Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2544
ตำนานสิ่งพิมพ์ไอที             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ The outsider
ไต้หวัน connection
DUN & Bradstreet
TransUnion จากธุรกิจเช่ารถรางสู่ธุรกิจข้อมูล
ตำนานสิ่งพิมพ์ไอที

   
search resources

กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ช, บจก.
Printing & Publishing




การถือกำเนิดเออาร์เข้าสู่แวดวงธุรกิจสิ่งพิมพ์ ด้านไอที ในปี 2533 เป็นช่วงที่ธุรกิจสิ่งพิมพ์ด้านไอทีได้ผ่านการเดินทางมาแล้ว 7 ปีเต็ม

แมกกาซีนคอมพิวเตอร์ในยุคแรก เกิดขึ้นมาเมื่อ 18 ปีที่แล้ว โดยแมนกรุ๊ปและ ซีเอ็ดดูเคชั่น เป็นสองกลุ่มสิ่งพิมพ์ที่มีบทบาท และครองตลาดสูสีกันมาตลอด

แมนกรุ๊ปเติบโตมาจากกลุ่มบีอาร์ของ บุรินทร์ วงศ์สงวน เป็นเจ้าของหนังสือแมนที่โด่งดังมากในยุคนั้น หนังสือบูมมาจนถึงประมาณปี 2520 เริ่มซบเซา บุรินทร์ตัดสินใจ ถอนตัวออกจากธุรกิจ และยกหนังสือแมนให้กับสุทัศน์ รัตนเมธี ทำต่อ

แมนกรุ๊ปในยุคของสุทัศน์ ได้แตกขยายนิตยสารออกไปมากมาย นอกจากนิตยสารแมน มีไฮไฟสเตอริโอ วิดีโอรีวิว หนังสือเรียนดี ออฟฟิศออโตเมชั่น และมาออกหนังสือคอมพิวเตอร์รีวิว ออกมาเป็นนิตยสารสำหรับวงการคอมพิวเตอร์เป็นเล่มแรกในปี 2526 ใกล้เคียงกับกลุ่มซีเอ็ด ได้หนังสือไมโครคอมพิวเตอร์มาวางตลาดก่อนหน้านี้ไม่นาน

"กลุ่มคนอ่านในยุคนั้นเป็นคนทุกระดับ แต่เป็นเรื่องที่เฉพาะด้าน" องอาจ อิฐ มอญ ผู้ร่วมบุกเบิก ซึ่งในปัจจุบันเขาเป็นกรรมการและหุ้นส่วนหลักของกลุ่มแมนกรุ๊ป

การเติบโตของนิตยสารคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในวงจำกัด จนกระทั่งเมื่อตลาดไอทีเริ่มขยายตัวตามภาวะการเติบโตของเศรษฐ กิจในไทย แมกกาซีนคอมพิวเตอร์ก็เติบโตตาม ในปี 2532 แมนกรุ๊ปซื้อลิขสิทธิ์หนังสือ PC WEEK จาก Ziff-Davis Inc เป็นลิขสิทธิ์จาก ต่างประเทศรายแรกๆ นอกเหนือจากคอม พิวเตอร์เวิลด์ ที่ออกมาในเวลาใกล้เคียงกัน

"เวลานั้นเราอยากได้ Knowhow และ Goodwill จากต่างประเทศ ซึ่งเขาอยู่กับพัฒนาการตรงนั้น เราจะได้วิ่งได้ทันกับ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี" องอาจย้อนอดีต

ระหว่างปี 2532-2533 นับเป็นช่วงของการขยายตัวอีกครั้งของแมกกาซีนคอมพิวเตอร์ ธุรกิจสิ่งพิมพ์หลายแห่งขยายเข้าสู่ธุรกิจนี้ อาทิ กลุ่มผู้จัดการ และกลุ่มวัฏจักร

กลุ่มแมนกรุ๊ป ซึ่งเป็นรายใหญ่ในตลาดแมกกาซีนเวลานั้นก็ได้ขยายธุรกิจของตัวเองออกไปต่อเนื่อง ในปี 2533 กลุ่มแมนกรุ๊ปได้นำชอปปิ้งคอมพิวเตอร์ออกวางตลาด เพื่อขยายไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ทำให้แมนกรุ๊ปมีแมกกาซีนคอมพิวเตอร์ที่รองรับกับกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ คอมพิวเตอร์รีวิว กลุ่มผู้อ่านที่อยู่ในแวดวงธุรกิจและโฮมยูส นิตยสาร PC WEEK รองรับกับกลุ่มผู้อ่านที่เป็นกลุ่มชอปปิ้งคอมพิวเตอร์เป็นผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ทั่วไป

คอมพิวเตอร์รีวิวของกลุ่มแมนกรุ๊ป เป็นผู้ครองตลาดแมกกาซีนคอมพิวเตอร์ควบคู่กับนิตยสารไมโครคอมพิวเตอร์ของกลุ่มซีเอ็ด สองรายใหญ่ในธุรกิจแมกกาซีนคอมพิวเตอร์ที่มูลค่าตลาดโฆษณาบนนิตยสารคอมพิวเตอร์ก่อนปี 2535 มีอยู่ประมาณ 100 ล้านบาท

ช่วงเวลาเดียวกัน คือ ในปี 2532 กลุ่มเออาร์ได้ออกนิตยสาร BCM (Business Computer Magazine) เข้ามาเป็นตัวเลือกอีกรายในตลาดแมกกาซีนด้านไอที โดยได้ดึงเอานักวิชาการด้านไอทีมาเป็นทีมงาน

จากนั้นกลุ่มเออาร์ก็ทยอยออกหนังสือ เล่มใหม่ต่อเนื่อง ในปี 2534 ออกหนังสือคอม พิวเตอร์ทูเดย์มารองรับกลุ่มผู้อ่านทั่วไป และ สองปีถัดมา ก็ได้ออก Windows Magazine และออกนิตยสาร Byte Thailand ตามออกมาในปีถัดมา

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานในช่วง 7 ปีแรกของกลุ่มเออาร์ต้องประสบภาวะยาก ลำบาก เนื่องจากเนื้อหาของนิตยสารทั้ง 3 เล่ม ที่ออกมายังไม่ตรงใจกับผู้อ่าน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาการดำเนินงานภายใน

"เนื้อหาของบีซีเอ็มในช่วงนั้นเป็นเรื่องของการเอาไอทีมาจัดการ สมัยนั้นคนน้อยมากจะชอบอ่าน ตลาดของคอมพิวเตอร์ ทูเดย์ก็ไม่ดี เพราะผู้อ่านยังไม่ได้เป็น massจริงๆ" วิโรจน์ อัศวรังสี ผู้จัดการทั่วไปบริษัท เออาร์ อินฟอร์เมชั่น แอนด์ พับลิเคชั่น จำกัด (ARiP) เล่า ในขณะที่ Windows Magazine ซึ่งเป็นเรือธงของเออาร์เวลานั้น ที่สามารถสร้างภาพหวือหวาให้ได้เพียงปีเดียว ก็ต้องเจอกับปัญหา

วิโรจน์จบวิศวกรรมศาสตร์ สาขา อิเล็กทรอนิกส์ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก่อนจะเข้ามาในแวดวงธุรกิจสิ่งพิมพ์ วิโรจน์เคยเป็นวิศวกรในโรงงาน ผลิตไอซี เคยทำงานโรงงานเนชั่นแนลไอซีเซมิคอนดักเตอร์ โรงงานทอมป์สัน มาพักใหญ่ก่อนจะเบนเข็มมาหาประสบการณ์ในธุรกิจสิ่งพิมพ์ เริ่มงานครั้งแรกกับกลุ่มแมนกรุ๊ป 4 ปีเต็ม ก่อนจะย้ายไปร่วมงานกับกลุ่มเออาร์ และบุกเบิกธุรกิจมาจนถึงปัจจุบัน

ทีมงานส่วนใหญ่นิตยสารประเภทคอมพิวเตอร์ จะมีข้อแตกต่างไปจากสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่จะต้องนำเอาผู้ที่จบวิศวกรมาทำงาน เนื่องจากต้องอาศัยความรู้ในเรื่องของเทคนิค นอกเหนือจากนักเขียนจากภาย นอกที่เป็นนักวิชาการที่อยู่ในแวดวง

วิโรจน์เล่าว่า ปัญหาหลักของเออาร์ในเวลานั้นมาจากปัญหาภายในองค์กร ส่งผลต่อตัวผลิตภัณฑ์ ทำให้ไม่สามารถต่อกรกับคู่แข่งขันทั้งสองราย คือกลุ่มเแมนกรุ๊ป และซีเอ็ดที่ครองตลาดอยู่ก่อนหน้านี้

"ช่วงนั้นมีการผลัดเปลี่ยนคนจำนวน มาก เวลานั้นมีแค่ 3 เล่ม ยังปิดเล่มไม่ทัน ทำงานไม่ประสานกัน ปัญหามาจากการผิดพลาดของผู้บริหาร ทัศนคติของพนักงานก็ไม่ดี คิดแต่จะไปหางานที่อื่นทำ มีปัญหาตลอด"

นอกจากนี้ ธุรกิจสิ่งพิมพ์ของเออาร์ ก็ต้องเติบโตขึ้นภายใต้เงินทุนที่จำกัด มีอยู่เพียงแค่ 2 ล้านบาท

"เวลานั้นอย่าว่าแต่คอมพิวเตอร์ที่จะ มาจัดหน้าเลย เครื่องพีซี พรินเตอร์ก็ไม่มีงบประมาณให้ เวลานั้นคุณแจ็คเขาไปโฟกัสที่ธุรกิจไอที ส่วนของเออาร์ไม่ยุ่ง เพราะถือว่า มอบให้เราบริหารแล้ว"

ปัญหาความยุ่งเหยิงภายในองค์กร บวกกับภาวะขาดทุน เวลานั้นผู้บริหารของเออาร์มีแนวคิดที่จะปิดบริษัท จนได้มีข้อเสนอ จากทีมงาน ภายใต้การนำของวิโรจน์ได้ยื่นข้อเสนอขอเป็นผู้ปรับปรุงองค์กรใหม่ เพื่อหวังกอบกู้ธุรกิจขึ้นใหม่

ด้วยขนาดขององค์กรที่ไม่ใหญ่โต จำนวนหนังสือมีไม่มากบวกกับการแก้ไขปัญหาภายในได้ตรงจุด สถานการณ์ของ เออาร์ก็เริ่มดีขึ้น จากภาวะขาดทุนมาตลอดก็เริ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นจึงได้มีการออกแมกกา ซีนคอมพิวเตอร์เล่มใหม่ อินเทอร์เน็ตทูเดย์ ออกมารองรับกับการเติบโตของตลาดอิน เทอร์เน็ต และเริ่มให้บริการข้อมูลออนไลน์ผ่านระบบบูเลทินบอร์ด (BBS)

เริ่มทำเว็บไซต์ออกมาสู่ตลาด เพื่อรองรับธุรกิจสิ่งพิมพ์ ที่ต้องมีเรื่องราวเกี่ยวกับ อินเทอร์เน็ต นอกจากเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นเองแล้ว เออาร์ยังได้เป็นผู้หาโฆษณาให้กับเว็บไซต์ ของไทยรัฐ

"เราทำเว็บไซต์เพื่อต้องการบอกถึงความแตกต่างไปจากสื่อเล่มอื่นๆ เป็นเรื่องของการสร้าง innovation" วิโรจน์บอก

แต่แล้วต้องมาประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำอีกครั้งในปี 2540 ส่งผลให้ยอดขายของเออาร์ที่กระเตื้องขึ้นมากลับต้องตกลงมาอีกครั้ง ระหว่างนั้นกลุ่มเออาร์ก็ได้แก้ปัญหา ด้วยการปรับปรุงขนาดของคอมพิวเตอร์ ทูเดย์ ให้มีขนาดเล็กลง และปรับเนื้อหาให้เหมาะกับผู้อ่านที่เป็นกลุ่มคนทั่วไป เป็นเนื้อหาอ่านง่ายๆ ทำให้สามารถประคับประคองธุรกิจต่อไป ได้

"เวลานั้นโครงสร้างเรายังแย่อยู่ แต่ก็ปรับปรุงมาเรื่อยๆ พอมาถึงวิกฤติเศรษฐกิจเราก็เลยรับมือกับมันได้"

ในขณะที่กลุ่มสิ่งพิมพ์อื่นๆ กลับต้องได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจไปตามๆ กัน กลุ่มแมนกรุ๊ปในช่วงหลังก็อ่อนแรงลงไปมาก หันมามุ่งโฟกัสเฉพาะแมกกาซีนคอมพิวเตอร์ 2 ฉบับ คือ คอมพิวเตอร์รีวิว และชอปปิ้งคอมพิวเตอร์ ในขณะที่ซีเอ็ดได้บอกเลิกการซื้อลิขสิทธิ์ พีซีวีก ไปเนื่องจากปัญหาค่าเงินบาท กลุ่มแมนกรุ๊ป นอกจากจะไม่มีหนังสือใหม่ออกมาในตลาดแล้ว กลุ่มแมนกรุ๊ปยังต้องพยายามประคับประคองตัวเอง และเตรียมที่จะปรับปรุงคอม พิวเตอร์รีวิว จากการเป็นแมกกาซีนรายเดือนให้เป็นรายสัปดาห์

กลุ่มซีเอ็ด เป็นที่รับรู้กันทั่วไป ก็ได้เบนเข็มไปมุ่งทำธุรกิจช่องทางจัดจำหน่าย เปิดร้านหนังสือซีเอ็ด แต่ยังคงเหลือนิตยสารไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ก็ได้ลดบทบาทในธุรกิจสิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ลงไปมากแล้ว

ในด้านของเออาร์ นอกจากไม่ต้องกระทบกับวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำมากนัก การที่บริษัทแม่ คือ เออาร์จี ได้กลุ่มเงินทุนใหม่ คือ Keppel T&T เข้ามาถือหุ้น ก็ยิ่งช่วยเกื้อกูลต่อภาพโดยรวมของกลุ่มเออาร์ รวมถึงกลุ่มสิ่งพิมพ์แข็งแกร่งขึ้น

กลุ่มเออาร์ก็ได้อาศัยช่วงจังหวะและโอกาสที่ได้มาในระหว่างนี้ เร่งสร้างภาพของธุรกิจ ด้วยการขยายการลงทุนทั้งในฟากของธุรกิจออนไลน์ และในส่วนของธุรกิจสิ่งพิมพ์ ที่นอก จากมีการปรับปรุงหัวหนังสือหลายเล่มในมือ

นอกจากการออกหัวหนังสือแมกกาซีนคอมพิวเตอร์แล้ว ยังได้มีการจัดงานแสดงสินค้าทางด้านคอมพิวเตอร์ คือ งานคอมเทค คอมมาร์ท ด้วยรูปแบบการจัด ทั้งขนาดและความยิ่งใหญ่ เรียกว่าสวนทางกับสภาพโดยรวมของธุรกิจในขณะนี้

แม้ว่าเงินทุนที่ได้จาก Keppel จะไม่ได้มาลงที่เออาร์โดยตรง แต่ปีที่ธุรกิจสิ่งพิมพ์ของ เออาร์ด้วยเช่นกัน วิโรจน์บอกว่า เงินลงทุนส่วนใหญ่จะใช้ไปกับการขยายกำลังคน เพื่อรอง รับกับการขยายตัวของธุรกิจ โดยใช้เงินลงทุนไปประมาณ 28 ล้านบาท ไม่รวมการสร้างตึก ที่เป็นอาคารขนาดย่อม ริมถนนรัชดาภิเษก และการออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์

จากสภาพของคู่แข่งรายเดิมทั้งสองรายที่อ่อนแรงลงไป บวกกับภาพรวมขององค์กรที่ดีขึ้น ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของนิตยสารคอมพิวเตอร์ทางด้านไอที จึงตกไปอยู่ในมือของกลุ่ม เออาร์ที่ยอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีจำนวนแมกกาซีนคอมพิวเตอร์อยู่ในมือเป็นจำนวน มาก

เออาร์ไอพี ได้กลายเป็นเจ้าของแมกกาซีนคอมพิวเตอร์ 8 ฉบับ แมกาซีนในรูปของซีดี 1 ฉบับ หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ด้านไอที 1 ฉบับ หนังสือไดเรคเทอรีส์ คือ ทีซีไอ 1 ฉบับ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซีดีไตเติ้ล 60 ไตเติ้ล เจ้าของเว็บไซต์ 6 เว็บ และเป็นผู้จัดการแสดง สินค้า

วิโรจน์บอกว่า การออกหัวหนังสือแมกกาซีนคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก เนื่องจากสามารถใช้ทีมงานเดียวกัน ทำให้การรุกขยายของเออาร์ทำได้อย่างรวดเร็ว

"ก่อนหน้านี้เราก็เริ่มขยายแล้ว เพียงแต่ไม่เป็นข่าวเท่านั้นเอง" วิโรจน์บอก

ก้าวรุกที่สำคัญของเออาร์ไอพี ก็คือ การออกหนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย นับได้ว่าเป็น การขยายบทบาทของเออาร์ครั้งสำคัญ จากการทำแมกกาซีนคอมพิวเตอร์ เข้ามาอยู่ในฟาก ของการทำหนังสือพิมพ์ทางด้านเศรษฐกิจ ที่ต้องใช้ประสบการณ์ และทักษะความเข้าใจของกระบวนการทำที่แตกต่างไปจากเดิม จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่ภาพความน่าเกรงขามของการเป็นเจ้าของสื่อสิ่งพิมพ์ทางด้านเศรษฐกิจ ย่อมมีความยิ่งใหญ่ที่เหนือกว่า การเป็นเจ้าของ นิตยสารทางด้านคอมพิวเตอร์อยู่มากมาย

กระนั้นก็ตาม สำหรับองอาจ อิฐมอญ แห่งแมนกรุ๊ปนั้น ความเห็นของเขาเกี่ยวกับกลุ่มเออาร์ เขาตอบอย่างระมัดระวังว่า "ต้องดูกันต่อไปว่า ภาพการลงทุนเหล่านี้จะออกมาเป็นอย่างไร"

นอกจากเออาร์ที่ครองส่วนแบ่งตลาด ส่วนใหญ่ไปแล้ว ค่ายควิกพีซี เป็นนิตยสารคอมพิวเตอร์ค่ายน้องใหม่เล็กๆ ที่เกิดและเติบโตมาในยุควิกฤติเศรษฐกิจ ด้วยเงินทุน 2 ล้านบาท

เดิมที ควิกพีซี เป็นนิตยสารคอมพิว เตอร์ที่อยู่ในสังกัดของเทเลคอมเจอร์นัลของ สมพงษ์ สระกวี ซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภา ต่อมาได้ขายหัวหนังสือควิกพีซีไปให้กับบริษัทศรีราชา คอนสตรักชั่น ทำธุรกิจก่อสร้าง แท่นขุดเจาะน้ำมัน ที่สนใจทำแมกกาซีนคอม พิวเตอร์

ช่วงแรกสถานการณ์ของควิกพีซีไม่ ดีนัก ยังไม่เป็นที่นิยมของผู้อ่าน จนเมื่อมีการ เปลี่ยนเจ้าของ จึงได้มีการปรับปรุงเนื้อหา หันมามุ่งเนื้อหาทางด้านฮาร์ดแวร์เป็นหลัก

"นิตยสารคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เน้นเนื้อหาด้านซอฟต์แวร์เป็นหลัก แต่ฮาร์ดแวร์ไม่มี พอเราหันมามุ่งด้านฮาร์ดแวร์ก็ประสบ ความสำเร็จ" ชูเกียรติ นาคพิทักษ์กุล บอก

ชูเกียรติ จัดเป็นบุคคลหนึ่งที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงนิตยสารคอมพิวเตอร์มาหลายปี แม้ว่าจะไม่ใช่ยุคเริ่มต้นของนิตยสารคอมพิว เตอร์ แต่ก็เคยทำงานอยู่กับกลุ่มแมนกรุ๊ป 3 ปี ก่อนจะย้ายมาทำงานกับนิตยสารไอทีซอฟท์ 3 ปี จากนั้นก็มาร่วมงานกับค่ายควิกพีซี

ปรากฏว่า ควิกพีซีมาถูกทาง เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้คนไทย จะนิยมซื้อเครื่องพีซีประเภทไม่มียี่ห้อ หรือเครื่องประกอบเองมาใช้งานมากกว่าเครื่องมียี่ห้อ ทำให้ควิกพีซี ซึ่งมุ่งไปที่เนื้อหาทางด้านนี้เริ่มเป็นที่รู้จัก จากนั้นได้เปิดนิตยสาร buy.com เข้ามาทำตลาด

หลังจากทำสำเร็จในเล่มแรก ที่เข้า ไปจับตลาดใหม่ๆ ที่เป็นการฉีกเนื้อหาไปจากเดิม ควิกพีซีมุ่งสร้างความแตกต่างอีกครั้ง ด้วยการขยายผลไปที่การทำแมกกาซีนที่อยู่ในรูปแบบของแผ่นซีดี เป็นการสอนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

"ช่วงแรกไม่มั่นใจ เราทดลองเอาไปวางขายที่ห้างพันธุ์ทิพย์ ปรากฏว่ายอดพิมพ์ 5,000 เล่ม 3 วันขายหมด ต้องพิมพ์รอบสองอีก 7,000 เล่ม จนกระทั่งพิมพ์เพิ่มมา 5 รอบ ยอด 45,000 เล่ม"

แมกกาซีนในรูปของแผ่นซีดี จึงเป็นจุดที่สร้างชื่อทำให้ค่ายควิกพีซี เริ่มเป็นที่รู้จักในตลาด ชูเกียรติบอกว่า ยังเป็นการฉีกรูปแบบของการหารายได้ของแมกกาซีน ที่ มาจากโฆษณา และยอดขายบนแผงหนังสือ ปรากฏว่าแมกกาซีนในรูปของซีดีกลับทำยอด ขายจากยอดขายบนแผงหนังสือ

ปัจจุบัน นอกจาก Easy CD ของค่าย ควิกพีซีแล้ว มีแมกซีดีของค่ายเออาร์ ที่มีนิตยสารที่บรรจุอยู่ในแผ่นซีดี

หลังจากเริ่มเป็นที่รู้จัก การขยายตัวของค่ายควิกพีซีก็มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง คราวนี้หันมาจับกลุ่มผู้อ่านที่เป็นมืออาชีพ เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เว็บมาสเตอร์ ด้วยการออก แมกกาซีน ที่ชื่อ DCV "เราทำเพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่"

ถัดจาก ควิกพีซี ก็มีนิตยสาร มิส เตอร์ลีนุ้กซ์ และปาล์มแมก เป็นการจับกลุ่มผู้อ่านที่แยกย่อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ

การออกนิตยสารของค่ายควิกพีซีจะ เพิ่มไปตามการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และกลุ่มคนอ่านที่มุ่งความหลากหลาย การหันมา เปิดตลาดนิตยสาร eLife แม้ว่าจะอยู่หมวดนิตยสารทางด้านไอทีเช่นเดิม แต่ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์หลักของค่ายนี้ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยนำเสนอแต่เรื่องของเทคนิค ไปยังกลุ่มผู้อ่านในระดับที่กว้างขึ้น เป็นแง่มุมใหม่ๆ ในด้านของผู้ใช้ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง ในอีกระดับของค่ายนี้

"ผมว่า เทคโนโลยีมันเริ่มหยุดนิ่ง เป็นปีที่ไม่มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา แต่ถ้าพูดถึงเรื่องของผลิตภัณฑ์วันนี้เป็นเรื่องของดิจิตอล"

การออกแมกกาซีนใหม่ๆ สู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ ดูจะเป็นเรื่องปกติสำหรับแมกกาซีน ด้านคอมพิวเตอร์ ควิกพีซีก็เช่นกัน พวกเขาผลิตแมกกาซีนคอมพิวเตอร์ ในช่วง 4 ปี ทั้งหมด 10 ฉบับ ชูเกียรติย้ำเสมอว่า เป็นจุดที่สร้างความสำเร็จมาจากการสร้างความแตกต่างในการ แสวงหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับตัวเอง

พวกเขาให้คำจำกัดความของตัวเองว่าเป็น "ไอทีมีเดีย" นอกเหนือจากควิกพีซี เน็ทเวิร์คที่ทำแมกกาซีนทางด้านไอทีมีเดียแล้ว คอมมิกเควสท์ที่เกิดขึ้น เพื่อขยายไปยังมีเดียในด้านอื่นๆ

แม้ว่า เส้นทางของแมกกาซีนคอมพิวเตอร์ของเมืองไทย จะจำกัดอยู่กับธุรกิจไม่กี่ กลุ่ม แต่ละค่ายก็ออกผลิตภัณฑ์ออกมาในตลาดจำนวนมาก เพื่อตอบสนองการเติบโต ที่มีขนาดของตลาดประมาณ 200 ล้านบาท

และนี่คือ ส่วนหนึ่งของที่มาของแมกกาซีนคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏตัวอย่างหลากหลาย บนแผงหนังสือ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us