ทุกครั้ง ที่มีการแข่งขันกีฬาในระดับ ที่เรียกว่า Big Event ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
ฟุตบอลโลก รวมทั้ง ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือ ยูโร 2000 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นปิดม่านไปเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม
ที่ผ่านมา สื่อต่างๆ ย่อมต้องให้ความสนใจ ในการติดตาม และ นำเสนอข่าวคราวความเคลื่อนไหว
เพื่อสนองตอบต่อความใคร่รู้ของผู้บริโภค และเป็นการบันทึกเหตุการณ์ ไม่ให้หลุดจากกระแสสังคม
ที่ดำเนินอยู่
ในกรณีของสยามสปอร์ต ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นที่สุดของสื่อกีฬาไทย นอกจากจะอยู่ในฐานะ
ที่ไม่มีข้อยกเว้นแล้ว ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไข ที่จะต้องทำได้ดีเหนือระดับจาก
สื่ออื่นๆ เพื่อรองรับกับการคาดหวังของกลุ่มผู้บริโภคด้วย
กิจกรรมของสยามสปอร์ตภายใต้กรอบโครงของ ยูโร 2000 สามารถไล่เรียงตั้งแต่การปรับคลื่น
สปอร์ต เรดิโอ เอฟเอ็ม 99 ให้กลายเป็น ยูโรสเตชั่น เพื่อรายงานความเคลื่อนไหวของการแข่งขัน
ขณะเดียวกัน ก็จัดมหกรรมยูโร 2000 ที่บริเวณลานหน้าศูนย์การค้า เวิลด์เทรด
เซ็นเตอร์ ซึ่งมีการออกร้านสตาร์ ซอคเกอร์ เพื่อจำหน่ายของ ที่ระลึก และสินค้า
ที่เกี่ยวเนื่องกับ ยูโร 2000 ควบคู่กันไป
วัตถุประสงค์สำคัญของสยามสปอร์ตในการดำเนินกิจกรรมพิเศษเหล่านี้ อยู่ ที่การสร้างกระแสตื่นตัวด้านกีฬาให้เกิดขึ้นในจิตใจของสาธารณชน
ซึ่งนอกจากจะทำให้ความต้องการบริโภคข่าวสารด้านกีฬามีมากขึ้นแล้ว กระแส ที่ถูกจุดขึ้นมานี้จะย้อนกลับมาเป็นแรงซื้อ
ขนาดใหญ่สู่ทุกช่องทาง ที่สยามสปอร์ตมีธุรกิจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อวิทยุโทรทัศน์ หรือร้านค้า ของ ที่ระลึก ฯลฯ
ในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ในเครือนอกจากจะมี การจัดสรรพื้นที่ข่าว เพื่อรายงานความเป็นไปของ
การแข่งขันในครั้งนี้เป็นพิเศษแล้ว ยังมีการออก ฉบับเฉพาะกิจ รวมถึงการออกหนังสือพิมพ์สยามกีฬา
รายวัน กรอบพิเศษภาคบ่าย
"ยอดขายในช่วง ที่มีการแข่งขันกีฬาในลักษณะนี้
ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมายนัก เพราะกลุ่มผู้อ่านค่อนข้างชัดเจนว่า แม้จะไม่มีการแข่งขันก็ติดตามหาซื้อมาอ่านเป็นประจำอยู่แล้ว"
พงษ์ศักดิ์ กล่าวถึงยอดการจำหน่ายสิ่งพิมพ์ในเครือในช่วงฟุตบอลยูโร 2000
ที่ผ่านมา
ข้อได้เปรียบ ที่สำคัญก็คือ กระบวนการผลิตทั้งระบบ รวมศูนย์อยู่ภายในตึก
ที่ทำการเดียวกัน ทำให้ ทันที ที่ผลการแข่งขันสิ้นสุดลง แม้จะเป็นเวลา 04.00
น. ของวันใหม่ หนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน ฉบับ ที่วางแผงตอนรุ่งเช้า ก็มีความทันสมัย
ด้วยรายละเอียดของการแข่งขันให้ผู้อ่านได้เสพเช่นปกติ
พงษ์ศักดิ์เชื่อว่า เหตุ ที่ทำให้กระบวนการผลิตของสยามสปอร์ต สามารถรองรับกับเหตุการณ์เช่นนี้ได้อยู่
ที่ ประสบการณ์ และความผูกพันต่อเกมการแข่งขัน "ผู้สื่อข่าวแต่ละคน ไล่เรียงไปถึงเจ้าหน้าที่หน้าแท่นพิมพ์
มีจิตใจเดียวกัน คือ คลั่งไคล้กีฬาเหมือนกัน และทำให้ทุกคนมีเป้าหมาย ที่จะต้องเสนอข่าวเสนอหนังสือให้ผู้อ่านได้ตรงตามเวลา
และมีความทันสมัยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ ซึ่งทุกคนจะเข้าใจว่ากำหนดเวลา ที่งานแต่ละส่วน
จะต้องเสร็จสิ้นเป็นเท่าใด จะช้าไม่ได้
อย่างไรก็ดี ในช่วงก่อนการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2000 จะเริ่มขึ้นหน่วยราชการไทย
โดยเฉพาะสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดูจะมีความกังวลเกี่ยวกับการพนันผลฟุตบอลรายการนี้ไม่ใช่น้อย
และพยายามประชาสัมพันธ์ ปราบปรามการกระทำ ที่ผิดกฎหมายดังกล่าว รวมถึงกระแสข่าวเกี่ยวกับการขอความร่วมมือจากสื่อต่างๆ
ในการนำเสนอข่าวสาร ไม่ให้เป็นไปในเชิงชี้นำ
กรณีดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นการพุ่งเป้าโดยตรงมายังสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทรายวันในเครือของสยามสปอร์ต
ซึ่งประกอบด้วย สยามกีฬารายวัน, สตาร์ซอคเกอร์รายวัน และสปอร์ตพูลรายวัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสปอร์ตพูลรายวัน ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ ที่เน้นการนำเสนอข่าวคราวเกี่ยวกับอัตราการต่อรองจากสำนักต่างๆ
ทั่วโลกในทุกลักษณะ ขณะที่เว็บไซต์ของสยามสปอร์ต ก็จะมีตัววิ่งไฮไลต์แสดงอัตราการต่อรองไทยเรต
ล่าสุดก่อนการแข่งขันด้วย
สำหรับพงษ์ศักดิ์ เขามองว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างแรง ที่คิดว่าสื่อมีอิทธิพลต่อการเล่นหรือไม่เล่นพนันในครั้งนี้
ซึ่งภาครัฐ "ต้องมองว่าเป็นวิวัฒนาการของการนำเสนอข่าว
เพราะการจะบอกว่าทีมใดมีความได้เปรียบคู่แข่งขันมากกว่านั้น บางครั้งทำได้ยาก
แต่ การเขียนในลักษณะ ที่แสดงปริมาณความได้เปรียบ เสียเปรียบ และโอกาสแพ้ชนะ
เป็นอัตราตัวเลข ทำให้ ผู้อ่านเข้าใจสภาพได้รวดเร็วกว่าเท่านั้น "
ซึ่งก็เหมือนกับ สำนวนอื่นๆ ในการเสนอข่าวหนังสือพิมพ์ทั่วไป