Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543
Propaganda สู่ปารีส             
 


   
search resources

Crafts and Design




ปัจจุบัน "Propaganda" ยังคงมีอยู่เพียงสาขาเดียวในเมืองไทยคือ ที่ห้างสรรพสินค้า ดิเอ็มโพเรียม "Propaganda" ได้เปิดตำนานขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว จากเงินทุนเริ่มต้นเพียง 2 ล้านบาท กับคนทำงานกลุ่มเล็กๆ เพียง ไม่กี่คน ด้วยเงินทุนจดทะเบียนได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านบาท เพื่อรองรับการ ขยายตัวของธุรกิจ ที่กำลังจะก้าวไปสู่ความเป็นสากลอย่างเต็มตัวมากขึ้น

ตลอดเวลา 5 ปีของ "Propaganda" สินค้าสร้างสรรค์ฝีมือคนไทย ได้ มีการปรับปรุงพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องทำให้ "Propaganda" เป็นที่รู้จักกัน ดีในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบงานดีไซน์ ที่ไม่ธรรมดาทั้งใน และต่างประเทศ และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา "Propaganda " มียอดขายจากลูกค้าต่างประเทศสูงถึง 80% โดยเฉพาะยอดขายในอังกฤษ และฝรั่งเศส ที่มีเฉลี่ยเดือนละ 10,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งหมายถึงสินค้าไทย ที่มีแบรนด์เป็นของตัวเองอย่างแท้จริงเช่น "Propaganda" ได้ออกไปสู่สายตาชาวโลกในสัดส่วน ที่เพิ่มมากขึ้น

แต่ปัญหาของพวกเขา ที่ต้องเร่งแก้ไขคือ ความพยายามในการลบภาพสินค้าของ Propaganda เป็น Mass Product ซึ่งถือเป็นอุปสรรค สำคัญในการเติบโตของธุรกิจ โดยเฉพาะในต่างประเทศ อย่างเช่นในอเมริกา และญี่ปุ่นจะวาง "Propaganda" ปะปนกับสินค้าดีไซน์แบรนด์อื่น ที่มีลักษณะ เป็น "Mass Product" นี่คือ ปัญหาหนึ่งของการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งในตลาดสากล ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สินค้าอย่าง "Propaganda" ไม่ใช่สินค้าในกลุ่ม Mass เนื่องจากไม่ได้ผลิตมาในจำนวนมาก และราคาไม่ถูกเหมือนกับ "Mass Product" ทั่วไป แต่เป็นสินค้าสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ที่มีความรัก และเข้าใจในงานดีไซน์ ฉะนั้น "ราคา" จึงไม่ใช่อุปสรรค ในการเลือกซื้อของพวกเขา เฉกเช่น "Mass Product" อื่นๆ

สินค้า "Propaganda" เกิดจากงานกราฟิกดีไซน์มาใส่บนรูปฟอร์ม ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ข้าวของเครื่องใช้ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน อาทิ แก้วน้ำ จาน ชาม หมวกคลุมอาบน้ำ หรือแม้กระทั่งปลอกหมอน นอกจากนั้น ยังรวมถึงงานสิ่งพิมพ์จำพวกการ์ดต่างๆ ด้วย

ต่อมากระแสของงานกราฟิกดีไซน์เริ่มมีมากขึ้น จนกระทั่งสินค้า ประเภทนี้มีให้เห็นอยู่เกลื่อนตลาดทั้งในไทย และต่างประเทศ เนื่องจากงานกราฟิกเป็นงาน ที่ทำกันได้ง่าย คิดกันได้ง่าย เพียงแต่ว่าความคิดของใครจะเด็ด และโดนใจคนซื้อมากกว่ากันเท่านั้น ดังนั้น ทีมงาน Propaganda จึงมีความ เห็นตรงกันว่า "Propaganda ต้อง€ปลี่ยนแนวทางเดินใหม่" จากงาน "กราฟิก ดีไซน์" มาเป็นงาน "โปรดักส์ดีไซน์" เพื่อยืดอนาคตให้แก่ "Propaganda" และหนีจากการถูกลอกเลียนสินค้า

จากจุดเด่นเฉพาะตัวของ Propaganda ทำให้มร.เทียรี่ ร็อบบิ้น และ มร.โอลิเวีย บูเนล สองสหายชาวฝรั่งเศส นักท่องเที่ยว ที่เข้ามาชอปปิ้งภาย ในห้างสรรพสินค้า ดิเอ็มโพเรียม ได้มาสะดุดตาสะดุดใจกับร้าน และสินค้าของ "Propaganda" ที่ บริเวณชั้น 4 ของห้าง ถึงขั้นขอเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า "Propaganda" ในประเทศฝรั่งเศส โดยจะเปิดเป็นร้าน "Propaganda" ณ เมืองปารีสภายใน ปีค.ศ. 2000 นี้

"เราเริ่มคุยกันเมื่อประมาณปลายปี"41 ซึ่งตอนแรกยังไม่มีอะไรเป็นรูป เป็นร่างสักอย่าง แต่พอหลังจาก ที่ทางเขาส่งแผนงานมาให้เราดู และมีการ พูดคุย มีการศึกษาความเป็นไปได้อีกหลายครั้ง เขาได้จัดงานแถลงข่าวต่อ สื่อมวลชนของฝรั่งเศส เราก็เห็นว่าเขาตั้งใจ ที่จะทำอย่างจริงจัง จึงคิดว่า อย่างนี้น่าจะร่วมหัวจมท้ายกันได้ จึงได้เซ็นสัญญาร่วมธุรกิจกัน โดยทางมร. เทียรี่จะเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด และมีทีมของ Propagandist เข้าไปช่วยในส่วนของการตกแต่งร้าน การออกแบบ และผลิตสินค้าทั้งหมดให้เหมือนร้าน ที่ กรุงเทพฯ นอกจากนั้น เราเปิดโอกาสให้เขาขายสินค้าอื่นได้ด้วย แต่ต้องใน สัดส่วน ที่น้อยกว่าสินค้าเราคือ 60:40" เมตตา สุดสวาท ตัวแทนของชาว Propagandist เล่าถึงเบื้องหลังดีล

เธอชี้แจงต่อว่า สำหรับดีลนี้ "เม็ดเงิน" ไม่ใช่เป้าหมายหลัก แต่ "อิมเมจ" กลับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจาก "ฝรั่งเศส" ถือเป็นหน้าต่างบานสำคัญ ที่ จะเปิดตัว "Propaganda" ออกสู่สายตาชาวโลก และดีลล่าสุดนี้แตกต่างจาก ดีลเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ที่มร.ไมค์ บลีส ชาวอังกฤษ ตัวแทนจำหน่ายสินค้า Propaganda เป็นรายแรก และรายเดียวในประเทศอังกฤษ ตรง ที่สินค้าของ Propaganda ที่อังกฤษจะวางจำหน่ายอยู่ในร้าน Bliss ซึ่งเป็นร้านของมร.ไมค์ ที่มีอยู่แล้ว ในขณะที่ฝรั่งเศสจะเปิดเป็นร้าน โดยใช้ชื่อว่า "Propaganda" อย่างเต็มรูปแบบ

นี่คือ เรื่องจริง ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกธุรกิจของคนไทย หากธุรกิจนั้น ๆ มีจุดขาย และมีความเป็นเอกลักษณ์ ที่โดดเด่น ประกอบกับมีแนวทาง การทำงาน ที่ชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน    




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us