โรเบิร์ต คูเปอร์ (Robert K. Cooper) กล่าวถึงหัวใจและกึ๋น ว่าสองอย่างนี้เป็นส่วนที่มีผลต่อแรงจูงใจในชีวิตของเรา
ในหนังสือ The Other 90% : How to Unlock Your Vast Untapped Potential for
Leadership and Life คูเปอร์ไม่เพียงสำรวจถึงศักยภาพอันน่า มหัศจรรย์สำหรับการทำงานและใช้ชีวิตที่ดีขึ้น
แต่ยังอธิบายถึง ผลการวิจัยใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่ก่อรูปขึ้นเป็นฐานของทฤษฎี
สำคัญๆ เกี่ยวกับชีวิตและความเป็นผู้นำ
ศูนย์ควบคุมแรงกระตุ้น
คูเปอร์บอกระบบย่อยอาหารของมนุษย์นั้นมีส่วนที่เรียกว่า "สมองที่สอง"
ที่เรียกว่า enteric nervous system ซึ่งคอยกำกับ การกระทำของเราอันเกิดจากส่วนของประสาทที่เรียกว่า
neuron นับล้านที่คอยช่วยในเรื่องการเรียนรู้ จดจำ และมีผลต่อความคิด และการกระทำต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ในหนังสือเล่มนี้ คูเปอร์เสนอ "สมองที่สาม" คือหัวใจซึ่งเป็นส่วนที่สื่อสารกับส่วนอื่นของร่างกาย
และผลักดันให้เราขยายแนวโน้มและมองหาโอกาสสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ขึ้น เขาบอกศูนย์ควบคุมแรงกระตุ้นเหล่านี้ทำงานร่วมและคานกับระบบที่เรียกว่า
reticular activating system ในสมอง ซึ่งมีแนวโน้มจะส่งข้อมูลเชิงลบไปที่ส่วนหน้าของสมอง
ก่อนที่ ข้อมูลเชิงบวกจะถูกส่งเข้าสู่ประสาทการรับรู้
ปรับทิศทางของจิตใต้สำนึก
ผลการวิจัยดังกล่าวทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ ในการคิดของมนุษย์ที่สร้างกรอบความคิดจากสิ่งที่คูเปอร์อธิบายว่า
เราสามารถควบคุมสิ่งที่ร่างกายและจิตใจของเราแสดงปฏิกิริยา โต้ตอบออกมาเพื่อรับมือกับสภาพการณ์ต่างๆ
ในชีวิตประจำวันได้
ตัวอย่างเช่น หากระบบ RAS กำลังบอกคุณว่าสิ่งที่หัวหน้า คุณบอกคุณมานั้นจะมีผลคุกคามสถานภาพการงานของคุณ
แบบแผนพฤติกรรมที่อยู่ภายในตัวคุณจะสามารถส่งผลต่อการ
กระทำและจำกัดศักยภาพของคุณ แต่เมื่อคุณตระหนักถึงปฏิกิริยา ของจิตใต้สำนึก
คุณจะสามารถกำหนดทิศทางการกระทำได้ใหม่ โดยการพิจารณาประเด็นให้รอบด้านอีกรอบหนึ่ง
แล้วจึงจัดวาง แนวทางการปฏิบัติตนต่อไปว่าควรจะทำให้ดีที่สุดอย่างไร ซึ่งการแสดงปฏิกิริยาคราวนี้จะลดทอนความตึงเครียดและความ
กดดันต่างๆ ลง โดยมุ่งไปสู่การเติบโตและการหยั่งรู้จากภายใน
เก็บข้อมูลไว้
ความรู้สึกประทับใจต่อสิ่งต่างๆ จะไปอยู่ที่ cerebral cortex เป็นแห่งสุดท้าย
หลังจากเริ่มเดินทางจาก neurotransmitters ในระบบลำไส้ไปสู่หัวใจ และส่วนต่างๆ
ของสมอง ดังนั้น หากเรา พึ่งพาเพียงการคิดที่อยู่ที่ส่วนของสมองมากเกินไป
"จะทำให้มี
การดิ้นรนอย่างมากโดยไม่จำเป็น" คูเปอร์เสนอให้มีการถ่วงดุล
ศักยภาพภายในที่อยู่ระหว่างการคิดเชิงเหตุผลกับความรู้สึก ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
ซึ่งนี่คือวิธีที่จะปรับปรุงการทำงาน และการดำรงชีวิตของเราได้ "การปิดรับส่วนที่เป็นความรู้สึก
นึกคิดมักลงเอยที่การตัดสินใจแบบไม่ได้เรื่อง" จากผลวิจัยเชิง วิทยาศาสตร์ดังกล่าว
ผนวกกับประสบการณ์ส่วนตัว ทำให้ ผู้เขียนสรุปบทเรียนเกี่ยวกับแรงบันดาลใจและแรงจูงใจที่อิงอยู่กับ
ด้านที่เป็นเชิงบวกในตัวมนุษย์ แล้วนำเสนอเป็นประเด็นๆ อาทิ "จะทำใจให้แจ่มใสได้อย่างไร"
"จะตัดสินใจให้ดีขึ้นได้อย่างไร" "ใช้ความรู้ความสามารถที่มาจากความรู้สึกนึกคิดแทนที่จะมุ่งแต่เหตุผล"
"อย่ามัวแต่แข่งขัน จงมุ่งสู่ความเป็นเลิศ" เป็นต้น
เงื่อนไขทางภายภาพ
คูเปอร์ไม่ได้มุ่งโฟกัสแต่ความสามารถที่เพิ่มพูนขึ้นจาก
การให้ความสำคัญกับความคิดความรู้สึกเท่านั้น แต่เงื่อนไขทาง กายภาพก็เป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อการที่เราจะดำเนินชีวิตด้วยเช่นกัน
ซึ่งก็รวมถึงการวางท่าทางให้เหมาะสม เพราะการอยู่ในร่างที่ไม่เหมาะสมทำให้ต้องสูดลมหายใจหนักขึ้นแต่ลดการไหลเวียน
ของออกซิเจน นอกจากนั้น คูเปอร์ยังกระตุ้นให้ผู้อ่านให้ความ
สำคัญกับความใฝ่ฝัน ความหวัง ความใส่ใจ การแสวงหาโอกาส และใช้ส่วนที่ดีที่สุดของตน
อย่าลืมอีก 90% ที่เหลือ
คูเปอร์เชื่อมโยงแนวคิดที่เขานำเสนอกับภาวะผู้นำและการเพิ่มศักยภาพส่วนบุคคล
ที่เขาได้ข้อมูลจากผู้คนที่เขาพบปะพูดคุยด้วยมาตลอดชีวิตของเขา เป็นหนังสือที่เสนอเนื้อหาอย่าง
ตรงไปตรงมาในแง่การพัฒนาบุคลิกภาพ โดยเฉพาะในแง่ของการดึงเอาศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวมนุษย์อีก
90% ออกมาใช้ให้ เป็นประโยชน์ทั้งในแง่การทำงานและการดำรงชีวิต