Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2544
โธ่...ละครโอเปร่า "La Traviata"             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
search resources

Entertainment and Leisure




ละครโอเปรากลายเป็นวัฒนธรรมฝรั่งที่ถูกมองว่าเป็นสิ่งสูงส่งที่ยากจะสัมผัส และเข้าใจได้ทั่วไป ทั้งๆที่ เรื่องราวมิได้แตกต่างกว่า "ข้างหลังภาพ" ของศรีบูรพาเลย เพราะความเป็นสากลเกี่ยวกับอารมณ์อันขัดแย้งระหว่างโลกที่แท้จริงแห่งอารมณ์มมุษย์ กับโลกจอมปลอมของวิถีทางสังคม (great pretender) ที่จิตมุนษย์ไซร้ยากแท้หยั่งถึง

La Traviata ได้เปิดแสดงเป็นครั้งแรกที่เมืองเวนิซ ประเทศอิตาลี ในปี 1853 โดยมหาอุปรากร เรี่องนี้มีความยาวสามองก์ที่ดัดแปลงจากบทละครเรื่อง La dame a Cameilas ของอเล็กซองตร์ ดูมาส์ ภายใต้การกำกับดนตรีของ Giuseppe Verdi วาทยกรเอกของโลก ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1813-1901 โดยผลงานละครโอเปราชิ้นเอกที่ Verdi ฝากไว้ในแผ่นดินมีมากมาย เช่น Macbeth, Otello, Ave Maria

แต่สำหรับเรื่อง La Traviata ที่คณะโอเปรามอลโดวา (Moldova Opera House) จากสาธารณรัฐ รัสเซีย ได้จัดแสดงในงานมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติครั้งที่ 3 (Bangkok's 3rd International Festival of Dance & Music) ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือได้ว่าพอใช้ได้แต่ยังไม่น่าประทับใจ

เริ่มจากการตกแต่งฉากเรียบง่ายตามท้องเรื่องในร้านเหล้าในกรุงปารีส ยุคปี 1700 เสียงร้องเพลงหมู่ "Brindisi : "Libiamo" ที่ประสานกับดนตรีบรรเลงดังกระหึ่มตรึงผู้ชมทั้งไทยและเทศไว้กับที่

การแสดงออกถึงอารมณ์ด้วยเสียงร้องโซปราโน่อันแหลมสูงของมาเรียน นา ปอลคอส ที่แสดงเป็น "วิโอเล็ตตา วาเลรี" ตัวเอกหญิง ขณะที่การดำเนินเรื่องต่อไปค่อยๆ เปิดตัวเอกชาย "อัลเฟรโด" กับเสียงร้องหลายเพลง เช่น เพลง Un di Felice ตอนสารภาพรักต่อ วิโอเล็ตตา วาเลรี และเพลง De miei bollenti spiriti บรรยายความอิ่มเอมใจสมหวังในรัก

ความรื่นรมย์จากเพลง Di Provenza ที่พ่ออัลเฟรโดร้องเตือนลูกชายให้คืนกลับสู่บ้านเกิดอันแสนสุขในแคว้นโปรวองซ์อันงดงาม สร้างจินตภาพได้มากกว่าเพลงอื่น

แต่โดยรวมแล้วกระแสเสียงร้องและดนตรีในค่ำคืนนั้นมิอาจนำอารมณ์ผู้ชมให้เข้าถึง ภาวะอันโดดเดี่ยวเดียวดายและผิดหวังในรักของ หญิงผู้พ่ายแพ้ได้ด้วยข้อจำกัดของนักแสดงและ สถานที่ ซึ่งมีตัวอักษรคอมพิวเตอร์สีแดงวิ่งพากษ์ภาษาไทยคอยแยงตาผู้ชมในความมืดอย่างน่ารำคาญใจ ไม่รวมถึงการปรบมือระหว่าง การแสดงซึ่งผู้จัดขอร้องอย่างสุภาพว่าโปรดงด

ความสำเร็จเพียงประการเดียวที่เห็นได้ คือ สายสัมพันธ์ของรพีพรรณ เหลืองอร่ามรัตน์ หรือ "จิ้งหรีด" ที่สามารถดึงเอาบุคคลสำคัญของ ประเทศร่วมงานตลอดมหกรรมได้ ภายใต้การประชาสัมพันธ์อันแข็งขันของ MDK Consultants (Thailand)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us