เหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญในประเทศไทย เมื่อ 14 ตุลาคม 2516 กับ 6 ตุลาคม
2519 เป็นแรงปะทะสำคัญของ สังคมไทยกับ Globalization ครั้งแรก ท่ามกลางพื้นฐานทางเศรษฐกิจและธุรกิจไทยเปลี่ยนโฉมหน้าไป
และต่อเนื่องด้วยการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของสังคมไทยอย่างสำคัญที่
กระจายวงออกไปเป็นระลอกคลื่น
สงครามเวียดนาม (2507-2518)
เหตุการณ์ที่สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามเวียดนาม ด้วย การส่งกองกำลังทหารหลายหมื่นคนทำสงครามแบบแผน
ถือเป็นประวัติศาสตร์และบทเรียนสำคัญในเชิงการเมืองของสหรัฐฯ ในขณะเดียวกันมีการเคลื่อนตัวของอิทธิพลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
เข้ามาอย่างจริงจังในภูมิภาคนี้และต่อมาขยายไปทั่วโลก ได้กระตุ้นโดยตรงให้กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของโลก
เคลื่อนตัวออกจากฐานเดิม แสวงหาโอกาสใหม่ในขอบเขตทั่วโลกด้วย
ในเวลานั้นเทคโนโลยีต่างๆ ในระดับโลกก้าวหน้าไปมากอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรกของมนุษย์กับยานอวกาศอพอลโล
11 ของสหรัฐฯ ในปี 2512 ซึ่งมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์มาถึงครัวเรือนในประเทศไทยด้วย
ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษมีการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตระดับบุคคล
(individaul) เกิดขึ้นครั้งใหญ่ โดยเฉพาะเทปวิดีโอ (ปี 2512) Floppy Disc
(2513) Microprocessor (2513) เครื่องคิดเลขขนาดเล็ก (2515) Compact Disc
(2515) Microcomputer (2515) เทป VHS (2518) สิ่งเหล่านี้ ย่อมจะสร้างแรงผลักดันในเชิงธุรกิจให้แสวงหาตลาดที่กว้างขวางขึ้น
สินค้าสมัยใหม่
ประเทศไทยได้รับอิทธิพลโดยตรงจากปรากฏการณ์ ครั้งสำคัญนี้ ในทางเศรษฐกิจเกิดการพัฒนาอย่างมากในด้านสาธารณูปโภค
ที่เน้นระหว่างเมืองกับหัวเมืองและชนบทบางพื้นที่ การเข้ามาของการลงทุนจากต่างประเทศ
และการเติบโตของธุรกิจท้องถิ่น เปิดโอกาสให้เกิดกลุ่มธุรกิจใหม่ๆ ส่วนใหญ่เป็น
การผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า เพื่อสนองพฤติกรรมการบริโภค ของคนไทยที่เริ่มเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง
(Critical Mass) ใช้สินค้า เพื่อความสะดวกสบายแบบตะวันตกมากขึ้น กระแสการตื่นตัวรับสินค้าสมัยใหม่
กว้างขวางกลายเป็นการตลาดที่คุ้มต่อการลงทุน ดูเหมือนเป็นกระแสที่มาพร้อมกับการตื่นตัวทางการเมืองอย่างกว้างขวาง
กระแสการลงทุนจากตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนโดยตรงในเมืองไทย โดยมองว่าแปซิฟิกริม
เป็นย่านความเจริญใหม่ทางเศรษฐกิจ กลุ่มที่เคยมาลงทุน ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองก็หวนกลับมา
แล้วขยายการลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ผลิตสินค้าพื้นฐานสังคม เช่น IBM, Royal
Dutch, Shell, Caltex, Philips เป็นต้น
กลุ่มธุรกิจที่มาใหม่ลงทุนตั้งโรงงานครั้งแรกในเมืองไทย มีบุคลิกพิเศษที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภค
บริโภค เช่น
ในปี 2511 ฟิล์ม Kodak ยางรถยนต์ Good year บริษัทยาและเคมีภัณฑ์ Monsanto
ปี 2513 บริษัทผลิตอาหาร CPC เจ้าของสินค้าตรา Bestfoods และ knorr เข้ามาตั้งโรงงานที่เมืองไทย
ปี 2515 บริษัทกางเกงยีนส์Levi's เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในเมืองไทย เป็นต้น
ขณะเดียวกันกลุ่มธุรกิจจากญี่ปุ่น ก็เข้าร่วมทุนกับนักลงทุนไทย เช่น ในปี
2515 สยามกลการเริ่มลงทุน ร่วมกับญี่ปุ่น (นิสสัน) ในหลายกิจการในการผลิตชิ้นส่วน
รถยนต์ หลังจากเป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์มาแล้วประมาณ 10 ปี เช่นเดียวกับกลุ่มทีบีไอของสุกรี
โพธิรัต นังกูร ก็ร่วมทุนกับญี่ปุ่นผลิตวัตถุดิบพื้นฐานในการผลิตสิ่งทอซึ่งถือเป็นการขยายตัวในแนวดิ่งทางธุรกิจ
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ขยายตัวใน ลักษณะครบวงจร นอกจากจะเป็นสินค้ามวลชนของสังคมในขณะนั้นแล้ว
ยังเป็นแรงเหวี่ยงให้เกิดการเปลี่ยน แปลงสถานะแรงงานในสังคมไทย แรงงานเคลื่อนย้ายจากภาคเกษตรกรรมเข้าสู่โรงงานในจำนวนที่มากขึ้นที่มีลักษณะ
Critical Mass (แรงงานกลุ่มนี้เป็นพลังที่มีกลุ่มก้อน ได้กลายเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในเวลาต่อมาด้วย)
อิทธิพลของฐานทัพอเมริกันในประเทศไทย ได้ผลักดันให้เกิดเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคในเมืองหลวง
และหัวเมืองต่างๆ อย่างรุนแรงและรวดเร็ว
กลุ่มไมเนอร์โฮลดิ้งของวิลเลียม ไฮเนคกี้ เด็ก หนุ่มอเมริกันคนล่าสุดที่อาศัยแผ่นดินไทยดำเนินธุรกิจภายใต้แรงขับดันของสงครามเวียดนาม
จนกลายเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เขาเริ่มต้นด้วยการเปิดร้านมิสเตอร์โดนัท
ฟาสต์ฟู้ดแห่ง แรกของประเทศไทย เมื่อปี 2518 จากนั้นก็นำสินค้าทันสมัยเข้ามา
ตอบสนองความตื่นตัวทางด้านการบริโภคแบบตะวันตกที่มาพร้อมกับการตื่นตัวทางการ
เมือง เมื่อทหารอเมริกันคนสุดท้ายออกจากประเทศไปแล้ว พฤติกรรมการบริโภคใหม่
ยังเดินหน้าไปไม่เคยหยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้านพิซซ่าแห่งแรกในปี 2523
ไอศกรีมสเวนเซ่นส์ ปี 2528 กลุ่มไมเนอร์ฯ ใช้เวลาเติบโตพอๆ กับอายุการครบรอบ
14 ตุลาคม กลายเป็นบริษัทที่มีการจ้างพนักงานคนไทยราว 12,000 คน มีสินทรัพย์ประมาณ
5,000 ล้านบาท
จากนั้นธุรกิจฟาสต์ฟู้ดตะวันตกก็เติบโตในตลาดไทยอย่าง ต่อเนื่องไม่หยุดชะงักไม่ว่ามีการเคลื่อนไหว
Anti-Globalization กันต่อเนื่อง ไม่ว่าจะมีวิจารณ์วิเคราะห์สังคมไทยกี่ครั้ง
เนื่องในโอกาสครบปีเดือนตุลาคมก็ตาม
นักเรียนนอก
ในเวลานั้นมีทุนการศึกษาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ให้ไปศึกษาต่างประเทศจำนวนมาก
โดยเฉพาะทางด้าน เศรษฐศาสตร์เพื่อหวังให้กลุ่มคนเหล่านี้กลับมาจัดการกับระบบเศรษฐกิจใหม่
ให้สอดคล้องกับตะวันตกมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และข้าราชการหน่วยงานวางแผนสำคัญของรัฐ
เช่น สภาพัฒนฯ และธนาคารชาติ
ในแง่ธุรกิจ ความสนใจของชนชั้นนำหรือผู้ประกอบการที่สามารถสะสมทุนได้พอสมควร
ก็นิยมส่งลูกหลานไปเรียน ต่างประเทศ โดยเฉพาะ MBA กลับมาในช่วงนั้นมากทีเดียว
พวกเขาเหล่านี้ด้านหนึ่งได้รับความรู้จากตะวันตก เพื่อมาทำงานในการจัดโครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจไทย
ที่กำลังเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับตะวันตกนั้น อีกด้านหนึ่งพวกเขาได้รับอิทธิพลทางความคิดในเรื่องเสรีภาพ
โดยเฉพาะอิทธิพลทางความคิดอันเกิดจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงของสังคมอเมริกัน
ในเรื่องสงครามเวียดนาม ส่วนใหญ่นักเรียนนอกเหล่านี้ มีความ คิดต่อต้านสงครามเวียดนาม
และต้องการเสรีภาพประชาธิปไตย กลายเป็นฐานทางความคิดที่สำคัญ ในการสนับสนุนการตื่นตัวทางการเมืองอย่างมีเหตุมีผลมากขึ้นของขบวนการนักศึกษา
ฟาร์มสมัยใหม่
เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ผู้นำการสร้างฟาร์มสมัยใหม่ ในชนบทของไทยได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงนั้น
ด้วยการ เรียนรู้โนว์ฮาวจากสหรัฐฯ ตั้งบริษัทอาร์เบอร์ เอเคอร์ส (ประเทศ
ไทย) จำกัด ร่วมทุนกับเจ้าของเทคโนโลยีพันธุ์ไก่และการจัด การเลี้ยงไก่สมัยใหม่ในปี
2514 จากนั้นก็เปิดโครงการ Contract Farming (ปี 2517) เป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่างผู้เลี้ยงไก่ทั่วไปกับซีพี
ในการพัฒนาการเลี้ยงไก่ให้ทันสมัยมากขึ้นโดย ซีพีรับประกันการซื้อ เพื่อการผลิตอาหารพื้นฐานใหม่
ตอบสนอง พฤติกรรม และวิถีชีวิตใหม่ในการบริโภคที่ขยายจากตัวเมืองสู่หัวเมือง
ในช่วงนั้นไม่เพียงซีพีเท่านั้น ยังมีกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ตาม มาอีกจำนวนมาก
เช่นเบทาโกร แหลมทองสหการ กลุ่มธุรกิจปศุสัตว์เหล่านี้กลายเป็นกลุ่มลงทุนท้องถิ่นที่ใหญ่ในการสร้างโรงงานอาหารสัตว์
โรงงานชำแหละ ฯลฯ เพื่อตอบสนองตลาด ใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคครั้งใหญ่
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยที่ผ่านมา อำนาจในการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองและที่สำคัญ
ก็คือการจัดระบบเศรษฐกิจ ปรัชญารากฐานมาจากผลึกความคิด "เดือนตุลาคม"
จะต้องมองทะลุจากการเมืองไปถึงระบบเศรษฐกิจ ที่พยายามโฆษณา ชวนเชื่อเพื่อฐานราก
(Grass-Roots) นั้น แท้ที่จริงยังอยู่ที่ศูนย์อำนาจดั้งเดิม หรืออำนาจที่เกิดใหม่โดยฐานราก
กลายเป็นฐาน ในการสร้างโอกาสให้กลุ่มเหล่านั้น ไม่ว่าเหตุการณ์ระลึกเดือนตุลาคม
(เป็นบทสวดในงานพิธีกรรมของชนชั้นนำเดือนตุลาคม) จะผ่านไปกี่ปี ชุมชนไทยก็ถูกดึงให้เข้าสู่วังวน
Globalization มากขึ้นอย่างไม่มีสติเช่นเดียวกันพวกเขาก็คือฐานรากให้กับคนอื่น
ในการสร้างโอกาสหรือ จัดการเศรษฐกิจโดย ที่พวกเขาไม่มีโอกาสเช่นนั้นเลย
แนวคิดพื้นฐานเดิม ถูกปัดฝุ่นอย่างเป็น ระบบครั้งแรก ซึ่งดูจะมีเหตุผลและมีแนวทาง
ที่จะเป็นไปได้มากขึ้น เมื่อพิจารณาจากนโยบายใหม่ของรัฐบาล ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มธุรกิจมีโอกาสและเติบโตหลังเหตุการณ์ตุลาคมได้อาศัยโนว์ฮาว
ของนักเคลื่อนไหวเดือนตุลาคมผสมกับ Modern Management ให้พวกเขาก้าวเข้าสู่อำนาจในการเมืองและจัดการเศรษฐกิจได้
พยายามสร้างโอกาสแก่ฐานรากครั้งแรก ในการบริหาร เศรษฐกิจของตนเอง บริหารเงินของตนเอง
และคิดค้นและพัฒนาการผลิตของตนเองมากขึ้น แม้ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวน
การประนีประนอมในการสร้างความมั่งคั่งใหม่ของพวกเขาก็ตาม
แต่นี่ก็คือการพัฒนาเชิงความคิดครั้งสำคัญของสังคมไทย ที่ใช้เวลานานถึง
28 ปี