Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2544
บ้านแห่งความผูกพันของ ม.ล.ชโยทิต กฤดากร             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

ชโยทิต กฤดากร, ม.ล.




บ้านสีขาวหลังใหญ่ท่ามกลางแมกไม้อันร่มครื้มหลังนี้ มีอายุเพียง 26 ปี แต่ก็เต็มไปด้วยเรื่องเล่าแห่งตำนาน ที่น่าภาคภูมิใจของราชสกุลกฤดากร ที่สืบต่อมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เจ้าของบ้านหลังนี้คือ ม.ล.ชโยทิต กฤดากร ผู้สืบ ราชสกุลกฤดากร รุ่นที่ 4 ต้นราชสกุลกฤดากรนั้นก็คือ พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศวรฤทธิ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น เป็นพระอนุชา องค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเคยเป็นเจ้าของวังพระอาทิตย์ ถนนพระอาทิตย์ มี 3 หม่อมคือ หม่อมสุภาพ หม่อมแช่ม หม่อมเจิม ซึ่งหม่อมเจิมนั้นมีลูก คือหม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร ซึ่งแต่งงานกับหม่อมหลวงแส สนิทวงศ์ มีบุตรคนหนึ่งชื่อ ม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ กฤดากร แต่งงานกับท่านผู้หญิงวิยะฎา มีบุตร 2 คนคือ ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี และม.ล.ชโยทิต กฤดากร

ม.ล.ชโยทิต มีภรรยาชื่อมนทกานติ์ บุตรสาวของ ม.ล.อัศนี ปราโมช และท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณอยุธยา มีบุตรชาย 1 คนคือ เด็กชายปิยกร กฤดากร ณ อยุธยา

"วังพระอาทิตย์ เมื่อก่อนเป็นวังของสมเด็จทวด (พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากฤษดาภินิหารฯ) คือ ตึกที่ทำการขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (F.A.O) ในวันนี้ บ้านเลขที่ 19 ของถนนพระอาทิตย์อะไรนี่ก็คืออาณาเขตหมด แต่สมัยก่อนเจ้านายจะมีหนี้สินกับสำนักงานทรัพย์สินฯ ค่อนข้างเยอะ เพราะท่านต้องเลี้ยงคน ดังนั้นก็จะมีการถวายวังคืนให้พระเจ้าแผ่นดิน" ม.ล.ชโยทิตหรือคุณปืนเล่าถึงสาเหตุของการย้ายที่อยู่ในยุคแรก

จากถนนพระอาทิตย์ ต่อมาในสมัยของหม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร ก็ได้ย้ายไปอยู่ในซอยหลักเขตบนถนนสุขุมวิท เมื่อย่านสุขุมวิทเริ่มจอแจแออัดมากขึ้น หน้าปากซอยกลายเป็นโรงแรม เป็นสถานที่ เที่ยวเตร่ของคนกลางคืน จนกระทั่งต้องมาหาซื้อที่ดินแถวหัวหมากสร้างบ้านใหม่ อีกครั้ง ซึ่งเมื่อ 26 ปีก่อนนั้น หัวหมากยังคงเป็นท้องทุ่งที่ร่มรื่น ไม่ค่อยมีบ้านคนเท่าไรนัก

"เมื่อก่อนนั้นเวลาออกมาทานข้าวนอกบ้านคุณพ่อก็ชอบขับรถเล่นมาเที่ยว แถวนี้ ต้นไม้เยอะ ถนนก็โล่ง ตอนย้ายมาอยู่ที่นี่ผมอายุแค่ 9 ขวบ แล้วในบ้านก็มีท่าน้ำมีคลอง น้ำใสเห็นปลาว่ายเต็มไปหมด ทั้งปลาหมอ ปลาช่อน ปลาสลิด ผมกับพี่ต้น (ม.ล.ปิยาภัสร์) ชอบไปยืมเรือเพื่อนบ้านที่เป็นชาวมุสลิมใจดีมาพายเล่น"

ม.ล.ชโยทิตฟื้นความหลังเมื่อยังเด็ก แล้วยังขยายความต่ออีกว่า ม.ล.ปิยาภัสร์ ที่โตขึ้นมาเป็นสาวสวยบุคลิกเป็นผู้ดีทุกกระเบียดนิ้วจนได้รับเลือกให้แสดงเป็นสมเด็จพระสุริโยไท ในภาพยนตร์แห่งสยามประเทศเรื่องสุริโยไทนั้น เมื่อยังเล็ก ก็ชอบในเรื่องตกปลา ปีนป่ายต้นไม้เหมือนเด็กผู้ชายคนหนึ่งเหมือนกัน

ลำคลองที่อยู่ติดบ้านนั้น เรียกว่า คลองบางกระจาด ที่แยกออกมาจากคลอง แสนแสบ ทุกวันนี้ในน้ำไม่เห็นตัวปลา น้ำใสๆ กลายเป็นน้ำสีดำแทน หลังจากทางราชการได้ทำประตูกั้นน้ำ เปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำ คลองนี้เลยกลายเป็นคลองน้ำเสีย ที่ใช้รดต้นไม้ได้อย่างเดียว และท่าน้ำซึ่งเคยเป็นที่เล่นอันสนุกสนานของคุณปืนและคุณต้นใน วัยเด็ก วันนี้กลายเป็นสถานที่ต้องห้ามไม่ให้น้องลูกปืน ลูกชายจอมซนวัย 3 ขวบเข้าไปกล้ำ กราย เพราะกลัวอันตราย

ในพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ที่ซื้อไว้นี้ได้ถูกสร้างเป็นบ้าน 2 หลังคือ บ้านของม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ และท่านผู้หญิงวิยะฎา ส่วนอีกหลังเป็นบ้านของหม่อมหลวงแส และ ม.ร.ว.พูนสวาสดิ์ ซึ่งเป็น คุณลุงของ ม.ล.ชโยทิต บ้าน 2 หลังถูกสร้างมาพร้อมๆ กัน เมื่อทั้งคู่แต่งงาน พี่สาวได้ย้ายมา อยู่บ้านเดิมของคุณพ่อคุณแม่ ส่วนเขาย้ายมาอยู่บ้านที่คุณย่ากับคุณลุงเคยอยู่ ซึ่งปัจจุบันเสีย ชีวิตไปแล้วทั้ง 2 ท่าน บ้านสองหลังถูกปรับปรุงสร้างเพิ่มเติมเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา และในเวลานี้ กำลังขยายปรับปรุงเพิ่มเติมพร้อมๆ กันอีก

"สมัยนั้นมีที่ดินซึ่งคุณพ่อกับคุณลุงมาดูไว้ 2 ซอยคือ ซอยธารารมณ์กับซอยนี้ ราคาตารางวาละ 2,500-3,000 บาท แต่ตอนนั้นที่ดินในซอยธารารมณ์มันติดวัดคุณลุงก็กลัวว่าเวลา เผาศพแล้วมันจะเหม็น ส่วนที่ดินตรงข้ามติดกับคลองมีคนมาเสนอขายคุณย่าไร่ละ 1,000 บาท ถ้าท่านซื้อไปป่านนี้ผมก็ไม่ต้องทำงานแล้ว"

รอบๆ บริเวณบ้านหลังนี้ยังมีต้นไม้ใหญ่หลงเหลืออยู่หลายต้น แต่ต้นใหญ่ที่สุดและเขารักมากคือ ต้นไทร ซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของนกใหญ่น้อยมากมายแต่ถูกน้ำท่วมขังตายไปเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2526

ภายในตัวบ้านเต็มไปด้วยรูปภาพที่มากไปด้วยเรื่องราวมากมายของบุคคลสำคัญของ สกุลในอดีตทั้ง 3 รุ่น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เขารู้สึกผูกพันกับบ้านหลังนี้มากเป็นพิเศษ

ม.ล.ชโยทิตเล่าเบื้องหลังของแต่ละภาพด้วยน้ำเสียงที่สะท้อนให้เห็นถึงความรักและภาคภูมิใจ โดยเฉพาะเรื่องราวของพระรูปปั้นหินอ่อนสีขาวของพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า กฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ซึ่งแกะโดยช่างชาวอิตาเลียน เมื่อปี ค.ศ.1909 เดิมพระ รูปนี้อยู่ที่วังพระอาทิตย์ ส่วนรูปปั้นอีกรูปแกะด้วยบรอนซ์ เป็นรูปของเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมท่านนี้กับพระองค์เจ้ากฤษดาภินิหารนั้นผูกพันกันมาก เมื่อท่านสิ้น ประมาณเดือนหนึ่งให้หลังเจ้าจอมก็สิ้นตาม

"รูปของเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นนั้น หม่อมเจ้าหญิงพรรณเพ็ญแขได้ไป แล้วก็ยกให้คุณสืบ บุญรัตพันธุ์ คุณสืบยกต่อให้ผม เพื่อให้แม่ลูกที่รักกันมากได้มาอยู่ที่เดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมมีความผูกพันมากตั้งใจเก็บรักษาไว้ให้ดีที่สุด"

"กฤดากร" เป็นราชสกุลที่รับใช้เบื้องยุคลบาทอย่างใกล้ชิดมาตลอด ตั้งแต่ยุคของต้น ราชสกุล ซึ่งเคยเป็นเสนาบดีกระทรวงนครบาลดูแลกรุงเทพมหานครและเมืองปริมณฑลทั้งหมด โดยมีกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบเมืองต่างจังหวัดในขณะนั้น

สองกระทรวงนี้ ต่อมาได้ยุบรวมกันเป็นกระทรวงมหาดไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และหลังจากยุบกระทรวงท่านก็มาเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ

ปัจจุบัน ม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ ม.ล.ชโยทิต กฤดากร แม้ไม่ได้รับราชการแต่ก็ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ ที่มีธนาคารไทยพาณิชย์ ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

เขาจบปริญญาตรีเกียรตินิยมสาขา Economy History เริ่มทำงานครั้งแรกที่ธนาคาร ในอังกฤษเกือบ 3 ปี กลับมาเมืองไทยเมื่อประมาณต้นปี 2535 โดยตัดสินใจมาร่วมงานด้านวาณิชธนกิจ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ ตามคำชวนของ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ในปี 2537 ก็ได้เปลี่ยนเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์

"วัฏจักรของหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ช่วงที่เราเกิดสมัย ปี 2537 ต้องยอมรับว่ามีมากกว่า 80 บริษัทแข่งกันมากรายใหญ่ๆ เช่น ฟินวัน เจเอฟ เอสวัน ธนชาติ ธนสยาม เราเป็นน้องเล็กที่สุดในวงการและเหนื่อยมากเพราะไม่มีใครรู้จัก พอมีดีลใหญ่ๆ ก็ไม่ค่อยได้ ก็ต้องสร้างคอนเนกชั่นกับผู้ใหญ่มาตลอด โชคดีที่ได้ชื่อของไทยพาณิชย์ หนุนด้วย ต่อมาเริ่มได้ดีลใหญ่ขึ้น และเมื่อบริษัทหลักทรัพย์ล้มหายตายจากไป เราก็เลยเป็นตัวเลือก ที่จำเป็นขึ้นมายิ่งตอนนี้มีเหลือน้อย ก็เลยทำงานไม่ทัน เพราะงานเข้ามาเยอะมาก"

แม้จะมีงานหลักสำคัญที่ต้องคอยรับรองผู้ใหญ่นอกเวลาทำงาน แต่เมื่อใดที่ว่างจะต้องรีบกลับบ้านทันทีด้วยอารมณ์ที่คิดถึงลูกปืน ลูกชายคนเดียวที่อยู่ในวัยซน จนหลายต่อหลายครั้ง ต้องหอบหิ้วไปนั่งทำงานด้วยกัน นอกจากบ้านหลังนี้เขายังมีบ้านพักของครอบครัวที่หัวหินและ คอนโดบ้านไข่มุก ที่ส่วนใหญ่จะไปพักผ่อนพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวของพี่สาวและหลานๆ ที่จะกลับมาจากประเทศอังกฤษในช่วงเวลาปิดเทอม

สิ่งแวดล้อมกำลังก้าวเดินตามวันเวลาที่เปลี่ยนไป ความเจริญได้มุ่งเข้าสู่ย่านนี้อย่างรวดเร็ว ถนนตัดใหม่หลายสายที่พาดผ่านไปมาทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นไม่ว่าจะไปใช้มอเตอร์เวย์เพื่อ มุ่งหน้าสู่เมืองชายทะเล หรือจะเดินทางไปยังวงแหวนรอบนอก ขึ้นไปทางภาคเหนือของประเทศไทย

แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนไปก็คือ ความรักและความผูกพันของม.ล.ชโยทิตที่มีต่อบ้านหลังนี้จนไม่ยอมย้ายไปอยู่ที่ไหนง่ายๆ อีกแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us