Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2544
บีส ไดเมนชั่น เมื่อ PILOT PROJECT ต้องสะดุด             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

บีส ไดเมนชั่น
ไซมอน ชาน




ทันทีที่เกิดการก่อวินาศกรรมกับอาคารเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในความรู้สึกของไซมอน ชาน ก็เกิด ความวิตกกังวลขึ้นมาอย่างหนัก

เพราะไม่เพียงแต่การก่อวินาศกรรมครั้งนี้อาจจะมีผลต่อเนื่อง ให้เกิดสงครามที่ขยายตัวในวงกว้าง ซึ่งจะกระทบต่อทุกๆ ฝ่ายแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ย่อมมีผลโดยตรงต่อธุรกรรมของ บีส ไดเมนชั่น เจ้าของเว็บไซต์ FoodMarketExchange.com ซึ่งเขาเป็น Pressident อยู่

ก่อนหน้านี้เพียงไม่ถึง 2 เดือน บีส ไดเมนชั่น เพิ่งเริ่มต้น PILOT PROJECT โดยเข้าไปจัดการประมูลซื้อกุ้งกุลาดำผ่านทางเว็บไซต์ FoodMarketExchange.com เป็นครั้งแรกที่จังหวัดสุราษฎร์ ธานี ซึ่งการประมูลผ่านเว็บไซต์ครั้งนี้ ถือเป็นรูปแบบใหม่ในการนำ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาใช้ในการจัดซื้อกุ้งกุลาดำของ ผู้ส่งออก ซึ่งทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับผลประโยชน์

ฝ่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง สามารถขายกุ้งได้ราคามากกว่าการ ขายให้กับบริษัทนายหน้า ซึ่งจะรับกุ้งไปขายต่อที่ตลาดกลางปากพนัง หรือตลาดกลางมหาชัย ในขณะที่โรงงานผู้ส่งออก ก็จะได้ รับกุ้งที่มีคุณภาพมากกว่า เพราะทันทีที่รู้ผลการประมูล กุ้งจะถูกจับจากบ่อเพื่อนำส่งโรงงานภายใน 12 ชั่วโมง แตกต่างจากที่ต้องไปซื้อจากตลาดกลางที่กว่าจะได้กุ้งเข้าโรงงาน ต้องใช้เวลาเป็นวัน

ไซมอน ชานให้ความสำคัญกับการประมูลครั้งนี้มาก เพราะ หากประสบผลสำเร็จ บีส ไดเมนชั่น ในฐานะเจ้าของเทคโนโลยี จะสามารถเข้าไปมีบทบาทในการจัดซื้อสินค้าการเกษตร ให้กับโรงงานที่จะขยายวงออกไปยังสินค้าตัวอื่นๆ ได้อีก

"เราเริ่มจากกุ้ง เพราะกุ้งเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง และมีตลาด ส่งออกที่แน่นอนอยู่แล้ว" เขากล่าว

ปัจจุบันประเทศไทย ถือเป็นผู้ผลิตกุ้งกุลาดำรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีปริมาณการผลิตถึงปีละ 550,000-600,000 ตัน รองลงมาได้แก่ ประเทศเวียดนาม และอินเดีย โดยมีตลาดใหญ่อยู่ที่สหรัฐ อเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในแถบยุโรป

ผลการประมูลครั้งแรก จากกุ้ง 4 บ่อ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นโครงการนำร่องเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ปรากฏว่าได้รับความสำเร็จอย่างดี จนบีส ไดเมนชั่นกล้าประกาศความสำเร็จดังกล่าวต่อสื่อมวลชนในเดือนถัดมา และได้วางแผนไว้ว่าจะเริ่มการประมูลต่อไปอีก 30-40 บ่อในเดือนกันยายน

แต่แผนดังกล่าวต้องสะดุดลง เมื่อเกิดเหตุการณ์ก่อวินาศ กรรมครั้งนี้ ซึ่งผลที่ตามมาอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุด คือ สหรัฐ อเมริกา ได้สั่งระงับการนำเข้ากุ้งกุลาดำจากทั่วโลกออกไปอย่างไม่มี กำหนด

"ก่อนเกิดเหตุการณ์ เราเดินทางลงไปที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แทบจะทุกสัปดาห์เพื่อเตรียมการประมูลรอบใหม่ แต่ตอนนี้ทุกสิ่งทุกอย่างต้องระงับไว้หมด"

สิ่งที่ไซมอน ชาน ทำได้ตอนนี้ คือ รอให้สถานการณ์ดังกล่าว คลี่คลาย หรือได้ข้อยุติที่ชัดเจนโดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้เริ่มเปิดการประมูลตามแผนงานต่อไปได้อีกครั้ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us