ประเพณีนิยมของการแต่งกาย เพื่อเข้าทำงานในสถาบันการเงินในประเทศไทย กำลังได้รับการท้าทายครั้งใหญ่
เมื่อซิตี้แบงก์ประเทศไทย ประกาศใช้นโยบายใหม่ ที่ให้อิสระแก่พนักงานในการแต่งกายแบบลำลองมาทำงาน
เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา แทน ที่จะต้องยึดติดกับการใส่เชิ้ตแขนยาวผูกเนกไท ที่เป็น
กระแสหลักของผู้คนในวงการนี้มาเนิ่นนาน
การให้อิสระในการแต่งกายในวงการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโฆษณา กลุ่มผู้ทำงานด้านศิลปะ
หรือกลุ่มอาชีพอื่นๆ ที่ความน่าเชื่อถืออยู่ ที่ผลของชิ้นงานนั้น อาจไม่ใช่เรื่องแปลกมากนัก
เพราะภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับการเปิดกว้างของความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เครื่องแต่งกายกลายเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนเล็กๆ
ที่แต่ละองค์กรอาจไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก หมายความว่าจากนี้ไปการติดต่อธุรกิจกับลูกของ
ซิตี้แบงก์จะมุ่งไปในกลุ่มผู้ประกอบการยุคใหม่ๆ ที่สลัดคราบการดำเนินธุรกิจแบบเก่าๆ
ออกไป
แต่สำหรับองค์กร ที่มีจุดเน้นย้ำอยู่ ที่ความน่าเชื่อถือ เช่น สถาบันการเงินนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในลักษณะเช่นว่าได้ส่อแสดงความเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ ที่สำคัญไม่ใช่น้อย
เฮนรี่ โฮ ผู้จัดการใหญ่ ซิตี้แบงก์ เชื่อว่าในโลกธุรกิจ ที่คน รุ่นหนุ่มสาวก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นนั้น
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนจำเป็นต้องแสดงออกด้วยความคล่องตัว และมีลักษณะ ที่เปิดให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์แต่ถูกกาลเทศะมากขึ้น
โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับแบบแผนที่จำเจ
นโยบาย Business Smart Casual Dress Policy ที่ซิตี้แบงก์ไทยนำมาใช้ในครั้งนี้
ถือเป็นนโยบายของซิตี้แบงก์ทั่วโลก โดยได้เริ่มใช้ในสหรัฐอเมริกา และยุโรป
มาเนิ่นนานหลายปีพอสมควร ก่อน ที่จะนำมาใช้ในประเทศไทยเป็นแห่งแรกของเอเชีย
"เราเชื่อว่าหากเราให้อิสระทางความคิดในทุกแง่มุม
เราจะได้พนักงาน ที่มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และบรรยากาศของการทำงาน ที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน
รื่นรมย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิผลของการทำงานมากขึ้น" เฮนรี่ โฮ
อธิบายถึงแนวความคิด ที่อยู่เบื้องหลังการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้