Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2544
วินาศกรรมในอเมริกา : ความไม่เท่าเทียมกันในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





การถูกวินาศกรรมของตึกเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์ ด้วยเครื่องบินโดยสารภายในประเทศของอเมริกาเองโดยฝีมือผู้ก่อการร้าย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคนของบิน ลาดิน คงจะยัง เป็นประเด็นที่พูดคุยหรือเขียนกันไปได้อีกยาวนาน ทั้งในแง่ตัวเหตุการณ์เองหรือผล กระทบภายหลังเหตุการณ์

ในขณะที่ผมเขียนบทความนี้ ข่าวการระดมพลและเคลื่อนทัพของอเมริกาไปยังประเทศรอบข้างอัฟกานิสถานยังคง ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับการแสวงหาพันธมิตรและความชอบธรรมในการโจมตีอัฟกานิสถาน (ไม่ว่าจะส่งตัวบิน ลาดิน ให้หรือไม่ก็ตาม) และตามมาด้วยแรงต่อต้าน ของกลุ่มคนในหลายประเทศที่คิดว่า สงครามและความรุนแรงไม่ใช่คำตอบของ การแก้ปัญหาการก่อการร้ายระหว่างประเทศ

นี่คือสถานการณ์ล่าสุดที่เป็นอยู่ สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นการเล่นตลกของโชค ชะตาและประวัติศาสตร์ คือ การที่รัฐบาล ตอลิบันเอง เคยได้รับการสนับสนุนอย่างลับๆ จากสหรัฐฯ ในสมัยสงครามเพื่อขับไล่รัฐบาลที่มีอดีตสหภาพโซเวียตหนุนหลังฐาน ที่มั่นที่แข็งแรงหลายแห่งรวมทั้งอาวุธที่ทันสมัย (ระดับหนึ่ง) เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับการช่วย เหลือจากสหรัฐฯ รวมทั้งอาวุธที่สหภาพโซเวียต ทิ้งไว้หลังถอนตัวออกจากอัฟกานิสถาน ส่วน บิน ลาดิน เองก็มีบางกระแสข่าวว่าในอดีตเขา และพลพรรคเคยได้รับการฝึกอบรมเรื่องการก่อ การร้ายจากหน่วยงานของรัฐบาลอเมริกา

โดยสรุปงานนี้ก็คงคล้ายกับอีก หลายๆ งานที่ผ่านมาที่ตำรวจโลกถูกอดีต ลูกน้องของตนเล่นงาน ผลภายหลังเหตุการณ์ ที่เริ่มแสดงออก คือ

ประการแรกผลกระทบต่ออุตสาห-กรรมการบินของสหรัฐฯ อาจมีคนตั้งคำถามว่า ระบบการรักษาความปลอดภัยของสายการบิน ในประเทศของอเมริกาทำไมจึงหละหลวมมาก จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมดังกล่าว คำตอบก็คือ เนื่องจากการคมนาคมโดยเครื่องบินในอเมริกา ก็คล้ายๆ กับเราใช้รถประจำทาง คือด้วย ความที่สะดวกและประหยัดเวลา จึงทำให้ คนนิยมใช้บริการกันมาก เรียกว่า สนามบิน ภายในประเทศ เครื่องขึ้นลงตลอดเวลา การ มาคอยตรวจความปลอดภัยอย่างละเอียด เหมือนสายการบินระหว่างประเทศจึงเป็น เรื่องที่กระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน อย่างมาก ทำให้การเดินทางโดยวิธีนี้ไม่ สะดวก และผลหลังการก่อการร้ายก็เริ่ม แสดงให้เห็น มีการลดเที่ยวบินและเพิ่ม ระบบรักษาความปลอดภัย สิ่งที่เกิด ขึ้นคือการปลดพนักงานออกเพื่อลด ค่าใช้จ่าย อุตสาหกรรมการบินคง ต้องเลือกระหว่างความสะดวกกับ ความปลอดภัย ซึ่งมักจะไม่ไปด้วยกัน

ประการต่อมาคือ ความรู้สึกเดียด ฉันท์ระหว่างคนอเมริกันกับชนส่วนน้อย หรือคนอเมริกันเชื้อสายอาหรับหรือมุสลิม และคนมุสลิมในประเทศอื่น แม้ว่าประธา นาธิบดีบุช และบุคคลในรัฐบาลหลายต่อ หลายคนจะออกมาเรียกร้องให้มีการจำแนก ผู้ก่อการร้ายออกจากชาวมุสลิม แต่เป็นเรื่องไม่ง่ายนักภายใต้สภาวะที่มีสงครามและจะยิ่งมากขึ้นหากเศรษฐกิจอเมริกัน อยู่ในภาวะถดถอย ซึ่งแน่นอนว่าคนอเมริกัน ที่ถูกผลกระทบย่อมอดไม่ได้ที่จะเกิดความ รู้สึกไม่พอใจกลุ่มคนหรือเชื้อชาติที่เขาคิดว่า สร้างปัญหาให้กับตัวเขา สำหรับคนอเมริกัน เองนี่คงเป็นฝันร้ายอีกยาวนานในการเยียว ยาบาดแผลโดยเฉพาะบาดแผลทางด้าน จิตใจ สำหรับบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์โดย ตรงหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น

ปฏิกิริยาแรกที่รัฐบาลสหรัฐฯ สนองตอบอย่างทันควันคือ การพยายามให้ ประธานาธิบดีบุชออกมาพูดทั้งแสดงความ เสียใจและแสดงความเข้มแข็งในการ ประกาศสงครามเพื่อเรียกขวัญและกำลังใจ ของคนอเมริกันกลับมา สิ่งที่ทำต่อเนื่องคือ การยกเลิกโปรแกรมภาพยนตร์ที่มีภาพของ ตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ หรือภาพยนตร์ที่ เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายเพราะเกรงว่า อาจจะเร้าความรู้สึกเครียดและกลัวหรือ หวาดผวาในคนที่มีส่วนในเหตุการณ์ แต่ใน ระยะยาวหรือหลังจากนี้ ผมเชื่อว่านักวิชา การหรือสื่อมวลชนของสหรัฐฯ คงจะมีการ ตั้งประเด็นถามถึงความรับผิดชอบของ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอเมริกันและ อุตสาหกรรมอื่นๆ ว่าควรมีส่วนรับผิดชอบ ต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างไร เหมือนกรณี ความรุนแรงในสังคมหรือโรงเรียนในสหรัฐฯ ที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกันเคยถูก วิจารณ์ว่าเป็นแบบอย่างให้กับความรุนแรง เช่น กรณีที่มีคนตั้งข้อสังเกตว่า เกมคอม พิวเตอร์ flight simulator ที่มีฉากหลังเป็น เมืองนิวยอร์ก อาจถูกผู้ก่อการร้ายใช้ในการ ฝึกควบคุมเครื่อง เนื่องจากเกมนี้มีความ สมจริงมากหรือการเข้าโรงเรียนฝึกบินที่ ทำได้ง่ายมากจนผู้ก่อการร้ายเรียนฝึกบิน ก่อนจะทำตามแผนหรือการฝึกศิลปะป้อง กันตัวของผู้ก่อการร้ายในโรงเรียนสอน หนึ่งสัปดาห์ก่อนลงมือปฏิบัติการและหาก ใครยังจำภาพยนตร์เรื่อง Executive Deci-sion ที่ผู้ก่อการร้ายอาหรับยึดเครื่องบิน โดยสารพร้อมแก๊สพิษ โดยมีเป้าหมายเป็น ระเบิดพลีชีพเหนือกรุงวอชิงตัน ซึ่งใกล้ เคียงกับเหตุการณ์ครั้งนี้มาก

นอกจากนี้การที่ประเทศต่างๆ หนุนสหรัฐฯ อย่างเต็มตัวในการก่อสงคราม กับผู้ก่อการร้ายบนแผ่นดินอัฟกานิสถาน ย่อมหมายความว่าหากพวกเขาไม่สามารถกำจัด คนเหล่านี้ได้อย่างขุดรากถอนโคนรัฐบาล ของประเทศเหล่านี้ ย่อมไม่สามารถอยู่ได้ อย่างสบายใจ ว่าวันใดคนของตนหรือประเทศ ตนจะไม่ถูกแก้แค้นโดยการก่อการร้าย ในแง่ หนึ่งสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการโดดเดี่ยว ผู้ก่อการร้าย แต่ในอีกด้านหนึ่งสหรัฐฯ ดึงเอา ประเทศอีกหลายประเทศเข้ามาเป็นเป้าของ การก่อการร้ายโดยตรงจากเดิมที่กลุ่มก่อการร้ายพยายามจำกัดการกระทำกับรัฐบาลและคนอเมริกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งประกาศหนุนสหรัฐฯ อย่างเต็มที่ทั้งคำพูด และการกระทำ พูดง่ายๆ คือนอกจากสหรัฐฯ จะนอนหลับไม่เป็นสุขแล้ว ประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ เป้าหมายโดยตรงได้ถูกทำให้กลายเป็นเป้า หมายร่วมไปกับสหรัฐฯ หากไม่สามารถกำจัด ผู้ก่อการร้ายสากลให้หมดไปได้

ประเด็นสุดท้ายนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ ยากเอามากๆ การกำจัด บิน ลาดิน หรือพล พรรคจนหมด รวมไปถึงการลบประเทศ 2-3 ประเทศที่สหรัฐฯ เชื่อว่าเป็นแหล่งพำนักของ ผู้ก่อการร้าย ก็คงไม่สามารถทำให้ทุกประเทศ นอนหลับสบายได้ เพราะการก่อการร้ายระหว่าง ประเทศไม่น่าจะหมดไปได้ ที่ผมเชื่อเช่นนี้ เพราะการก่อการร้ายเป็นการกระทำของฝ่าย ที่อยู่เบื้องล่าง กระทำต่อผู้อยู่เบื้องบนหรือผู้ ถือครองอำนาจ เราไม่เคยเห็นว่าผู้ได้เปรียบ หรือผู้ถืออำนาจทำสิ่งที่เรียกว่า การก่อการ ร้าย เราจะเห็นก็แต่การใช้กฎหมายในการ จัดการฝ่ายที่เป็นปรปักษ์ ชนกลุ่มน้อยหรือ ฝ่ายตรงข้ามที่ไม่เห็นด้วยกับตน แต่นั่น เป็นปัญหาความขัดแย้งในประเทศ ส่วน ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ฝ่ายที่ถือ อำนาจหรืออยู่สูงกว่าก็จะใช้มาตรการ ทางเศรษฐกิจ การคว่ำบาตรหรือการปิด ล้อม การใช้สงครามกระทำต่อกันเป็น เรื่องไม่ค่อยเกิดขึ้น เพราะฝ่ายตรงข้ามไม่มี ศักยภาพที่จะทำเช่นนั้น การก่อการร้าย จึงเป็นเรื่องที่ฝ่ายที่ด้อยกว่าทั้งอำนาจและ ศักยภาพกระทำต่อฝ่ายที่เหนือกว่า โดย อาศัยความได้เปรียบที่ตนเองอยู่ในที่ลับ และมีกำลังน้อยกว่าเลือกกระทำในจุดที่ ฝ่ายที่เหนือกว่าไม่สามารถป้องกันตนเองได้

เหตุที่การก่อการร้ายยังดำรงอยู่ ไม่ใช่เป็นเพราะความต่างกันในเรื่องของ ความเชื่อหรือเป็นเพราะมีความขัดแย้ง เพราะการแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นเรา สามารถเลือกวิธีที่ไม่ใช้ความรุนแรงได้ แต่เหตุที่การก่อการร้ายยังดำรงอยู่น่าจะ เป็นเพราะฝ่ายที่คุมอำนาจเหนือกว่าทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคมและกำลังทหาร ไม่เปิดช่องทางหรือโอกาสให้ฝ่ายที่ด้อยกว่าได้ แสดงออกอย่างเท่าเทียม ฝ่ายที่เหนือกว่า มักจะเป็นผู้กำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งเล่นตาม เกมที่ตนวางไว้ หนทางที่ฝ่ายด้อยกว่าจะ อยู่รอดและได้ในสิ่งที่ตนคาดหวังคือไม่เล่น ตามเกมหรือกติกาที่อีกฝ่ายหนึ่งกำหนด

การระเบิดตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ จึงไม่ใช่เป็นเพื่อการทำลายสัญลักษณ์ของ ทุนนิยมเหมือนอย่างที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ แต่มันยังบ่งถึงการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติและความเชื่อที่ล้มเหลวของสหรัฐฯ ที่กระทำต่อฝ่ายที่ด้อยกว่า อย่างน้อยก็ใน สมัยของสายเหยี่ยวที่ชื่อว่า ประธานาธิบดี จอร์จ บุช และความรุนแรงคงไม่มีทางจบ สิ้น หากผู้เหนือกว่าบังคับให้ฝ่ายที่ด้อย กว่าเล่นตามเกมและกติกาที่ตนเองกำหนด ฝ่ายที่ด้อยกว่าจะเล่นไปเพื่ออะไร หาก ทราบดีว่าเล่นอย่างไร ก็ไม่มีทางชนะหรือเสมอ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us