Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543
จากวันนั้นสู่วันนี้ของสยามสปอร์ต             
 

   
related stories

สยามสปอร์ต ตักศิลานักข่าวกีฬาไทย
พงษ์ศักดิ์ ผลอนันต์
ยูโร 2000 กับสยามสปอร์ต

   
search resources

สยามสปอร์ต ซินดิเคท, บมจ.




ปฐมบทของตำนาน

หากมองย้อนกลับไปในช่วงปี 2517-2518 อาณาจักรสยามสปอร์ต ที่อลังการในปัจจุบัน ยังมีฐานะเป็นเพียงห้องแถวขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ แถวถนนเพชรบุรี แต่กลับเป็นแหล่งรวมของนักข่าวสายกีฬาจากหลากหลายสำนักพิมพ์ ที่ถือเอาสถานที่ดังกล่าวเป็นแหล่งพบปะ หลังเลิกงานประจำของแต่ละคน โดยมี ระวิ โหลทอง บรรณาธิการหน้าข่าวกีฬา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐรับบท เป็นพี่เอื้อยใหญ่

ในห้วงเวลาดังกล่าว วงการกีฬาไทยยังไม่เติบใหญ่ดัง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะฟุตบอล ซึ่งเป็นที่นิยมมาช้านานสามารถหาดูหาฟังได้ก็จากสถานีวิทยุโทรทัศน์เพียงไม่กี่ช่อง ท่ามกลางข้อมูลที่สับสนของการพากษ์ เพราะบุคลากรด้านกีฬาเหล่านี้ไม่มีโอกาสได้รู้จักหรือมีข้อมูลต่างๆ มากพอสำหรับประกอบการบรรยาย เราจึงมีโอกาสได้ยินได้ฟังผู้พากษ์ผู้บรรยาย ขานแต่เพียงหมายเลขเสื้อของนักฟุตบอล ที่กำลังครองลูกอยู่เท่านั้น

"คุณระวิ เป็นคนกล้า ที่จะลงทุน หลังจากได้พูดคุยกับน้องๆ นักข่าวจำนวนหนึ่งก็เลยคิดจะออกหนังสือฟุตบอลขึ้นมาสักฉบับ ก็เลยมีสตาร์ ซอคเกอร์ อยู่จนถึงปัจจุบัน" พงษ์ศักดิ์ ผลอนันต์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.สยามสปอร์ต ซินดิเคท กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของอาณาจักรสื่อสิ่งพิมพ์ด้านกีฬารายเดียวของประเทศ ซึ่งยาก ที่จะมีใครมาสั่นคลอนบัลลังก์นี้ได้

ห้วงเวลาเริ่มแรกของสตาร์ ซอคเกอร์นั้น ผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับฟุตบอลลีกของอังกฤษ และเยอรมัน เพียงสองประเทศนี้เท่านั้น จากผลของการนำเทปบันทึกภาพการแข่งขันมาออกอากาศสัปดาห์ละครั้ง และมีบ้าง ที่เป็นการถ่ายทอดสดในแมตช์สำคัญๆ ทำให้จุดเน้นหนักของสตาร์ ซอคเกอร์ นิตยสารฟุตบอลรายสัปดาห์ฉบับแรกๆ ของไทย อยู่ ที่การนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวงการฟุตบอลในสองประเทศ อย่างเป็นด้านหลัก ก่อน ที่จะขยายบริบทครอบคลุมลีกใหญ่ๆ ในภาคพื้นยุโรป ซึ่งรวมถึง อิตาลี ฝรั่งเศส สเปน ฯลฯ ในเวลาต่อมา

การทำหนังสือ เพื่อรายงานข่าวความเคลื่อนไหวในวงการฟุตบอลต่างประเทศเช่นว่านี้ นับเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับสังคมไทยในเวลานั้น อย่างยิ่ง ซึ่งนอกจากจะแปลข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศ หรืออาศัยทั้งภาพ และเรื่องจากสื่อต่างประเทศ เช่น Matchs และ Franze Football ฯลฯ แล้ว ยังมีการติดต่อกับกลุ่มนักเรียนหรือคนไทยในต่างแดน มาทำหน้าที่ผู้สื่อข่าว และช่างภาพพิเศษให้กับหนังสือนี้ด้วย

"ช่วงปี 2522-2523 เป็นช่วง ที่ผมไปเรียนปริญญาโท ที่อังกฤษพอดี ก็เลยนึกสนุก เพราะเราก็ชอบกีฬาอยู่แล้ว แต่ก่อนไปก็ได้พูดคุยกับคุณระวิมาก่อนก็เลยได้เป็นผู้สื่อข่าวของสตาร์ ซอคเกอร์ ประจำอังกฤษ โดยมี 5ช. (คุณธัชเวชช์ เวชช์วิศิษฐ์) ซึ่งก็เดินทางไปเป็นนักเรียนเหมือนกัน เป็นช่างภาพ" พงษ์ศักดิ์เล่าย้อนอดีต ที่ได้ เข้ามามีส่วนร่วมในสตาร์ ซอคเกอร์ให้ฟัง

นอกเหนือจากนิตยสาร สตาร์ ซอคเกอร์แล้ว กิจกรรม ที่ดำเนินควบคู่มากับนิตยสารฉบับนี้ก็คือ ร้านสตาร์ ซอคเกอร์ ซึ่งเป็นแหล่งรวมเทปบันทึกภาพการแข่งขันฟุตบอล เทปบันทึกภาพประวัติการก่อตั้ง และเหตุการณ์สำคัญของสโมสรฟุตบอลชื่อดังจำนวนมาก รวมทั้งของ ที่ระลึก และเสื้อแข่งขันของสโมสรกีฬาชั้นนำเหล่านี้

พงษ์ศักดิ์ ย้อนรำลึกความหลังกับ "ผู้จัดการ" ว่าได้มีโอกาสเดินชมร้านค้าของสโมสรฟุตบอลในอังกฤษร่วมกับระวิ "ก็คุยกันว่า เออน่าจะซื้อหิ้วกลับมาขายในเมืองไทย แรกๆ ก็มีคำถามว่าจะไหวหรือ เพราะราคาแพงเหลือเกิน แต่ในความรู้สึกของเราสมัยยังเป็นนักเรียน เห็น เพื่อนซื้อจากต่างประเทศมาใส่ เรายังแอบถามว่าได้มาจากไหนอยากซื้อมาไว้บ้าง" และก็เป็นจริงอย่างที่คาดคือ มีแรงตอบรับมากเหลือเกิน

ร้านสตาร์ ซอคเกอร์ กลายเป็นส่วนประกอบหนึ่ง ที่ทำให้ธุรกิจของสยามสปอร์ต ครบวงจรมากขึ้น เพราะเมื่อนิตยสาร สตาร์ ซอคเกอร์ เป็นช่องทาง ที่จะสื่อสารให้ข้อมูล และกระตุ้นความรู้สึกของบรรดาผู้หลงใหลกีฬา ในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเกม ที่ชื่นชอบแล้ว ร้านค้าปลีก ที่มีลักษณะเฉพาะแห่งนี้ก็กลายเป็นประหนึ่งบ่อเงิน บ่อทอง และเป็นกลไก ที่ขยายฐานการรับรู้ของแฟนกีฬาไปด้วยในตัว

สตาร์ ซอคเกอร์ ในฐานะนิตยสารฟุตบอล รายสัปดาห์ได้กลายเป็นคัมภีร์ฟุตบอลสำหรับผู้สนใจติดตามในเวลาต่อมา พร้อมกับตำนานบทใหม่ ที่มีเอกชัย นพจินดา ผู้ล่วงลับเป็นผู้จารึก พร้อมๆ กับบุคลากร ทางกีฬาอีกมากมาย ที่ได้เติบโตภายใต้เวที และโอกาส ที่สยามสปอร์ตตระเตรียมไว้ให้ และกลายมาเป็นทีมงาน ผู้บรรยายกีฬา ที่สร้างสีสันให้วงการกีฬาอย่างต่อเนื่อง ในเวลานี้

สยามกีฬา ข้อต่อชิ้นสำคัญ

การขยายตัวของสยามสปอร์ต ในฐานะผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ด้านกีฬา เติบโตขึ้นอย่างช้าๆ จาก จุดเริ่มต้นดังกล่าว ควบคู่กับการบ่มเพาะบุคลากรด้านกีฬาอย่างต่อเนื่อง แต่ความเคลื่อนไหว ที่เกรียวกราวมากสำหรับแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์ไทย น่าจะอยู่ ที่การออกหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน เมื่อปี 2527 ซึ่งมีเนื้อหาด้านการกีฬาทั้งฉบับ จากเดิม ที่หนังสือพิมพ์รายวัน ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกีฬาเพียงเล็กน้อย ในฐานะ ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของหนังสือเท่านั้น ขณะที่ในสื่อบางฉบับ section กีฬากลายเป็นสิ่งแปลกปลอมของหนังสือด้วยซ้ำ

"สยามกีฬารายวัน ถือเป็นปรากฏการณ์ ที่สำคัญ เพราะในภูมิภาคเอเชีย จะมีก็แต่ในญี่ปุ่นเท่านั้น ที่มี สิ่งพิมพ์รายวันที่อุทิศทุกพื้นที่ข่าวให้กับวงการกีฬา" พงษ์ศักดิ์กล่าวอย่างภาคภูมิใจ ซึ่งหากสยามสปอร์ต มีความพร้อมในด้านภาษาต่างประเทศมากกว่า ที่เป็นอยู่ และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเอื้ออำนวย เราอาจได้เห็นการรุกของสื่อสิ่งพิมพ์ไทยไปสู่การเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ด้านกีฬาในระดับภูมิภาค

นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน ทำให้กลไกการนำเสนอข่าวของสยามสปอร์ต ครบวงจร และครอบคลุมเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งก็เป็นการตอบสนองต่อความต้องการบริโภคข่าวสารของกลุ่มชนชั้นกลาง ที่กำลังเติบโต พร้อมๆ กับคลื่นของกระแสโลกาภิวัตน์ ที่กำลังก่อตัวในแทบทุกบริบทสังคม

ความเคลื่อนไหวของการแข่งขันกีฬาระดับใหญ่ๆ ที่แต่เดิม สยามสปอร์ตเลือก ที่จะนำเสนอในรูปแบบของหนังสือเฉพาะกิจเป็นครั้งคราว ในลักษณะของการปรีวิว และการสรุปรวบยอดเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็น "เอ็กซ์ตร้า สตาร์ ซอคเกอร์ ฉบับฟุตบอลโลก" ในแต่ละครั้ง ที่จัดการแข่งขันหรือ "เอ็กซ์ตร้า สตาร์ ซอคเกอร์ ฉบับ อินไซด์ บุนเดสลีกา" หรือเอ็กซ์ตร้าฉบับสโมสรฟุตบอลต่างๆ ได้รับการต่อเติมด้วยการเสนอข่าวแบบวันต่อวัน ภายใต้กรอบโครงของหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน ที่เกิดขึ้นใหม่นี้

ปรากฏการณ์การรายงานข่าวชนิดเกาะติดขอบสนามแบบวันต่อวัน สร้างเครดิตให้กับสยามกีฬารายวันอย่างไม่ต้องสงสัย และทำให้การเพิ่มเติมคอลัมน์ และหน้าพิเศษ เพื่อรายงานผลมหกรรมการแข่งขันกีฬา ครั้งสำคัญๆ กลายเป็นประเพณี ที่ถือปฏิบัติในช่วงเวลาต่อมา ซึ่งนอกจากจะเป็นการเติมเต็มให้กับผู้บริโภคอย่างสำคัญแล้วยังทำให้ชื่อของสยามกีฬารายวัน กลายเป็นชื่อ ที่คุ้นเคยกับผู้อ่านมากยิ่งขึ้น และมีผลโดยตรงกับยอดการจำหน่าย ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นาน

การเติบโตของสยามกีฬารายวัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนไม่น้อยพยายาม ที่จะเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทางตลาดนี้ด้วย แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการแต่ละรายค้นพบในเวลาต่อมาก็คือ อาการบาดเจ็บ และต้องยุติการแข่งขันไปโดยปริยาย

พงษ์ศักดิ์มองปรากฏการณ์ในลักษณะเช่นนี้ อย่างค่อนข้างมั่นใจในศักยภาพของสยามสปอร์ต ซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาช่วงชิงพื้นที่ได้ยาก นอกจากจะเป็นเพราะความกว้างขวาง และความยาวนาน ที่ได้คร่ำหวอดในแวดวงการกีฬาไทยของ ระวิ โหลทอง ที่ก่อให้เกิดสายสัมพันธ์ ที่ลึกซึ้งกับผู้สื่อข่าวกีฬาส่วนใหญ่แล้ว อีกด้านหนึ่งเป็นเพราะสยามสปอร์ต "มีลักษณะ ที่เป็นสถาบันไปแล้ว ซึ่งผู้อ่านยอมรับในทักษะการนำเสนอ และข้อมูลที่ได้รับ นักเขียนหรือนักข่าว ที่นี่ หากย้ายไปฉบับอื่นก็อาจไม่ได้รับความสนใจเท่ากับการอยู่ภายใต้ชื่อสยามสปอร์ต เรียกว่าคนติดชื่อหนังสือมากกว่าติดคอลัมนิสต์ก็ไม่ผิด" ขณะเดียวกันผู้สื่อข่าวหน้าใหม ่ก็ต้องอาศัยระยะเวลาในการฝึกฝนมากพอควรกว่าจะมายืนเทียบชั้นเป็นคู่ต่อกรกับสยามสปอร์ต ซึ่งผู้ที่สนใจอยากเป็นผู้สื่อข่าวกีฬาโดยตรงก็มักให้ความสนใจ และนึกถึงสยามสปอร์ต ก่อนเป็นอันดับแรก

บุคลากร ที่ได้รับการบ่มเพาะจากสยามสปอร์ต นอกจากจะมีผลงานปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ในเครือแล้ว การเติบโตของธุรกิจกีฬาในประเทศไทย ซึ่งมีสื่อวิทยุ โทรทัศน์เป็นกลไกสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ส่งให้ผู้บริโภคสามารถรับชมรับฟัง และติดตามข่าวสารผลการแข่งขันได้รวดเร็วขึ้นนั้น ยังส่งผลให้พวกเขามีโอกาสได้ใช้ความสามารถ ที่สั่งสมมาขยายบทบาทไปสู่สื่อเหล่านี้ได้ด้วย แต่งตัวเข้าตลาดหุ้น

ภาวะทางเศรษฐกิจในช่วงต้นทศวรรษ ที่ 2530 ซึ่งกำลังพองตัวอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมากมายต่างเร่งระดม ที่จะแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ ผ่านการปรับแต่งองค์กรให้มีความเป็นสากล และ การแปรสภาพเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สยามสปอร์ต ก็มีทิศทางไม่แตกต่างจากบริษัทอื่นๆ ในห้วงเวลาเดียวกัน โดยในปี 2533 บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด ได้รับการจัดตั้ง เพื่อถ่ายโอนกิจกรรมทั้งหมดของ สยามสปอร์ต พริ้นติ้ง ก่อน ที่จะเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในปี 2538

แม้ว่า กิจกรรมของสยามสปอร์ต ซินดิเคท จะครอบคลุมธุรกิจ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ร้านค้าปลีก รายการวิทยุโทรทัศน์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ แต่รายได้หลักของสยามสปอร์ต ยังผูกพันอยู่กับธุรกิจสิ่งพิมพ์อย่างแนบแน่น โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ด้านกีฬา ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนรายได้กว่า 91% ของบริษัท ในช่วง ที่ผ่านมา

"ยอดรวมรายได้มีมากก็จริง แต่ต้นทุนการผลิตก็อยู่ในระดับ ที่สูงมากเช่นกัน โดยเฉพาะค่ากระดาษสำหรับการพิมพ์" พงษ์ศักดิ์กล่าวถึงผลประกอบการในช่วง ที่ผ่านมา ซึ่งแม้สยามสปอร์ต จะมียอดรายได้รวมมากถึง 750-800 ล้านบาทต่อปี นับตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมาก็ตาม แต่ผลกำไรของบริษัทกลับไม่ได้เติบโตตามไปด้วย หากแต่สยามสปอร์ตยังมียอดขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากจะมีต้นทุนประกอบการที่ค่อนข้างมากจนฉุดให้ผลกำไร อยู่ในระดับ 60 ล้านบาทเศษ ในปี 2539 แล้ว การปรับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเป็นแบบลอยตัวในช่วงกลางปี 2540 ได้ส่งผลให้ผลกำไรใน ปีนั้น ลดลงอย่างรวดเร็วเหลือเพียง 20 ล้านบาทเศษ ก่อน ที่ในปีต่อๆ มา สยามสปอร์ต จะต้องรับรู้ผลประกอบการขาดทุนมากถึง 135 ล้านบาท ในปี 2541 และ 87 ล้านบาทในปี 2542 ขณะที่ในไตรมาสแรกของ ปี 2543 สยามสปอร์ตได้บันทึกผลขาดทุนในช่วง 3 เดือนแรกของปีไว้ ที่ 12.46 ล้านบาท

"เราหวังเป็นอย่างยิ่ง ที่จะระดมทุน เพื่อการขยายตัว ที่เพิ่มมากขึ้นจากช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่จังหวะไม่อำนวย เพราะหลังจากบริษัทเข้าตลาดแล้ว สัญญาณทางเศรษฐกิจเริ่มแสดงให้เห็นการทรุดตัวลงอย่างช้าๆ" และภายหลังปี 2540 ที่เศรษฐกิจเริ่มพังทลายเป็นต้นมา การณ์กลับกลายเป็นว่าการเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ กลับได้รับการกดดันจากกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ของทางการอย่างหนักหน่วงอีกด้วย

ทั้งนี้ เมื่อเดือนมิถุนายน 2542 ที่ผ่านมา สยามสปอร์ต ซินดิเคท ได้ตัดสินใจขายการลงทุนในบริษัท วรรคสร โปรโมชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบบริหารร้านสตาร์ ซอคเกอร์ และเครือข่ายทั้งหมดออกไป ซึ่ง แหล่งข่าว ที่ใกล้ชิดกับบริษัทให้ข้อมูลว่าผู้ที่ซื้อการลงทุนในส่วนนี้ก็คือ สมลักษณ์ โหลทอง ที่นอกจากจะเป็นกรรมการผู้จัดการของวรรคสรแล้ว ยังมีฐานะเป็น แม่บ้านของระวิ โหลทอง นั่นเอง

"เศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคจับจ่ายซื้อของ ที่ระลึก ซึ่งค่อนข้างมีราคาแพงพวกนี้มากนักในห้วงเวลาปัจจุบัน และบรรยากาศการชมกีฬาผ่านจอทีวีแตกต่างกับการเข้าชมในสนามแข่งขันจริงๆ มากเหลือเกิน" พงษ์ศักดิ์กล่าวถึงความเป็นไปของ วรรคสร ก่อน ที่จะกล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า "คงไม่มีใครลงทุนซื้อเสื้อราคา 2-3 พันบาท เพื่อใส่เชียร์ฟุตบอลทางทีวีแน่"

อย่างไรก็ดี ชื่อของ "สตาร์ ซอคเกอร์" ไม่ว่า จะในฐานะนิตยสารฟุตบอล หรือร้านค้าปลีก ที่กลายเป็นแหล่งรวมพลของแฟนเจ้าประจำจำนวนมาก รวมทั้งในฐานะปฐมบทของตำนานสื่อสิ่งพิมพ์ด้านกีฬาของไทย แห่งนี้ ก็ยังจะโลดแล่นเป็นส่วนหนึ่งในบริบทสังคมต่อไป หากแต่ก้าวย่างนับจากนี้ สยามสปอร์ต ซินดิเคท จะดำเนินเติบโตครอบคลุมสื่อด้านกีฬาไปได้อีกมากมายเพียงใด และจะมีใครสามารถแทรกตัวเป็นคู่ต่อกร เพื่อแข่งขันช่วงชิงพื้นที่ในตลาดธุรกิจกีฬา ที่นับวัน จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมหาศาลนี้หรือไม่ เวลาเท่านั้น ที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us