Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543
สยามสปอร์ต ตักศิลานักข่าวกีฬาไทย             
 

   
related stories

พงษ์ศักดิ์ ผลอนันต์
ยูโร 2000 กับสยามสปอร์ต
จากวันนั้นสู่วันนี้ของสยามสปอร์ต

   
search resources

สยามสปอร์ต ซินดิเคท, บมจ.
พงษ์ศักดิ์ ผลอนันต์
News & Media




ชื่อของสยามสปอร์ต สยามกีฬา และสตาร์ ซอคเกอร์ คงเป็นชื่อ ที่ผู้สนใจใคร่รู้เกี่ยวกับความเป็นไปในแวดวงกีฬาคุ้นเคย ในฐานะ ที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ที่นำเสนอข่าวสารด้านกีฬา โดยเฉพาะเพียงแห่งเดียว จนมีฐานะเป็นประหนึ่งคัมภีร์ ที่ทุกคนจำเป็นต้องอ่าน

แต่ในวันนี้ บทบาทของสยามสปอร์ตกำลังขยายตัวยื่นล้ำเข้าไปสู่สื่อวิทยุโทรทัศน์อย่างต่อเนื่อง และทำให้สยามสปอร์ตมีฐานะเป็นเสมือนแหล่งสร้างผู้บรรยายกีฬา ที่มีโครงข่ายกว้างขวาง และครอบคลุมประเภทกีฬามากที่สุดของประเทศไทย ซึ่งเป็นผลมาจากการสั่งสมประสบการณ์จากกระบวนการผลิต และกลไกการดำเนินงานในสื่อสิ่งพิมพ์กีฬาของสยามสปอร์ตเอง ที่ ณ วันนี้มีฐานะไม่แตกต่างกับสถาบันฝึกวิชาชีพ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยฐานข้อมูลชั้นดีนั่นเอง

ความสัมพันธ์ของนักบรรยายกีฬา ที่ครอบคลุม และมีอิทธิพลอย่างมาก ก็คือ สัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ของสยามสปอร์ต อย่างที่ใครไม่อาจปฏิเสธได้

อย่างไรก็ดี การเติบโต เพื่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้บรรยายกีฬาของบุคลากรเหล่านี้ มิได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน หากแต่ดำเนินไปท่ามกลางบททดสอบ ที่หลากหลาย และมีความสาหัสสากรรจ์มิใช่น้อย

เส้นทางเดินของผู้บรรยายกีฬา ที่เสนอเสียงผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็น สาธิต กรีกุล ซึ่งกำลังทวีความโดดเด่นมากขึ้นเป็นลำดับ ในยุคสมัย ที่เรียกได้ว่าเป็นยุคหลังเอกชัย นพจินดา หรือ ย.โย่ง ผู้ล่วงลับไปก่อนเวลาอันควร หรือคนอื่นๆ ในกลุ่ม ที่ประกอบด้วย นพนันท์ ศรีศร, สุริยะ กุลธำรง, อิสรพงศ์ ผลมั่ง, นิกร ชำนาญกุล, สมศักดิ์ สงวนทรัพย์, ธราวุธ นพจินดา, กิตติกร อุดมผล, เอกราช เก่งทุกทาง และอีกมาก ที่กำลังได้รับการฟูมฟักให้ขึ้นมาเทียบชั้นแทน

แน่นอนว่าการจากไปของ ย.โย่ง เป็นเรื่อง ที่น่าเสียดาย สำหรับวงการกีฬาไทย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่า การจากไปของ ย.โย่ง มีคุณูปการในฐานะ ที่เปิดโอกาสให้เด็กใหม่ๆ ของสยามสปอร์ตเติบโตขึ้นเป็นแผง

พวกเขาเหล่านี้ นอกจากจะมีความสนใจในกีฬาฟุตบอลอย่างพิเศษเป็นทุนเดิมแล้ว การดำเนินชีวิตในฐานะผู้สื่อข่าวกีฬา ซึ่งปรากฏในรูปของการลงไปคลุกคลีในสนามข่าวโดยตรง และการเป็นผู้แปล ที่โชกโชนด้านภาษา ดูจะเป็นปฐมบทของการสั่งสมความจัดเจน ก่อน ที่จะผันตัวมาสู่การเป็นคอลัมนิสต์ทางกีฬา ซึ่งรูปแบบการเขียนย่อมผูกพันอยู่กับชั่วโมงการบินในเวทีการข่าว ที่แต่ละคนได้รับ

บางคนบอกว่า ระวิ โหลทอง ประธานสยามสปอร์ต ผู้คลุกคลีวงการข่าวกีฬามายาวนาน ในฐานะนักข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเองไม่คาดคิดว่าธุรกิจกีฬาโลกจะยิ่งใหญ่อย่างมากในทศวรรษ ที่ผ่านมา พร้อมกับการเติบโต และทรงอิทธิพลของธุรกิจข่าวสาร ที่ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมจะยิ่งใหญ่เพียงนี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมีผลดีต่อธุรกิจของเขาโดยตรง

ความยิ่งใหญ่ของธุรกิจกีฬาระดับโลกจะมีมากยิ่งขึ้น จนเกินกว่า ที่จะจินตนาการไว้ได้ในวันนี้ ซึ่งจากข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าสยามสปอร์ตมีภาษีกว่ารายอื่นๆ ตรง ที่มีบุคลากร ที่พรั่งพร้อมที่สุด

พงษ์ศักดิ์ ผลอนันต์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.สยามสปอร์ต ซินดิเคท บอกกับ "ผู้จัดการ" อย่างภาคภูมิใจ ที่ได้มีส่วนสร้างเสริมบุคลากรนักข่าวกีฬาเหล่านี้ ให้สามารถเติบโต กว้างขวางออกไป นอกเหนือจากงานประจำ ที่ต้องรับผิดชอบในสื่อสิ่งพิมพ์ในเครือสยามสปอร์ตอย่างเป็นด้านหลัก ซึ่งผู้สื่อข่าวเหล่านี้ต่างเคยผ่านประสบการณ์การทำข่าวในต่างแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษ ซึ่งถือเป็นลีก ที่แฟนฟุตบอลเมือง ไทยให้ความสนใจสูงสุด รวมถึงการส่งผู้สื่อข่าวไปประจำการในอีกหลายประเทศในยุโรป ภายใต้ระบบสับเปลี่ยนหมุนเวียน ที่จะผลัดกันไปอย่างน้อยคราวละ 2 ปี เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับลีกนั้น ๆ โดยตรง

"เราลงทุนอย่างเป็นกระบวนการ ทำในลักษณะของมืออาชีพ ด้วยการส่งพวกเขาไปฝังตัวในหลายประเทศในยุโรป ไม่ใช่จ้างนักเรียน ที่นึกสนุกเหมือนก่อน เรายอมลงทุนอย่างนี้ เพื่อให้เขาเกาะติด และรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของกีฬาประเภทต่างๆ ได้อย่างจริงจัง ซึ่งประสบการณ์ของพวกเขาจะสะท้อนออกมาเป็นการยอมรับของสังคม"

ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนจำนวนหนึ่ง อาจพิจารณาได้จากกรณีของ นิกร ชำนาญกุล เจ้าของนามปากกา ก.ป้อหล่วน ที่มีความเชี่ยวชาญในบุนเดสลีกาของเยอรมัน อย่างหาตัวจับยาก หรือในกรณีของ อดิสรณ์ พึ่งยา ซึ่งมีนามปากกาว่า แจ๊กกี้ จะคุ้นเคยกับลาลีกาของสเปนอย่างลึกซึ้ง ขณะที่ สุริยะ กุลธำรง หรือ ป๋ายาว ก็รอบรู้วงการฟุตบอลอิตาลีอย่างดียิ่ง ฯลฯ

การถ่ายทอดกีฬาทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แต่ละแห่งในหลายครั้ง ที่ผ่านมา จึงปรากฏเสียงคำบรรยายจากกลุ่มบุคคลเหล่านี้อย่างเป็นด้านหลัก "เป็นข้อตกลง ที่พวกเรามีคือ ไม่ปิดโอกาส ที่จะทำงานกับสื่ออื่น ที่ไม่มีลักษณะเป็นคู่แข่งขันโดย ตรงกับ สยามสปอร์ต" คือ คำอธิบาย ที่พงษ์ศักดิ์มีต่อปรากฏ การณ์ดังกล่าว เพราะเขาเชื่อว่าทุกครั้ง ที่บุคคลเหล่านี้ได้แสดง ออก ซึ่งศักยภาพทางกีฬาผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์นั้น เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสยามสปอร์ตไปด้วย และก็คงไม่แปลกหากระหว่างหรือภายหลังการแข่งขันกีฬาเหล่านั้น จบลง เราจะได้ยินคำกล่าวในทำนอง "ขอขอบคุณทีมงานสยามกีฬา ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลประกอบการบรรยายในครั้งนี้" อยู่เป็นประจำ

โอกาส ที่เปิดให้กับผู้สื่อข่าว และคอลัมนิสต์ของสยามสปอร์ตในการเป็นผู้บรรยายกีฬาทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ ได้กลาย เป็นบันไดในการก้าวย่างไปสู่การเป็นพนักงานประจำของสถานี วิทยุโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งมีรายรับแน่นอนในเวลาต่อมา หลังจาก ที่แต่เดิมการไป "รับงานพิเศษ" จะได้ค่าตอบแทนเป็นคราวๆ ตามแต่กรณี

การรุกไปข้างหน้าของสยามสปอร์ต ในฐานะผู้ชำนาญการด้านกีฬาเป็นไปอย่างไม่หยุดยั้ง เมื่อสยามสปอร์ตจัดตั้งบริษัท สยาม เทเลซีน จำกัด เพื่อเข้าเป็นผู้ดำเนินรายการในสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 99 เมกะเฮิรตซ์ ขององค์การสื่อสารมวลชน แห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ภายใต้ชื่อ "สปอร์ตเรดิโอ เอฟเอ็ม 99" ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2539 และกำลังเป็นอีกสื่อหนึ่ง ที่มีผู้นิยมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่ออื่นๆ ในเครือของสยามสปอร์ต

อย่างไรก็ดี หลังจาก ที่สยามสปอร์ตขยายบทบาทเข้าไปเป็นผู้จัดทำรายการในเอฟเอ็ม 99 ของ อ.ส.ม.ท. แล้ว ดูเหมือนว่าสยามสปอร์ตจะเริ่มเอาการเอางานกับการบ่มเพาะ เพื่อสร้างผู้บรรยายกีฬายุคใหม่อย่างเอาจริงเอาจังยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะต้องเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยข้อมูลที่สั่งสมมาจากการเป็นผู้สื่อข่าวแล้ว บรรดาผู้บรรยายกีฬารุ่นใหม่เหล่านี้ จะมีโอกาสได้ทดสอบตัวเองผ่านช่องทางของสปอร์ตเรดิโอ ก่อน ที่จะขยับไปเป็นผู้บรรยายร่วม ที่คอยสนับสนุนด้านข้อมูลให้กับผู้บรรยายหลักมือเก่า และรอคอยวันเวลา เพื่อสั่งสมทักษะ และความแกร่งกล้า ก่อนจะก้าวไปสู่การเป็น ผู้บรรยายหลักในอนาคตต่อไป

นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมพิเศษ เช่น มหกรรมฟุตบอล 2000 ในช่วงฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ที่ลานหน้าศูนย์การค้า เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ หรือกิจกรรมถ่ายทอดกีฬากลางแจ้งอื่นๆ ซึ่งแม้จะมีจุดเน้น ที่การสร้างกระแสให้ผู้คนสนใจติดตามข่าวสารด้านกีฬา ซึ่งมีผลโดยตรงต่อธุรกิจ ของสยามสปอร์ตแล้ว กิจกรรมเหล่านี้ยังมีส่วนในการเพิ่มพูนทักษะการบรรยาย และการสร้างเสริมประสบการณ์ในการปรากฏตัวต่อสาธารณชนไปในตัวอีกด้วย

แม้ว่า สยามสปอร์ตจะอยู่ในตำแหน่งผู้ผูกขาดสื่ออันเกี่ยวเนื่องกับกีฬาอย่างเด่นชัด แต่ช่องว่างในธุรกิจ ที่กำลังมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ และมีผู้พยายามจะแทรกตัวเข้ามาอยู่อย่างต่อเนื่องเช่นนี้ การรักษามาตรฐาน และดำรงความได้เปรียบให้คงอยู่เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักอย่างยิ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us