นีล รุทเกอร์, เจมส์ กิบบอนส์ และคริส เดเรน คือชื่อคณะนักวิจัยของสหรัฐอเมริกาที่คนไทยได้ยินคุ้นหูกันอย่างมากในช่วงกว่า
1 เดือนที่ผ่านมา
ทั้ง 3 คน กำลังทำวิจัยอยู่ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอม มะลิไทยสำหรับสหรัฐฯ
(Stepwise Program for Improvement of Jasmine Rice for the United States)
ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์วิจัยข้าว แห่งชาติที่มลรัฐอาร์คันซอส์
ซึ่งเป็นมลรัฐที่มีการปลูกข้าวมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ
1.5 ล้านเอเคอร์ หรือ 40% ของพื้นที่ปลูกข้าว ทั้งหมดของอเมริกา
โดยเฉพาะคริส เดเรน เขาคือ ผู้ที่สามารถใช้รังสีแกมมาเหนี่ยวนำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ
105 กลายพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวหอมมะลิต้นเตี้ยใบสั้นและไม่ไวแสง ซึ่งจะสามารถเพาะปลูกได้ดีใน
สภาพภูมิอากาศที่แตกต่างไปจากประเทศไทย
ความสำเร็จจากผลการวิจัยที่ออกมาในครั้งนี้ ส่งผลสะเทือน อย่างยิ่งต่อคนไทย
มีความหวั่นวิตกกันว่า หากสหรัฐอเมริกาสามารถปลูกข้าวหอมมะลิได้เองในประเทศแล้ว
จะมีผลต่อตลาดส่งออกข้าวของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งมีการนำเข้าข้าวหอมมะลิจาก
ไทยถึงปีละกว่า 2 แสนตัน
ความหวั่นวิตกนี้ ยังรวมไปถึงว่า ถ้าหากมีการนำผลวิจัยไปจดลิขสิทธิ์ตามประเทศต่างๆ
ที่เป็นตลาดข้าวหอมมะลิของไทย ต่อไปข้าวหอมมะลิจากไทยที่จะส่งไปยังประเทศเหล่านี้
จะต้องมีปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งๆ ที่เป็นเจ้าของต้นแบบ
มีการยกตัวอย่าง กรณีข้าวจัสมาติ ซึ่งเคยเป็นปัญหามาแล้ว ในหลายประเทศทั่วโลกในช่วงก่อนหน้านี้
เนื่องจากบริษัทไรซ์เทค จากสหรัฐอเมริกาได้ไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์เอาไว้ ทำให้ประเทศอินเดีย
ซึ่งเป็นเจ้าของข้าวบัสมาติถึงกับต้องเต้น เดินสายฟ้องร้อง เพราะมีชื่อมาคล้องจองกัน
แต่ช่วงนั้นประเทศไทยกลับยังนิ่งเฉย ทั้งๆ ที่ได้รับผลกระทบ ตามมาด้วย
เพราะชื่อข้าวจัสมาติทำให้ผู้บริโภคข้าวสับสน เนื่องจาก คล้ายคลึงกับคำว่าจัสมิน
ซึ่งหมายถึงข้าวหอมมะลิของไทย
มาในรอบนี้ แกนนำที่ออกมาเคลื่อนไหวมากที่สุด คือองค์กร ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย
(ไบโอไทย) ซึ่งแม้จะเป็นเอ็นจีโอ แต่ก็สามารถเรียกความตื่นตัวของภาครัฐออกมาได้พอสมควร
มีการสืบค้นเพื่อจะดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายกับผู้ที่ลักลอบนำเมล็ดพันธุ์ข้าวออกไปวิจัย
มีความพยายามเจรจาทางการทูต สำนักงานคณะผู้แทนการ ค้าสหรัฐฯ (USTR) เพื่อให้ล้มเลิกงานวิจัย
และห้ามไม่ให้มีการจดลิขสิทธิ์
แต่ถึงที่สุดแล้ว ทุกฝ่ายก็ยังไม่ไว้วางใจสหรัฐฯ
กลุ่มชาวนาผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในภาคอีสาน กำลังเตรียมตัวเคลื่อนไหว หากปัญหานี้ยังไม่ได้ข้อยุติ
แม้ขณะนี้ยังเป็นที่สบายใจได้ว่าโครงการวิจัยนี้ยังไม่เสร็จ สิ้นสมบูรณ์
และยังไม่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์
แต่หลายคนเฝ้าดูอยู่ว่า เรื่องนี้น่าจะเป็นหัวข้อสำคัญอีกข้อหนึ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะต้องนำขึ้นโต๊ะเจรจา กับประธานาธิบดี จอร์ช บุช ผู้นำสหรัฐฯ
เพื่อให้ได้ข้อสรุปในโอกาส ที่ไปเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการในปลายเดือนนี้
ก่อนที่ประเทศไทยจะต้องเสียรู้เขาอีกครั้ง