ทำได้ 740 ล้านบาท ในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,700 ล้านบาทในปีนี้ เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่จะผลักดันให้เกิด โมเดลธุรกิจที่เป็นการร่วมมือระหว่างเจ้าของ เนื้อหา และผู้ให้บริการ

ถึงแม้ว่ารายได้ 75% ยังคงเป็นรายได้ ที่มาจากบริการออดิ โอเท็กซ์หรือ voice mail box ก็ตาม แต่เอไอเอสเชื่อว่า รายได้จากส่วน ที่มาจากบริการ sms โมบายออฟฟิศและ wap จะเพิ่มจาก 25% เป็น 50% ในเวลาไม่นาน แต่ ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้เอไอเอส ไม่สามารถมองข้ามได้

หน้าที่ของสุวิทย์และทีมงานของเอไอ เอสก็คือ การเพิ่มความถี่ในการใช้งาน "ไม่ต่างไปจากแชมพูสระผม" ยิ่งถ้ามีการออกบริการเสริมใหม่ๆ หรือ content ผู้ใช้บริการ ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยและนี่ก็คือโอกาสของบรรดาเจ้าของเนื้อหา หรือเจ้าของไอเดียใหม่ ที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ

"ถ้ามีผู้ใช้บริการแค่คนละครั้ง จากจำนวนลูกค้ามือถือ 50% จากลูกค้าทั้งหมด 4 ล้านราย เอาแค่ call ละ 10 บาท 2 ล้านคนก็ได้เงินแล้ว 20 ล้านบาท" นี่คือบางส่วนที่สุวิทย์สะท้อนให้เห็น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us