Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2544
เฉลิมศรี โอลสัน             
 

   
related stories

ชีวิตนอกระบบที่ไม่ไร้ระบบของ Grant Olson
พ่อ-แม่-ลูก

   
search resources

เฉลิมศรี โอลสัน




เฉลิมศรี โอลสัน เป็นลูกแม่โดม-พ่อปรีดี เลือดเหลือง-แดง จากคณะศิลปศาสตร์ หลังจบการศึกษาจากธรรมศาสตร์ ได้กลับไปสอนหนังสือยังบ้านเกิดที่จังหวัดสงขลา โดยเริ่มสอนภาษาอังกฤษที่วิทยาลัยครูสงขลา จากนั้นในช่วงปี 1974-1976 ได้รับทุน Fulbright ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านภาษาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Pittsburgh แห่งมลรัฐ Pennsylvania จากนั้นก็กลับมาสอนหนังสือต่อ และเข้าร่วมโครงการ Peace Corps ในประเทศไทยในช่วงปี 1978-1979 โดยเป็นอาจารย์สอนภาษาไทยแก่สมาชิกชาวต่างชาติที่เดินทางมาในประเทศไทย

ช่วงเวลานี้เองที่ได้พบกับ Grant เป็นครั้งแรก หลังจากแต่งงานในปี 1979 เฉลิมศรีและ Grant ยังคงสอนหนังสือต่อที่วิทยาลัยครูสงขลา จนกระทั่ง Grant ต้องกลับมาศึกษาต่อที่อเมริกา เฉลิมศรีจึงลาออกจากชีวิตราชการ ติดตามสามีมายังฮาวาย ช่วงที่อยู่ฮาวาย เธอเริ่มงานจากเป็นพนักงานขายในห้างสรรพสินค้า Liberty House

รวมทั้งช่วยสอนภาษาอังกฤษให้แก่ผู้อพยพในฮาวายด้วย และย้ายตาม Grant ไปยัง Cornell เธอยังคงช่วยสอนภาษาอังกฤษให้แก่ผู้อพยพอยู่ประมาณปีครึ่ง หลังจากนั้น Grant ใกล้จบปริญญาเอก เริ่มสมัครงาน และย้ายมายัง NIU โดยในปี 1989 เฉลิมศรีเริ่มเข้ามาเป็นผู้ช่วยสอนภาษาไทย ในคณะ Foreign Language ขณะเดียวกันก็ทำงานที่ห้องสมุดด้วย รวมทั้งตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโททางด้านบรรณารักษ์อีกหนึ่งปริญญา

สำหรับระบบการบริหารห้องสมุดของ NIU เป็นระบบที่บุคลากรจะต้องมีปริญญาโท 2 สาขา โดยสาขาหนึ่งจะต้อง เป็นทางด้านบรรณารักษ์ศาสตร์ หลังจากเฉลิมศรีเรียนจบทางห้องสมุดก็เปิดตำแหน่งใหม่เรียกว่า ตำแหน่ง Cataloger ห้องสมุดก็รับเธอเข้าทำงานในตำแหน่งนั้นเต็มตัว "ตำแหน่งบรรณารักษ์ที่นี่เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ ซึ่งต้องทำงานวิจัยให้ได้ตามกำหนด จึงจะได้รับ Tenure เป็นพนักงานประจำที่ไม่ต้องเซ็นสัญญาปีต่อปี" เฉลิมศรีเล่า และปีนี้เป็นปีที่ 3 ที่เธอได้รับ Tenure โดยปัจจุบัน เธอมีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เทียบเท่าอาจารย์ในมหาวิทยาลัย หน้าที่ของเฉลิมศรีคือ ต้องดูแลงานทางด้านการจัดซื้อและจัดสรรหมวดหมู่หนังสือทั้งหมดภายในห้องสมุดของ NIU...เป็นความน่าภูมิใจที่คนไทยได้รับการยอมรับในวงการศึกษาเทียบเท่าคนอเมริกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us