Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2544
บุญชัย เบญจรงคกุล พ.ร.บ.สื่อสารฉบับใหม่ "มันขัดความรู้สึก"             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
บุญชัย เบญจรงคกุล




ดูเหมือนบุญชัย เบญจรงคกุล จะเป็นผู้ที่ร้อนรนมากที่สุด ภายหลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ออกมาเมื่อเดือนก่อน

เพราะในมาตรา 8 ของกฎหมายฉบับนี้ ได้จำกัดการถือครอง หุ้นของชาวต่างชาติในกิจการโทรคมนาคมไว้เพียงไม่เกิน 25%

ในขณะที่บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (แทค) ที่เขาเป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการอยู่นั้น มีเทเลนอร์จาก ประเทศนอร์เวย์ร่วมถือหุ้นทั้งโดยตรง และทางอ้อมอยู่ถึงกว่า 40%

"ที่ผ่านมาเทเลนอร์นำเงินเข้ามาลงทุนในแทคแล้วถึงกว่า 1.5 แสนล้านบาท" เขาบอก

แทคเคยประสบปัญหาทางการเงินค่อนข้างมาก ภายหลังจากมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 ถึงกับต้องตัดสินใจหยุดการลงทุนทุกอย่างลงไปถึง 2 ปี

แต่เมื่อปีที่แล้ว แทคเพิ่งจะได้เทเลนอร์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการโทรคมนาคมจากนอร์เวย์เข้ามาร่วมทุน ส่งผลต่อฐานะการเงินที่ดีขึ้นอย่างทันตาเห็น

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา แทคเพิ่งเปลี่ยนภาพลักษณ์ของตัวเองใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อสินค้าทุกตัวเป็น "DTAC" นัยว่าเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมรับกับตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งจะเริ่มมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดมากขึ้น ภายหลังจากมีผู้ประกอบการรายใหม่อีก 2 ราย คือ WCS ที่เป็นการร่วมทุนระหว่างซีพีกับออเรนจ์ และตะวันโมบาย ที่จะเริ่มเข้ามาในช่วงต้นปีหน้า

ทุนที่นำมาใช้ในการปรับตัวของแทคครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นผล มาจากการเข้ามาร่วมทุนของเทเลนอร์ทั้งสิ้น

ดังนั้นการที่สภาผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ออกมา โดยกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติไว้เพียง 25% จึงอาจส่งผลให้โครงการร่วมทุนระหว่างแทคกับเทเลนอร์ต้องสะดุด

บุญชัยจึงกลายเป็นบุคคลในวงการธุรกิจโทรคมนาคมเพียงคนเดียว ที่ดูเหมือนว่าจะออกมาเคลื่อนไหวมากที่สุด เพื่อคัดค้านข้อกำหนดดังกล่าว

ก่อนกฎหมายฉบับนี้จะเข้าสภา เขาเคยทำจดหมายในนามของแทค คัดค้านประเด็นนี้ ยื่นไปยังรัฐบาลมาแล้ว แต่ไม่ได้รับการ ตอบสนอง

ยังมีการเสนอกฎหมายเข้าสภา จนผ่านออกมา และเกือบจะมีผลบังคับใช้แล้ว

แนวทางการเคลื่อนไหวหลังจากนี้ไป เขาเตรียมให้เทเลนอร์ ในฐานะผู้ร่วมทุน ซึ่งได้รับผลกระทบจากพระราชบัญญัติฉบับนี้โดยตรง เป็นผู้ผลักดันผ่านทางรัฐบาลนอร์เวย์ให้เจรจากับรัฐบาลไทย ให้ยกเลิกข้อกำหนดนี้เสีย "จะเป็นการประท้วงในฐานะรัฐบาลกับรัฐบาล เพราะมันขัดแย้งความรู้สึกในการค้าระดับโลก"

ผลการเจรจาครั้งนี้จะออกมาเป็นเช่นไรเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องติดตาม

เพราะไม่เพียงแต่แทคเท่านั้นที่เดือดร้อน ยังรวมไปถึงบริษัท สื่อสารอื่นๆ และนักลงทุนในตลาดหุ้น เพราะหุ้นในกลุ่มสื่อสารจะต้องถูกนักลงทุนต่างประเทศเทขายออกมาอย่างหนักแน่นอน หากรัฐบาลยังยืนยันที่จะใช้มาตรานี้อยู่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us