Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2544
สุพล กิ๊บสันดีไซน์ ในวอชิงตัน ดี.ซี.             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

สุพล พรนิรันดร์ฤทธิ์




สุพล พรนิรันดร์ฤทธิ์ Executive Creative Director บริษัท Supon Gibson Design บินตรงจากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวและลูกค้าที่เมืองไทย และให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร "ผู้จัดการ" ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์วินาศกรรม เขย่าขวัญคนทั้งโลกกลาง เมืองนิวยอร์กและวอชิงตัน ดี.ซี. เพียง 4 วัน

เขาเป็นคนไทยคนหนึ่งที่ประสบความ สำเร็จอย่างสูงในการเข้าไปเปิดบริษัทด้าน การออกแบบในสหรัฐอเมริกามาถึง 13 ปี ผลงานของเขาเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ และสามารถสร้างยอดบิลลิ่งได้สูงถึงเกือบ 100 ล้านบาท ก่อนที่จะถูก Multi-Media Holdings, Inc. (MHI) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านมัลติมีเดียรายหนึ่งซื้อบริษัทไปเมื่อปี พ.ศ.2542

เป็นธุรกิจของคนคนหนึ่งที่เกิดขึ้นและยืนหยัดอยู่ได้ในประเทศมหาอำนาจของ โลก โดยไม่มีพื้นฐานหรือฐานะทางสังคมใดๆ เป็นตัวหนุน มิหนำซ้ำยังเป็นบริษัทของคนเอเชียผิวเหลือง ดังนั้นต้องยอมรับว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นเพราะมันสมองและสองมือ ของเขาจริงๆ หลายคนอาจจะมองว่าสุพลเป็นคนโชคดี แต่เขาบอกว่าโชคของเขามีจริง แต่เกิดขึ้นหลังจากเขากล้าที่จะลงมือทำ เพื่อ ให้เป็นไปตามความคิดฝันของเขาต่างหาก

สุพลจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนอัสสัมชัญแล้วเดินทางไปศึกษา ต่อในระดับไฮสคูลที่สหรัฐอเมริกา ศึกษาต่อ จนจบทางด้านแอ๊ดเวอร์ไทซิ่งดีไซน์และกราฟิกดีไซน์ เมื่อเรียนจบเขาก็ได้งานทำในบริษัทออกแบบเล็กๆ ที่นั่น หลังจากนั้นเพียง 2 ปี เขาก็ตัดสินใจที่จะตั้งบริษัทสุพลดีไซน์ กรุ๊ป ขึ้นในปี พ.ศ.2531 ขณะที่เขามีอายุเพียง 24 ปีเท่านั้น

ทั้งกรุ๊ปที่ว่านั้นมีพนักงานอยู่เพียง 2 คนคือ ตัวเขาเองที่มีหน้าที่ออกแบบเป็นหลัก และเพื่อนอีกคนที่คอยรับ โทรศัพท์ อพาร์ตเมนต์ที่พักคือออฟฟิศ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานก็คือโต๊ะดูสไลด์ 1 ตัว แฟกซ์ และโทรศัพท์ 1 เครื่อง โดยมีเงินทุนของตัวเองเพียง 750 เหรียญ

แต่สิ่งที่สุพลมีมากก็คือความมั่นใจ การมีโอกาสเข้าไปเป็นลูกจ้างในบริษัทเล็กๆ ที่ต้องทำเองหมดในทุกเรื่อง ทำให้เขาเชื่อว่าหากจะตั้งบริษัทเองขึ้นมาก็ทำได้ ที่สำคัญเขามั่นใจว่าเป็นคนที่ออกแบบได้สวย ซึ่งสุพลก็ได้เรียนรู้ในเวลาต่อมาว่าการออกแบบผลงานได้สวยและดีนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประสบความสำเร็จเท่านั้นแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะงานด้านการบริหารจัดการก็มีส่วนเสริมที่สำคัญเป็นอย่างมาก

กลุ่มลูกค้าของเขาในช่วงแรกๆ นั้นคือพวกสมาคม และชมรมขององค์กรการกุศลต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในกรุง วอชิงตัน ดี.ซี. และมีมากพอที่จะทำให้บริษัทเล็กๆ อย่างเขาดำรงอยู่ได้แต่ลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ต้องการความสวยงามใน เรื่องดีไซน์มากนักส่วนใหญ่จะเป็นการสั่งทำโบรชัวร์ที่ง่ายๆ

จากยอดบิลลิ่งเพียง 1 แสนเหรียญในปีแรกเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านเหรียญในช่วงระยะเวลาเพียง 5 ปีต่อมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่เลวนัก แต่ชีวิตการทำงานกลับขาดสีสัน รูปแบบงานที่เข้ามามันไม่สนุก ไม่ท้าทาย ในขณะที่เขามีพลังความคิดในเรื่องการดีไซน์อัดแน่นอยู่ในสมองเต็มไปหมด

ต้องเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าใหม่คือสิ่งที่เขาคิด และลงมือรวบรวมรายชื่อบริษัทใหญ่ๆ ที่อยากได้เป็นลูกค้าไว้ ทั้งหมด 80 บริษัท หลังจากนั้นก็วางแผนประชาสัมพันธ์บริษัทตัวเองด้วยการลงทุนทำโบรชัวร์แนะนำบริษัทที่หรูหรา สวยงามเพื่อส่งไปยังบริษัทเป้าหมายต่างๆ

วิธีนี้ได้ผล เมื่อผลงานของเขาไปสะดุดตาครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ บริษัทโค้ก และติดต่อมาหาเขาทันที

บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไอบีเอ็มซึ่งในช่วงนั้นเป็นสปอนเซอร์ให้กับโอลิมปิกแอตแลนตาเกมส์ ประทับใจกับโบรชัวร์ที่สวยงามของบริษัทชื่อแปลกๆ นี้เช่นกัน และให้โอกาสสุพลเข้าไปเสนอผลงาน และครั้งนั้นเขาใช้แผนการที่แยบยลเพื่อให้ได้งานชิ้นนี้ โดยให้ลูกน้องไปหางานทางด้านการกีฬาที่เป็นรายการกุศลมาทำให้ฟรีๆ เช่นงานประชาสัมพันธ์ให้กับทีมเบสบอลของเด็กๆ เพื่อที่จะได้เอาผลงานไปแสดงให้บริษัทไอบีเอ็มเห็นว่า เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ทางด้านกีฬามาบ้างเหมือนกัน

และไม้เด็ดสุดท้ายที่เขาทิ้งไว้ให้ผู้บริหารบริษัทขบคิดก็คือคำพูดที่ว่า "โอเค ถึงผมจะมีผลงานทางด้านกีฬามาไม่มาก แต่ความใหม่ของผมอาจจะทำให้มีไอเดียที่ไม่ซ้ำแบบใครก็ได้ แต่ ถ้าเป็นบริษัทที่มีผลงานด้านการกีฬามามากแล้ว การเสนองานออกมาก็จะเหมือนๆ กันหมด ไม่มีอะไรที่โดดเด่น"

ในที่สุดไอบีเอ็มก็แบ่งงานส่วนหนึ่งมาให้เขาทำ และปรากฏว่าเป็นที่ถูกใจมากจนกระทั่งยอมยกงานทั้งแคมเปญให้หมด และยังได้งานชิ้นอื่นต่อเนื่องมาด้วย

ภาพชุด "เดอะลุคออฟเดอะเกมส์" สุพลได้นำเอาสีฟ้า และลายเส้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของไอบีเอ็มเข้าไปอยู่ในเนื้องานด้วยทำให้ทุกคนที่เห็นนึกถึงบริษัทไอบีเอ็มทันที โดยไม่จำเป็นต้องเห็นยี่ห้อเล็กๆ บนรูปภาพนั้นก่อนเลย

งานจากบริษัทใหญ่ที่ได้มาเป็นเหมือนสปริงบอร์ดที่ดีดให้สุพล แอนด์ ดีไซน์ กรุ๊ป มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากขึ้น

การเป็นนักล่ารางวัล เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สุพลยึดเป็นแนวทางในการประชาสัมพันธ์ ให้กับบริษัทตัวเอง ในช่วงปีที่ 5-10 เขาบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า ได้รับรางวัลมาทั้งหมดเกือบ พันรางวัล และเมื่อปี 2000 หนังสือด้านกราฟิกดีไซเนอร์ของสหรัฐฯ โหวตให้สุพลเป็น 1 ใน 50 ของดีไซเนอร์ที่มีความสามารถในอเมริกา ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาภูมิใจมากว่า ผลงานของเขานั้นนอกจากลูกค้าจะยอมรับแล้ว บุคคลในแวดวงอาชีพเดียวกันก็ยอมรับเขาด้วย

"หลักในการทำงานที่ผมยึดมาตลอดก็คือบอกลูกค้าให้บอกเราว่าเขาต้องการอะไร แล้วเราจะให้ในสิ่งที่คุณจำเป็นต้องมี อย่ามาบอกเราว่าจะเอาอะไร แล้วจะเอาอย่างนั้นทั้งหมด เพราะถ้าคิดอย่างนั้นคุณจะมาบริษัทดีไซน์ทำไม ผมคิดอยู่เสมอว่าเราไม่ได้ดีไซน์เพื่อตัวเองแต่เราทำเพื่อลูกค้า ลูกน้องผมบางคนทำมาสวยเชียว แต่ไม่มีเหตุผล งานก็ไม่ผ่าน ในขณะเดียวกันเราต้องแนะนำลูกค้าได้ด้วยเพราะดีไซน์มักจะถูกกล่าวโทษก่อน ทุกทีว่าเพราะออกแบบไม่สวยของเลยขายไม่ได้"

ทุกครั้งที่สุพลมาเมืองไทยจะมีโอกาสได้เห็นชิ้นงานด้านดีไซน์ที่ดีๆ มากมายไม่แพ้ผลงานดีไซเนอร์ดังในต่างประเทศ แต่เสียดายที่บางชิ้นเขาไม่รู้ว่าคนออกแบบต้องการสื่อให้เห็นอะไร และบางครั้งดูเหมือนว่าคนออกแบบเลียนแบบจากต่างประเทศมากไปโดยไม่ได้ดูความ เหมาะสม และลืมเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไป เช่นลูกค้าขายขนมไทยแต่ดีไซน์กล่องที่ใส่ให้ดูเหมือนขนมจากเมืองนอก

"ผมเองก็ดูงานคนอื่นเหมือนกัน ดูแล้วก็นำมาดัดแปลงให้เหมาะ สม ไม่ใช่ก๊อบปี้มาทั้งหมด เราใช้ไอเดียเขามาดัดแปลง ผมพยายามคิดว่า ดีไซน์คนนี้เขาคิดอะไรอยู่งานของเขาจึงได้ออกมาแบบนี้ ผมก็พยายาม ใช้ความคิดของเขามาใส่ในงานของเรา"

นั่นคือวิธีการคิดและเส้นทางสู่ความสำเร็จของสุพล จนกระทั่งเมื่อ MHI ได้เข้ามาขอซื้อบริษัทของเขาไปเป็นบริษัทหนึ่งในเครือที่มีอยู่แล้วถึง 17 บริษัท เช่นบริษัทด้านโฆษณา บริษัทด้านประชาสัมพันธ์ และสุพล ดีไซน์ กรุ๊ป ก็เข้าไปเป็นบริษัทที่ 18 ของเอ็มทีไอ โดยมีระยะเวลาในการทำสัญญาทั้งหมด 4 ปี

สุพลอธิบายกับ "ผู้จัดการ" ว่า สิ่งที่ได้จากการรวมบริษัทในครั้งนั้นก็คือ 1. ได้เงิน 2. ได้หุ้นในบริษัท MHI มาส่วนหนึ่ง 3. การบริหารยังอยู่ในมือของเขาเต็มที่ ในขณะเดียวกันจะได้ทีมงานซัปพอร์ตจากแผนกต่างๆ ของเขา ทำให้บริษัทสุพลกลายเป็นบริษัทใหญ่ที่มีพนักงานทั้งหมดรวมกันถึง 300 คน เพิ่มขีดความสามารถในการให้ บริการลูกค้าได้ครบวงจรมากขึ้น พร้อมที่จะทำงานชิ้นใหญ่ ขึ้น

และที่สำคัญยังเป็นการสร้างโอกาสใหม่ให้เขาได้มีความก้าวหน้าและกว้างขวางด้วยคอนเนกชั่นที่เข้ามาอย่าง ต่อเนื่องในอนาคตต่อไปในระยะยาวด้วย

สุพลได้ไปซื้อบริษัทกิ๊ปสันดีไซน์เข้ามาเพิ่มอีกบริษัทหนึ่งด้วยความเห็นชอบของบริษัทแม่ และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นสุพล กิ๊ปสัน ดีไซน์ ในเวลาต่อมา

สุพล กิ๊ปสัน ดีไซน์ มีทีมงานทั้งหมด 30 คน เป็นคนดีไซน์งาน 15 คน งานหลักๆ ที่รับทำ มีทั้งหมด 6 ฝ่ายคือ งานด้านรีเทล งานของหน่วยงานภาครัฐ งานด้านชมรมสมาคม เอ็นเตอร์เทน สปอร์ต วิทยุ การศึกษา ไฮเทคโนโลยี ซึ่งรายได้จะมาจากส่วนของงานด้านการศึกษามากที่สุด โดยมีลูกค้าสำคัญคือ George Washington University

ชื่อ "Supon" ที่ฝรั่งออกเสียงยากสะกดไม่ถูกนี้ เป็นแบรนด์ด้านการออกแบบและดีไซน์ไปแล้ว ในกรุงวอชิงตัน การเป็นคนไทยไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไป ซึ่งเขาบอกว่าถ้าความเป็นคนไทย หรือความเป็นคนเอเชียทำให้ลูกค้าไม่ไว้ใจ เขาเองก็ไม่อยากได้ลูกค้าที่มีความคิดคับแคบอย่างนี้เหมือนกัน

เป้าหมายอีกอย่างหนึ่งที่สุพลอยากทำมากๆ ก็คือ การขยายงานไปทางด้านออกแบบพวกเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องเรือนต่างๆ เพราะเป็นสิ่งที่เขามีใจรักและชอบในการตกแต่งบ้านอย่างที่สุด บ้านของเขาที่กรุงวอชิงตันนั้นมีการตกแต่งดีไซน์ที่โดดเด่นมากทีเดียว

ในวัย 36 ปีนี้เขายังเป็นหนุ่มโสดที่ทำงานวันละ 12-15 ชั่วโมง และได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะกลับมาเมืองไทยแน่นอนเมื่อถึงเวลารีไทร์ หลังจากไปใช้ชีวิตที่อเมริกามาทั้งหมด 25 ปี

"ตอนนี้อยากจะหยุดงานสักปีหนึ่งไปเฉยๆ ไม่ทำอะไร อยากท่องเที่ยวทั่วโลก เพราะทำงานหนักมาตลอด คนอย่างผมไม่รอเวลาให้แก่แล้วค่อยไปเที่ยวแน่นอน อย่างเช่นไม่ต้องรอให้อายุ 40- 50 ปีเสียก่อนถึงจะกล้าตั้งบริษัทเองนั่นไง"

สุพลกล่าวทิ้งท้ายด้วยเสียงหัวเราะ และขอตัวเพื่อเตรียมไปตามนัดอีกนัดหนึ่งในวันนั้น ก่อนที่จะเดินทางไปพบลูกค้าในรัฐฮาวายในวันรุ่งขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us