Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2544
"ผมว่าชีวิตผลก็แปลก มันเป็นไปตามดวง"             
 

   
related stories

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่จริงๆ

   
search resources

ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.




"เด็กๆ ผมเรียนเซนต์คาเบรียล ก็ไม่ไกลเท่าไร ขึ้นรถรางไป แต่ก่อนขึ้นรถราง นี่สนุก เวลาขึ้นนี่ต้องโดดด้วย

ผมว่าชีวิตผมก็แปลก มันเป็นไปตามดวง ที่เรียนธรรมศาสตร์ เพราะว่าเดิมนี่เคยคิดจะเรียนหมอ เพราะสมัยก่อนเขาบอกคนไหนเรียนเก่งต้องเรียนหมอ ตอนเด็กๆ ผมเรียนดี ได้ที่ 1 บ่อย ตอนนั้นก็คิดว่าเป็นหมอมันโก้ รายได้เยอะ ก็คิดจะเรียนหมอ ไม่เคยคิดเรียนวิศวะเลย เพราะว่าพอไปจับพวกเครื่องยนต์กลไกแล้ว มันรู้สึกว่าเป็นอะไรที่ไม่รู้เรื่อง ก็เลยว่าจะเรียนหมอ"

เขาเคยเล่าให้พนักงานแบงก์ชาติฟัง "มีอยู่วันหนึ่งได้ไปที่งานศิริราชครบ 60 ปี หรือ 48 ปี จำไม่ได้ ก็ไปดู เขามีการผ่าศพ หั่นศพเป็นชิ้นๆ ผมเห็นแล้วรู้สึกไม่ไหว ใจไม่ถึง คือผมไม่ได้กลัวผี แต่มันไม่อยากเห็น พอไม่ไหวในใจก็บอกไม่เรียนแล้ว

ตอนนั้นอยู่ในราวๆ ม.6-ม.7 พอไม่เรียนหมอแล้ว มาถึง ม.8 จะจบแล้วนี่ ต้องตัดสินใจว่าจะเรียนอะไรดี ก็นึกไม่ออก วิศวะเราไม่ชอบ คะแนนเราเข้าได้หมด เมื่อวิศวะไม่ชอบ ให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่เอา ไม่รู้จะทำอะไรดี

เผอิญชอบทีมฟุตบอลธรรมศาสตร์ ชอบอัศวิน ทองอินเนตร ตอนนั้นอัศวินยังไม่ตาย มาตายตอนผมอยู่ปี 2 ก็ชอบ นักฟุตบอลธรรมศาสตร์มาก ก็เลือกที่ธรรมศาสตร์นี่แหละ เลือกอันดับ 1 เลย มันก็ต้องได้แหงๆ พอเข้าธรรมศาสตร์ เขาให้เขียนว่าจะเรียนคณะอะไร ก็เขียนคณะบัญชีไว้ก่อน เพราะนึกไม่ออก

ชีวิตมันเป็นที่ดวง เพราะถ้าเรียนหมอ ป่านนี้ก็คงเป็นหมอไปแล้ว คร่ำเครียดรักษาคนไข้แล้วก็กลัวไป แต่ทีนี้พอเรียนธรรมศาสตร์ เลือกเรียนบัญชี

ผมก็เรียนที่ธรรมศาสตร์อยู่หนึ่งปี ก็ต้องเลือกเมเจอร์ ตอนจะเลือกเมเจอร์ก็มีข่าวว่าอาจารย์ป๋วยจะมาเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ อาจารย์ป๋วย ผมถือเป็น ideal ของเราเลย ผมรู้จักอาจารย์ป๋วยมาก่อนจากหน้าหนังสือพิมพ์ อ่านอะไร ก็เจอแต่ ดร.ป๋วยทั้งนั้น เป็นคนดี คนซื่อ คนเก่ง ทั้งดี ทั้งซื่อ ทั้งเก่ง หายาก

พอมีข่าวว่าอาจารย์ป๋วยจะมา ก็เปลี่ยนเมเจอร์ทันที มาเรียนเศรษฐศาสตร์ก็แค่นั้นแหละ จริงๆ คนเรามันตัดสินใจด้วย factor อย่างนี้แหละ ไม่ได้วางแผนชีวิตจะเป็น นักเศรษฐศาสตร์

แล้วพอเรียนไปจนจบปี 3 คุณบัญชา ล่ำซำ ซึ่งเป็นพี่เขย เห็นผมเรียนเก่ง ก็เลยมาถามว่าอยากจะทำงานแบงก์ไหม ตอนนั้นเราก็คิดว่าใครได้ทำแบงก์มันก็โก้ดี และสมัยก่อนงาน ก็หายาก เรียนหนังสือจบ ไม่ได้หางานได้ทันที เพื่อนรุ่นผมจบแล้วไปเข้าสภาพัฒน์บ้าง กระทรวงพาณิชย์บ้าง เข้าที่นี่ก็มี หลายคน ส่วนมากจะหางานได้หมด แล้วอยู่ดีๆ พี่เขยมาชวนไปทำงานแบงก์ เราก็ถือเป็นโอกาส แกก็บอกให้ไปเรียนต่อก่อน ไปเรียนเสริมให้ดีกว่านี้ แล้วให้ทุนอีก

ตอนเรียนปี 4 ระหว่างเรียนไป ก็เขียนใบสมัครมหาวิทยาลัยไป เอาพิมพ์ดีดมานั่งพิมพ์ใบสมัครอยู่ที่สามแยกปากหมาเลย พอพิมพ์ใบสมัครเสร็จ ก็จะต้องมีใบ recommen-dation ผมก็วิ่งไปหาอาจารย์ป๋วย บอกท่านว่าอาจารย์ช่วยเขียน recommendation ให้ผมหน่อย ท่านก็รับไว้ แล้วก็ไปเขียน ปรากฏว่าท่านพิมพ์เสร็จ เซ็นเสร็จก็ใส่ซอง เราเป็นเด็ก ซนอยู่แล้ว ก็อยากจะรู้ว่าอาจารย์ป๋วยเขียนอะไรก็แอบเปิดซองดู

โอ้โห! ท่านเขียนให้ผม ผมตกใจเลย เพราะท่านเขียนให้ผมดีมาก จนตกใจเลยว่าอาจารย์ดูเราดีขนาดนี้เลยเหรอ เลยตั้งใจว่าจะทำให้ดีที่สุด ไม่ให้อาจารย์ผิดหวัง ท่านเขียนจนเหลือเชื่อ ใครอ่านก็ต้องรับ เพราะอาจารย์ป๋วยเป็นคนที่มีคนรู้จักทั้งโลก อธิการบดีตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ในต่างประเทศรู้จักหมด

ทั้งที่ตอนนั้น คะแนนผมไม่ค่อยดี สอบ TOEFL คะแนนก็ไม่ได้มากเหมือนสมัยนี้ สมัยนี้ต้องกว่า 600 หรือ 650 แต่สมัยก่อนผมได้ 575 อยู่ในช่วงก้ำกึ่ง จะรับหรือไม่รับ ผมเลยคิดว่า ที่เขารับ ก็เพราะตรงจดหมายนี่แหละ

ตอนไปกะว่าจะไปเรียนภาษาแต่ซวย เพราะพอผมไปถึงได้ 2 อาทิตย์ ก็ไม่สบาย ป่วยมีอาการเหนื่อย เดินไม่ไหว เดินขึ้นบันไดทีแทบคลาน ก็เลยไม่ได้ไปเรียนภาษาอังกฤษ ไปพักอยู่บ้านพี่สาว (ม.ร.ว.ทิพยางค์ กาญจนดุล พี่สาวของ ม.ร.ว.สำอางวรรณ ล่ำซำ) พักอยู่ 2 เดือน ความจริง 2 เดือน ยังไม่หายดี เราก็บอกว่ามันถึงเวลาที่ต้องไปเรียนแล้ว จะเปิดเทอมแล้ว หมอเขาก็บอกว่าอยากให้นอนพักต่อ เราก็บอกว่า คงไม่ได้ เพราะเป็นโอกาสในชีวิต ถ้าไม่ไปเขาคงไม่รับผมอีกแล้ว ความจริงโรคนี้ต้องพักถึง 6 เดือน แต่เรายังหนุ่ม เราก็ไปเรียน

ต่อมาผมเช่าอพาร์ตเมนต์อยู่คนเดียวอยู่ไปสักเทอมหนึ่ง ประมาณ 6 เดือน ก็มีคนตัวผอมๆ เกร็งๆ ดำๆ เดินมา คือดร.โกร่ง (วีรพงษ์ รามางกูร) จริงๆ ผมก็รู้จักแกแล้ว ผมเป็น คนรู้จักคนง่าย

พอผมเจอพี่โกร่ง แกก็บอกว่ารูมเมทของแกออกไปแล้ว ไม่มีใครช่วยแชร์ค่าอพาร์ตเมนต์คือ อพาร์ตเมนต์ของแกใหญ่ ต้องอยู่แบบ 2 คน แต่ของผมห้องนิดเดียว แกบอกให้ผมเลิกเช่าที่นี่ แล้วไปอยู่ด้วยกัน ผมก็ไป

ผมอยู่คนเดียวช่วง 6 เดือนแรก มันเหงา เพราะในชีวิต ไม่เคยไปเรียนหนังสือเมืองนอก และเวลาอ่านหนังสือทีนึงก็เจ็บใจ ภาษาอะไรมันยาวจริงๆ ผมเคยลองนับประโยคเดียว ตั้ง 6 บรรทัด มันก็เกิดอารมณ์เหงา แล้วยังจำได้ วันที่หิมะตกวันแรกก็ตื่นเต้น คนออกไปดูหิมะกันเยอะ แล้วก็แปลก พอเจออากาศเย็นๆ หิมะตก มันเหงาเป็นบ้าเลย พอพี่โกร่งมาชวน ผมก็คิดว่าสบายแล้ว ก็ไปเลย ไปอยู่กับแก

ผมเรียนแค่ 2 ปี ก็จบ (MBA - Wharton School of Finance and Commerce, University of Pennsylvania) แต่พี่โกร่งทำดอกเตอร์อยู่ เขามาก่อนผมปีครึ่ง แล้วก็จบหลังผมอีกปีครึ่ง

ส่วนผมก็ไปอยู่นิวยอร์ก ไปฝึกงาน คือหลังจากจบแล้วธนาคารกสิกรก็รับเลย แล้วให้ไปฝึกงานที่นิวยอร์ก ไปฝึกงานด้านแบงก์ (Banker Trust) ไม่ค่อยบอกอะไรกับเรา เวลาถาม เขาอธิบายพอเข้าใจคอนเซ็ปต์ก็จบแล้ว

กลับมาก็ทำงานที่ธนาคารกสิกรไทย ผมเริ่มงานเดือนมิถุนายน 2514 จนถึงธันวาคม 2533 ไม่ถึง 20 ปี 19 ปีครึ่งก็ออก ก็จะไปช่วยพี่โกร่ง เขาเป็นรัฐมนตรีคลัง แล้วเขาไม่สบาย เราก็ไปเจรจากับไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ซึ่งเขาเป็นนักเรียนเซนต์คาเบรียลหลังผม 1 รุ่น แต่อายุเท่ากัน เพราะผมเรียนเร็ว ผมไปบอกไกรศักดิ์ว่าพี่โกร่งไม่สบาย ให้แกออกมาเถอะ แล้วตอนนั้นกำลังจะปรับรัฐบาลพอดี

แต่ไกรศักดิ์เขาบอกผมว่าต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยน แล้วบังเอิญช่วงนั้นเขาคงอยากเปลี่ยนโฆษกรัฐบาลอยู่แล้ว เขาก็บอกให้ผมมาเป็นโฆษกรัฐบาล ผมได้ยินก็ชักคัน คืออยากรู้ อยากเจอ ของใหม่ เพราะทำงานแบงก์มาเกือบ 20 ปี ก็คิดว่าเอาก็เอาวะ เราก็บ้าด้วย

ไปเป็นโฆษกรัฐบาล ตอนแรกๆ มันไม่ค่อยถนัด จะพูดอะไรก็ระวัง กลัวพูดผิด แล้วเดี๋ยวจะกระทบถึงนายกฯ ผมเลยเกร็งไปหมดเวลาพูด แต่เดี๋ยวนี้ดีขึ้นแล้ว

ผมว่าเป็นที่ดวงคน เพราะจากตอนนั้น มันเป็นเหมือนได้เทรน ตอนหลังก็เลยคล่องขึ้น ผมว่าเป็นเพราะดวง เพราะมันเหมือนมีอะไรที่เตรียมไว้พอดีทุกอย่าง ก็เลยทำให้เริ่มพูดกับ ผู้สื่อข่าวเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น ด้านเนื้อหาเรามีอยู่แล้ว ส่วนจะพูดอย่างไรเขาจะฟัง พูดอย่างไรจะพอดี ไม่มากไป ไม่น้อยไป ได้เทรนมาจากตรงนั้น

แล้วพอดีเขาก็ปฏิวัติ ตอนปฏิวัตินั้นผมโชคดีมหาศาล

โดยหน้าที่ต้องไป แต่บังเอิญตอนนั้นผมนัดพระไว้ พระสายวัดป่าบ้านตาดนี่แหละ แต่เป็นพระที่ออกจากวัดป่าบ้านตาดแล้วไปอยู่ที่สกลนคร สร้างวัดขึ้นมา ท่านก็ขอไว้นานแล้วว่าให้ผมจัดกฐินไป เราก็ผัดท่านมาหลายหน ที่ผัด เพราะเพิ่งเข้ามารับงานโฆษก ผมก็ไปหาน้าชาติ บอกว่า ผมผัดท่านมาหลายหนแล้ว งานนี้ถ้าไม่สำคัญผมขออนุญาต ท่านบอกไปเถอะ ไปไหนก็ไป งานนี้ไม่มีอะไรหรอกเรื่องนี้ งานง่ายๆ ก็ง่ายจริงๆ ผมก็ไป ผมเลยรอด

มันก็อย่างนี้ ทุกอย่างมันดวงหมด ดวง save ผมไว้ ไม่ถูกจับ และผมมีเพื่อนเป็นตำรวจ เขาบอกผมไม่มีชื่ออยู่ในลิสต์ของสันติบาลด้วย ถ้าถูกจับจะมีชื่อ ประวัติก็เลยสะอาด โปร่งใส ไม่ถูกจัดว่าเกี่ยวข้องกับพวกที่มีปัญหาทางการเมือง

เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์นี่ช่วยมากในการทำงานที่เอ็กซิมแบงก์ แล้วมันก็เปลี่ยนแปลง ก่อนผมจะไปอยู่เอ็กซิมแบงก์ ผมได้เป็นรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ ผมได้ความรู้จากกระทรวงพาณิชย์ที่จะไปใช้ทำงานในเอ็กซิมแบงก์มหาศาล รู้เรื่องข้าวอิหร่าน การไฟแนนซ์ข้าวอิหร่าน รู้หมด มันเหมือนกับอันหนึ่งเตรียมให้เราอีกอันหนึ่ง มันเป็นดวง ถึงบอกแล้วว่า ยังไงก็ต้องเชื่อดวง เหมือนที่กระทรวงพาณิชย์ช่วยผมทำงานเอ็กซิมแบงก์ กระทรวงพาณิชย์ทำให้รู้เรื่องเอ็กซ์ปอร์ต อิมปอร์ตมากๆ พอที่จะเป็นพื้นในการวิจารณ์รัฐบาลที่แล้ว กับวิจารณ์แบงก์ชาติ คือทุกอย่างมันต่อไปได้หมด ก็แปลกจริงๆ ตรงที่ดวงมันเสริมมาตลอด เพราะฉะนั้นผมจึงเชื่อดวง

อะไรมันเหมือนกับเป็นดวงทั้งนั้น ที่จะมารับงานที่นี่ (ธนาคารชาติ) ก็ดวง ก็เราอาจจะปากมากไปหน่อย ดันไปวิจารณ์เขา วิจารณ์จนได้ที่"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us