เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากำลังถดถอย แต่ไม่เป็นไร นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่
ฟันธงว่าการถดถอยครั้งนี้ของลุงแซม จะกินเวลาเพียงสั้นๆ เท่านั้น
และจะไม่รุนแรง และเมื่อเริ่มฟื้นตัวอีกครั้ง
ก็จะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ปัญหา : นี่เป็นคำทำนายที่ลำพองเกินไปหรือเปล่า
ตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยกันออกมาตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน หลังเหตุการณ์ช็อกโลกถล่มตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์
เป็นต้นมา ล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงการถดถอยของเศรษฐกิจลุงแซม อย่างที่ไม่เกินความคาดหมายของทุกคน
ผลผลิตอุตสาหกรรม (industrial production) ของสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนลดลง
1% ซึ่ง เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 แล้ว ระยะเวลาที่ติดต่อกัน
นานถึง 12 เดือนนี้ ยังนับว่าเป็นระยะเวลาที่ผลผลิตลดลงติดต่อ กันยาวนานที่สุด
นับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา และการที่เศรษฐกิจของ สหรัฐฯ มีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงทั้งหมดถึง
5.8% ในช่วงระยะ เวลา 12 เดือน ก็นับเป็นอัตราที่ต่ำกว่าที่เคยเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจ
ถดถอย ปี 1990-91 ส่วนตัวเลขค้าปลีก (retail sales) ในเดือนกันยายน ก็ดิ่งลง
2.4% เนื่องจากผู้บริโภคชาวอเมริกันยังคงละเว้นจากการจับจ่าย ใช้สอยตามห้างสรรพสินค้า
และแม้ว่าผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภค ของมหาวิทยาลัยมิชิแกนล่าสุดจะปรากฏว่า
ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนตุลาคมก็ตาม แต่ความหวาดผวาภัยอาวุธ
เชื้อโรคแอนแทรกซ์ ซึ่งกำลังครอบงำจิตใจของอเมริกันชนทุกวันนี้ คงจะทุบดัชนีความเชื่อมั่นให้รูดลงไปอีกครั้ง
ดังเช่นที่ อลัน กรีนสแปน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) แถลงต่อรัฐสภา
เมื่อไม่นานมานี้ว่า การที่ธุรกิจและผู้บริโภคกำลังเผชิญกับภาวะความ ไม่แน่นอนที่เพิ่มมากขึ้นในระยะนี้จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจอย่างแน่นอน อย่างน้อยก็ในระยะสั้น
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่พากันทำนายว่า ผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ
จะลดลงทั้งสิ้นประมาณ 1% สำหรับไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีนี้ และจะยังคงซบเซาต่อไปใน
ไตรมาสแรกของปี 2002 แต่จากนั้นจะเริ่มฟื้นตัว โดยจะเป็นการ ฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง
กล่าวคือ เราคงจะได้เห็นอัตราการเติบโตประมาณ 3-4% ภายในครึ่งปีหลังของปีหน้า
ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงล่ะก็ ต้อง นับว่า นี่เป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจที่สั้นที่สุดและรุนแรงน้อย
ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของลุงแซมเลยทีเดียว
มีเหตุผลอยู่ 3 ข้อที่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์เกือบทั้งหมด เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ
จะถดถอยแค่ระยะสั้นและไม่รุนแรง ข้อ แรกบริษัทต่างๆ ในสหรัฐฯ สามารถเร่งระบายสินค้าคงคลังที่ไม่ต้อง
การ (unwanted inventories) รวมทั้งความสามารถในการผลิตส่วน เกิน (excess
capacity) ออกไปได้อย่างมากแล้ว ข้อสอง มีสิ่งหนึ่ง ที่แตกต่างไปจากเศรษฐกิจถดถอย
3 ครั้งที่ผ่านมาของสหรัฐฯ นั่น คือ ราคาน้ำมันมิได้พุ่งสูงขึ้นแต่กลับลดลงและข้อสุดท้าย
เศรษฐกิจ อเมริกันกำลังได้รับประโยชน์จากการผ่อนคลายนโยบายการเงิน และการคลังครั้งใหญ่อัตราดอกเบี้ยลดลงมาเรื่อยๆ
จนขณะนี้อยู่ ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา ขณะเดียวกัน
แผนกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังในปี 2002 (ประกอบ ด้วยการลดภาษีซึ่งผ่านการรับรองจากรัฐสภาแล้ว
มาตรการช่วย เหลือทางเศรษฐกิจเร่งด่วน และการลดภาษีเพิ่มเติม รวมถึงการ เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ
ซึ่งคองเกรสกำลังพิจารณา อยู่) ก็จะสามารถทำให้ เศรษฐกิจเติบโต 1.5% ของ
GDP ซึ่งจะนับเป็นอัตรา การเติบโตต่อรอบหนึ่งปีที่ เกิดจากการกระตุ้นด้วย
นโยบายการคลังที่สูง ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1975 เป็นต้นมา
ทั่วโลกต่างพากัน โล่งใจกันเป็นทิวแถว กับคำทำนายอันแสนหวานของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ข้างต้น
ส่งผลให้ราคาหุ้นทั่วโลกดีดตัวขึ้นทันที ดัชนีตลาดหุ้นหลายแห่งดีดตัว ขึ้นจนเกือบถึงระดับที่เป็นอยู่ในวันที่
10 กันยายน ก่อนที่จะเกิด เหตุการณ์ระเบิดสะท้านโลกในมหานครนิวยอร์กในวันถัดมา
แต่ฝันหวานนี้อาจกลายเป็นฝันค้าง เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจถดถอยลงลึกกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์เอาไว้
ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์เกือบทั้งหมดเห็นพ้องต้องกันชี้ว่าบริษัท ในสหรัฐฯ
ต่างก็ได้ลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนลงอย่างมากแล้ว ดังนั้น หากจะมีการลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงอีก
ในอนาคตก็จะเป็นการลดลง เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็ยังมีนักเศรษฐศาสตร์บางคน
ที่ไม่เห็นด้วยและ แย้งว่า ขณะนี้บริษัทอเมริกันต่างกำลังตกอยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพิง
เงินทุนจากภายนอกอย่างมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนซึ่งเห็นได้จาก การที่ช่องว่างทางการเงินของบริษัท
(corporate-financing gap) กล่าว คือ ช่องว่างที่เกิดขึ้นจากค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนลบด้วยกระแสเงินสด
ภายในบริษัท อยู่ที่ระดับสูงถึง 2.5% ของ GDP ซึ่งนับเป็นอัตราที่สูงเป็น
ประวัติการณ์ นอกจากนี้ การ ที่กำไรของธุรกิจยังคงลดลง ต่อไป ในขณะที่ธนาคารก็ลังเล
มากขึ้นที่จะปล่อยสินเชื่อ ภาวะ ที่บริษัทอเมริกันกำลังเผชิญทั้ง 3 อย่างนี้
ล้วนแต่บ่งชี้ไปในทาง เดียวกันว่า ธุรกิจสหรัฐฯ อาจยัง คงจำเป็นต้องชะลอแผนการ
ลงทุน เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้าน การลงทุนลงต่อไปอีก ยิ่งถ้าหาก บริษัทถูกสถานการณ์บีบบังคับ
เนื่องจากไม่สามารถจัดหา แหล่งเงินทุนจากภายนอกได้ จนจำเป็นต้อง หันกลับมาพึ่งพิงเงินทุนภายใน
ซึ่งเป็นวิธีอุด ช่องว่างทางการเงินที่บริษัทอเมริกันมักนำมา ใช้ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยที่ผ่านๆ
Jan Hatzius นักเศรษฐศาสตร์แห่ง Goldman Sachs ก็ชี้ว่า ผลที่จะเกิดขึ้นก็คือ
การใช้จ่ายด้านการลงทุน ของบริษัทอเมริกันอาจจะลดต่ำลงได้อีกถึง 30% ของช่องว่างทางการเงินที่อยู่ในระดับ
2.5% ของ GDP ดังกล่าวแล้ว
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ ความสามารถ ในการผลิตส่วนเกินยังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก
เห็นได้จากตัวเลขการใช้ความสามารถในการ ผลิตของอุตสาหกรรม (industry's capacity
utilisation) ประจำเดือนกันยายนของสหรัฐฯ ตกลงเหลือเพียง 75.5% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุด
นับตั้งแต่ปี 1983
หันมาดูกำไรของบริษัทอเมริกัน Dresdner Kleinwort Wasser-stein นักเศรษฐศาสตร์ที่สมัครอยู่ในกลุ่มเสียงข้างน้อยอีกผู้หนึ่งชี้ว่า
กำไรของบริษัทที่อยู่ในดัชนี 500 บริษัทของ S&P ตกลงถึง 60% นับ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงไตรมาส
2 ของปีนี้ และถึงแม้จะคิดเฉลี่ยจาก 4 ไตรมาส ก็ยังพบว่า กำไรของบริษัทสหรัฐฯ
ลดลงถึง 30% ซึ่งนับเป็นการตกต่ำ ครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ทศวรรษ 1930
เป็นต้นมา ผลก็คือ กำไรของ บริษัทที่อยู่นอกภาคการเงินตกลงเหลือ 8.1% ของ
GDP เท่านั้นใน ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ จากที่เคยสูงถึง 12.5% ในปี 1997 เมื่อกำไร
ตกต่ำลงเรื่อยๆ อย่างนี้ ส่วนต่างระหว่างราคาและต้นทุน (margin) ใน สหรัฐฯ
ตอนนี้ จึงอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เลยทีเดียว
นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มใหญ่พากัน เชื่อว่า เหตุการณ์ 11 กันยายน จะส่งผลให้
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยเป็นรูปตัว V เท่านั้น กล่าวคือจะฟื้นตัวทันทีหลังจากถดถอยไม่
นานแต่พวกเขากำลังฝันหวานเกินไปหรือ เปล่า สาเหตุรากฐานของปัญหาเศรษฐกิจ
ถดถอยของสหรัฐฯ หาใช่เหตุการณ์ก่อการ ร้าย ในวันที่ 11 กันยายนไม่ หากแต่เกิดจาก
เนื้อในของสหรัฐฯ เอง กล่าวคือ เกิดจาก ความไม่สมดุลของสภาพเศรษฐกิจและ การเงินของสหรัฐฯ
ที่เริ่มก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ ช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1990 และสะสมตัว มาโดยตลอด
ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวบริษัท สหรัฐฯ เริ่มลงทุนอย่างเกินตัวและก่อหนี้สิน
เกินตัว โดยมีแรงหนุนจากการคาดการณ์ผลกำไรในอนาคตที่สูงเกิน จริง ครัวเรือนก็เช่นเดียวกันมีการก่อหนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากใน
ระยะนั้น ด้วยความเชื่อมั่นผิดๆ ว่าราคาหุ้นจะสูงขึ้นตลอดกาล การใช้จ่ายเงินอย่างเกินตัวโดยไม่สมดุลกับสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้
คือสาเหตุที่แท้จริงของความถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ทั้งยังเป็นปัญหาที่รุนแรงและหนักหน่วงจนอาจจะเกินกว่า
มาตรการผ่อนคลายทางด้านการเงินการคลังจะรับมือไหว จริง อยู่ที่ว่าการผ่อนคลายนโยบายการเงินและการคลังของสหรัฐฯ
ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้นั้นเป็นไปอย่างกว้างขวาง และทั่วถึง ยิ่งกว่าการดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในครั้งก่อนเสียอีกแต่
สภาพความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจและการเงินของสหรัฐฯ ได้ขยายตัว สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ
จนถึงขั้นที่กลายเป็นสาเหตุหลักของเศรษฐกิจ ที่ถดถอยของสหรัฐฯ ในครั้งนี้
เพราะเหตุนี้ การดำเนินนโยบาย ลดภาษีและลดอัตราดอกเบี้ยจึงอาจจะใช้ไม่ได้ผลมากเท่าในอดีต
ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อครัวเรือนสหรัฐฯ อยู่ในสภาวะที่การเงินตึงตัวเต็มที่
ถึงแม้จะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลลดภาษีให้แต่ประชาชน ก็มักจะเก็บออมรายได้ส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้มากกว่าจะนำไปใช้จ่าย
และเมื่อธุรกิจและครัวเรือนสหรัฐฯ มีหนี้สินอยู่ในระดับที่สูงเป็น ประวัติการณ์อย่างในตอนนี้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำก็ไม่อาจจะกระตุ้น
ให้เกิดการกู้ยืมใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่นัก
สาเหตุอีกประการที่ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจถดถอยลงลึกกว่าที่
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดหมายก็คือ สภาพเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงขา
ลงและต่างกำลังฉุดดึง ซึ่งกันและกัน อัน เป็นสภาวการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ญี่ปุ่นเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยติดต่อกัน เป็นไตรมาสที่ 4 ในรอบ 10 ปีและคณะนัก
เศรษฐศาสตร์แห่งวาณิชธนกิจ CSFB ทำนาย ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะหดตัวต่อไปอีกเป็น
ไตรมาสที่ 5 ส่วนผลผลิตของกลุ่มประเทศยุโรป ก็หยุดนิ่งมาตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิและมีท่าว่า
จะเริ่มลดลงในไตรมาสที่ 4 ผลสำรวจความ คิดเห็นของนักทำนายเศรษฐกิจล่าสุด
ที่ นิตยสาร The Economist จัดทำขึ้น ปรากฏว่า นักวิเคราะห์เหล่านี้ได้พร้อมใจกันปรับลด
ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ พวก เขาชี้ว่าเอเชียตะวันออกกำลังอยู่ในภาวะถดถอย
เนื่องจากการส่งออกไป ยังสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าไฮเทคกำลังดิ่งเหว ยอดส่งออกของไต้หวัน
ตกลงถึง 43% ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงเดือนกันยายน ตัวเลขอย่างเป็นทาง การของสิงคโปร์
แสดงว่าสิงคโปร์มีอัตราการเติบโตของ GDP ลดลง ในอัตรา 10% ต่อปี ในไตรมาส
3 หลังจากที่เคยลดลงในอัตราเดียวกัน ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ แม้แต่จีนก็เผชิญกับอัตราการเติบโตที่ชะลอตัว
รัฐบาลจีนยอมรับว่า การเติบโตชะลอตัวลงเหลือ 7% ในช่วงตั้งแต่ต้น ปีนี้ถึงเดือนกันยายน
โดยลดจากระดับ 8% เมื่อปีกลาย
และถึงแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจะถดถอยไม่รุนแรงจริง ตามที่นักเศรษฐศาสตร์
ส่วนใหญ่ว่าไว้ก็ตาม แต่ก็ยังอาจสามารถส่ง ผลกระทบให้เศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ
1930 เป็นต้นมาได้ (คำจำกัดความของเศรษฐกิจถดถอยคือ การมีอัตรา การเติบโตต่อปีน้อยกว่าระดับ
2%) CSFB ในญี่ปุ่นทำนายว่า อัตราการ เติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่
1.5% ในปี 2001 และ 2002 ซึ่งนับเป็นอัตราการเติบโตต่อรอบ 2 ปีที่ชะลอตัวที่สุด
ในรอบ 50 ปีที่ ผ่านมา การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะวกกลับมากระทบกับสหรัฐฯ
ได้อีกต่อหนึ่งโดยเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยของสหรัฐฯ จะถูกกระหน่ำ ซ้ำเติมอย่างหนักหน่วงจากการค้าโลก
ที่หดตัวลง ทั้งนี้ปริมาณการค้าโลก เมื่อ ปีกลายเติบโต 13% ทว่าในปีนี้ อัตราการ
เติบโตอาจจะเหลือศูนย์
ตัวเลขประมาณการช่องว่าง ผลผลิตทั่วโลก (global output gap) กล่าวคือ ส่วนต่างที่เกิดขึ้นเมื่อผลผลิต
ต่ำกว่าศักยภาพการผลิตเพิ่มสูงขึ้นจน มีขนาดใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930
ส่งผลให้ความสามารถในการผลิตส่วน เกินมีอยู่สูงมากทั่วโลกและอาจส่งผล กระทบให้อัตราเงินเฟ้อลดต่ำลงอย่าง
รวดเร็วมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐ กิจโลกถดถอยครั้งก่อนๆ ดัชนีราคา
สินค้าโภคภัณฑ์ทุกชนิดที่จัดทำโดย นิตยสาร The Economist ตกลงสู่ระดับ ต่ำที่สุดในรอบ
15 ปี และอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยในกลุ่มประเทศ ร่ำรวย G7 อาจลดลงเหลือเพียง
1% เท่านั้นในปีหน้า อัตราเงินเฟ้อ ที่ต่ำบวกกับอัตราการเติบโตที่ซบเซา เป็นสัญญาณเตือนว่า
การเติบโตของ GDP ในกลุ่มประเทศ G7 อาจลดลงเหลือเพียง 1% ในช่วงต้นปีหน้า
เมื่ออัตราการเติบโตของ GDP อยู่ในระดับที่ต่ำ ผลก็คือ ธนาคารกลางต่างๆ
จะสามารถใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้น อุปสงค์ได้อย่างจำกัด กำไรจะเติบโตช้ากว่าที่นักลงทุนในตลาดหุ้น
คาดการณ์ ผู้ที่มีหนี้สินจะพบว่าความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ ลดลง และมักจะเกิดความตึงเครียดขึ้นภายในระบบการเงิน
อัตรา การเติบโตที่ต่ำหรือติดลบของ GDP ยังอาจนำไปสู่ภาวะเงินฝืด ซึ่ง จะยิ่งซ้ำเติมภาระหนี้สินมหาศาลที่แบกรับอยู่
ถ้าอยากรู้ว่า ความ เจ็บปวดทรมานของการเผชิญกับภาวะทางเศรษฐกิจที่เลวร้าย
เหล่านี้เป็นอย่างไร ญี่ปุ่นคงจะให้คำตอบแก่คุณได้ จากประสบการณ์ ที่พวกเขาต้องทนกล้ำกลืนตลอดหลายปี
มานี้
แปลและเรียบเรียงโดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
The Economist October 20, 2001